สยามพิวรรธน์ ผนึกเอ็มบีเค หว่านงบต่อ 1,125 ล้านบาท ปรุงโฉมรีโนเวตใหญ่เสรีเซ็นเตอร์ สู่ “พาราไดซ์ พาร์ค” มั่นใจศักยภาพถนนศรีนครินทร์ และพื้นที่รายล้อม กำลังซื้อสูง หวัง 5 ปีคืนทุน เผย จากนี้ไม่มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นเป็นคู่แข่งอีกแล้วในย่านนี้
นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้บริหารสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ กล่าวว่า หลังจากที่บริษัทได้ร่วมมือกับบริษัท เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เมื่อปีที่แล้วเพื่อเข้าซื้อหุ้นของบริษัท เสรีเซ็นเตอร์ แมเนจเมนท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์ มูลค่ากว่า 975 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ บริษัทได้วางแผนการใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 1,125 ล้านบาท ในการรีโนเวตครั้งใหญ่ของเสรีเซ็นเตอร์ เป็นโครงการใหม่ชื่อว่า “พาราไดซ์ พาร์ค” หรือรวมมูลค่าซื้อโครงการด้วยแล้วเป็นงบ 2,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่ารูปโฉมนี้จะแล้วเสร็จเปิดบริการได้ภายในเดือนมีนาคมปี 2553 และคาดว่า จะสามารถคุ้มทุนภายใน 5-7 ปี
ช่วงเกือบปีที่ผ่านมา เอ็มบีเคมอบหมายให้สยามพิวรรธน์เป็นผู้วางแนวทางการปรับปรุงศูนย์และทำการให้เช่าพื้นที่ ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ในย่านถนนศรีนครินทร์ที่ตั้งของโครงการนั้น มีการขยายตัวของลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงที่มีจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ในเขตพื้นที่โดยรอบ เช่น เขตประเวศ พระโขนง บางนา สวนหลวง บางกะปิ สะพานสูง มีอยู่อาศัยรวมกว่า 1.4 ล้านคน มีปัจจัยมาจาการเพิ่มจำนวนของหมู่บ้านจัดสรรมากกว่า 70 โครงการ รายล้อมเสรีเซ็นเตอร์เดิม
อีกทั้งยังมีการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิด้วย ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในโซนตะวันออกของกรุงเทพฯเพิ่มขึ้น จากการวิจัยพบว่า รายได้ต่อครัวเรือนของประชากรในพื้นที่โดยรอบ จำนวนครอบครัวที่มีรายได้สูงกว่า 50,000 บาทต่อเดือน มีสูงถึง 43% ของทั้งหมด ขณะที่ทั่วกรุงเทพฯมีอัตราเพียง 20% เท่านั้น และมีครอบครัวจำนวนกว่า 28,000 ครอบครัว ในเขตพื้นีที่รอบเสรีเซ็นเตอร์มีรายได้รวมสูงกว่า 100,000 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว
ทั้งหมดนี้คือศักยภาพของพื้นที่ย่านนั้นที่ พาราไดซ์ พาร์ค จะสามารถตอบสนองได้เต็มที่ อีกทั้งจากนี้ไปจะไม่มีโครงการศูนย์การค้าขนาดพื้นที่เกินกว่า 10,000 ตารางเมตร เกิดขึ้นอีกแล้ว เพราะข้อบังคับของกฎหมายผังเมือง และโครงการใหม่ก็จะเป็นพวกเนเบอร์ฮูด หรือไม่ก็คอมมูนิตี้มอลล์ แตกต่างจากพาราไดซ์ พาร์ค ซึ่งคู่แข่งตรงก็มีเพียง ซีคอนสแควร์ กับ เซ็นทรัลบางนา เท่านั้นเอง โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของเรา คือ เอ และ บี
ทั้งนี้ โครงการพาราไดซ์ พาร์ค จะมีพื้นที่รวม 32 ไร่ เป็นอาคาร 5 ชั้น พื้นที่รวมโครงการ 290,000 ตารางเมตร พื้นที่ให้เช่า 90,000 ตารางเมตร พื้นที่หน้าโครงการกว้าง 350 เมตร พื้นที่จอดรถ 140,000 ตารางเมตร ใน 10 ชั้น จอดรถได้มากกว่า 6,000 คันต่อวัน โดยมีอัตราค่าเช่าเฉลี่ย 1,100 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ขณะที่ราคาเดิมประมาณ 900 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือนโดยเฉลี่ย หลังจากเปิดขายพื้นที่มา 3 เดือน สรุปการขายแล้วกว่า 70% โดยใช้งบตลาดปีแรก 50 ล้านบาท ส่วนทั้งปีอยู่ที่ 250 ล้านบาท
“เดิมทีเสรีเซ็นเตอร์ เป็นตึกที่มีศักยภาพและการออกแบบดีมาก ตอนนี้เราจัดพื้นที่ใหม่ โดยยกเอามาตรฐานศูนย์การค้าแบบสยามเซ็นเตอร์ในเมืองมาไว้ชานเมือง คอนเซ็ปต์ศูนย์การค้าจะตกแต่งสไตล์ธรรมชาติ แบบต้นไม้ ดอกไม้ ใบไม้ มาเป็นลวดลายในอาคาร โดยยึดเอาสวนหลวง ร.9 เป็นโมเดล” นางชฎาทิพ กล่าว
โดยพื้นที่หลักๆ แบ่งเป็น 1.เดอะเสรีมาร์เก็ต 5,000 ตร.ม. 2.กัวร์เม่ต์ซูเปอร์มาร์เก็ต 5,000 ตร.ม. 3.แฟชั่นอเวนูน พื้นที่ 6,000 ตร.ม. 4.ร้านลอฟท์เต็มรูปแบบ 2,000 ตร.ม. 5.สปอร์ตเวิลด์ พื้นที่ 3,000 ตร.ม. 6.โฮมโปร พื้นที่ 14,000 ตร.ม. 7.ดิจิตอลเวิลด์ พื้นที่ 15,000 ตร.ม. 8.มันนี่พาร์ค พื้นที่ 2,500 ตร.ม. 9.ไดน์นิ่งพาราไดซ์ พื้นที่ 15,000 ตร.ม. 10.เวิลด์ออฟเอดดูเทนเมนต์ พื้นที่ 6,000 ตร.ม. 11.โรงหนัง พื้นที่ 6,500 ตร.ม. ซึ่งปัจจุบันคือ เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ 12.เวลเนส พื้นที่ 6,000 ตร.ม. 13.ทรูฟิตเนส พื้นที่ 4,000 ตร.ม.และเดอะสกาย และ เดอะรอยัลพาร์ค
นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้บริหารสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ กล่าวว่า หลังจากที่บริษัทได้ร่วมมือกับบริษัท เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เมื่อปีที่แล้วเพื่อเข้าซื้อหุ้นของบริษัท เสรีเซ็นเตอร์ แมเนจเมนท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์ มูลค่ากว่า 975 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ บริษัทได้วางแผนการใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 1,125 ล้านบาท ในการรีโนเวตครั้งใหญ่ของเสรีเซ็นเตอร์ เป็นโครงการใหม่ชื่อว่า “พาราไดซ์ พาร์ค” หรือรวมมูลค่าซื้อโครงการด้วยแล้วเป็นงบ 2,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่ารูปโฉมนี้จะแล้วเสร็จเปิดบริการได้ภายในเดือนมีนาคมปี 2553 และคาดว่า จะสามารถคุ้มทุนภายใน 5-7 ปี
ช่วงเกือบปีที่ผ่านมา เอ็มบีเคมอบหมายให้สยามพิวรรธน์เป็นผู้วางแนวทางการปรับปรุงศูนย์และทำการให้เช่าพื้นที่ ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ในย่านถนนศรีนครินทร์ที่ตั้งของโครงการนั้น มีการขยายตัวของลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงที่มีจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ในเขตพื้นที่โดยรอบ เช่น เขตประเวศ พระโขนง บางนา สวนหลวง บางกะปิ สะพานสูง มีอยู่อาศัยรวมกว่า 1.4 ล้านคน มีปัจจัยมาจาการเพิ่มจำนวนของหมู่บ้านจัดสรรมากกว่า 70 โครงการ รายล้อมเสรีเซ็นเตอร์เดิม
อีกทั้งยังมีการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิด้วย ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในโซนตะวันออกของกรุงเทพฯเพิ่มขึ้น จากการวิจัยพบว่า รายได้ต่อครัวเรือนของประชากรในพื้นที่โดยรอบ จำนวนครอบครัวที่มีรายได้สูงกว่า 50,000 บาทต่อเดือน มีสูงถึง 43% ของทั้งหมด ขณะที่ทั่วกรุงเทพฯมีอัตราเพียง 20% เท่านั้น และมีครอบครัวจำนวนกว่า 28,000 ครอบครัว ในเขตพื้นีที่รอบเสรีเซ็นเตอร์มีรายได้รวมสูงกว่า 100,000 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว
ทั้งหมดนี้คือศักยภาพของพื้นที่ย่านนั้นที่ พาราไดซ์ พาร์ค จะสามารถตอบสนองได้เต็มที่ อีกทั้งจากนี้ไปจะไม่มีโครงการศูนย์การค้าขนาดพื้นที่เกินกว่า 10,000 ตารางเมตร เกิดขึ้นอีกแล้ว เพราะข้อบังคับของกฎหมายผังเมือง และโครงการใหม่ก็จะเป็นพวกเนเบอร์ฮูด หรือไม่ก็คอมมูนิตี้มอลล์ แตกต่างจากพาราไดซ์ พาร์ค ซึ่งคู่แข่งตรงก็มีเพียง ซีคอนสแควร์ กับ เซ็นทรัลบางนา เท่านั้นเอง โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของเรา คือ เอ และ บี
ทั้งนี้ โครงการพาราไดซ์ พาร์ค จะมีพื้นที่รวม 32 ไร่ เป็นอาคาร 5 ชั้น พื้นที่รวมโครงการ 290,000 ตารางเมตร พื้นที่ให้เช่า 90,000 ตารางเมตร พื้นที่หน้าโครงการกว้าง 350 เมตร พื้นที่จอดรถ 140,000 ตารางเมตร ใน 10 ชั้น จอดรถได้มากกว่า 6,000 คันต่อวัน โดยมีอัตราค่าเช่าเฉลี่ย 1,100 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ขณะที่ราคาเดิมประมาณ 900 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือนโดยเฉลี่ย หลังจากเปิดขายพื้นที่มา 3 เดือน สรุปการขายแล้วกว่า 70% โดยใช้งบตลาดปีแรก 50 ล้านบาท ส่วนทั้งปีอยู่ที่ 250 ล้านบาท
“เดิมทีเสรีเซ็นเตอร์ เป็นตึกที่มีศักยภาพและการออกแบบดีมาก ตอนนี้เราจัดพื้นที่ใหม่ โดยยกเอามาตรฐานศูนย์การค้าแบบสยามเซ็นเตอร์ในเมืองมาไว้ชานเมือง คอนเซ็ปต์ศูนย์การค้าจะตกแต่งสไตล์ธรรมชาติ แบบต้นไม้ ดอกไม้ ใบไม้ มาเป็นลวดลายในอาคาร โดยยึดเอาสวนหลวง ร.9 เป็นโมเดล” นางชฎาทิพ กล่าว
โดยพื้นที่หลักๆ แบ่งเป็น 1.เดอะเสรีมาร์เก็ต 5,000 ตร.ม. 2.กัวร์เม่ต์ซูเปอร์มาร์เก็ต 5,000 ตร.ม. 3.แฟชั่นอเวนูน พื้นที่ 6,000 ตร.ม. 4.ร้านลอฟท์เต็มรูปแบบ 2,000 ตร.ม. 5.สปอร์ตเวิลด์ พื้นที่ 3,000 ตร.ม. 6.โฮมโปร พื้นที่ 14,000 ตร.ม. 7.ดิจิตอลเวิลด์ พื้นที่ 15,000 ตร.ม. 8.มันนี่พาร์ค พื้นที่ 2,500 ตร.ม. 9.ไดน์นิ่งพาราไดซ์ พื้นที่ 15,000 ตร.ม. 10.เวิลด์ออฟเอดดูเทนเมนต์ พื้นที่ 6,000 ตร.ม. 11.โรงหนัง พื้นที่ 6,500 ตร.ม. ซึ่งปัจจุบันคือ เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ 12.เวลเนส พื้นที่ 6,000 ตร.ม. 13.ทรูฟิตเนส พื้นที่ 4,000 ตร.ม.และเดอะสกาย และ เดอะรอยัลพาร์ค