อาเซียนลุยเชื่อมเส้นทางรถไฟคุนหมิง-สิงคโปร์ ระยะทาง 5,000 กิโลเมตร เพิ่มศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ตั้งเป้าแล้วเสร็จปี 2558 พร้อมการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้านนักธุรกิจสหรัฐฯ ยาหอมพร้อมเพิ่มการลงทุนในอาเซียน เผยขอลงทุนทำธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และธุรกิจจัดส่งด่วนในไทยถือหุ้น 100% ส่วนการเปิดเสรีอาเซียน +3 +6 มอบเจ้าหน้าที่อาวุโสศึกษาต่อ จีนใจป้ำทุ่มเงินให้อาเซียนกู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคม
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมในกรอบอาเซียนลุ่มแม่น้ำโขง (ASEAN Mekong Basin Development Cooperation : AMBDC) วานนี้ (16 ส.ค.) ว่า ที่ประชุมได้มีมติผลักดันการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟคุนหมิง-สิงคโปร์ ระยะทาง 5,000 กิโลเมตร โดยตั้งเป้าดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 โดยเป็นปีเดียวกันกับที่อาเซียนจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะทำให้การเชื่อมโยงด้านโลจิสติสก์ระหว่างอาเซียนและจีนสะดวก รวดเร็วขึ้น และจะมีส่วนช่วยสนับสนุนด้านการค้าและการลงทุน
“ทางการจีนได้แจ้งว่าได้มีการผลักดันโครงการเชื่อมเส้นทางรถไฟไว้ทั้งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และแผนของมณฑลต่างๆ ที่เส้นทางรถไฟผ่าน รวมทั้งได้ตั้งงบประมาณในการเชื่อมต่อเส้นทาง และสร้างเส้นทางรถไฟไว้แล้ว อีกทั้งพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับประเทศอาเซียนในการก่อสร้างเส้นทาง โดยยินดีที่จะสนับสนุนเงินกู้ให้ ที่สำคัญออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ก็พร้อมที่จะให้เงินกู้ด้วย เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน”นายอลงกรณ์กล่าว
ทั้งนี้ ในปัจจุบันเส้นทางรถไฟที่เชื่อมโยงจากคุนหมิง-เวียดนาม-กัมพูชา-ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์นั้น ส่วนใหญ่มีเส้นทางพร้อมแล้ว ยังเหลือเพียงส่วนขาดประมาณ 500 กิโลเมตรในกัมพูชา
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สำหรับการประชุมอาเซียนกับคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน (USABC) นั้น นักธุรกิจสหรัฐฯ ได้ชื่นชมการที่อาเซียนมีเป้า AEC เพราะจะทำให้อาเซียนมีความมั่นคงและเติบโตทางเศรษฐกิจ และจะช่วยในการดึงดูดการลงทุนของต่างชาติมาอาเซียนเพิ่มขึ้น
“สหรัฐฯ ห่างอาเซียนไปนาน ตอนนี้จะกลับมาใหม่ และแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้น โดยในส่วนของไทยสหรัฐฯ สนใจจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และธุรกิจจัดส่งด่วน ซึ่งเป็นสาขาที่สหรัฐฯ มีความเชี่ยวชาญและเป็นผู้นำ โดยไทยยินดีต้อนรับการเข้ามาลงทุนของสหรัฐฯ ซึ่งการ ที่สหรัฐฯ แสดงความสนใจลงทุนในไทย ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่สหรัฐฯ มีความเชื่อมั่นไทย รัฐบาลไทย และศักยภาพในการเข้ามาลงทุนในไทย”นางพรทิวากล่าว
นอกจากนี้ ไทยยังได้ขอให้นักธุรกิจสหรัฐฯ ตระหนักถึงความจริงใจของไทยในการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และช่วยทำความเข้าใจกับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) เพื่อให้พิจารณาปลดไทยออกจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PFC) และขอให้ช่วยสนับสนุนให้ยังคงมีการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กับไทยต่อไป
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า นักธุรกิจสหรัฐฯ ได้ขอให้ไทยพิจารณาให้นักลงทุนของสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และธุรกิจจัดส่งด่วน โดยให้สามารถถือหุ้นได้ 100% แต่ไทยยืนยันว่าไม่สามารถเปิดให้ได้ เพราะกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 กำหนดให้สามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% อีกทั้งยังมีกฎหมายเฉพาะที่ดูแลธุรกิจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในธุรกิจอินเทอร์เน็ตและธุรกิจจัดส่งด่วน ซึ่งการเข้ามาลงทุนก็ต้องไปผ่านการพิจารณาภายใต้กฎหมายเฉพาะด้วย
สำหรับนักธุรกิจสหรัฐฯ ที่ได้เข้ามาหารือกับอาเซียน ได้แก่ APCO Worldwide, Caterpillar, FedEx, Ford, Intel, Philip Morris, UPS, และ White & Case
สำหรับผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) และอาเซียน +6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ประชุมได้มีมติให้เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน (SEOM) ไปทำการศึกษาการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจทั้งในกรอบ +3 และ +6 โดยให้ศึกษาถึงความร่วมมือด้านแหล่งกำเนิดสินค้า ภาษีศุลกากร และสาขาความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ
ทั้งนี้ ผลการศึกษาการทำ FTA ในกรอบอาเซียน +3 จะทำให้จีดีพีของประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.2% โดยอาเซียนจะได้ประโยชน์มากกว่าโดยจีดีพีเพิ่มขึ้น 3.6% ขณะที่จีน เกาหลี ญี่ปุ่น จะเพิ่มขึ้น 0.9% ในส่วนของไทยจีดีพีเพิ่มขึ้น 4.5% ขณะที่กรอบอาเซียน +6 จะทำให้จีดีพีของประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% โดยอาเซียนเพิ่มขึ้น 3.83% โดยไทยเพิ่มขึ้น 4.78%
นอกจากนี้ อาเซียนยังได้มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน-จีน ซึ่งจะช่วยให้การลงทุนระหว่างอาเซียน-จีนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ที่สำคัญจีนได้ตกลงจัดตั้งกองทุนด้านการลงทุนอาเซียน-จีน มูลค่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และโครงข่ายคมนาคมในอาเซียน และยังได้จัดสรรเงินกู้จำนวน 15,000ล้านเหรียญสหรัฐให้อาเซียนกู้ยืมเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายคมนาคม
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมในกรอบอาเซียนลุ่มแม่น้ำโขง (ASEAN Mekong Basin Development Cooperation : AMBDC) วานนี้ (16 ส.ค.) ว่า ที่ประชุมได้มีมติผลักดันการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟคุนหมิง-สิงคโปร์ ระยะทาง 5,000 กิโลเมตร โดยตั้งเป้าดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 โดยเป็นปีเดียวกันกับที่อาเซียนจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะทำให้การเชื่อมโยงด้านโลจิสติสก์ระหว่างอาเซียนและจีนสะดวก รวดเร็วขึ้น และจะมีส่วนช่วยสนับสนุนด้านการค้าและการลงทุน
“ทางการจีนได้แจ้งว่าได้มีการผลักดันโครงการเชื่อมเส้นทางรถไฟไว้ทั้งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และแผนของมณฑลต่างๆ ที่เส้นทางรถไฟผ่าน รวมทั้งได้ตั้งงบประมาณในการเชื่อมต่อเส้นทาง และสร้างเส้นทางรถไฟไว้แล้ว อีกทั้งพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับประเทศอาเซียนในการก่อสร้างเส้นทาง โดยยินดีที่จะสนับสนุนเงินกู้ให้ ที่สำคัญออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ก็พร้อมที่จะให้เงินกู้ด้วย เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน”นายอลงกรณ์กล่าว
ทั้งนี้ ในปัจจุบันเส้นทางรถไฟที่เชื่อมโยงจากคุนหมิง-เวียดนาม-กัมพูชา-ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์นั้น ส่วนใหญ่มีเส้นทางพร้อมแล้ว ยังเหลือเพียงส่วนขาดประมาณ 500 กิโลเมตรในกัมพูชา
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สำหรับการประชุมอาเซียนกับคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน (USABC) นั้น นักธุรกิจสหรัฐฯ ได้ชื่นชมการที่อาเซียนมีเป้า AEC เพราะจะทำให้อาเซียนมีความมั่นคงและเติบโตทางเศรษฐกิจ และจะช่วยในการดึงดูดการลงทุนของต่างชาติมาอาเซียนเพิ่มขึ้น
“สหรัฐฯ ห่างอาเซียนไปนาน ตอนนี้จะกลับมาใหม่ และแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้น โดยในส่วนของไทยสหรัฐฯ สนใจจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และธุรกิจจัดส่งด่วน ซึ่งเป็นสาขาที่สหรัฐฯ มีความเชี่ยวชาญและเป็นผู้นำ โดยไทยยินดีต้อนรับการเข้ามาลงทุนของสหรัฐฯ ซึ่งการ ที่สหรัฐฯ แสดงความสนใจลงทุนในไทย ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่สหรัฐฯ มีความเชื่อมั่นไทย รัฐบาลไทย และศักยภาพในการเข้ามาลงทุนในไทย”นางพรทิวากล่าว
นอกจากนี้ ไทยยังได้ขอให้นักธุรกิจสหรัฐฯ ตระหนักถึงความจริงใจของไทยในการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และช่วยทำความเข้าใจกับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) เพื่อให้พิจารณาปลดไทยออกจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PFC) และขอให้ช่วยสนับสนุนให้ยังคงมีการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กับไทยต่อไป
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า นักธุรกิจสหรัฐฯ ได้ขอให้ไทยพิจารณาให้นักลงทุนของสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และธุรกิจจัดส่งด่วน โดยให้สามารถถือหุ้นได้ 100% แต่ไทยยืนยันว่าไม่สามารถเปิดให้ได้ เพราะกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 กำหนดให้สามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% อีกทั้งยังมีกฎหมายเฉพาะที่ดูแลธุรกิจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในธุรกิจอินเทอร์เน็ตและธุรกิจจัดส่งด่วน ซึ่งการเข้ามาลงทุนก็ต้องไปผ่านการพิจารณาภายใต้กฎหมายเฉพาะด้วย
สำหรับนักธุรกิจสหรัฐฯ ที่ได้เข้ามาหารือกับอาเซียน ได้แก่ APCO Worldwide, Caterpillar, FedEx, Ford, Intel, Philip Morris, UPS, และ White & Case
สำหรับผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) และอาเซียน +6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ประชุมได้มีมติให้เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน (SEOM) ไปทำการศึกษาการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจทั้งในกรอบ +3 และ +6 โดยให้ศึกษาถึงความร่วมมือด้านแหล่งกำเนิดสินค้า ภาษีศุลกากร และสาขาความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ
ทั้งนี้ ผลการศึกษาการทำ FTA ในกรอบอาเซียน +3 จะทำให้จีดีพีของประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.2% โดยอาเซียนจะได้ประโยชน์มากกว่าโดยจีดีพีเพิ่มขึ้น 3.6% ขณะที่จีน เกาหลี ญี่ปุ่น จะเพิ่มขึ้น 0.9% ในส่วนของไทยจีดีพีเพิ่มขึ้น 4.5% ขณะที่กรอบอาเซียน +6 จะทำให้จีดีพีของประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% โดยอาเซียนเพิ่มขึ้น 3.83% โดยไทยเพิ่มขึ้น 4.78%
นอกจากนี้ อาเซียนยังได้มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน-จีน ซึ่งจะช่วยให้การลงทุนระหว่างอาเซียน-จีนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ที่สำคัญจีนได้ตกลงจัดตั้งกองทุนด้านการลงทุนอาเซียน-จีน มูลค่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และโครงข่ายคมนาคมในอาเซียน และยังได้จัดสรรเงินกู้จำนวน 15,000ล้านเหรียญสหรัฐให้อาเซียนกู้ยืมเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายคมนาคม