บอร์ด PTTEP กัดฟันปันผลระหว่างกาลหุ้นละ 1.48 บาท แม้ผลงานรอบ 6 เดือนปีนี้กำไรสุทธิลดลง เหลือแค่ 1.22 หมื่นล้านบาท เหตุเศรษฐกิจซบทำราคาน้ำมันตก-ปริมาณการใช้ลด โดยกำหนดปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นวันที่ 18 ส.ค.และจ่ายปันผลแก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 28 ส.ค.นี้
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 52 มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล สำหรับผลการดำเนินงานรวมของกลุ่มงวด 6 เดือนแรกของปี 52 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 52 ในอัตราหุ้นละ 1.48 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยจ่ายจากกำไรสุทธิที่เสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ทั้งนี้ บริษัทฯ กำหนดให้วันที่ 17 สิงหาคม 2552 เป็นวันกำหนดสิทธิผู้ถือหุ้นในการรับเงินปันผลระหว่างกาล (Record Date) และรวบรวมรายชื่อตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551) โดยวิธีปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นในวันที่ 18 สิงหาคม 2552 และจะจ่ายเงินปันผลในวันที่ 28 สิงหาคม 2552
สำหรับผลประกอบรอบ 6 เดือนปีนี้สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 52 พบว่าPTTEP มีกำไรสุทธิ 1.22 หมื่นล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันเมื่อปีที่ผ่านมาที่ 2.19 หมื่นล้านบาท หรือปรับลดลง 0.97 หมื่นล้าน หรือ 44.29% ส่วนผลการดำเนินสิ้นไตรมาส 2 ปรากฏว่า กำไรสุทธิ 0.65 หมื่นล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิถึง 1.30 หมื่นล้านบาท ลดลง 0.65 หมื่นล้านบาท หรือ 50%
โดยผลจากความผันผวนอย่างมากของภาวะเศรษฐกิจโลกในปี 2552 แม้จะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในไตรมาสที่2 โดยสภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบ 7.1% ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะมีโอกาสฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่คาดว่าอัตราการเติบโตของทั้งปียังจะอยู่ในแดนลบเช่นกัน เนื่องจากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ฟื้นตัวช้า และการระบาดของไข้หวัดใหญ่ โดยปัจจัยข้างต้น ส่งผลทางลบต่อราคาน้ำมันและการใช้พลังงานในประเทศ
ทั้งนี้ จากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ PTTEP ได้มีการทบทวนและปรับแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงาน โดยทางบริษัทจะหันมาเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านต่างๆ รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังและเลือกลงทุนในโครงการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของบริษัท และพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างการเติบโตอยู่ในระยะยาว นอกจากนี้ ทางบริษัทยังได้เตรียมแผนงานเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 52 มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล สำหรับผลการดำเนินงานรวมของกลุ่มงวด 6 เดือนแรกของปี 52 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 52 ในอัตราหุ้นละ 1.48 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยจ่ายจากกำไรสุทธิที่เสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ทั้งนี้ บริษัทฯ กำหนดให้วันที่ 17 สิงหาคม 2552 เป็นวันกำหนดสิทธิผู้ถือหุ้นในการรับเงินปันผลระหว่างกาล (Record Date) และรวบรวมรายชื่อตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551) โดยวิธีปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นในวันที่ 18 สิงหาคม 2552 และจะจ่ายเงินปันผลในวันที่ 28 สิงหาคม 2552
สำหรับผลประกอบรอบ 6 เดือนปีนี้สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 52 พบว่าPTTEP มีกำไรสุทธิ 1.22 หมื่นล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันเมื่อปีที่ผ่านมาที่ 2.19 หมื่นล้านบาท หรือปรับลดลง 0.97 หมื่นล้าน หรือ 44.29% ส่วนผลการดำเนินสิ้นไตรมาส 2 ปรากฏว่า กำไรสุทธิ 0.65 หมื่นล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิถึง 1.30 หมื่นล้านบาท ลดลง 0.65 หมื่นล้านบาท หรือ 50%
โดยผลจากความผันผวนอย่างมากของภาวะเศรษฐกิจโลกในปี 2552 แม้จะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในไตรมาสที่2 โดยสภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบ 7.1% ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะมีโอกาสฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่คาดว่าอัตราการเติบโตของทั้งปียังจะอยู่ในแดนลบเช่นกัน เนื่องจากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ฟื้นตัวช้า และการระบาดของไข้หวัดใหญ่ โดยปัจจัยข้างต้น ส่งผลทางลบต่อราคาน้ำมันและการใช้พลังงานในประเทศ
ทั้งนี้ จากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ PTTEP ได้มีการทบทวนและปรับแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงาน โดยทางบริษัทจะหันมาเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านต่างๆ รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังและเลือกลงทุนในโครงการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของบริษัท และพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างการเติบโตอยู่ในระยะยาว นอกจากนี้ ทางบริษัทยังได้เตรียมแผนงานเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต