ปลุกผีธรรมาภิบาล ธปท.เพิ่มอำนาจคุมแบงก์กรณีตั้งผู้บริหารและที่ปรึกษาบอร์ด ต้องให้ ธปท.เห็นชอบก่อน อ้างถ่วงดุลอำนาจ-ลดปัญหาการทำหน้าที่ของบอร์ด แฉที่ผ่านมาแบงก์ยังมีปัญหาทางปฏิบัติและนำส่งข้อมูล
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้เพิ่มอำนาจหน้าที่กฎหมายในการกำกับกำกับดูแลสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ให้เน้นด้านธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินมากขึ้น โดยธปท.สามารถเข้าไปกำหนดคุณสมบัติและอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถาบันการเงินตั้งแต่ระดับผู้ช่วยขึ้นไป รวมถึงผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการ และบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่ปรึกษาในคณะกรรมการชุดใหญ่และคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ เพื่อให้มีการถ่วงดุลและกระจายอำนาจที่เหมาะสม
“แม้ก่อนหน้านี้ธปท.เคยใช้หลักเกณฑ์นี้มาแล้วเป็นเพียงหลักการกว้างๆ คือ ให้สถาบันการเงินแจ้งให้ธปท.รับทราบเท่านั้น แต่การเพิ่มอำนาจให้แก่ธปท.ครั้งนี้สามารถเข้าไปกำหนดคุณสมบัติและอำนาจตัวผู้บริหารให้มีมากขึ้น ซึ่งหลักเกณฑ์นี้จะไม่มีผลต่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเดิม แต่จะใช้แนวทางใหม่สำหรับบุคคลใหม่ที่จะเข้ามาคัดเลือกตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในบอร์ดชุดต่างๆ ของสถาบันการเงิน เพื่อเป็นกรอบในการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของกรรมการมากขึ้นด้วย”
ทั้งนี้ ธปท.ได้กำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติและความสามารถของบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถาบันการเงิน (Fit and Proper) โดยเน้น 3 ด้านหลัก คือ 1.ด้านความซื่อสัตย์ สุจริต และชื่อเสียง(Honesty, Integrity and Reputation) 2. ด้านความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ (Competence, Capability and Experiences) และ3.ด้านสถานะทางการเงิน (Financial Soundness) ซึ่งการกำหนดคุณสมบัติดังกล่าวให้มีกระบวนการพิจารณาโปร่งใสและชัดเจนมากขึ้น รวมถึงสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
นอกจากนี้ การกำหนดอำนาจหน้าที่บริหารธนาคารพาณิชย์ ซึ่งธปท.ให้ความสำคัญสูงสุด โดยเน้น 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1. การบริหารความเสี่ยง 2.การดูแลความพอเพียงของเงินกองทุน 3.การกำกับดูแลกิจการให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของทางการ และ4.การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการที่มีธรรมาภิบาลที่ดี ทั้งนี้ ธปท.พยายามจะมุ่งเน้นกำกับดูแลและการทำหน้าที่ของกรรมการสถาบันการเงิน เพื่อขจัดปัญหาต่างๆ ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
“หากสถาบันการเงินต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของธปท.ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามหลักเกณฑ์เหล่านี้ สิ่งแรกที่ธปท.จะดำเนินการ คือ เข้าไปตรวจสอบแนวทางพิจารณาตัวบุคคลอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้มีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องหรือขัดแย้งบนพื้นฐานข้อมูลที่มีเหตุมีผลหรือไม่และหากสุดท้ายแล้วเกิดปัญหาเกิดขึ้นก็จะมีบทลงโทษแตกต่างกัน เช่น ในกรณีที่ไม่ใช่การทุจริตจะมีบทลงโทษด้านการปรับตัวสถาบันการเงินนั้นๆ หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องดูว่าความผิดพลาดมีนัยสำคัญแค่ไหนด้วย”
ด้านนายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.ได้มีการหารือกับธนาคารพาณิชย์ถึงแนวทางการแต่งตั้งตัวบุคคลเข้ามาเป็นผู้บริหารสถาบันการเงินมาแล้ว 2-3 ครั้งก่อนที่จะมีการออกหลักเกณฑ์นี้ขึ้นมา และเมื่อกฎหมายออกมาพบว่ายังมีอุปสรรคที่สำคัญ คือ ธนาคารพาณิชย์ไม่เข้าใจถึงหลักเกณฑ์ในทางปฏิบัติ รวมถึงข้อมูลที่จะนำมาประกอบการพิจารณาที่ต้องเสนอให้แก่ธปท. ทำให้ธปท.ต้องออกประกาศนี้ เพื่อทำความเข้าใจกับสถาบันการเงินเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องปกติที่สถาบันการเงินต้องดูแลตัวเองก่อนที่จะแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งขึ้นมา ซึ่งหากสุดท้ายแล้วธปท.ไม่อนุญาตให้แต่งตั้งบุคคลที่สถาบันการเงินเสนอมา ทำให้แค่แสดงความไม่เห็นชอบและไม่สามารถแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวได้เท่านั้น
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้เพิ่มอำนาจหน้าที่กฎหมายในการกำกับกำกับดูแลสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ให้เน้นด้านธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินมากขึ้น โดยธปท.สามารถเข้าไปกำหนดคุณสมบัติและอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถาบันการเงินตั้งแต่ระดับผู้ช่วยขึ้นไป รวมถึงผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการ และบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่ปรึกษาในคณะกรรมการชุดใหญ่และคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ เพื่อให้มีการถ่วงดุลและกระจายอำนาจที่เหมาะสม
“แม้ก่อนหน้านี้ธปท.เคยใช้หลักเกณฑ์นี้มาแล้วเป็นเพียงหลักการกว้างๆ คือ ให้สถาบันการเงินแจ้งให้ธปท.รับทราบเท่านั้น แต่การเพิ่มอำนาจให้แก่ธปท.ครั้งนี้สามารถเข้าไปกำหนดคุณสมบัติและอำนาจตัวผู้บริหารให้มีมากขึ้น ซึ่งหลักเกณฑ์นี้จะไม่มีผลต่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเดิม แต่จะใช้แนวทางใหม่สำหรับบุคคลใหม่ที่จะเข้ามาคัดเลือกตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในบอร์ดชุดต่างๆ ของสถาบันการเงิน เพื่อเป็นกรอบในการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของกรรมการมากขึ้นด้วย”
ทั้งนี้ ธปท.ได้กำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติและความสามารถของบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถาบันการเงิน (Fit and Proper) โดยเน้น 3 ด้านหลัก คือ 1.ด้านความซื่อสัตย์ สุจริต และชื่อเสียง(Honesty, Integrity and Reputation) 2. ด้านความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ (Competence, Capability and Experiences) และ3.ด้านสถานะทางการเงิน (Financial Soundness) ซึ่งการกำหนดคุณสมบัติดังกล่าวให้มีกระบวนการพิจารณาโปร่งใสและชัดเจนมากขึ้น รวมถึงสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
นอกจากนี้ การกำหนดอำนาจหน้าที่บริหารธนาคารพาณิชย์ ซึ่งธปท.ให้ความสำคัญสูงสุด โดยเน้น 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1. การบริหารความเสี่ยง 2.การดูแลความพอเพียงของเงินกองทุน 3.การกำกับดูแลกิจการให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของทางการ และ4.การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการที่มีธรรมาภิบาลที่ดี ทั้งนี้ ธปท.พยายามจะมุ่งเน้นกำกับดูแลและการทำหน้าที่ของกรรมการสถาบันการเงิน เพื่อขจัดปัญหาต่างๆ ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
“หากสถาบันการเงินต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของธปท.ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามหลักเกณฑ์เหล่านี้ สิ่งแรกที่ธปท.จะดำเนินการ คือ เข้าไปตรวจสอบแนวทางพิจารณาตัวบุคคลอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้มีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องหรือขัดแย้งบนพื้นฐานข้อมูลที่มีเหตุมีผลหรือไม่และหากสุดท้ายแล้วเกิดปัญหาเกิดขึ้นก็จะมีบทลงโทษแตกต่างกัน เช่น ในกรณีที่ไม่ใช่การทุจริตจะมีบทลงโทษด้านการปรับตัวสถาบันการเงินนั้นๆ หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องดูว่าความผิดพลาดมีนัยสำคัญแค่ไหนด้วย”
ด้านนายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.ได้มีการหารือกับธนาคารพาณิชย์ถึงแนวทางการแต่งตั้งตัวบุคคลเข้ามาเป็นผู้บริหารสถาบันการเงินมาแล้ว 2-3 ครั้งก่อนที่จะมีการออกหลักเกณฑ์นี้ขึ้นมา และเมื่อกฎหมายออกมาพบว่ายังมีอุปสรรคที่สำคัญ คือ ธนาคารพาณิชย์ไม่เข้าใจถึงหลักเกณฑ์ในทางปฏิบัติ รวมถึงข้อมูลที่จะนำมาประกอบการพิจารณาที่ต้องเสนอให้แก่ธปท. ทำให้ธปท.ต้องออกประกาศนี้ เพื่อทำความเข้าใจกับสถาบันการเงินเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องปกติที่สถาบันการเงินต้องดูแลตัวเองก่อนที่จะแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งขึ้นมา ซึ่งหากสุดท้ายแล้วธปท.ไม่อนุญาตให้แต่งตั้งบุคคลที่สถาบันการเงินเสนอมา ทำให้แค่แสดงความไม่เห็นชอบและไม่สามารถแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวได้เท่านั้น