ไทยพาณิชย์ ยันเป้าสินเชื่อที่ 3-5% ครึ่งหลังบุกรายใหญ่อิงสินเชื่อนโยบายรัฐในโครงการลงทุนก่อสร้าง พร้อมระมัดระวัง เพราะเศรษฐกิจยังมีความผันผวน ตั้งเพดานเอ็นพีแอลไม่เกิน 5%
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ธนาคารยังคงเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อรวมปี 2552 ไว้ที่ 3-5% เช่นเดิม เนื่องจากเห็นว่า สินเชื่อในช่วงครึ่งปี หลังยังมีโอกาสขยายตัวได้สูง โดยเฉพาะสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อภาครัฐที่มีโอกาสเติบโตสูงมาก ซึ่งในครึ่งปีแรกสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารมีการขยายตัวได้ดี แต่การที่ตัวเลขสินเชื่อสุทธิปรับลดลงหรือติดลบนั้น เพราะการเบิกใช้สินเชื่อหมุนเวียนลดลงของลูกค้า และมีการชำระคืนเงินกู้จากลูกหนี้ค่อนข้างมาก
ครึ่งปีหลังธนาคารมองว่าบริษัทขนาดใหญ่มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี แม้ตัวเลขการส่งออกจะยังไม่ฟื้นตัวนัก แต่ในขณะนี้เป็นโอกาสเหมาะที่บริษัทขนาดใหญ่จะมีการลงทุนในส่วนของเครื่องจักร การเตรียมเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรอรับการฟื้นตัวของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ที่คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เพราะที่ผ่านมาจะเห็นว่ามูลค่าการส่งออกเริ่มดีขึ้น แต่ราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกได้รับยังไม่ดีเท่าที่ควรดังนั้นสินเชื่อของธนาคารก็จะเติบโตดีขึ้นไปด้วย
“ออเดอร์ต่างประเทศดีขึ้น คาดว่า ในไตรมาสที่ 2 จะโตขึ้นร้อยละ 3-5 มูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งปรับลงจากเป้าหมายเดิม ในไตรมาสที่ 4 ปีก่อน คือ ร้อยละ 5-6 อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 1-2 หวังว่า จะได้ลูกค้าคงตัวเพิ่มขึ้น ส่วนเงินบาทแข็งค่าไม่เกี่ยวกับภาคธุรกิจ แต่เกี่ยวเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งปัญหาใหญ่อยู่ที่ตลาดส่งออก ที่ต้องรอให้เศรษฐกิจดีขึ้น ค่าเงินบาทก็จะดีตามไปด้วย” นางกรรณิกา กล่าว
อย่างไรก็ตาม ธนาคารก็ยังคงเพิ่มความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจมากขึ้นด้วย ถึงแม้หลายฝ่ายจะออกมาคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะกลับมาดีขึ้นในไตรมาส 4 ของปีนี้ หรือช่วงต้นปี 2553 เพราะความผันผวนจะยังคงมีอยู่อีกทั้งแม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ แต่คงไม่ฟื้นกลับมาอยู่ในระดับเดิมเพราะที่ผ่านมาภาวะเสรษฐกิจทรุดตัวลงไปค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ ในครึ่งปีหลังธนาคารจะมุ่งสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ให้บริการทางการเงินที่ครบวงจร พร้อมทั้งดูแลลูกค้าให้ใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งต้องปรับตัวให้สามารถเข้ากับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้ง ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง
สำหรับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคารในช่วงไตรมาส 2 นั้น ปรับลดลงมาอยู่ที่ 3.35% จากไตรมาส 1 อยู่ที่ 3.57% เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงอย่างรวดเร็ว นางกรรณิกา เห็นว่า การแข่งขันด้านสินเชื่อระหว่างธนาคารพาณิชย์เป็นปัจจัยที่บีบให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีหรือ MLR ต้องมีการปรับลดลง โดยปัจจุบันต้นทุนดอกเบี้ยของธนาคารอยู่ที่ประมาณ 1%
ในขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล นั้น ธนาคารตั้งเป้าหมายควบคุมเอ็นพีแอลทั้งปีไว้ไม่ให้เกินระดับ 5% ซึ่งธนาคารจะมีการเข้าไปดูแลและช่วยเหลือลูกค้าที่มีปัญหา โดยอาจมีการยืดระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ หรือปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าในบางราย แต่ทั้งนี้ลูกค้าจะต้องมีการเจรจรกับธนาคารและทำตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับธนาคาร แต่หากลูกค้ารายได้ไม่ทำตามข้อตกลงที่ให้ไว้หรือมีเจตนาที่จะเบี้ยวหนี้ ธนาคารจะไม่ให้ความช่วยเหลือใดๆ ทั้งสิ้น
**ลั่นจุดยืน ย้ายคนไปทวงหนี้
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ยืนยันการจัดตั้งบริษัทลูกของธนาคารเพื่อดำเนินงานด้านการติดตามทวงหนี้ แต่พร้อมทำความเข้าใจกับพนักงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เชื่อว่า สาเหตุที่พนักงานประท้วงเป็นเรื่องกังวลสวัสดิการและความมั่นคง แต่ธนาคารเห็นว่าการโอนย้ายพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการติดตามทวงถามหนี้ไปบริษัทใหม่นั้น เพื่อเป็นการรวบรวมความชำนาญเฉพาะด้านไว้ด้วยกัน เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการติดตามหนี้ และสามารถรองรับงานทั้งของธนาคารและบริษัทในเครือได้อย่างครบวงจร ซึ่งบริษัทใหม่ที่ธนาคารจะจัดตั้งขึ้นนั้น ธนาคารจะเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด 100%
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ธนาคารยังคงเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อรวมปี 2552 ไว้ที่ 3-5% เช่นเดิม เนื่องจากเห็นว่า สินเชื่อในช่วงครึ่งปี หลังยังมีโอกาสขยายตัวได้สูง โดยเฉพาะสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อภาครัฐที่มีโอกาสเติบโตสูงมาก ซึ่งในครึ่งปีแรกสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารมีการขยายตัวได้ดี แต่การที่ตัวเลขสินเชื่อสุทธิปรับลดลงหรือติดลบนั้น เพราะการเบิกใช้สินเชื่อหมุนเวียนลดลงของลูกค้า และมีการชำระคืนเงินกู้จากลูกหนี้ค่อนข้างมาก
ครึ่งปีหลังธนาคารมองว่าบริษัทขนาดใหญ่มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี แม้ตัวเลขการส่งออกจะยังไม่ฟื้นตัวนัก แต่ในขณะนี้เป็นโอกาสเหมาะที่บริษัทขนาดใหญ่จะมีการลงทุนในส่วนของเครื่องจักร การเตรียมเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรอรับการฟื้นตัวของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ที่คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เพราะที่ผ่านมาจะเห็นว่ามูลค่าการส่งออกเริ่มดีขึ้น แต่ราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกได้รับยังไม่ดีเท่าที่ควรดังนั้นสินเชื่อของธนาคารก็จะเติบโตดีขึ้นไปด้วย
“ออเดอร์ต่างประเทศดีขึ้น คาดว่า ในไตรมาสที่ 2 จะโตขึ้นร้อยละ 3-5 มูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งปรับลงจากเป้าหมายเดิม ในไตรมาสที่ 4 ปีก่อน คือ ร้อยละ 5-6 อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 1-2 หวังว่า จะได้ลูกค้าคงตัวเพิ่มขึ้น ส่วนเงินบาทแข็งค่าไม่เกี่ยวกับภาคธุรกิจ แต่เกี่ยวเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งปัญหาใหญ่อยู่ที่ตลาดส่งออก ที่ต้องรอให้เศรษฐกิจดีขึ้น ค่าเงินบาทก็จะดีตามไปด้วย” นางกรรณิกา กล่าว
อย่างไรก็ตาม ธนาคารก็ยังคงเพิ่มความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจมากขึ้นด้วย ถึงแม้หลายฝ่ายจะออกมาคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะกลับมาดีขึ้นในไตรมาส 4 ของปีนี้ หรือช่วงต้นปี 2553 เพราะความผันผวนจะยังคงมีอยู่อีกทั้งแม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ แต่คงไม่ฟื้นกลับมาอยู่ในระดับเดิมเพราะที่ผ่านมาภาวะเสรษฐกิจทรุดตัวลงไปค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ ในครึ่งปีหลังธนาคารจะมุ่งสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ให้บริการทางการเงินที่ครบวงจร พร้อมทั้งดูแลลูกค้าให้ใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งต้องปรับตัวให้สามารถเข้ากับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้ง ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง
สำหรับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคารในช่วงไตรมาส 2 นั้น ปรับลดลงมาอยู่ที่ 3.35% จากไตรมาส 1 อยู่ที่ 3.57% เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงอย่างรวดเร็ว นางกรรณิกา เห็นว่า การแข่งขันด้านสินเชื่อระหว่างธนาคารพาณิชย์เป็นปัจจัยที่บีบให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีหรือ MLR ต้องมีการปรับลดลง โดยปัจจุบันต้นทุนดอกเบี้ยของธนาคารอยู่ที่ประมาณ 1%
ในขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล นั้น ธนาคารตั้งเป้าหมายควบคุมเอ็นพีแอลทั้งปีไว้ไม่ให้เกินระดับ 5% ซึ่งธนาคารจะมีการเข้าไปดูแลและช่วยเหลือลูกค้าที่มีปัญหา โดยอาจมีการยืดระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ หรือปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าในบางราย แต่ทั้งนี้ลูกค้าจะต้องมีการเจรจรกับธนาคารและทำตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับธนาคาร แต่หากลูกค้ารายได้ไม่ทำตามข้อตกลงที่ให้ไว้หรือมีเจตนาที่จะเบี้ยวหนี้ ธนาคารจะไม่ให้ความช่วยเหลือใดๆ ทั้งสิ้น
**ลั่นจุดยืน ย้ายคนไปทวงหนี้
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ยืนยันการจัดตั้งบริษัทลูกของธนาคารเพื่อดำเนินงานด้านการติดตามทวงหนี้ แต่พร้อมทำความเข้าใจกับพนักงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เชื่อว่า สาเหตุที่พนักงานประท้วงเป็นเรื่องกังวลสวัสดิการและความมั่นคง แต่ธนาคารเห็นว่าการโอนย้ายพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการติดตามทวงถามหนี้ไปบริษัทใหม่นั้น เพื่อเป็นการรวบรวมความชำนาญเฉพาะด้านไว้ด้วยกัน เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการติดตามหนี้ และสามารถรองรับงานทั้งของธนาคารและบริษัทในเครือได้อย่างครบวงจร ซึ่งบริษัทใหม่ที่ธนาคารจะจัดตั้งขึ้นนั้น ธนาคารจะเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด 100%