นกแอร์ จับมือ บริษัทแม่ “การบินไทย” กำหนดแผนการตลาด 4 ช่องทางเสริมแกร่ง หวังดันตัวเองขึ้นแท่นสายการบินโลว์คอสต์ระดับประเทศ พร้อม ประกาศเปิดศึกสงครามราคา ถือโอกาสครบรอบ 5 ปี ระเบิดแคมเปญ 888 บาท ทุกเส้นทาง เตรียมคิดออฟเพิ่มอีก 2-3 แคมเปญ ชูสงครามราคาสู้ศึก คุยสิ้นปีกำไร 200 ล้านบาท
นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินนกแอร์ เปิดเผยแผนธุรกิจว่า ขณะนี้อย่าระหว่างการหารือกับการบินไทย ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของนกแอร์ เพื่อกำหนดแผนการตลาดร่วมกัน ใน 4 ช่องทางหลัก ได้แก่ แผนตารางบิน เครือข่ายการบิน ช่องทางการจัดจำหน่าย และ รอยัลตี้โรปแกรม หรือโปรแกรมสำหรับรักษาฐานลูกค้า คาดว่าในอีก 1-2 เดือน จะสามารถเปิดตัวได้อย่างเป็นทางการ
โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงระบบไอที เพื่อเชื่อมข้อมูลระหว่างกัน
“แม้นกแอร์จะเป็นบริษัทลูกของการบินไทย แต่แยกกันทำงานมาโดยตลอด ซึ่งตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่นกแอร์และการบินไทยซึ่งเป็นบริษัทแม่ จะต้องผนึกการทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจการบิน ให้แก่ทั้งสองสายการบิน รองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ไป โดยจะเป็นรูปแบบจัดแคมเปญร่วมกัน และการให้บริการแบบถาวร
และสามารถยกระดับแบรนด์นกแอร์ให้เป็นโลว์คอสต์ระดับประเทศได้”
เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี นกแอร์ บริษัทได้จัดสรรงบการตลาดไว้ประมาณไว้ 50 ล้านบาท ใช้ไปแล้วเพียง 3-4 ล้านบาท ที่เหลือจะใช้ในครึ่งปีหลังนี้ โดยมีแผนจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการขายทุกรูปแบบ ทั้งการออกแคมเปญส่งเสริมการขายอย่างน้อย 2-3 ราย การ ต่อเนื่องถึงสิ้นปี และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยจะเน้นเรื่องการทำกลยุทธ์ราคามาใช้เป็นจุดขายสำคัญ
ล่าสุดเ ปิดตัวแคมเปญ “เซอร์ไพรส์ ปาร์ตี้” เปิดจำหน่ายตั๋วโดยสารราคา 888 บาท ทุกเส้นทางบินของนกแอร์ โดยราคาดังกล่าวจะรวมค่าธรรมเนียมทุกประเภทไว้หมดแล้ว เริ่มตั้งแต่วันที่ 23-26 ก.ค.2552 นี้ ลูกค้าใช้บริการได้ตั้งแต่ 1 ส.ค.-30 ก.ย.ศกนี้ ซึ่งตั้งแต่เปิดแคมเปญได้ 2 วัน มีผู้จองแล้วเกือบ 10,000 คน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้เพียง 3,000
ทุกแคมเปญมุ่งหวังเพิ่มจำนวนผู้โดยสารต่อเที่ยวให้มีจำนวนมากขึ้น จากครึ่งปีแรก อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (โหลดแฟกเตอร์) ต่อเที่ยวเฉลี่ยลดลง 5-10% ส่วนปัจจุบันโหลดแฟกเตอร์อยู่ที่ 70% ซึ่งเป็นตัวเลขที่พอใจในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจและการเมือง ไทยเป็นเช่นนี้ แถมยังมีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 อีกด้วย สำหรับเดือน ต.ค.นี้ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียน คาดว่า จะมีการเดินทางเพิ่มขึ้น และมีโหลดแฟกเตอร์เพิ่มเป็น 85%
อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อมั่นว่า ในครึ่งปีหลังที่เหลือ ภาพรวมธุรกิจท่องเที่ยวจะเริ่มดีขึ้น เพราะเชื่อว่า ผู้คนยังต้องการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน แต่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและงบประมาณของตัวเองที่มีอยู่ ซึ่งหากมองในแง่นี้ก็เท่ากับเป็นโอกาสของสายการบินโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ที่จะได้ฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น
สำหรับรายได้ของนกแอร์ 7 เดือนแรกปีนี้ ผลประกอบการมีกำไรแล้ว 160 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะมีผลกำไรที่ 200 ล้านบาท ซึ่งต่างจากปีก่อนที่ทั้งปีขาดทุนถึง 200 ล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณษเพิ่มเส้นทางการบิน โดยจะเลือก 1 ใน 3 เส้นทาง คือ เชียง อุบลราชธานี และ สุราษฎร์ธานี พิจารณาจากดีมานด์เป็นหลัก
นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินนกแอร์ เปิดเผยแผนธุรกิจว่า ขณะนี้อย่าระหว่างการหารือกับการบินไทย ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของนกแอร์ เพื่อกำหนดแผนการตลาดร่วมกัน ใน 4 ช่องทางหลัก ได้แก่ แผนตารางบิน เครือข่ายการบิน ช่องทางการจัดจำหน่าย และ รอยัลตี้โรปแกรม หรือโปรแกรมสำหรับรักษาฐานลูกค้า คาดว่าในอีก 1-2 เดือน จะสามารถเปิดตัวได้อย่างเป็นทางการ
โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงระบบไอที เพื่อเชื่อมข้อมูลระหว่างกัน
“แม้นกแอร์จะเป็นบริษัทลูกของการบินไทย แต่แยกกันทำงานมาโดยตลอด ซึ่งตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่นกแอร์และการบินไทยซึ่งเป็นบริษัทแม่ จะต้องผนึกการทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจการบิน ให้แก่ทั้งสองสายการบิน รองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ไป โดยจะเป็นรูปแบบจัดแคมเปญร่วมกัน และการให้บริการแบบถาวร
และสามารถยกระดับแบรนด์นกแอร์ให้เป็นโลว์คอสต์ระดับประเทศได้”
เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี นกแอร์ บริษัทได้จัดสรรงบการตลาดไว้ประมาณไว้ 50 ล้านบาท ใช้ไปแล้วเพียง 3-4 ล้านบาท ที่เหลือจะใช้ในครึ่งปีหลังนี้ โดยมีแผนจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการขายทุกรูปแบบ ทั้งการออกแคมเปญส่งเสริมการขายอย่างน้อย 2-3 ราย การ ต่อเนื่องถึงสิ้นปี และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยจะเน้นเรื่องการทำกลยุทธ์ราคามาใช้เป็นจุดขายสำคัญ
ล่าสุดเ ปิดตัวแคมเปญ “เซอร์ไพรส์ ปาร์ตี้” เปิดจำหน่ายตั๋วโดยสารราคา 888 บาท ทุกเส้นทางบินของนกแอร์ โดยราคาดังกล่าวจะรวมค่าธรรมเนียมทุกประเภทไว้หมดแล้ว เริ่มตั้งแต่วันที่ 23-26 ก.ค.2552 นี้ ลูกค้าใช้บริการได้ตั้งแต่ 1 ส.ค.-30 ก.ย.ศกนี้ ซึ่งตั้งแต่เปิดแคมเปญได้ 2 วัน มีผู้จองแล้วเกือบ 10,000 คน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้เพียง 3,000
ทุกแคมเปญมุ่งหวังเพิ่มจำนวนผู้โดยสารต่อเที่ยวให้มีจำนวนมากขึ้น จากครึ่งปีแรก อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (โหลดแฟกเตอร์) ต่อเที่ยวเฉลี่ยลดลง 5-10% ส่วนปัจจุบันโหลดแฟกเตอร์อยู่ที่ 70% ซึ่งเป็นตัวเลขที่พอใจในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจและการเมือง ไทยเป็นเช่นนี้ แถมยังมีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 อีกด้วย สำหรับเดือน ต.ค.นี้ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียน คาดว่า จะมีการเดินทางเพิ่มขึ้น และมีโหลดแฟกเตอร์เพิ่มเป็น 85%
อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อมั่นว่า ในครึ่งปีหลังที่เหลือ ภาพรวมธุรกิจท่องเที่ยวจะเริ่มดีขึ้น เพราะเชื่อว่า ผู้คนยังต้องการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน แต่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและงบประมาณของตัวเองที่มีอยู่ ซึ่งหากมองในแง่นี้ก็เท่ากับเป็นโอกาสของสายการบินโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ที่จะได้ฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น
สำหรับรายได้ของนกแอร์ 7 เดือนแรกปีนี้ ผลประกอบการมีกำไรแล้ว 160 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะมีผลกำไรที่ 200 ล้านบาท ซึ่งต่างจากปีก่อนที่ทั้งปีขาดทุนถึง 200 ล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณษเพิ่มเส้นทางการบิน โดยจะเลือก 1 ใน 3 เส้นทาง คือ เชียง อุบลราชธานี และ สุราษฎร์ธานี พิจารณาจากดีมานด์เป็นหลัก