เลขาฯก.ล.ต.สนใจแนวคิดโบรกเกอร์ต่างชาติ ที่ขอให้เปิดทางทำธุรกิจกรรมเกี่ยวกับการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ เพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในการซื้อขายหุ้นในพอร์ตการลงทุนของลูกค้า ยืนยันไม่ข้ามเส้นแข่งขันกับแบงก์พาณิชย์ เตรียมเสนอบอร์ดก.ล.ต.พิจารณา หากได้ไฟเขียวยื่นเรื่องชงธนาคารแห่งประเทศไทยตัดสินต่อ พร้อมยกร่างการออกกึ่งกองทุนรวม หวังช่วยเพิ่มสินค้าให้บรรดาโบรกฯ
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า บริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศแห่งหนึ่งได้มีการเสนอแนวคิดให้บริษัทหลักทรัพย์ควรได้รับอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)สามารถทำธุรกิจกรรมเกี่ยวกับการปริวรรตเงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในการซื้อขายหุ้นในพอร์ตการลงทุนของลูกค้าที่มีการลงทุนในต่างประเทศ
ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวนั้นจะไม่เป็นการทำธุรกรรมแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจาก จะทำให้ในส่วนของการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในการซื้อขายหุ้นให้กับลูกค้าเท่านั้น ไม่ใช่ลักษณะการซื้อมาขายไปเงินตราเพื่อทำกำไร ซึ่งปัจจุบันโบรกเกอร์ต่างประเทศ เช่น เจพีมอร์แกน และมอร์แกนสแตนเลย์ ได้มีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินให้กับลูกค้าเช่นกัน
สำหรับลักษณะการทำนั้นจะทำให้กับนักลงทุนที่มีมูลค่าการซื้อขายหุ้นสูงเท่านั้น ซึ่งการทำธุรกรรมดังกล่าวก.ล.ต.เห็นว่ามีความน่าสนใจเป็นการเพิ่มการทำธุรกรรมของโบรกเกอร์ให้มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาส่วนตัวเคยมีแนวคิดในเรื่องดังกล่าวแต่ไม่ได้มีการเจาะลึก จากเห็นว่าแนวทางในการทำธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติ ที่มาทำธุรกิจในต่างประเทศนั้นได้มีการให้บริการในการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนเช่นกัน
“ผมเคยคิดเรื่องการทำธุรกรรมเกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยงของโบรกเกอร์ แต่ไม่ได้มีการเจาะลึก ผมเห็นแนวทางการทำธุรกิจของบล.ต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจข้ามประเทศมีการให้บริการในด้านการป้องกันความเสี่ยงอัตราอัตราแลกเปลี่ยน สวอปค่าเงิน หรือการทำดิลิเวอร์ทีฟสวอป เงินอยู่แล้ว ซึ่งการทำนั้นบล.ต่างชาติไม่ได้ทำเป็นแบบธุรกรรมทางการเงินเหมือนธนาคารทั่วไป (Commercial Bank) แต่เป็นไปในลักษณะของการลงทุนทางการเงิน (Investment Bank) ซึ่งการทำหน้าที่บริการความเสี่ยงเป็นการขยายการทำงานของโบรกเกอร์”นายธีระชัยกล่าว
นายธีระชัย กล่าวว่า จากข้อเสนอดังกล่าวนั้น ก.ล.ต.ได้มีการให้ทางบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติดังกล่าวมีการจัดทำหนังสืออย่างเป็นทางการเกี่ยวกับรูปแบบขอบเขตในการดำเนินงาน มายังก.ลงต.และก.ล.ต.จะมีการศึกษาภายในเกี่ยวกับรูปแบบการทำธุรกรรม รวมทั้งจะเสนอให้ทางคณะกรรมการ (บอร์ด) ก.ล.ต.มีการพิจารณา ว่าเห็นชอบที่จะให้บล.ทำธุรกิจดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งหากมีความเห็นชอบก็จะนำเรื่องเสนอแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อไป
นอกจากนี้จะมีการยกร่างในเรื่องการออมแบบกึ่งกองทุนรวม คือ ให้กองทุนมีการบริการให้สามารถไปลงทุนในสินค้าที่มีความเสี่ยงในการลงทุนมากขึ้น เพื่อให้ได้รับให้ผลตอบแทนที่สูง แต่จะเสนอขายให้เฉพาะแก่นักลงทุนรายใหญ่ที่มีมูลค่าการลงทุนที่สูง และมีความรู้ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดให้มีสินค้าใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้โบรกเกอร์มีรายอื่นๆมากขึ้น เพราะ หากจะพึ่งพิงรายได้จากค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิชชั่น)จะทำให้อยู่รอดได้ลำบาง แม้จะมีโบรกเกอร์บางรายสามารถอยู่รอดได้จากเจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ในระยะยาวนั้นโบรกเกอร์จะต้องมีการเสนอสินค้าที่มีความหลากหลายและแตกต่างให้กับลูกค้า
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า บริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศแห่งหนึ่งได้มีการเสนอแนวคิดให้บริษัทหลักทรัพย์ควรได้รับอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)สามารถทำธุรกิจกรรมเกี่ยวกับการปริวรรตเงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในการซื้อขายหุ้นในพอร์ตการลงทุนของลูกค้าที่มีการลงทุนในต่างประเทศ
ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวนั้นจะไม่เป็นการทำธุรกรรมแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจาก จะทำให้ในส่วนของการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในการซื้อขายหุ้นให้กับลูกค้าเท่านั้น ไม่ใช่ลักษณะการซื้อมาขายไปเงินตราเพื่อทำกำไร ซึ่งปัจจุบันโบรกเกอร์ต่างประเทศ เช่น เจพีมอร์แกน และมอร์แกนสแตนเลย์ ได้มีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินให้กับลูกค้าเช่นกัน
สำหรับลักษณะการทำนั้นจะทำให้กับนักลงทุนที่มีมูลค่าการซื้อขายหุ้นสูงเท่านั้น ซึ่งการทำธุรกรรมดังกล่าวก.ล.ต.เห็นว่ามีความน่าสนใจเป็นการเพิ่มการทำธุรกรรมของโบรกเกอร์ให้มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาส่วนตัวเคยมีแนวคิดในเรื่องดังกล่าวแต่ไม่ได้มีการเจาะลึก จากเห็นว่าแนวทางในการทำธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติ ที่มาทำธุรกิจในต่างประเทศนั้นได้มีการให้บริการในการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนเช่นกัน
“ผมเคยคิดเรื่องการทำธุรกรรมเกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยงของโบรกเกอร์ แต่ไม่ได้มีการเจาะลึก ผมเห็นแนวทางการทำธุรกิจของบล.ต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจข้ามประเทศมีการให้บริการในด้านการป้องกันความเสี่ยงอัตราอัตราแลกเปลี่ยน สวอปค่าเงิน หรือการทำดิลิเวอร์ทีฟสวอป เงินอยู่แล้ว ซึ่งการทำนั้นบล.ต่างชาติไม่ได้ทำเป็นแบบธุรกรรมทางการเงินเหมือนธนาคารทั่วไป (Commercial Bank) แต่เป็นไปในลักษณะของการลงทุนทางการเงิน (Investment Bank) ซึ่งการทำหน้าที่บริการความเสี่ยงเป็นการขยายการทำงานของโบรกเกอร์”นายธีระชัยกล่าว
นายธีระชัย กล่าวว่า จากข้อเสนอดังกล่าวนั้น ก.ล.ต.ได้มีการให้ทางบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติดังกล่าวมีการจัดทำหนังสืออย่างเป็นทางการเกี่ยวกับรูปแบบขอบเขตในการดำเนินงาน มายังก.ลงต.และก.ล.ต.จะมีการศึกษาภายในเกี่ยวกับรูปแบบการทำธุรกรรม รวมทั้งจะเสนอให้ทางคณะกรรมการ (บอร์ด) ก.ล.ต.มีการพิจารณา ว่าเห็นชอบที่จะให้บล.ทำธุรกิจดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งหากมีความเห็นชอบก็จะนำเรื่องเสนอแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อไป
นอกจากนี้จะมีการยกร่างในเรื่องการออมแบบกึ่งกองทุนรวม คือ ให้กองทุนมีการบริการให้สามารถไปลงทุนในสินค้าที่มีความเสี่ยงในการลงทุนมากขึ้น เพื่อให้ได้รับให้ผลตอบแทนที่สูง แต่จะเสนอขายให้เฉพาะแก่นักลงทุนรายใหญ่ที่มีมูลค่าการลงทุนที่สูง และมีความรู้ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดให้มีสินค้าใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้โบรกเกอร์มีรายอื่นๆมากขึ้น เพราะ หากจะพึ่งพิงรายได้จากค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิชชั่น)จะทำให้อยู่รอดได้ลำบาง แม้จะมีโบรกเกอร์บางรายสามารถอยู่รอดได้จากเจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ในระยะยาวนั้นโบรกเกอร์จะต้องมีการเสนอสินค้าที่มีความหลากหลายและแตกต่างให้กับลูกค้า