บิ๊กแบงก์กรุงเทพยอมรับสินเชื่อ 2 เดือนหดตัว เผยสินเชื่อบ้านติดลบในรอบหลายปี หวั่นทั้งปีไม่เข้าเป้า เตรียมทบทวนเป้าสินเชื่อรวมใหม่ในอีก 1 เดือนข้างหน้า ระบุแบงก์เข้มปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยมียอดปฏิเสธเพิ่มเป็น 40% จากเดิม 26-27% คุมเอ็นพีแอลไม่เกิน 4.5% พร้อมพิจารณาดอกเบี้ยอีกรอบหลังประชุม กนง.
นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการธนาคาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ธนาคารยอมรับว่าสัญญาณการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีการปรับตัวช้าลงมากพอสมควร ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเศรษฐกิจของประเทศไทยเท่านั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีผลต่อทุกประเทศ ทั้งในเรื่องของการขายสินค้าไม่ได้ คนซื้อก็ไม่ซื้อของเลย ซึ่งแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ "เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท" ของรัฐบาลนั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สามารถช่วยเหลือประชาชนในทางอ้อมได้ระดับหนึ่ง
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภายหลังจากการประชุมของคณะกรรมการการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 เมษายน นี้ ธนาคารจะทำการพิจารณาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารอีกครั้ง ภายจากก่อนหน้านี้ที่ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากไปแล้ว
ทั้งนี้ สินเชื่อของธนาคารในปัจจุบันได้มีการหดตัวลงเล็กน้อย และตอนนี้ยังไม่ได้มีการทบทวนที่จะปรับเป้าหมาย เนื่องจากเป้าหมายเดิมได้ตั้งไว้ไม่สูงมาก บนพื้นฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี)ติดลบ 2% ส่วนงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.5 ล้านล้านบาทนั้น เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจ เพราะจะทำให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น แต่คงต้องใช้ระยะเวลาระยะหนึ่งถึงจะเห็นผล
อีก 1 เดือนทบทวนเป้าสินเชื่อ
ด้านนายเดชา ตุลานันท์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพกล่าวว่า ธนาคารจะมีการทบทวนว่าจะมีการปรับเป้าสินเชื่อรวมหรือไม่ จะใช้ระยะเวลาภายใน 1 เดือนต่อจากนี้ เพื่อรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งการที่จะปรับเป้าหมายสินเชื่อนั้นจะต้องดูตลาดโดยรวมเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ธนาคารยอมรับว่าสินเชื่อรวมของธนาคารเติบโตต่ำกว่าเป้าหมายพอสมควร เนื่องจาก 2 เดือนแรกที่ผ่านมาสินเชื่อได้ติดลบ ซึ่งมาจากการกลุ่มลูกค้าที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ หรือ เทรดไฟแนนซ์ ลูกค้าส่งออก เพราะกลุ่มลูกค้าดังกล่าวกำลังตื่นตระหนกกับกระแสปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกในขณะที่ความต้องการสินเชื่อลดลง ซึ่งมีผลมาจากจำนวนสั่งซื้อหรืออเดอร์จากคู่ค้าหายไปกว่าครึ่งนึงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยธนาคารพบว่ายอดการส่งออกลูกค้าของธนาคารหดตัว 15-16% เมื่อเทียบกับตลาดส่งออกโดยรวมหดตัวถึง 28%
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อของธนาคารในไตรมาส 1 ของปีนี้อาจจะติดลบเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน เนื่องจากธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น อีกทั้งคุณสมบัติของผู้กู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ก็มีมากขึ้นเช่นกัน โดยธนาคารมียอดปฏิเสธการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นจาก 26-27% เป็น 40% ส่วนเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อรวมที่ 5-6%นั้นคาดว่าจะไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย
ส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยในเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้น ถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่มีการติดลบ เนื่องจากในทุกปียอดสินเชื่อดังกล่าวจะเติบโตได้ดี แม้ว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ยอดจะเริ่มกลับมาเป็นบวกบ้างแล้ว ซึ่งการติดลบของสินเชื่อนั้นส่วนหนึ่งมาจากคำขอสินเชื่อมีน้อยลง และธนาคารมีความเข้มงวดมากขึ้น ทำให้ยอดชำระคืนมีมากกว่ายอดสินเชื่อใหม่
นายสุวรรณกล่าวว่า ขณะนี้มีความเป็นห่วงเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด (เอ็นพีแอล) แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็นเม็ดเงินเพียงหลักพันล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นจาก 4.6% เป็น 5% แต่แนวโน้มของการชำระล่าช้าในระยะสั้นๆเริ่มมีมากขึ้น ทำให้ธนาคารได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด ส่วนลูกหนี้รายใหญ่ เช่น กลุ่มน้ำตาลที่อยู่ในช่วงฟื้นฟูกิจการนั้น ภาพรวมยังไปได้ดี มีการชำระหนี้เป็นปกติดี
โดยธนาคารตั้งเป้าหมายจะคุมเอ็นพีแอลปีนี้ให้อยู่ที่ไม่เกิน 4.5% และไม่ได้เพิ่มจำนวนพนักงานในการติดตามหนี้ แต่ได้เพิ่มความถี่ในการติดตามให้มากขึ้น
ทั้งนี้ ได้มีเอ็นพีแอลใหม่เกิดขึ้นบ้างแต่ยังไม่ใช่อัตราที่สูง และกระจายอยู่ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งโดยปกติของหนี้ที่มีปัญหารายใหม่ที่เข้ามานั้น ไม่ได้เป็นหนี้ที่มีปัญหาที่แท้จริงทั้งหมด แต่อาจจะเป็นหนี้ที่เกิดจากลูกค้าไม่ชำระเงินตรงตามกำหนด เช่น กลุ่มก่อสร้างที่ทำโครงการเสร็จแล้ว แต่มีการรับเงินล่าช้า อย่างไรก็ตาม จากสถิติในรอบ 1 ปี จากจำนวนหนี้มีปัญหารายใหม่เมื่อได้รับการแก้ปัญหาจะกลายเป็นหนี้ปกติ 50% และที่เหลือจะเป็นหนี้ที่มีปัญหาจริง ๆ
"ตอนนี้สิ่งที่เราต้องทำคือ จะทำอย่างไรไม่ให้สินเชื่อติดลบ เพราะการติดลบของสินเชื่อแบงก์กรุงเทพนั้นจะไม่ดีต่อประเทศ ดังนั้น มันต้องโตบ้าง แต่ภาวะแบบนี้ไม่ใช่แค่แบงก์กรุงเทพที่เดียวที่เป็น แบงก์อื่นก็อยู่ในภาวะเดียวกัน ส่วนเป้าเอ็นพีแอลเราก็ตั้งแบบใจสู้ แต่ไม่รู้ว่าจะคุมไหวแค่ไหน ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญก็ไม่น่าห่วงเท่าไหร่"
ส่วนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้น ยอมรับว่าเป็นกลุ่มที่อ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจทำให้เกิดเป็นเอ็นพีแอลได้ง่าย แต่ยังไม่เห็นสัญญาณที่น่ากลัวแม้ว่าจะการชำระล่าช้าจะเพิ่มขึ้นบ้าง ส่วนกิจการขนาดใหญ่นั้นตอนนี้ถือว่ามีความแข็งแกร่งมาก เนื่องจากได้รับบทเรียนจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้มีความระมัดระวังมากในการทำธุรกิจ โดยจะพยายามรักษาฐานเงินทุกให้แข็งแกร่งและไม่กู้เงินเพิ่ม
สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของภาครัฐที่ออกมาในขณะนี้ก็ถือว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง แต่ก็ต้องยอมรับว่าจะเห็นผลแค่ในระยะสั้น และรัฐบาลก็คงจะมีมาตรการในระยะกลางออกมาเพิ่มอีก
นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการธนาคาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ธนาคารยอมรับว่าสัญญาณการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีการปรับตัวช้าลงมากพอสมควร ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเศรษฐกิจของประเทศไทยเท่านั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีผลต่อทุกประเทศ ทั้งในเรื่องของการขายสินค้าไม่ได้ คนซื้อก็ไม่ซื้อของเลย ซึ่งแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ "เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท" ของรัฐบาลนั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สามารถช่วยเหลือประชาชนในทางอ้อมได้ระดับหนึ่ง
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภายหลังจากการประชุมของคณะกรรมการการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 เมษายน นี้ ธนาคารจะทำการพิจารณาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารอีกครั้ง ภายจากก่อนหน้านี้ที่ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากไปแล้ว
ทั้งนี้ สินเชื่อของธนาคารในปัจจุบันได้มีการหดตัวลงเล็กน้อย และตอนนี้ยังไม่ได้มีการทบทวนที่จะปรับเป้าหมาย เนื่องจากเป้าหมายเดิมได้ตั้งไว้ไม่สูงมาก บนพื้นฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี)ติดลบ 2% ส่วนงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.5 ล้านล้านบาทนั้น เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจ เพราะจะทำให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น แต่คงต้องใช้ระยะเวลาระยะหนึ่งถึงจะเห็นผล
อีก 1 เดือนทบทวนเป้าสินเชื่อ
ด้านนายเดชา ตุลานันท์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพกล่าวว่า ธนาคารจะมีการทบทวนว่าจะมีการปรับเป้าสินเชื่อรวมหรือไม่ จะใช้ระยะเวลาภายใน 1 เดือนต่อจากนี้ เพื่อรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งการที่จะปรับเป้าหมายสินเชื่อนั้นจะต้องดูตลาดโดยรวมเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ธนาคารยอมรับว่าสินเชื่อรวมของธนาคารเติบโตต่ำกว่าเป้าหมายพอสมควร เนื่องจาก 2 เดือนแรกที่ผ่านมาสินเชื่อได้ติดลบ ซึ่งมาจากการกลุ่มลูกค้าที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ หรือ เทรดไฟแนนซ์ ลูกค้าส่งออก เพราะกลุ่มลูกค้าดังกล่าวกำลังตื่นตระหนกกับกระแสปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกในขณะที่ความต้องการสินเชื่อลดลง ซึ่งมีผลมาจากจำนวนสั่งซื้อหรืออเดอร์จากคู่ค้าหายไปกว่าครึ่งนึงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยธนาคารพบว่ายอดการส่งออกลูกค้าของธนาคารหดตัว 15-16% เมื่อเทียบกับตลาดส่งออกโดยรวมหดตัวถึง 28%
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อของธนาคารในไตรมาส 1 ของปีนี้อาจจะติดลบเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน เนื่องจากธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น อีกทั้งคุณสมบัติของผู้กู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ก็มีมากขึ้นเช่นกัน โดยธนาคารมียอดปฏิเสธการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นจาก 26-27% เป็น 40% ส่วนเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อรวมที่ 5-6%นั้นคาดว่าจะไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย
ส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยในเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้น ถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่มีการติดลบ เนื่องจากในทุกปียอดสินเชื่อดังกล่าวจะเติบโตได้ดี แม้ว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ยอดจะเริ่มกลับมาเป็นบวกบ้างแล้ว ซึ่งการติดลบของสินเชื่อนั้นส่วนหนึ่งมาจากคำขอสินเชื่อมีน้อยลง และธนาคารมีความเข้มงวดมากขึ้น ทำให้ยอดชำระคืนมีมากกว่ายอดสินเชื่อใหม่
นายสุวรรณกล่าวว่า ขณะนี้มีความเป็นห่วงเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด (เอ็นพีแอล) แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็นเม็ดเงินเพียงหลักพันล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นจาก 4.6% เป็น 5% แต่แนวโน้มของการชำระล่าช้าในระยะสั้นๆเริ่มมีมากขึ้น ทำให้ธนาคารได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด ส่วนลูกหนี้รายใหญ่ เช่น กลุ่มน้ำตาลที่อยู่ในช่วงฟื้นฟูกิจการนั้น ภาพรวมยังไปได้ดี มีการชำระหนี้เป็นปกติดี
โดยธนาคารตั้งเป้าหมายจะคุมเอ็นพีแอลปีนี้ให้อยู่ที่ไม่เกิน 4.5% และไม่ได้เพิ่มจำนวนพนักงานในการติดตามหนี้ แต่ได้เพิ่มความถี่ในการติดตามให้มากขึ้น
ทั้งนี้ ได้มีเอ็นพีแอลใหม่เกิดขึ้นบ้างแต่ยังไม่ใช่อัตราที่สูง และกระจายอยู่ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งโดยปกติของหนี้ที่มีปัญหารายใหม่ที่เข้ามานั้น ไม่ได้เป็นหนี้ที่มีปัญหาที่แท้จริงทั้งหมด แต่อาจจะเป็นหนี้ที่เกิดจากลูกค้าไม่ชำระเงินตรงตามกำหนด เช่น กลุ่มก่อสร้างที่ทำโครงการเสร็จแล้ว แต่มีการรับเงินล่าช้า อย่างไรก็ตาม จากสถิติในรอบ 1 ปี จากจำนวนหนี้มีปัญหารายใหม่เมื่อได้รับการแก้ปัญหาจะกลายเป็นหนี้ปกติ 50% และที่เหลือจะเป็นหนี้ที่มีปัญหาจริง ๆ
"ตอนนี้สิ่งที่เราต้องทำคือ จะทำอย่างไรไม่ให้สินเชื่อติดลบ เพราะการติดลบของสินเชื่อแบงก์กรุงเทพนั้นจะไม่ดีต่อประเทศ ดังนั้น มันต้องโตบ้าง แต่ภาวะแบบนี้ไม่ใช่แค่แบงก์กรุงเทพที่เดียวที่เป็น แบงก์อื่นก็อยู่ในภาวะเดียวกัน ส่วนเป้าเอ็นพีแอลเราก็ตั้งแบบใจสู้ แต่ไม่รู้ว่าจะคุมไหวแค่ไหน ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญก็ไม่น่าห่วงเท่าไหร่"
ส่วนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้น ยอมรับว่าเป็นกลุ่มที่อ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจทำให้เกิดเป็นเอ็นพีแอลได้ง่าย แต่ยังไม่เห็นสัญญาณที่น่ากลัวแม้ว่าจะการชำระล่าช้าจะเพิ่มขึ้นบ้าง ส่วนกิจการขนาดใหญ่นั้นตอนนี้ถือว่ามีความแข็งแกร่งมาก เนื่องจากได้รับบทเรียนจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้มีความระมัดระวังมากในการทำธุรกิจ โดยจะพยายามรักษาฐานเงินทุกให้แข็งแกร่งและไม่กู้เงินเพิ่ม
สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของภาครัฐที่ออกมาในขณะนี้ก็ถือว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง แต่ก็ต้องยอมรับว่าจะเห็นผลแค่ในระยะสั้น และรัฐบาลก็คงจะมีมาตรการในระยะกลางออกมาเพิ่มอีก