เซอร์ไพรส์! ผู้ว่าแบงก์ชาติกินดีหมีบี้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้กระตุ้นเศรษฐกิจ ขู่หากไม่ตอบสนอง ธปท.ต้องออกมาตรการกดดัน เซ็งเหตุผลนายแบงก์อ้างรอต้นทุนเงินฝากครบรอบก่อน เปรียบแบงก์ชาติเป็นคนเลี้ยงม้าไม่สามารถบังคับให้ม้ากินน้ำได้ ผวาสินเชื่อค้างชำระไม่ถึง 3 เดือนกำลังก่อตัวเพิ่ม หากสถาบันการเงินไทยรับมือดีไม่มีปัญหาซ้ำรอยปี40
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงพร้อมส่งสัญญาณอย่างต่อเนื่องในการช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ แต่อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ช่วยการลงทุน หรือกระตุ้นการใช้จ่ายเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ในระบบมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แม้จะลดไม่เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพราะเงินฝากมีต้นทุนด้านระยะเวลาในการฝากเงินค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม หากครบกำหนดอายุเงินฝากดังกล่าวแล้ว ธปท.จะติดตามดูการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระบบ ซึ่งหากยอดสินเชื่อในระบบไม่กระเตื้องนัก ธปท.อาจมีมาตรการเสริมอื่นๆ มาช่วยผ่อนคลายต่อไป
“เราในฐานะคนเลี้ยงม้าจะจูงม้าไปบ่อน้ำได้ แต่ไม่สามารถบังคับม้าให้กินน้ำในบ่อได้ และม้าบางตัวที่เข้าไม่ถึงก็ต้องมีการพูดคุยกัน อย่างไรก็ตามวิธีค้ำประกันความเสี่ยงของภาครัฐร่วมกับแบงก์เชื่อว่าจะสามารถช่วยประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าไม่ถึงได้ และคาดว่าในเดือนเม.ย.อย่างน้อยจะมีเงินเข้าสู่ธุรกิจกลุ่มนี้ไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งตอนนี้แบงก์ชาติทำอะไรได้ก็ต้องทำ”
อย่างไรก็ตาม แม้ในอนาคตรัฐบาลจะมีการออกพันธบัตรรัฐบาลสู่ระบบจำนวนมาก และไม่เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์จะหันไปลงทุนด้านนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อยังคงเป็นธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งได้รับอัตราดอกเบี้ยสูง แม้ขณะนี้สินเชื่อโดยรวมชะลอตัวบ้าง เนื่องจากลูกหนี้ของสถาบันการเงินมีการคืนหนี้มากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้การกู้เงินเพื่อไปทำธุรกิจต่อเนื่องอาจน้อยลง แต่ในส่วนของสินเชื่อวสำหรับเก็บสต็อกอาจมีเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้าที่ผลิตยังขายไม่ออก ดังนั้น สินเชื่อสุทธิลดลงและไม่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ
“ขณะนี้สินเชื่อบางประเภทในระบบเริ่มมีสัญญาณค้างชำระไม่ถึง 3 เดือนเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งทำให้หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่แล้วด้วย แต่เชื่อว่าสถาบันการเงินได้เตรียมการไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้สถาบันการเงินได้ทำตัวเองให้แข็งแกร่ง โดยการตั้งสำรองและมีเงินกองทุนให้เพียงพอ เพื่อรับมือพายุที่อาจจะเกิดขึ้น จึงมั่นใจว่าภาคสถาบันการเงินไทยจะไม่ประสบปัญหาเหมือนกับปี 40 อย่างแน่นอน”
แนะรัฐเร่งเบิกจ่ายเงินเร็ว
สำหรับประเด็นที่รัฐบาลออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนในโครงการพื้นฐานในช่วง2-3 ปี ข้างหน้า วงเงิน 1.4 ล้านล้านบาท นั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการออกแพ็กเกจขนาดใหญ่มากเท่าไรยิ่งมีผลต่อเศรษฐกิจมากเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าเงินที่นำมาใช้นั้นมีแหล่งที่มาจากที่ใด ใช้จ่ายอย่างไร ขณะเดียวกันรัฐบาลควรพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่จะมีผลในระยะยาว ซึ่งจำเป็นต้องติดตามการเร่งรัดการเบิกจ่ายในการใช้เงินให้รวดเร็วและตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เม็ดเงินออกไปตามเป้าหมายที่วางไว้
หนุนขยายเพดานก่อหนี้เพิ่ม
ต่อประเด็นคำถามที่ว่ารัฐบาลต้องการขยายเพดานการก่อหนี้ เพื่อเปิดช่องให้สามารถออกมาตรการต่างๆ กระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวจะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งขณะนี้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะยาวมีโอกาสสูงขึ้น เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะมีพันธบัตรรัฐบาลออกมามาก ซึ่งเป็นไปตามแนวทางเดียวกันทั่วโลกอยู่แล้ว แต่การทำนโยบายการคลังในช่วงที่ผ่านมาก็มีความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลเองมีความระมัดระวังวินัยการคลังพอสมควร ฉะนั้นหากจะลดข้อจำกัดไปบ้างก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และเชื่อว่าต่อไปหากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติ ไทยก็สามารถกลับเข้าสู่ข้อจำกัดต่างๆ อย่างเดิมได้
หาแนวทางชำระคืนดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯ
สำหรับกรณีที่กระทรวงการคลังต้องการให้ธปท.เข้ามาช่วยชำระคืนอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่คลังกู้เงินเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.4 ล้านล้านบาท นอกเหนือจากปัจจุบันที่ธปท.ชำระคืนเงินต้นว่า กระทรวงการคลังและธปท.ได้เริ่มหารือกันเรื่องนี้บางส่วนแล้ว แต่ยังไม่มีรายละเอียดอะไรนัก แต่ขณะนี้ต่างฝ่ายก็กลับไปศึกษาเรื่องนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาหลายด้าน โดยเฉพาะด้านกฎหมาย และหลังจากนั้นจะกลับมาหารือร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุปอีกครั้งหนึ่งต่อไป
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงพร้อมส่งสัญญาณอย่างต่อเนื่องในการช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ แต่อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ช่วยการลงทุน หรือกระตุ้นการใช้จ่ายเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ในระบบมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แม้จะลดไม่เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพราะเงินฝากมีต้นทุนด้านระยะเวลาในการฝากเงินค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม หากครบกำหนดอายุเงินฝากดังกล่าวแล้ว ธปท.จะติดตามดูการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระบบ ซึ่งหากยอดสินเชื่อในระบบไม่กระเตื้องนัก ธปท.อาจมีมาตรการเสริมอื่นๆ มาช่วยผ่อนคลายต่อไป
“เราในฐานะคนเลี้ยงม้าจะจูงม้าไปบ่อน้ำได้ แต่ไม่สามารถบังคับม้าให้กินน้ำในบ่อได้ และม้าบางตัวที่เข้าไม่ถึงก็ต้องมีการพูดคุยกัน อย่างไรก็ตามวิธีค้ำประกันความเสี่ยงของภาครัฐร่วมกับแบงก์เชื่อว่าจะสามารถช่วยประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าไม่ถึงได้ และคาดว่าในเดือนเม.ย.อย่างน้อยจะมีเงินเข้าสู่ธุรกิจกลุ่มนี้ไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งตอนนี้แบงก์ชาติทำอะไรได้ก็ต้องทำ”
อย่างไรก็ตาม แม้ในอนาคตรัฐบาลจะมีการออกพันธบัตรรัฐบาลสู่ระบบจำนวนมาก และไม่เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์จะหันไปลงทุนด้านนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อยังคงเป็นธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งได้รับอัตราดอกเบี้ยสูง แม้ขณะนี้สินเชื่อโดยรวมชะลอตัวบ้าง เนื่องจากลูกหนี้ของสถาบันการเงินมีการคืนหนี้มากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้การกู้เงินเพื่อไปทำธุรกิจต่อเนื่องอาจน้อยลง แต่ในส่วนของสินเชื่อวสำหรับเก็บสต็อกอาจมีเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้าที่ผลิตยังขายไม่ออก ดังนั้น สินเชื่อสุทธิลดลงและไม่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ
“ขณะนี้สินเชื่อบางประเภทในระบบเริ่มมีสัญญาณค้างชำระไม่ถึง 3 เดือนเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งทำให้หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่แล้วด้วย แต่เชื่อว่าสถาบันการเงินได้เตรียมการไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้สถาบันการเงินได้ทำตัวเองให้แข็งแกร่ง โดยการตั้งสำรองและมีเงินกองทุนให้เพียงพอ เพื่อรับมือพายุที่อาจจะเกิดขึ้น จึงมั่นใจว่าภาคสถาบันการเงินไทยจะไม่ประสบปัญหาเหมือนกับปี 40 อย่างแน่นอน”
แนะรัฐเร่งเบิกจ่ายเงินเร็ว
สำหรับประเด็นที่รัฐบาลออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนในโครงการพื้นฐานในช่วง2-3 ปี ข้างหน้า วงเงิน 1.4 ล้านล้านบาท นั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการออกแพ็กเกจขนาดใหญ่มากเท่าไรยิ่งมีผลต่อเศรษฐกิจมากเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าเงินที่นำมาใช้นั้นมีแหล่งที่มาจากที่ใด ใช้จ่ายอย่างไร ขณะเดียวกันรัฐบาลควรพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่จะมีผลในระยะยาว ซึ่งจำเป็นต้องติดตามการเร่งรัดการเบิกจ่ายในการใช้เงินให้รวดเร็วและตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เม็ดเงินออกไปตามเป้าหมายที่วางไว้
หนุนขยายเพดานก่อหนี้เพิ่ม
ต่อประเด็นคำถามที่ว่ารัฐบาลต้องการขยายเพดานการก่อหนี้ เพื่อเปิดช่องให้สามารถออกมาตรการต่างๆ กระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวจะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งขณะนี้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะยาวมีโอกาสสูงขึ้น เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะมีพันธบัตรรัฐบาลออกมามาก ซึ่งเป็นไปตามแนวทางเดียวกันทั่วโลกอยู่แล้ว แต่การทำนโยบายการคลังในช่วงที่ผ่านมาก็มีความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลเองมีความระมัดระวังวินัยการคลังพอสมควร ฉะนั้นหากจะลดข้อจำกัดไปบ้างก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และเชื่อว่าต่อไปหากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติ ไทยก็สามารถกลับเข้าสู่ข้อจำกัดต่างๆ อย่างเดิมได้
หาแนวทางชำระคืนดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯ
สำหรับกรณีที่กระทรวงการคลังต้องการให้ธปท.เข้ามาช่วยชำระคืนอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่คลังกู้เงินเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.4 ล้านล้านบาท นอกเหนือจากปัจจุบันที่ธปท.ชำระคืนเงินต้นว่า กระทรวงการคลังและธปท.ได้เริ่มหารือกันเรื่องนี้บางส่วนแล้ว แต่ยังไม่มีรายละเอียดอะไรนัก แต่ขณะนี้ต่างฝ่ายก็กลับไปศึกษาเรื่องนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาหลายด้าน โดยเฉพาะด้านกฎหมาย และหลังจากนั้นจะกลับมาหารือร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุปอีกครั้งหนึ่งต่อไป