เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ ประกาศพ้นสภาพการเป็นผู้บริหาร "สมพงษ์-นิภาพร" หลัง ก.ล.ต. กล่าวโทษกระทำผิดตามพรบ. พ.ศ.2535 เนื่องจากร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อบริษัท จงใจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ตามข้อบังคับบริษัท
นายไพบูลย์ สุขสุธรรมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (SECC) แจ้งว่าเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ได้กล่าวโทษนายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ และนางสาวนิภาพร คมกล้า เนื่องจากมีพยานหลักฐานที่น่าเชื่อว่า มีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในประเด็นดังนี้
1.นายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ ในฐานะประธานกรรมการที่รับผิดชอบการดำเนินงานและได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของบริษัท ได้เบียดบัง ยักยอกเงินของบริษัทด้วยการจัดทำเอกสารอันเป็นเท็จ ในการสั่งซื้อสินค้ารถยนต์ที่ไม่มีอยู่จริงเพื่อเป็นเหตุอำพรางให้ต้องจ่ายเงินจากบัญชีของบริษัท ให้แก่ตนเอง หรือบุคคลอื่น เพื่อซื้อสินค้ารถยนต์ที่ไม่มีอยู่จริงนั้น ทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 307 308 311 และ 313 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยมีนางสาวนิภาพร คมกล้า ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน ซึ่งฝ่าฝืนมาตรา 315 ประกอบมาตรา 307 308 และ 311
2.นายสมพงษ์ ฯร่วมกับนางสาวนิภาพร ฯ จัดทำเอกสารอันเป็นเท็จ ในการสั่งซื้อสินค้ารถยนต์ที่ไม่มีจริง และจัดให้มีการบันทึกบัญชีซื้อรถยนต์ที่ไม่มีอยู่จริง ทำให้รถยนต์ที่แสดงในบัญชีเป็นสินค้าคงเหลือเป็นเท็จ ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 312 แห่ง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2552 บริษัทได้รับหนังสือจาก ก.ล.ต. ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2551 แจ้งว่า เนื่องจาก นายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ และนางสาวนิภาพร คมกล้า อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษดำเนินคดีข้างต้น เป็นเหตุให้ทั้งสองท่าน มีลักษณะต้องห้ามในการเป็นผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตามข้อ 3(3) แห่งประกาศ กจ. 5/2548 ประกอบกับมาตรา89/3 89/4 และ89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งกำหนดว่ากรรมการและผู้บริหารต้องไม่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด และให้กรรมการและผู้บริหารพ้นจากตำแหน่ง เมื่อมีลักษณะแสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจดังกล่าว
ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ออกประกาศกำหนดให้การอยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษดำเนินคดีนั้น เป็นลักษณะต้องห้ามในการเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์แล้ว บุคคลทั้งสองข้างต้น จึงพ้นจากการเป็นกรรมการและผู้บริหารในบริษัทโดยผลของกฎหมายประกอบกับ การกระทำดังกล่าวของบุคคลทั้งสอง เป็นการกระทำความผิดวินัยร้ายแรง ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อบริษัท จงใจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ตามข้อบังคับบริษัท ข้อ 3.1 , 3.2 หมวด 11 แห่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท บริษัทจึงมีสิทธิเลิกจ้างบุคคลทั้งสองเป็นพนักงานโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
อย่างไรก็ตาม SECC แจ้งว่า นายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ และนางสาว นิภาพร คมกล้า ได้พ้นสภาพจากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2552 เป็นต้นไป
นายไพบูลย์ สุขสุธรรมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (SECC) แจ้งว่าเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ได้กล่าวโทษนายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ และนางสาวนิภาพร คมกล้า เนื่องจากมีพยานหลักฐานที่น่าเชื่อว่า มีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในประเด็นดังนี้
1.นายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ ในฐานะประธานกรรมการที่รับผิดชอบการดำเนินงานและได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของบริษัท ได้เบียดบัง ยักยอกเงินของบริษัทด้วยการจัดทำเอกสารอันเป็นเท็จ ในการสั่งซื้อสินค้ารถยนต์ที่ไม่มีอยู่จริงเพื่อเป็นเหตุอำพรางให้ต้องจ่ายเงินจากบัญชีของบริษัท ให้แก่ตนเอง หรือบุคคลอื่น เพื่อซื้อสินค้ารถยนต์ที่ไม่มีอยู่จริงนั้น ทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 307 308 311 และ 313 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยมีนางสาวนิภาพร คมกล้า ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน ซึ่งฝ่าฝืนมาตรา 315 ประกอบมาตรา 307 308 และ 311
2.นายสมพงษ์ ฯร่วมกับนางสาวนิภาพร ฯ จัดทำเอกสารอันเป็นเท็จ ในการสั่งซื้อสินค้ารถยนต์ที่ไม่มีจริง และจัดให้มีการบันทึกบัญชีซื้อรถยนต์ที่ไม่มีอยู่จริง ทำให้รถยนต์ที่แสดงในบัญชีเป็นสินค้าคงเหลือเป็นเท็จ ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 312 แห่ง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2552 บริษัทได้รับหนังสือจาก ก.ล.ต. ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2551 แจ้งว่า เนื่องจาก นายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ และนางสาวนิภาพร คมกล้า อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษดำเนินคดีข้างต้น เป็นเหตุให้ทั้งสองท่าน มีลักษณะต้องห้ามในการเป็นผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตามข้อ 3(3) แห่งประกาศ กจ. 5/2548 ประกอบกับมาตรา89/3 89/4 และ89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งกำหนดว่ากรรมการและผู้บริหารต้องไม่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด และให้กรรมการและผู้บริหารพ้นจากตำแหน่ง เมื่อมีลักษณะแสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจดังกล่าว
ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ออกประกาศกำหนดให้การอยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษดำเนินคดีนั้น เป็นลักษณะต้องห้ามในการเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์แล้ว บุคคลทั้งสองข้างต้น จึงพ้นจากการเป็นกรรมการและผู้บริหารในบริษัทโดยผลของกฎหมายประกอบกับ การกระทำดังกล่าวของบุคคลทั้งสอง เป็นการกระทำความผิดวินัยร้ายแรง ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อบริษัท จงใจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ตามข้อบังคับบริษัท ข้อ 3.1 , 3.2 หมวด 11 แห่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท บริษัทจึงมีสิทธิเลิกจ้างบุคคลทั้งสองเป็นพนักงานโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
อย่างไรก็ตาม SECC แจ้งว่า นายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ และนางสาว นิภาพร คมกล้า ได้พ้นสภาพจากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2552 เป็นต้นไป