เคทีซี ยังไม่พบสัญญาณหนี้เสียเพิ่ม หลังโรงงานปิดตัวหลายแห่ง แต่เศรษฐกิจที่ชะลอตัวมีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของประชาชน ส่วนแผนงานปีนี้เน้นดูแลลูกค้าเก่า ชี้ หลังติดชิปบนบัตร ทำให้ยอดทุจริตผ่านบัตรลดลง 75%
นายธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่ บริหารอาวุโส สายธุรกิจบัตรเครดิต บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างๆ ต้องปิดโรงงานหลายแห่งลงนั้น ซึ่งในขณะนี้พบว่ายังไม่ส่งผลกระทบต่อ KTC โดยตรง เพราะพนักงานถูกเลิกจ้าง เนื่องจากการปิดโรงงาน ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจบัตรเครดิต เพราะลูกค้าบัตรเครดิตต้องมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท
แต่อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ KTC จะได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอลง เพราะประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการใช้จ่าย จึงไม่ได้คาดหวังว่า ปีนี้ยอดการใช้จ่ายต่อบัตรจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งคาดว่า ปีนี้ยอดการใช้จ่ายต่อบัตรในแต่ละเดือนจะอยู่ที่ 7,500 บาท อยู่ในระดับเดียวกับปี 2551 รวมถึงไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจำนวนบัตรเครดิตในปีนี้จะเพิ่มขึ้นจากฐานปัจจุบันที่อยู่ระดับ 1.6 ล้านใบ
“เราเน้นดูแลลูกค้าในปีนี้จะไม่มีการออกบัตรที่เจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างที่ได้เห็นในปีก่อนภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอเราก็จะไม่กระตุ้นการใช้จ่ายของลูกค้า แต่จะเน้นการดูแลลูกค้าเดิมมากกว่า ส่วนหนี้เสียตอนนี้ก็ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นเพราะกลุ่มลูกค้าระดับกลางยังเป็นกลุ่มที่มีงานทำอยู่” นายธวัชชัย กล่าว
ส่วนปัญหาเรื่องการทุจริตการใช้บัตรเครดิตที่ประชาชนมีความเป็นห่วงนั้น นายธวัชชัย กล่าวว่า การใช้จ่ายของประชาชนจะลดลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจไม่เกี่ยวกับการเป็นห่วงการโดนทุจริต ซึ่งในปัจจุบันแม้จะเป็นภาวะเศรษฐกิจชะลอแต่ยอดการ
ทุจริตผ่านบัตรเครดิตก็ลดลงไป 75% หลังจากที่สถาบันการเงินต่างๆ หันมาใช้บัตรติดชิปการ์ดที่มีความปลอดภัยสูง
อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานภาวะการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดในเดือน พ.ย.ปี 2551 พบว่า ในระบบสถาบันการเงินมียอดสินเชื่อคงค้าง 1.84 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 8,898.53 ล้านบาท คิดเป็น 5.07% ของสินเชื่อรวม ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่มียอดลดลง 12.61 ล้านบาท ส่วนบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) และธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้น 4,527.53 ล้านบาท และ 4,383.63 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณบัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นถึง 1.03 ล้านใบ คิดเป็น 8.65% จากปัจจุบันที่มียอดบัตรเครดิตทั้งสิ้น 12.95 ล้านใบ
ส่วนปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมทั้งสิ้น 7.18 หมื่นล้านบาท ลดลง 2,780.63 ล้านบาท หรือลดลง 3.73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของทุกสถาบันการเงิน โดยปริมาณการใช้จ่ายของธนาคารพาณิชย์ลดลงมากที่สุด 2,209.31 ล้านบาท ตามมาด้วยสาขาธนาคารต่างชาติ 555.68 ล้านบาท และนอนแบงก์ 15.64 ล้านบาท ซึ่งการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ลดลงเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตระมัดระวังมากขึ้น
นายธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่ บริหารอาวุโส สายธุรกิจบัตรเครดิต บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างๆ ต้องปิดโรงงานหลายแห่งลงนั้น ซึ่งในขณะนี้พบว่ายังไม่ส่งผลกระทบต่อ KTC โดยตรง เพราะพนักงานถูกเลิกจ้าง เนื่องจากการปิดโรงงาน ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจบัตรเครดิต เพราะลูกค้าบัตรเครดิตต้องมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท
แต่อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ KTC จะได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอลง เพราะประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการใช้จ่าย จึงไม่ได้คาดหวังว่า ปีนี้ยอดการใช้จ่ายต่อบัตรจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งคาดว่า ปีนี้ยอดการใช้จ่ายต่อบัตรในแต่ละเดือนจะอยู่ที่ 7,500 บาท อยู่ในระดับเดียวกับปี 2551 รวมถึงไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจำนวนบัตรเครดิตในปีนี้จะเพิ่มขึ้นจากฐานปัจจุบันที่อยู่ระดับ 1.6 ล้านใบ
“เราเน้นดูแลลูกค้าในปีนี้จะไม่มีการออกบัตรที่เจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างที่ได้เห็นในปีก่อนภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอเราก็จะไม่กระตุ้นการใช้จ่ายของลูกค้า แต่จะเน้นการดูแลลูกค้าเดิมมากกว่า ส่วนหนี้เสียตอนนี้ก็ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นเพราะกลุ่มลูกค้าระดับกลางยังเป็นกลุ่มที่มีงานทำอยู่” นายธวัชชัย กล่าว
ส่วนปัญหาเรื่องการทุจริตการใช้บัตรเครดิตที่ประชาชนมีความเป็นห่วงนั้น นายธวัชชัย กล่าวว่า การใช้จ่ายของประชาชนจะลดลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจไม่เกี่ยวกับการเป็นห่วงการโดนทุจริต ซึ่งในปัจจุบันแม้จะเป็นภาวะเศรษฐกิจชะลอแต่ยอดการ
ทุจริตผ่านบัตรเครดิตก็ลดลงไป 75% หลังจากที่สถาบันการเงินต่างๆ หันมาใช้บัตรติดชิปการ์ดที่มีความปลอดภัยสูง
อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานภาวะการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดในเดือน พ.ย.ปี 2551 พบว่า ในระบบสถาบันการเงินมียอดสินเชื่อคงค้าง 1.84 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 8,898.53 ล้านบาท คิดเป็น 5.07% ของสินเชื่อรวม ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่มียอดลดลง 12.61 ล้านบาท ส่วนบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) และธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้น 4,527.53 ล้านบาท และ 4,383.63 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณบัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นถึง 1.03 ล้านใบ คิดเป็น 8.65% จากปัจจุบันที่มียอดบัตรเครดิตทั้งสิ้น 12.95 ล้านใบ
ส่วนปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมทั้งสิ้น 7.18 หมื่นล้านบาท ลดลง 2,780.63 ล้านบาท หรือลดลง 3.73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของทุกสถาบันการเงิน โดยปริมาณการใช้จ่ายของธนาคารพาณิชย์ลดลงมากที่สุด 2,209.31 ล้านบาท ตามมาด้วยสาขาธนาคารต่างชาติ 555.68 ล้านบาท และนอนแบงก์ 15.64 ล้านบาท ซึ่งการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ลดลงเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตระมัดระวังมากขึ้น