แบงก์เริ่มแข่งปล่อยกู้บ้าน “ไทยพาณิชย์” ตั้งเป้าปล่อยกู้เพิ่ม 5.5 หมื่นล้าน จากยอดสินเชื่อคงค้างที่ 2.2 แสนล้าน พร้อมคุมหนี้เอ็นพีแอลให้อยู่ในระดับ 2.8% เท่ากับปีก่อน ด้านแบงก์นครหลวงไทย ขยายโปรโมชันสินเชื่อเคหะอัตราดอกเบี้ยพิเศษคงที่ปีแรก 1.99% ต่อปีสำหรับบ้านใหม่ และรีไฟแนนซ์จนถึงเดือน ก.พ.นี้ ย้ำเป้าสินเชื่อบ้านปีนี้ 1.5 หมื่นล้าน มั่นใจสามารถทำได้ตามเป้าแม้เศรษฐกิจชะลอ หวังได้รับแรงเสริมจากนโยบายอัดฉีดเงินเข้าระบบของรัฐบาล
นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายผลิตภัณฑ์สินเชื่อลูกค้าบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ปี 2552 ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในส่วนของสินเชื่อใหม่ทั้งปีไว้ที่ 5.3-5.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นระดับใกล้เคียงกับปี 2551 ที่ทั้งปีธนาคารมียอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่ 5.5 หมื่นล้านบาท
ส่วนสินเชื่อคงค้างนั้น คาดว่า ในปี 2552 จะเพิ่มขึ้น 5-6% จากปัจจุบันที่มีสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท โดยมองว่า เป็นระดับที่เหมาะสมเมื่อดูจากการผ่อนชำระคืนของลูกค้ากับสัดส่วนสินเชื่อใหม่ที่จะเติบโตเข้ามา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปี 2551 เศรษฐกิจจะเริ่มชะลอตัว แต่ธนาคารก็รักษาสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสินเชื่อบ้านไว้ที่ระดับต่ำมากเพียง 2.8% และคาดว่า สิ้นปี 2552 ก็จะรักษาไว้ที่ระดับเดียวกัน เพราะธนาคารได้มีการปรับตัวมาตั้งแต่ปี 2550 ในการให้ความช่วยเหลือและดูแลลูกค้าที่อาจจะมีปัญหาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารจะมีกระบวนการในการปฏิบัติเพื่อให้ลูกค้าสามารถผ่อนชำระสินเชื่อในระยะยาวได้
ส่วนมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล ที่จะมีการตั้งบริษัทค้ำประกันเพื่อช่วยเหลือด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยจะเป็นการจัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ซื้อบ้านเข้ามาผ่อนเงินดาวน์กับบริษัทค้ำประกันนั้น มองว่า ในส่วนของมาตรการจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มากกว่าที่ธนาคารพาณิชย์จะได้ประโยชน์ เพราะปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ก็ให้เงินกู้สินเชื่อบ้านสร้างเสร็จพร้อมโอนสูงถึง 80-95% อยู่แล้ว การที่รัฐบาลเพิ่มให้ผู้บริโภคกู้ได้ 100% รวมเงินดาวน์จึงไม่มีผลมากนัก อีกทั้งเป็นห่วงว่ากรณีที่จะให้ลูกค้ามีภาระการผ่อนบ้านกับธนาคาร และผ่อนเงินดาวน์กับบริษัทค้ำประกันจะทำให้ลูกค้ามีภาระ 2 ทาง แต่ต้องรอดูรายละเอียดที่รัฐบาลจะออกมาหลังจากนี้ว่าจะมีอะไรบ้าง
**สคิบขยายโปรฯ ดบ.คงที่ 1.99%**
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารขยายเวลาโปรโมชันพิเศษ “สินเชื่อเคหะนครหลวงไทย” แก่ลูกค้ารายย่อยที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับบ้านใหม่ในโครงการที่ธนาคารร่วมสนับสนุน หรือเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือรีไฟแนนซ์ (Refinance) ด้วยดอกเบี้ยพิเศษ 2 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปี เท่ากับ 1.99% ต่อปี ปีที่ 2 เท่ากับ 5.50% ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ลบ 1.00% ต่อปี หลังจากนั้น คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ลบ 1.00% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา และทางเลือกที่ 2 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MLR ลบ 3.75% ต่อปี ปีที่ 2 คิดอัตรา MLR ลบ 2.75% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย MLR ลบ 1.00% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
ส่วนลูกค้าที่ขอกู้ในโครงการทั่วไป หรือบ้านมือสอง ปีแรกคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่เท่ากับ 3.99% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย MLR ลบ 0.5% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา วงเงินกู้สูงสุดถึง 95% ของราคาประเมิน ระยะเวลาการกู้สูงสุด 30 ปี โดยสามารถเลือกรับเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยได้ถึงภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 เท่านั้น
“ในปี 2552 ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเคหะสำหรับลูกค้ารายใหม่ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเท่ากับที่ทำได้ในปี 2551 ถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ก็จะได้รับผลดีจากนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับการที่อัตราดอกเบี้ยในระบบปรับลดลงส่งผลให้ภาระการผ่อนชำระของลูกค้าลดลงด้วย ขณะเดียวกัน ยังเป็นการเพิ่มกำลังซื้อและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อบ้าน ประกอบกับภาวะต้นทุนในการสร้างที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มที่จะปรับลดลง รวมทั้งยังได้แรงเสริมที่เกิดขึ้นจากนโยบายการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง” นายชัยวัฒน์ กล่าว
สำหรับแนวทางการขยายฐานลูกค้าสินเชื่อเคหะของธนาคารยังคงเน้นกลุ่มลูกค้าระดับกลางขึ้นไป รวมถึงการขยายความร่วมมือกับโครงการที่ธนาคารเป็นผู้สนับสนุนเงินกู้ในการพัฒนา (Pre Finance) ซึ่งธนาคารมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ประกอบการอยู่แล้วและส่วนใหญ่เป็นฐานลูกค้าเก่าที่ดีของธนาคาร ตลอดจนการใช้สาขาของธนาคารทั้ง 408 แห่งทั่วประเทศ เป็นจุดให้บริการแก่ลูกค้า หรือ SCIB Touch Point รวมทั้งได้ปรับปรุงขั้นตอนการพิจารณาสินเชื่อให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายผลิตภัณฑ์สินเชื่อลูกค้าบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ปี 2552 ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในส่วนของสินเชื่อใหม่ทั้งปีไว้ที่ 5.3-5.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นระดับใกล้เคียงกับปี 2551 ที่ทั้งปีธนาคารมียอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่ 5.5 หมื่นล้านบาท
ส่วนสินเชื่อคงค้างนั้น คาดว่า ในปี 2552 จะเพิ่มขึ้น 5-6% จากปัจจุบันที่มีสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท โดยมองว่า เป็นระดับที่เหมาะสมเมื่อดูจากการผ่อนชำระคืนของลูกค้ากับสัดส่วนสินเชื่อใหม่ที่จะเติบโตเข้ามา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปี 2551 เศรษฐกิจจะเริ่มชะลอตัว แต่ธนาคารก็รักษาสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสินเชื่อบ้านไว้ที่ระดับต่ำมากเพียง 2.8% และคาดว่า สิ้นปี 2552 ก็จะรักษาไว้ที่ระดับเดียวกัน เพราะธนาคารได้มีการปรับตัวมาตั้งแต่ปี 2550 ในการให้ความช่วยเหลือและดูแลลูกค้าที่อาจจะมีปัญหาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารจะมีกระบวนการในการปฏิบัติเพื่อให้ลูกค้าสามารถผ่อนชำระสินเชื่อในระยะยาวได้
ส่วนมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล ที่จะมีการตั้งบริษัทค้ำประกันเพื่อช่วยเหลือด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยจะเป็นการจัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ซื้อบ้านเข้ามาผ่อนเงินดาวน์กับบริษัทค้ำประกันนั้น มองว่า ในส่วนของมาตรการจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มากกว่าที่ธนาคารพาณิชย์จะได้ประโยชน์ เพราะปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ก็ให้เงินกู้สินเชื่อบ้านสร้างเสร็จพร้อมโอนสูงถึง 80-95% อยู่แล้ว การที่รัฐบาลเพิ่มให้ผู้บริโภคกู้ได้ 100% รวมเงินดาวน์จึงไม่มีผลมากนัก อีกทั้งเป็นห่วงว่ากรณีที่จะให้ลูกค้ามีภาระการผ่อนบ้านกับธนาคาร และผ่อนเงินดาวน์กับบริษัทค้ำประกันจะทำให้ลูกค้ามีภาระ 2 ทาง แต่ต้องรอดูรายละเอียดที่รัฐบาลจะออกมาหลังจากนี้ว่าจะมีอะไรบ้าง
**สคิบขยายโปรฯ ดบ.คงที่ 1.99%**
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารขยายเวลาโปรโมชันพิเศษ “สินเชื่อเคหะนครหลวงไทย” แก่ลูกค้ารายย่อยที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับบ้านใหม่ในโครงการที่ธนาคารร่วมสนับสนุน หรือเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือรีไฟแนนซ์ (Refinance) ด้วยดอกเบี้ยพิเศษ 2 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปี เท่ากับ 1.99% ต่อปี ปีที่ 2 เท่ากับ 5.50% ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ลบ 1.00% ต่อปี หลังจากนั้น คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ลบ 1.00% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา และทางเลือกที่ 2 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MLR ลบ 3.75% ต่อปี ปีที่ 2 คิดอัตรา MLR ลบ 2.75% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย MLR ลบ 1.00% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
ส่วนลูกค้าที่ขอกู้ในโครงการทั่วไป หรือบ้านมือสอง ปีแรกคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่เท่ากับ 3.99% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย MLR ลบ 0.5% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา วงเงินกู้สูงสุดถึง 95% ของราคาประเมิน ระยะเวลาการกู้สูงสุด 30 ปี โดยสามารถเลือกรับเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยได้ถึงภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 เท่านั้น
“ในปี 2552 ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเคหะสำหรับลูกค้ารายใหม่ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเท่ากับที่ทำได้ในปี 2551 ถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ก็จะได้รับผลดีจากนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับการที่อัตราดอกเบี้ยในระบบปรับลดลงส่งผลให้ภาระการผ่อนชำระของลูกค้าลดลงด้วย ขณะเดียวกัน ยังเป็นการเพิ่มกำลังซื้อและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อบ้าน ประกอบกับภาวะต้นทุนในการสร้างที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มที่จะปรับลดลง รวมทั้งยังได้แรงเสริมที่เกิดขึ้นจากนโยบายการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง” นายชัยวัฒน์ กล่าว
สำหรับแนวทางการขยายฐานลูกค้าสินเชื่อเคหะของธนาคารยังคงเน้นกลุ่มลูกค้าระดับกลางขึ้นไป รวมถึงการขยายความร่วมมือกับโครงการที่ธนาคารเป็นผู้สนับสนุนเงินกู้ในการพัฒนา (Pre Finance) ซึ่งธนาคารมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ประกอบการอยู่แล้วและส่วนใหญ่เป็นฐานลูกค้าเก่าที่ดีของธนาคาร ตลอดจนการใช้สาขาของธนาคารทั้ง 408 แห่งทั่วประเทศ เป็นจุดให้บริการแก่ลูกค้า หรือ SCIB Touch Point รวมทั้งได้ปรับปรุงขั้นตอนการพิจารณาสินเชื่อให้รวดเร็วยิ่งขึ้น