กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน เสนอเลื่อนบังคับใช้มาตรฐานยูโร 4 กำหนดคุณภาพน้ำมันและรถยนต์ เทียบเท่าคุณภาพยุโรป เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 7 หมื่นล้าน ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว และส่วนแบ่งการตลาดลดลง
วันนี้ (06 มกราคม 2552) นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า กลุ่มผู้ประกอบการโรงกลั่นได้เสนอต่อทางราชการขอให้เลื่อนบังคับใช้มาตรฐานยูโร 4 (มาตรฐานคุณภาพน้ำมันและรถยนต์เทียบเท่าคุณภาพยุโรป) ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีมติให้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เพื่อช่วยลดการระบายมลพิษทางอากาศ
“เราต้องการขอเลื่อนออกไปอีก 1-2 ปี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไปเปลี่ยนแปลงไป การค้าน้ำมันจำหน่ายได้น้อยลง โรงกลั่นประสบปัญหาด้านรายได้ หลายโรงต้องลดกำลังกลั่น ประกอบกับหากบังคับใช้ตามแผนอาจทำให้การลงทุนแพงโดยไม่จำเป็น ซึ่งหากไม่เลื่อนการบังคับใช้แล้ว ต้องใช้วงเงินค่าก่อสร้างจะสูงถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณกว่า 70,000 ล้านบาท”
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า คงต้องเจรจากับกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องเลื่อนบังคับใช้สำหรับการจำหน่ายน้ำมันในประเทศ แต่โรงกลั่นทั้งหมดอาจจะใช้วิธีการแลกเปลี่ยนน้ำมัน (สวอป) กับโรงกลั่นที่ได้ลงทุนผลิตยูโร 4 ไปแล้ว ได้แก่ ไทยออยล์ และ บางจาก เพราะในขณะนี้ต้องยอมรับว่ากลุ่มโรงกลั่นได้รับผลกระทบ นอกจากเรื่องเศรษฐกิจโลกแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐที่ส่งเสริมพลังงานทดแทน ที่คาดว่า ในปี 2555 จะต้องมีการใช้เอ็นจีวี เอทานอล และไบโอดีเซล ทดแทนน้ำมันถึงร้อยละ 30
วันนี้ (06 มกราคม 2552) นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า กลุ่มผู้ประกอบการโรงกลั่นได้เสนอต่อทางราชการขอให้เลื่อนบังคับใช้มาตรฐานยูโร 4 (มาตรฐานคุณภาพน้ำมันและรถยนต์เทียบเท่าคุณภาพยุโรป) ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีมติให้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เพื่อช่วยลดการระบายมลพิษทางอากาศ
“เราต้องการขอเลื่อนออกไปอีก 1-2 ปี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไปเปลี่ยนแปลงไป การค้าน้ำมันจำหน่ายได้น้อยลง โรงกลั่นประสบปัญหาด้านรายได้ หลายโรงต้องลดกำลังกลั่น ประกอบกับหากบังคับใช้ตามแผนอาจทำให้การลงทุนแพงโดยไม่จำเป็น ซึ่งหากไม่เลื่อนการบังคับใช้แล้ว ต้องใช้วงเงินค่าก่อสร้างจะสูงถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณกว่า 70,000 ล้านบาท”
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า คงต้องเจรจากับกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องเลื่อนบังคับใช้สำหรับการจำหน่ายน้ำมันในประเทศ แต่โรงกลั่นทั้งหมดอาจจะใช้วิธีการแลกเปลี่ยนน้ำมัน (สวอป) กับโรงกลั่นที่ได้ลงทุนผลิตยูโร 4 ไปแล้ว ได้แก่ ไทยออยล์ และ บางจาก เพราะในขณะนี้ต้องยอมรับว่ากลุ่มโรงกลั่นได้รับผลกระทบ นอกจากเรื่องเศรษฐกิจโลกแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐที่ส่งเสริมพลังงานทดแทน ที่คาดว่า ในปี 2555 จะต้องมีการใช้เอ็นจีวี เอทานอล และไบโอดีเซล ทดแทนน้ำมันถึงร้อยละ 30