เคทีซี คุมเข้มดำเนินธุรกิจ ยอดอนุมัติบัตรใหม่ลดจาก 50-60% เหลือ 40% หวั่นวิกฤตเศรษฐกิจยืดเยื้อกระทบการชำระหนี้ เผย นโยบายช่วงต่อไปเน้นให้ลูกค้าใช้จ่ายแต่พอดี-ไม่เกินตัว พร้อมจับตาลูกค้าเอสเอ็มอีเป็นพิเศษ รับผลประกอบการปีหน้าลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ
นายนิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC เปิดเผยว่า ในปีหน้าบริษัทจะดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง โดยปัจจัยที่เราต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิด คือ สัญญาณทางด้านเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ว่า จะเป็นอย่างไร รวมถึงการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทย โดยในส่วนของธุรกิจบัตรเครดิตของบริษัทนั้น ไม่ได้มีการเร่งขยายบัตรใหม่มากนัก เนื่องจากในช่วงไตรมาส 2-3 ได้เห็นถึงสัญญาณปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ว่า อาจจะเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อ ทำให้บริษัทมีความระมัดระวังสูงในการอนุมัติบัญชีผู้ถือบัตรใหม่ๆ โดยยอดการอนุมัติขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 40% จากเดิม 50-60% ส่วนยอดการอนุมัติสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 20% จากเดิมกว่า 30% ส่วนในช่วงปีใหม่นี้ มองว่า ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตคงจะไม่ได้เพิ่มขึ้น
สำหรับนโยบายในการทำธุรกิจต่อจากนี้จะเน้นการสื่อให้ลูกค้าใช้จ่ายแต่พอดี และจะไม่เร่งให้ลูกค้าใช้เงินเกินตัว ให้ใช้เท่าที่มีเหตุมีผลใช้แล้วไม่เป็นหนี้เสีย ส่วนลูกค้ารายใดที่มีปัญหาก็จะให้เข้ามาคุย โดยขณะนี้ยังไม่มีลูกค้าที่เข้ามาคุยเพิ่ม ส่วนลูกค้าที่กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) บริษัทก็ยินดีจะให้ความช่วยเหลือ เช่น การลดดอกเบี้ย เป็นต้น และหากเป็นลูกค้ารายย่อยก็จะยังไม่ดำเนินการฟ้องร้องแต่จะพยายามให้ความช่วยเหลือก่อน โดยปัจจุบันเอ็นพีแอลบัตรเครดิตของเคทีซีอยู่ที่ประมาณ 1% และมียอดผิดนัดชำระ 3.4%
“ปีหน้าผลประกอบการเราก็น่าจะลดลง ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี แต่จะมากเท่าไหร่ก็อยู่ที่การบริหาร ตอนนี้เรายังไมเห็นอะไรที่กระทบเราเลย ส่วนกำไรเราก็พอให้อยู่ได้ เรามองที่ความมั่นคงของบริษัท เรื่องการปรับลดพนักงานตอนนี้ก็ไม่มี ส่วนดอกเบี้ยบัตรเครดิตคงไม่ได้ลดเพราะต้นทุนเงินยังสูงอยู่ ส่วนปีหน้าสิ่งที่เราดูก็คือเศรษฐกิจเป็นหลักและการเมืองด้วยส่วนเรื่องรัฐบาลใหม่ก็มองว่าทุกรัฐบาลเข้ามาก็ดีหมดเพราะการมีรัฐบาลก็ถือเป็นเรื่องดี”
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า ในต่างประเทศร้านค้าเริ่มมีการไม่รับบัตรเครดิตแล้วนั้น นายนิวัตต์ กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นเพราะทางธนาคารจ่ายเงินให้กับร้านค้าช้า ซึ่งทำให้ทางร้านค้ารับภาระไม่ไหวก็เลยไม่รับบัตรเครดิต แต่ในส่วนของไทยยังไม่มีปัญหาดังกล่าว
นายนิวัตต์ กล่าวว่า ส่วนที่น่าเป็นห่วง คือ ภาคของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยที่ผ่านมา ทางบัตรเครดิตเคทีซีได้มีการเจาะกลุ่มลูกค้าส่วนนี้ด้วย แต่ได้เริ่มหยุดบุกตลาดนี้มานานแล้ว ส่วนลูกค้าที่อยู่ในพอร์ตก็ทยอยยกเลิกไปแล้ว
นายนิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC เปิดเผยว่า ในปีหน้าบริษัทจะดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง โดยปัจจัยที่เราต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิด คือ สัญญาณทางด้านเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ว่า จะเป็นอย่างไร รวมถึงการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทย โดยในส่วนของธุรกิจบัตรเครดิตของบริษัทนั้น ไม่ได้มีการเร่งขยายบัตรใหม่มากนัก เนื่องจากในช่วงไตรมาส 2-3 ได้เห็นถึงสัญญาณปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ว่า อาจจะเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อ ทำให้บริษัทมีความระมัดระวังสูงในการอนุมัติบัญชีผู้ถือบัตรใหม่ๆ โดยยอดการอนุมัติขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 40% จากเดิม 50-60% ส่วนยอดการอนุมัติสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 20% จากเดิมกว่า 30% ส่วนในช่วงปีใหม่นี้ มองว่า ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตคงจะไม่ได้เพิ่มขึ้น
สำหรับนโยบายในการทำธุรกิจต่อจากนี้จะเน้นการสื่อให้ลูกค้าใช้จ่ายแต่พอดี และจะไม่เร่งให้ลูกค้าใช้เงินเกินตัว ให้ใช้เท่าที่มีเหตุมีผลใช้แล้วไม่เป็นหนี้เสีย ส่วนลูกค้ารายใดที่มีปัญหาก็จะให้เข้ามาคุย โดยขณะนี้ยังไม่มีลูกค้าที่เข้ามาคุยเพิ่ม ส่วนลูกค้าที่กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) บริษัทก็ยินดีจะให้ความช่วยเหลือ เช่น การลดดอกเบี้ย เป็นต้น และหากเป็นลูกค้ารายย่อยก็จะยังไม่ดำเนินการฟ้องร้องแต่จะพยายามให้ความช่วยเหลือก่อน โดยปัจจุบันเอ็นพีแอลบัตรเครดิตของเคทีซีอยู่ที่ประมาณ 1% และมียอดผิดนัดชำระ 3.4%
“ปีหน้าผลประกอบการเราก็น่าจะลดลง ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี แต่จะมากเท่าไหร่ก็อยู่ที่การบริหาร ตอนนี้เรายังไมเห็นอะไรที่กระทบเราเลย ส่วนกำไรเราก็พอให้อยู่ได้ เรามองที่ความมั่นคงของบริษัท เรื่องการปรับลดพนักงานตอนนี้ก็ไม่มี ส่วนดอกเบี้ยบัตรเครดิตคงไม่ได้ลดเพราะต้นทุนเงินยังสูงอยู่ ส่วนปีหน้าสิ่งที่เราดูก็คือเศรษฐกิจเป็นหลักและการเมืองด้วยส่วนเรื่องรัฐบาลใหม่ก็มองว่าทุกรัฐบาลเข้ามาก็ดีหมดเพราะการมีรัฐบาลก็ถือเป็นเรื่องดี”
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า ในต่างประเทศร้านค้าเริ่มมีการไม่รับบัตรเครดิตแล้วนั้น นายนิวัตต์ กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นเพราะทางธนาคารจ่ายเงินให้กับร้านค้าช้า ซึ่งทำให้ทางร้านค้ารับภาระไม่ไหวก็เลยไม่รับบัตรเครดิต แต่ในส่วนของไทยยังไม่มีปัญหาดังกล่าว
นายนิวัตต์ กล่าวว่า ส่วนที่น่าเป็นห่วง คือ ภาคของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยที่ผ่านมา ทางบัตรเครดิตเคทีซีได้มีการเจาะกลุ่มลูกค้าส่วนนี้ด้วย แต่ได้เริ่มหยุดบุกตลาดนี้มานานแล้ว ส่วนลูกค้าที่อยู่ในพอร์ตก็ทยอยยกเลิกไปแล้ว