ตลาดหุ้นผันผวนพ่นพิษ โบรกเกอร์แห่คุมเข้มหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง สั่งจำกัดสินเชื่อ และให้ซื้อขายเป็นเงินสดเท่านั้น ล่าสุด บล.เดจีไอ ประกาศรายชื่อ 23 หุ้นที่ต้องใช้บัญชีแคชบาลานซ์ โดยมีผลตั้งแต่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา อ้างป้องกันความเสี่ยงอันอาจจะเกิดขึ้น ขณะที่ บล.นครหลวงไทย งดปล่อยสินเชื่อเครดิตบาลานช์ เพิ่มเป็นการชั่วเครา มีผล 1 ธ.ค.51 เช่นกัน
แหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เก็ตติ้ง) บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยว่า จากการที่ภาวะตลาดมีความผันผวนสูง จากความไม่แน่นอนทางสภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศ บริษัทได้ประกาศรายชื่อหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงจากที่ราคาหุ้นมีการเคลื่อนไหวที่หวือหวา จำนวน 23 บริษัท โดยกำหนดให้นักลงทุนที่ต้องการซื้อหุ้นดังกล่าวนั้นสามารถซื้อได้ในบัญชีแคชบาลานซ์ Cash Balance เท่านั้น ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา
สำหรับหลักทรัพย์ที่ถูกกำหนดให้ซื้อในบัญชีแคชบาลานซ์ทั้ง 23 บริษัท ประกอบด้วย คือ 1. บมจ.อารียา พรอพเพอร์ตี้ (A, A-F) 2.บมจ.แอสคอน คอนสตรัคชั่น (ASCON, ASCON-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (ASCON-W1) 3.บล.แอ๊ดคินซัน (ASL, ASL-F) 4.บลิส-เทล (BLISS, BLISS-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (BLISS-W1) 5.บมจ.อีเอ็มซี (EMC, EMC-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (EMC-W1)
6.บมจ.เอเวอร์แลนด์ (EVER, EVER-F) 7.บมจ.อีสเทิร์นไวร์ (EWC, EWC-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (EWC-W1) 8.บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น (FORTH, FORTH-F) 9.บมจ.เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง (GEN, GEN-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (GEN-W1) 10.บมจ.บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (GENCO, GENCO-F)
11.บมจ.จี สตีล (GSTEEL, GSTEEL-F) 12.บมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจิเนียริง (IEC, IEC-F) 13.บมจ. จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS, JAS-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (JAS-W1, JAS-W2) 14.บมจ.เคซีอี อิเลคโทรนิคส์ (KCE, KCE-F) 15.บมจ.ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น (LIVE, LIVE-F) 16.บมจ.มิลล์คอนสตีลอินดัสทรีส์ (MILL, MILL-F) 17.บมจ.แนเชอรัล พาร์ค (N-PARK, N-PARK-F)
18.บมจ.ริช เอเชีย สตีล (RICH, RICH-F) 19 บมจ.อาร์เอส (RS, RS-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (RS-W1) 20.บมจ.เอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (SECC, SECC-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (SECC-W1) 21.บมจ.สิงห์ พาราเทค (SINGHA, SINGHA-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (SINGHA-W1) 22.บมจ.ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น (SSE, SSE-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (SSE-W1) 23.บมจ.วินโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค (WIN, WIN-F)
“บริษัทได้มีการลิสต์รายชื่อหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงจากที่มีความเคลื่อนไหวของราคาที่หวือหวา จำนวน 23 หุ้น ซึ่งบริษัทได้มีการขอความร่วมมือกับนักลงทุนที่มีการซื้อขายและชำระคาหุ้นโดยตัดบัญชีอัตโนมัติ (ATS) กับธนาคารนั้น จะต้องซื้อจะต้องนำเงินมาวาง 100% ก่อนที่จะซื้อหุ้นดังกล่าว แต่หากนักลงทุนที่มีการฝากเงินเข้ามาทางบริษัทแล้วนั้นสามารถซื้อหุ้นดังกล่าวได้ทันที” เจ้าหน้าที่การตลาด กล่าว
ด้าน บล.นครหลวงไทย ได้แจ้งกับทางลูกค้าบัญชีเครดิตบาลานซ์ของบริษัทในเรื่องการชะลอการให้สินเชื่อเครดิตบาลานซ์เพิ่มชั่วคราว เนื่องจาก บล.นครหลวงไทย มีนโยบายที่จะชะลอการให้สินเชื่อเครดิตบาลานซ์เพิ่มชั่วคราว เนื่องจากการลงทุนในตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงมากและยังไม่สามารถคาดทิศทางได้ชัดเจน ดังนั้น บริษัทจึงขอแจ้งแนวทางปฏิบัติสำหรับลูกค้าปัจจุบันที่เปิดบัญชีเครดิตบาลานซ์กับบริษัทโดยมีผลตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ บริษัทจะทำการปรับวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ให้เท่ากับยอดเงินสดคงเหลือโดยลูกค้าสามารถซื้อหุ้นได้เท่ากับยอดเงินสดคงเหลือ และวงเงินสินเชื่อเท่ากับเงินสด ตัวอย่าง หากวันศุกร์ลูกค้ามีวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ ตามสัญญากุ้ยืม 50 ล้านบาท มีเงินสด คงเหลือ 10 ล้านบาทไม่มีภาระหนี้ วันจันทร์ ลูกค้าจะถูกปรับวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ ลดลงเป็นวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ใหม่เท่ากับ 10 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับยอดเงินคงเหลือ 10 ล้านบาท ณ วันศุกร์ที่ผ่านมา
สำหรับกรณีลูกค้าที่มีภาระหนี้คงค้าง ลูกค้าจะถูกปรับลดวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ลงเฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้มีการกู้ยืม เช่น ณ วันศุกร์ ลูกค้ามีวงเงินสินเชือ่เครดิตบาลานซ์ ตามสัญญาเงินกู้ยืม 50 ล้านบาท มีภาระหนี้คงค้าง 10 ล้านบาท ณ วันจันทร์ ลุกค้าจะถูกปรับวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ส่วนที่เหลือ 40 ล้านบาท ลงหลือเป็นวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ใหม่เท่ากับ 10 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับภาระหนี้คงค้าง 10 ล้านบาท ณ วันศุกร์ แต่หากลูกค้าไม่ขายหุ้นได้ ลูกค้าไม่สามารถซื้อหุ้นเพิ่มได้ (ภาระหนี้ปัจจุบันเท่ากับวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ใหม่) และหากลูกค้าขายหุ้น ลูกค้าจะสามารถซื้อหุ้นเพิ่มได้ แต่หนี้คงเหลือจะต้องไม่เกินวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ใหม่ที่ 10 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เก็ตติ้ง) บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยว่า จากการที่ภาวะตลาดมีความผันผวนสูง จากความไม่แน่นอนทางสภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศ บริษัทได้ประกาศรายชื่อหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงจากที่ราคาหุ้นมีการเคลื่อนไหวที่หวือหวา จำนวน 23 บริษัท โดยกำหนดให้นักลงทุนที่ต้องการซื้อหุ้นดังกล่าวนั้นสามารถซื้อได้ในบัญชีแคชบาลานซ์ Cash Balance เท่านั้น ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา
สำหรับหลักทรัพย์ที่ถูกกำหนดให้ซื้อในบัญชีแคชบาลานซ์ทั้ง 23 บริษัท ประกอบด้วย คือ 1. บมจ.อารียา พรอพเพอร์ตี้ (A, A-F) 2.บมจ.แอสคอน คอนสตรัคชั่น (ASCON, ASCON-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (ASCON-W1) 3.บล.แอ๊ดคินซัน (ASL, ASL-F) 4.บลิส-เทล (BLISS, BLISS-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (BLISS-W1) 5.บมจ.อีเอ็มซี (EMC, EMC-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (EMC-W1)
6.บมจ.เอเวอร์แลนด์ (EVER, EVER-F) 7.บมจ.อีสเทิร์นไวร์ (EWC, EWC-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (EWC-W1) 8.บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น (FORTH, FORTH-F) 9.บมจ.เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง (GEN, GEN-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (GEN-W1) 10.บมจ.บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (GENCO, GENCO-F)
11.บมจ.จี สตีล (GSTEEL, GSTEEL-F) 12.บมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจิเนียริง (IEC, IEC-F) 13.บมจ. จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS, JAS-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (JAS-W1, JAS-W2) 14.บมจ.เคซีอี อิเลคโทรนิคส์ (KCE, KCE-F) 15.บมจ.ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น (LIVE, LIVE-F) 16.บมจ.มิลล์คอนสตีลอินดัสทรีส์ (MILL, MILL-F) 17.บมจ.แนเชอรัล พาร์ค (N-PARK, N-PARK-F)
18.บมจ.ริช เอเชีย สตีล (RICH, RICH-F) 19 บมจ.อาร์เอส (RS, RS-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (RS-W1) 20.บมจ.เอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (SECC, SECC-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (SECC-W1) 21.บมจ.สิงห์ พาราเทค (SINGHA, SINGHA-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (SINGHA-W1) 22.บมจ.ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น (SSE, SSE-F) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (SSE-W1) 23.บมจ.วินโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค (WIN, WIN-F)
“บริษัทได้มีการลิสต์รายชื่อหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงจากที่มีความเคลื่อนไหวของราคาที่หวือหวา จำนวน 23 หุ้น ซึ่งบริษัทได้มีการขอความร่วมมือกับนักลงทุนที่มีการซื้อขายและชำระคาหุ้นโดยตัดบัญชีอัตโนมัติ (ATS) กับธนาคารนั้น จะต้องซื้อจะต้องนำเงินมาวาง 100% ก่อนที่จะซื้อหุ้นดังกล่าว แต่หากนักลงทุนที่มีการฝากเงินเข้ามาทางบริษัทแล้วนั้นสามารถซื้อหุ้นดังกล่าวได้ทันที” เจ้าหน้าที่การตลาด กล่าว
ด้าน บล.นครหลวงไทย ได้แจ้งกับทางลูกค้าบัญชีเครดิตบาลานซ์ของบริษัทในเรื่องการชะลอการให้สินเชื่อเครดิตบาลานซ์เพิ่มชั่วคราว เนื่องจาก บล.นครหลวงไทย มีนโยบายที่จะชะลอการให้สินเชื่อเครดิตบาลานซ์เพิ่มชั่วคราว เนื่องจากการลงทุนในตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงมากและยังไม่สามารถคาดทิศทางได้ชัดเจน ดังนั้น บริษัทจึงขอแจ้งแนวทางปฏิบัติสำหรับลูกค้าปัจจุบันที่เปิดบัญชีเครดิตบาลานซ์กับบริษัทโดยมีผลตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ บริษัทจะทำการปรับวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ให้เท่ากับยอดเงินสดคงเหลือโดยลูกค้าสามารถซื้อหุ้นได้เท่ากับยอดเงินสดคงเหลือ และวงเงินสินเชื่อเท่ากับเงินสด ตัวอย่าง หากวันศุกร์ลูกค้ามีวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ ตามสัญญากุ้ยืม 50 ล้านบาท มีเงินสด คงเหลือ 10 ล้านบาทไม่มีภาระหนี้ วันจันทร์ ลูกค้าจะถูกปรับวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ ลดลงเป็นวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ใหม่เท่ากับ 10 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับยอดเงินคงเหลือ 10 ล้านบาท ณ วันศุกร์ที่ผ่านมา
สำหรับกรณีลูกค้าที่มีภาระหนี้คงค้าง ลูกค้าจะถูกปรับลดวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ลงเฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้มีการกู้ยืม เช่น ณ วันศุกร์ ลูกค้ามีวงเงินสินเชือ่เครดิตบาลานซ์ ตามสัญญาเงินกู้ยืม 50 ล้านบาท มีภาระหนี้คงค้าง 10 ล้านบาท ณ วันจันทร์ ลุกค้าจะถูกปรับวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ส่วนที่เหลือ 40 ล้านบาท ลงหลือเป็นวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ใหม่เท่ากับ 10 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับภาระหนี้คงค้าง 10 ล้านบาท ณ วันศุกร์ แต่หากลูกค้าไม่ขายหุ้นได้ ลูกค้าไม่สามารถซื้อหุ้นเพิ่มได้ (ภาระหนี้ปัจจุบันเท่ากับวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ใหม่) และหากลูกค้าขายหุ้น ลูกค้าจะสามารถซื้อหุ้นเพิ่มได้ แต่หนี้คงเหลือจะต้องไม่เกินวงเงินสินเชื่อเครดิตบาลานซ์ใหม่ที่ 10 ล้านบาท