xs
xsm
sm
md
lg

ตลาดหุ้นเดินแผนแปรรูป “ภัทรียา”ลั่นทำงานหนักดันรายได้52โต15%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยแผนงานปี 52 ภายใต้โครงสร้างใหม่ พร้อมสร้างมูลค่าเตรียมกระจายหุ้นเพื่อแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในปี 54-54 “ภัทรียา” ลั่นเร่งทำงานหนักขึ้นชดเชยความเสียหายปีนี้ตลาดหุ้นร่วงหนัก หวังรายได้จากการดำเนินงานปีหน้าโต 15% จากเพิ่มสินค้าใหม่ “ดัชนีอิสลามิก-อีทีเอฟอิงหุ้นต่างชาติ-เทรดโกลดฟิวเจอร์ส” พร้อมตั้งเป้าไอพีโอปีหน้า 46 บริษัท มาร์เกตแคปรวม 2.5 แสนล้านบาท เป็นบริษัทต่างชาติ 1 แห่ง คาดตลาดหุ้นไทยเป็นคู่แรกเทรดในอาเซียนบอร์ด

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯปี 2552 ว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯจะทำงานภาคใต้โครงสร้างใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมในการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในปี 2554 โดยแบ่งกลุ่มสายงานเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มงานด้านธุรกิจตลาดหลักทรัพย์ โดยใช้ 9 กลยุทธ์ คือ เพื่อจำนวนบริษัทจดทะเบียน สินค้าใหม่ ขยายฐานนักลงทุน เพิ่มบริการขยายขอบเขตบริการหลังการซื้อขาย พัฒนาระบบไอทีให้ทัดเทียมตลาดหุนทั่วโลกมีต้นทุนต่ำ แผนและผลักดันให้เกิดการดำเนินงานตามแผนพัฒนาตลาดทุน สร้างผู้นำและบุคลากร สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ตลาดหลักทรัพย์ฯ รองรับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป

ทั้งนี้ กลุ่มงานด้านธุรกิจ คือ การขยายฐานผู้ลงทุนประเภทบุคคลทั่วไปเพิ่มขึ้นอีก 5% หรือคิดเป็นจำนวน 1 แสนราย แบ่งเป็น นักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นโดยตรง 40,000 ราย และลงทุนผ่านหน่วยลงทุน 60,000 ราย จากเดิมที่มีประมาณ 500,000 รายทำให้เพิ่มเป็น 600,000 รายในปีหน้า ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศเพิ่มอีก 10% ซึ่งจะทำให้สัดส่วนนักลงทุนสถาบันเพิ่มเป็น 19-20% จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนการลงทุน 17% แบะเพิ่มผู้ลงทุนผ่านอินเตอร์เน็ต 10% จากปีนี้ และตั้งเป้ามูลค่าการวื้อขายในตลาดอสุพันธ์เฉลี่ยวต่อวันเพิ่มอีก 32.4% จากปี นี้ที่มี 10,910 สัญญา

การเพิ่มสินค้าใหม่ๆมากขึ้นเช่นการเปิดซื้อขายฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับทองคำ (โกลดฟิวเจอร์ส) การออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) การออกกองทุนอีทีเอฟอย่างน้อยอีก 1 กองทุน โดยจะอิงกับดัชนีหุ้นต่างประเทศฯลฯ ออกกองทุนอิสลามิกฟันด์ อย่างน้อย 1 กองทุน และ ศึกษาความเป็นไปได้ในการของตราสารหใม่ๆให้สอดคล้องกัลความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง

สำหรับมูลค่าการซื้อขายรวมของตลาดนั้นคาดการณ์ยากจากที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระทบ ซึ่งหากปัญหาต่างประเทศและในประเทศคลี่คลายเชื่อว่ามูลค่าการซื้อขายจะอยู่ที่ 18,000 ล้านบาทต่อวัน แต่หากปัจจัยดังกล่าวยังไม่คลี่คลายเชื่อว่าจะอยู่ที่ 13,000 ล้านบาท โดยเดิมปีนี้คาดว่าวอลุ่มจะอยู่ที่ 22,000 ล้านบาทต่อวันแต่ปัจจุบันอยู่ที่ 17,000 ล้านบาทต่อวัน แม้มูลค่าการซื้อขายจะลดลง 5%แต่ในด้านปริมาณการซื้อขายก็เพิ่มขึ้น 38% แต่หากมูลค่าไม่ลดเชื่อว่าขณะนี้จะมีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 23,000 ล้านบาท

“จากภาวะตลาดหุ้นไทยปีนี้ที่ไม่ดีจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องทำงานมากขึ้นในปีหน้าเพื่อชดเชยกับความสูญเสียจากดัชนีหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาก โดยตลาดหลักทรัพย์ฯคาดว่ารายได้จากการดำเนินงานปีหน้าจะเพิ่มขึ้น 15% ซึ่งจะไม่รวมกับพอร์ตการลงทุน เพราะ จากการเพิ่มสินค้าใหม่ ที่เพิ่มขึ้น และภายใต้วอลุ่มการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ระดับ 1.8 หมื่นล้านบาท ส่วนรายได้ดำเนินงานปีนี้โตเพียง 5% และแม้ดัชนีจะปรับตัวลดลงมามากทำให้พอร์ตการลงทุนลดลงแต่ทั้งปีนั้นก็ยังคงมีกำไรอยู่” นางภัทรียา กล่าว

นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯตั้งเป้าจะมีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนและเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป (IPO)ปีหน้ารวมจำนวน 46 บริษัท โดยประเมินจากบริษัทที่ได้รับอนุมัติการเสนอขายจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แบ่งเป็นเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ 22 บริษัท และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) 24 บริษัท ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป)รวม 2.5 แสนล้านบาท แต่มาร์เกตแคปก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้จากภาวะตลาด

“จำนวน 46 บริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียน แบ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในไทย 45 บริษัท และอีก 1 บริษัทจะเป็นบริษัทที่อยู่ในอินโดจีน”นายวิเชฐ กล่าว

ทั้งนี้ในปัจจุบันส่วนตัวว่าจะมีไอพีโอปีหน้าจะทำได้ตามเป้าหมายเนื่องจาก ก.ล.ต.ได้อนุมัติให้บริษัท8 แห่ง ให้สามารถเสนอขายหุ้นได้แล้ว และมีการเลือนซึ่งจะเข้าจดทะเบียนปีหน้า และปัจจุบันมีบริษัทที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) อยู่จำนวน 27 บริษัท แบ่งเป็น ตลาดหลักทรัพย์ 12 บริษัทและเข้าจดทะเบียนในmai 15 บริษัท ส่วนบริษัทต่างประเทศที่จะเข้ามาจดทะเบียนนั้นเบื้องต้นจะเป็นบริษัทคนไทยที่ไปทำธุรกิจในต่างประเทศก่อน

นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการประสานงานกับทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)ในส่วนของบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับบีโอไอขอให้ยืดเวลาการให้สิทธิประโยชน์มากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์จะมีการเข้าพบบริษัทจดทะเบียนจำนวน 200 แห่ง ในการหารือในการให้บริษัทจดทะเบียนให้ใช้สิทธิประโยชน์ของตลาดทุนให้คุ้มค่า และจะมีการหารือในเรื่องอุปสรรคในการเป็นบริษัทจดทะเบียนที่จะมีการแก้ไขต่อไป รวมถึงกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนมีการพบนักวิเคราะห์พบสื่อมากขึ้น ในการให้ข้อมูลแต่นักลงทุนมากขึ้น

นางนงราม วงษ์วานิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงการพัมนาพื้นฐานด้านเทคโนโลยว่า จะเน้นพัฒนาระบบให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำรับการเชื่อโยงการทำธุรกรรมข้ามตลาด ซึ่งการจัดตั้งกระดานซื้อขายหุ้นอาเซียน (ASEAN Board) โดยแต่ละประเทศจะคัดเลือกหุ้นขนาดใหญ่ 30 บริษัท

ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้จัดทำระบบการซื้อขาย ซึ่งคาดว่าเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ โดยจะเปิดการซื้อขายได้ในปีหน้า ซึ่งประเทศที่มีความพร้อมในการจัดทำคือประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยคู่แรกที่จะมีการเปิดซื้อขายคือ ไทย ส่วนจับคู่กับใครนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการพิจารณาประเทศที่มีระบบการซื้อขายและพัฒนาการใกล้เคียงกับตลาดหุ้นไทย
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า งานด้านการพัฒนาตลาด (Markets) จะเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์การเพิ่มสินค้า ที่จะคำนึงถึงความสำเร็จทางธุรกิจหรือความสำคัญต่อการพัฒนาตลาด ซึ่งจะมีการออกตราสารใหม่ ๆ เข้าจดทะเบียนในตลาด การเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงตลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบัน โดยจะเน้นขยายในส่วนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ให้เข้ามาลงทุนในหุ้นมากขึ้น

ทั้งนี้ได้ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ตัวกลาง จะเน้นการเพิ่มช่องทางใหม่ ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรม พร้อมทั้งจะมีการขยายผู้ลงทุน 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ ผู้ลงทุน High Net Worth โดยผ่านธนาคารพาณิชย์ และผู้ลงทุนจากตะวันออกกลาง นอกจากนี้ จะเพิ่มช่องทางให้สมาชิกสามารถซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า และการรวมศูนย์ข้อมูลตราสารหนี้และเพิ่มประสิทธิภาพระบบซื้อขายตราสารหนี้ด้วย

ด้านกลยุทธ์สำหรับงานบริการหลังการซื้อขาย (Post Trade Services) ได้มีขยายขอบเขตการให้บริการที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นนายทะเบียนตราสารหนี้ภาครัฐ และบริการบริหารหลักประกันข้ามตลาดเพื่อรองรับหลักประกันอื่นนอกเหนือจากเงินสด และการรวมศูนย์สำนักหักบัญชี เป็นต้น ทั้งนี้ การปรับเพิ่มสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลดีต่อการเพิ่มธุรกรรม ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่ต่ำลง ถือเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของสมาชิกและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงส่งผลดีต่อการเติบโตของตลาดทุนโดยรวมด้วย

สำหรับกลุ่มงานพัฒนาตลาดทุนนั้น ถือว่าเป็นกลุ่มงานใหม่ที่มีการกำหนดเป้าหมาย 4 ประการตามพันธกิจ ( Mission based) ทั้งการเป็นผู้นำทางความคิดในการผลักดันการพัฒนาตลาดทุน การยกระดับ Good Governance ของบริษัทจดทะเบียน การสร้างกลไกในการสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดทุน และการสร้างผู้ลงทุนรุ่นใหม่ให้มีความรู้ด้านการเงินการลงทุน รวมถึง การศึกษาวิจัยด้านตลาดทุนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนโดยรวม

นางจิราพร คูสุวรรณ ผู้ช่วยผู้จัดการ กล่าวว่าในปี 2552 นั้น งานด้านการให้ความรู้ผู้ลงทุน จะเน้นการเพิ่มผู้ลงทุนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิด Wealth Management ผ่านการอบรมและกิจกรรมที่หลากหลาย โดยตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มผู้ที่มีความรู้ด้านการเงินและการลงทุนในส่วนของบุคคลทั่วไปปีละร้อยละ 10 และในผู้ลงทุนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย อาทิ พนักงาน สมาชิกกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ ในกลุ่มบริษัท SET100 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้มีเงินฝาก เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ทั้งนี้ จะเน้นการทำงานผ่านเครือข่ายทั้งองค์กรภาคธุรกิจตลาดทุน และสถานศึกษา โดยเฉพาะสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.)

ทั้งนี้ได้จัดทำโครงการเพิ่มคุณภาพและจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพในตลาดทุน โดยเน้นการเพิ่มสัดส่วนเจ้าหน้าที่การตลาดต่อจำนวนผู้ลงทุนที่เหมาะสม และเพิ่มสัดส่วนจำนวนนักวิเคราะห์ต่อบริษัทหลักทรัพย์ โดยจะกำหนดมาตรฐานร่วมกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ต่อไป นอกจากนี้ จะอบรมให้ผู้ประกอบวิชาชีพในตลาดทุนมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 หลังการอบรม

สำหรับกลุ่มงานพัฒนาตลาดทุนจะเป็นศูนย์กลางการทำหน้าที่หลักที่จะทำให้อุตสาหกรรมโดยรวม ลดต้นทุนด้านการพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพด้วยการเปิดเป็นศูนย์ทดสอบใบอนุญาตและความรู้ด้านตลาดทุนเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย (Capital market Examination Center ) และขยายไปสู่การเป็น Capital Market Education Center สำหรับกลุ่มประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย รวมทั้งการผลักดันให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัยด้านตลาดทุนและใช้เครือข่ายของวตท. ให้เกิดประโยชน์

ด้านนายเก่งกล้า รักษ์เผ่าพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ได้กล่าวถึงงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยรวมของตลาดทุนว่า จะเน้นสร้างความต่อเนื่องด้านการดำเนินการเพื่อยกระดับ CG (บรรษัทภิบาล) CSR (ความรับผิดชอบต่อสังคม) และ IR (งานด้านนักลงทุนสัมพันธ์) ของบริษัทจดทะเบียนให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลในระยะเวลา 5 ปี โดยส่งเสริมให้มีคะแนนด้านการกำกับดูแลกิจการ (CG scoring ) เพิ่มขึ้น และมีมาตรฐานเทียบเคียงกับประเทศอื่นในภูมิภาค และบจ. อย่างน้อยร้อยละ 75 มีการดำเนินงานด้าน IR ตามมาตรฐานที่กำหนด

รวมทั้งส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีการดำเนินงานด้าน CSR และอย่างน้อยร้อยละ 50 มีการจัดทำรายงานการดำเนินงานด้าน CSR นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดทุน ผ่านการสร้าง mai matching fund และ Venture Capital Model เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการเพิ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในอนาคต
กำลังโหลดความคิดเห็น