กลุ่มปตท.อ่วม หลังเจอพิษเศรษฐกิจโลกชะลอตัว-ราคาน้ำมันโลกวูบ ไตรมาส 3/51 กำไรสุทธิรวม 2.2 หมื่นล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่กำไรสุทธิเฉียด 4.8 หมื่นล้านบาท ลดลงเกือบ 2.6 หมื่นล้านบาท หรือ 54% นำโดย “ไทยออยล์” หนักสุดขาดทุนกว่า 5.8 พันล้านบาท ขณะที่ปตท.เองกำไรสุทธิ 1.8 หมื่นล้านบาท หายไป 6.6 พันล้านบาท ระบุมีเพียง “PTTEP” ช่วยพยุงฐานะกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 84% ด้าน “ประเสริฐ” ยอมรับสาเหตุหลักเกิดจากส่วนแบ่งธุรกิจการกลั่นลด-ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน
วิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ลุกลามสู่ภาคการเงินของหลายๆ ประเทศทั่วโลก จนส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด บวกกับสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยมีราคาสูงกว่า 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ก่อนจะลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วอยู่ระดับที่ต่ำกว่า 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปัจจุบัน
จากปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจพลังงาน โดยเฉพาะกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ที่มีผลการดำเนินงานปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากก่อนหน้านั้นเป็นกลุ่มบริษัทที่มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น
***ไตรมาส3กำไรวูบเฉียด2.6หมื่นล้าน
โดยผลสำรวจผลการดำเนินงานของกลุ่มบมจ.ปตท. ประจำไตรมาส 3 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 รวมทั้งสิ้น 7 บริษัท พบว่า มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 21,925.62 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 47,866.98 ล้านบาท หรือกำไรสุทธิลดลงกว่า 25,941.36 ล้านบาท หรือคิดเป็น 54.19%
สำหรับกลุ่มปตท. ทั้ง 7 บริษัท ประกอบด้วย บมจ. ปตท. (PTT) บมจ. บางจากปิโตรเลียม (BCP) บมจ. ไออาร์พีซี (IRPC) บมจ. ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) บมจ. ปตท.เคมิคอล (PTTCH) บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) และบมจ. ไทยออยล์ (TOP)
ทั้งนี้ หากพิจารณารายบริษัทส่วนใหญ่จะมีผลการดำเนินงานลดลงเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ยกเว้น PTTEP เพียงบริษัทเดียวที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น คือ กำไรสุทธิ 12,983.87 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 3.93 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไรสุทธิ 7,045.80 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 2.14 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 84%
ส่วนบริษัทที่มีผลขาดทุนสุทธิสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.ไทยออยล์ ขาดทุนสุทธิ 5,802.19 ล้านบาท จากปีก่อนกำไรสุทธิ 3,101.78 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 287% บมจ.ไออาร์พีซี ขาดทุนสุทธิ 4,430.36 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 3,743.15 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 218% และบมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น ขาดทุนสุทธิ 3,376.42 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 3,708.00 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 191%
***ส่วนแบ่งธุรกิจการกลั่นลดวูบ**
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กล่าว ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บริษัทมีกำไรสุทธิ 17,876.67 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 6.34 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิ 24,475.60 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 8.72 บาท หรือกำไรสุทธิลดลง 6,598.93 ล้านบาท คิดเป็น 26.96%
ขณะที่งวด 9 เดือนกำไรสุทธิ 73,893.74 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 26.21 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 73,320.24 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 26.13 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 573.50 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.78%
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2551 บริษัทได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลให้การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน บวกกับสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างมาก อัตราเงินเฟ้อและราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มปรับตัวลดลง
จากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ทำให้ไตรมาส 3/51 ปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 589,174 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/50 จำนวน 193,679 ล้านบาท หรือ 49.0% กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย รวมทั้งก่อนค่าใช้จ่ายอื่นและรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (EBITDA) 51,531 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,112 ล้านบาท หรือ 21.5%
อย่างไรก็ตาม ปตท.และบริษัทย่อยมีส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียจำนวน 3,455 ล้านบาท โดยคิดเป็นส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียลดลง 9,168 ล้านบาท จากปีก่อนที่มีส่วนแบ่งกำไร 5,713 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากบริษัทในเครือกลุ่มธุรกิจการกลั่นมีค่าการกลั่นลดลง และมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน (Stock Loss) ค่อนข้างสูง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงธุรกิจปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ที่มีส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Product-to-feed margin) ที่ลดลง
นอกจากนี้ ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 25 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 724 ล้านบาท
ส่วนงวด 9 เดือนปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 1,663,730 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 57.0% มี EBITDA 134,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.3% มีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียจำนวน17,638 ล้านบาท ลดลง 20.3% โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากผลประกอบการของบริษัทในเครือกลุ่มธุรกิจการกลั่นที่มีค่าการกลั่นลดลง และ Stock Loss จากราคาน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวลงดังกล่าวข้างต้น
ขณะเดียวกัน ปตท.และบริษัทย่อยมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,252 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 3,807 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ ปตท. ได้ประเมินสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 51 คาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำ คือ อยู่ในช่วงประมาณ 55 - 70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ตราบใดที่ปัญหาวิกฤตทางการเงินในประเทศสหรัฐฯ ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นแรงกดดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง
ขณะที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ราคาจะปรับลดลงตามราคาน้ำมัน รวมทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะเข้าสู่ช่วงวัฏจักรราคาขาลง เนื่องจากจะมีกำลังผลิตใหม่ๆ จากภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียแปซิฟิกเกิดขึ้น
***TOP ขาดทุนสต๊อกต้ำมัน 7.6 พันล้าน
นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP แจ้งว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีผลขาดทุนสุทธิ 5,802.19 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 287.06% 2551 เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ 128 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงมาอยู่ที่ 96 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 รวมทั้งราคาน้ำมันสำเร็จรูปได้ปรับตัวลดลงทุกชนิด ทำให้บริษัทมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสูงกว่า 7,594 ล้านบาท และมีผลขาดทุนก่อนดอกเบี้ยภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี (Negative EBITDA) จำนวน 5,541 ล้านบาท
วิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ลุกลามสู่ภาคการเงินของหลายๆ ประเทศทั่วโลก จนส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด บวกกับสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยมีราคาสูงกว่า 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ก่อนจะลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วอยู่ระดับที่ต่ำกว่า 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปัจจุบัน
จากปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจพลังงาน โดยเฉพาะกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ที่มีผลการดำเนินงานปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากก่อนหน้านั้นเป็นกลุ่มบริษัทที่มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น
***ไตรมาส3กำไรวูบเฉียด2.6หมื่นล้าน
โดยผลสำรวจผลการดำเนินงานของกลุ่มบมจ.ปตท. ประจำไตรมาส 3 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 รวมทั้งสิ้น 7 บริษัท พบว่า มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 21,925.62 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 47,866.98 ล้านบาท หรือกำไรสุทธิลดลงกว่า 25,941.36 ล้านบาท หรือคิดเป็น 54.19%
สำหรับกลุ่มปตท. ทั้ง 7 บริษัท ประกอบด้วย บมจ. ปตท. (PTT) บมจ. บางจากปิโตรเลียม (BCP) บมจ. ไออาร์พีซี (IRPC) บมจ. ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) บมจ. ปตท.เคมิคอล (PTTCH) บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) และบมจ. ไทยออยล์ (TOP)
ทั้งนี้ หากพิจารณารายบริษัทส่วนใหญ่จะมีผลการดำเนินงานลดลงเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ยกเว้น PTTEP เพียงบริษัทเดียวที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น คือ กำไรสุทธิ 12,983.87 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 3.93 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไรสุทธิ 7,045.80 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 2.14 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 84%
ส่วนบริษัทที่มีผลขาดทุนสุทธิสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.ไทยออยล์ ขาดทุนสุทธิ 5,802.19 ล้านบาท จากปีก่อนกำไรสุทธิ 3,101.78 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 287% บมจ.ไออาร์พีซี ขาดทุนสุทธิ 4,430.36 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 3,743.15 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 218% และบมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น ขาดทุนสุทธิ 3,376.42 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 3,708.00 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 191%
***ส่วนแบ่งธุรกิจการกลั่นลดวูบ**
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กล่าว ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บริษัทมีกำไรสุทธิ 17,876.67 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 6.34 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิ 24,475.60 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 8.72 บาท หรือกำไรสุทธิลดลง 6,598.93 ล้านบาท คิดเป็น 26.96%
ขณะที่งวด 9 เดือนกำไรสุทธิ 73,893.74 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 26.21 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 73,320.24 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 26.13 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 573.50 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.78%
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2551 บริษัทได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลให้การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน บวกกับสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างมาก อัตราเงินเฟ้อและราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มปรับตัวลดลง
จากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ทำให้ไตรมาส 3/51 ปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 589,174 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/50 จำนวน 193,679 ล้านบาท หรือ 49.0% กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย รวมทั้งก่อนค่าใช้จ่ายอื่นและรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (EBITDA) 51,531 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,112 ล้านบาท หรือ 21.5%
อย่างไรก็ตาม ปตท.และบริษัทย่อยมีส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียจำนวน 3,455 ล้านบาท โดยคิดเป็นส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียลดลง 9,168 ล้านบาท จากปีก่อนที่มีส่วนแบ่งกำไร 5,713 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากบริษัทในเครือกลุ่มธุรกิจการกลั่นมีค่าการกลั่นลดลง และมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน (Stock Loss) ค่อนข้างสูง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงธุรกิจปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ที่มีส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Product-to-feed margin) ที่ลดลง
นอกจากนี้ ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 25 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 724 ล้านบาท
ส่วนงวด 9 เดือนปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 1,663,730 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 57.0% มี EBITDA 134,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.3% มีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียจำนวน17,638 ล้านบาท ลดลง 20.3% โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากผลประกอบการของบริษัทในเครือกลุ่มธุรกิจการกลั่นที่มีค่าการกลั่นลดลง และ Stock Loss จากราคาน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวลงดังกล่าวข้างต้น
ขณะเดียวกัน ปตท.และบริษัทย่อยมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,252 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 3,807 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ ปตท. ได้ประเมินสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 51 คาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำ คือ อยู่ในช่วงประมาณ 55 - 70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ตราบใดที่ปัญหาวิกฤตทางการเงินในประเทศสหรัฐฯ ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นแรงกดดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง
ขณะที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ราคาจะปรับลดลงตามราคาน้ำมัน รวมทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะเข้าสู่ช่วงวัฏจักรราคาขาลง เนื่องจากจะมีกำลังผลิตใหม่ๆ จากภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียแปซิฟิกเกิดขึ้น
***TOP ขาดทุนสต๊อกต้ำมัน 7.6 พันล้าน
นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP แจ้งว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีผลขาดทุนสุทธิ 5,802.19 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 287.06% 2551 เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ 128 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงมาอยู่ที่ 96 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 รวมทั้งราคาน้ำมันสำเร็จรูปได้ปรับตัวลดลงทุกชนิด ทำให้บริษัทมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสูงกว่า 7,594 ล้านบาท และมีผลขาดทุนก่อนดอกเบี้ยภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี (Negative EBITDA) จำนวน 5,541 ล้านบาท