ผลการดำเนินงานงวดสิ้นปี 50 ของกลุ่มเดินเรือ ส่วนใหญ่ผลงานยังเติบโตต่อเนื่อง โดยมีกำไรสุทธิรวม 13,111.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มี 10,481.59 ล้านบาท หรือกำไรสุทธิรวมเพิ่มขึ้น 1,630.26 ล้านบาท คิดเป็น 25.09% TTA เจ๋งสุดนำโด่ง 42% ขณะที่ JUTHA ตกกว่า 10% อันเป็นผลจากค่าระวางเรือสูง รวมทั้งวันเดินเรือที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลดีต่อการดำเนินงาน แม้เงินบาทแข็งค่าส่งผลให้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยต่ำลง ขณะที่ JUTHA กลับกำไรตก อ้างไม่มีเรือเข้าอู่แห้ง ทำให้บริษัทมีวันทำรายได้น้อยลง และมีค่าใช้จ่ายเข้าอู่แห้งเพิ่มขึ้น
JUTHA กำไรตก อ้างไม่มีเรือเข้าอู่แห้ง
บมจ.จุฑานาวี (JUTHA) แจ้งผลงานงวดนี้พบบริษัทมีกำไสุทธิ 171.56 ล้านบาท ลดลง 19.88 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 191.44 ล้านบาท หรือกำไรลดลง 19.88% เนื่องจากบริษัทมีเรือเข้าอู่แห้งตามกำหนดเวลาตลอดทั้งปีถึง 5 ลำ หรือประมาณ 80% ของกองเรือของบริษัท ในขณะที่เมื่อปี 2549 บริษัทไม่มีเรือเข้าอู่แห้งเลย จึงทำให้บริษัทมีวันทำรายได้น้อยลง และมีค่าใช้จ่ายเข้าอู่แห้งเพิ่มขึ้น ทำให้กำไรลดลง
TTA นำโด่งกำไรโต 42% รายได้เดินเรือเพิ่ม
บมจ.พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (PSL) มีกำไรสุทธิในงวดนี้ 4,156.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 441.04 ล้านบาท หรือ 11.87% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 3,715.12 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการเดินเรือสุทธิ (รายได้จากการเดินเรือสุทธิจากรายจ่ายท่าเรือและน้ำมันเชื้อเพลิง) ของปี 2550 ลดลงจากปี 2549 ผลจากจำนวนเรือเฉลี่ยที่ดำเนินงานระหว่างปีลดลง ซึ่งเป็นผลจากการขายเรือเก่า 10 ลำของกองเรือออกไป แม้ค่าเงินจะแข็งค่าทำให้อัตราแลกเปลี่ยนต่ำลง แต่อัตราค่าระวางในตลาดสากลปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้รายได้จากการเดินเรือโดยเฉลี่ยต่อวันต่อลำเรือเพิ่มขึ้น 11-15%
นอกจากนี้ บริษัทยังมีกำไรจากการขายเรือ 1,558.22 ล้านบาท แต่บริษัทขาดทุนจากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน 241.97 ล้านบาท บริษัทได้เข้าทำสัญญา Treasury Lock Contracts กับสาขาของธนาคารต่างประเทศแห่งหนึ่งจำนวนเงินต้นรวม 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่จะเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ แต่สัญญาดังกล่าวได้ถูกยกเลิกและเกิดขาดทุน 241.97 ล้านบาท
บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) โชว์ผลงานไว้เจ๋งสุดของกลุ่ม โดยมีกำไรสุทธิ 4,968.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,466.08 ล้านบาท หรือ 41.86% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 3,502.44 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าระวางเรือสูงขึ้น อัตราการใช้ประโยชน์จากเรือในกลุ่มธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองสูงขึ้น และอัตราค่าเช่าเรือในกลุ่มธุรกิจงานบริการนอกชายฝั่งเพิ่มขึ้น แม้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับเรือและค่าใช้จ่ายในการบริหารสูงขึ้น และเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่อุปสงค์และอุปทานของเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองยังคงอยู่ในภาวะสมดุลย์อยู่ คาดว่าอุปสงค์ของเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองปีนี้จะยังคงดี
บมจ.อาร์ ซี แอล (RCL ) งวดสิ้นปี 2550 ก็ยังอวดผลงานเจ๋ง โดยมีกำไรสุทธิ 3,815.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 3,072.59 ล้านบาท หรือกำไรเพิ่ม 25.47% อันเป็นผลจากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของภูมิภาคยุโรปและตะวันออกกลาง ส่งผลให้จำนวนตู้ที่กลุ่ม ฯ ทำการขนส่งเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ กิจกรรมการขนถ่ายตู้เป็นที่ต้องการมากขึ้นในแถบภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้และบริเวณแถบอ่าวเปอร์เซีย ทำให้การขนส่งตู้ประเภทคู่ค้ากับสายเรือใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวรวมทั้งการขนส่งตู้ประเภทที่กลุ่ม ฯ เป็นเจ้าของและดำเนินการขนส่งเองเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีที่ผ่านมา
รวมทั้งการฟื้นตัวของอสังหาริมทรัพย์ปี 2550 ในประเทศสิงคโปร์และในฮ่องกง มีผลให้อาคารสำนักงานของบริษัทย่อยในสิงคโปร์และในฮ่องกงมีมูลค่าสูงขึ้น และกลับรายการด้อยค่าของอาคารเป็น 1,532 ล้านบาท บริษัทและบริษัทย่อยมีผลกำไรสุทธิ 1,938 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับงวดไตรมาสเดียวกันของปี 2549 จำนวน 1,151 ล้านบาท และมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 249.3 ล้านบาท
นักวิเคราะห์จาก บล.ซิกโก้ กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจเดินเรือครึ่งปีแรกมีแนวโน้มเติบโตดี เพราะความต้องการของจีนยังสูง จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เช่น เดียวกับความต้องการของอินเดีย เนื่องจากเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศยังมีอัตราการเติบโตต่อไปอีก ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังภาพรวมธุรกิจจะชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดยคาดการณ์ว่าดัชนีค่าระวางเรือ (BDI) ในปี 2551 จะลดลงเหลือประมาณ 8,000 จุด จากที่ขึ้นไปสูงสุดเมื่อปีที่แล้วที่ 11,000 จุด ตามปริมาณกองเรือที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดโลก ทำให้ดีมานด์กับซัปพลายสมดุลกันมากขึ้น โดยแนะนำหุ้น บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนส์ซีส์ (TTA) มีราคาเป้าหมาย 54 บาท แต่ให้ระมัดระวังความผันผวนของค่า BDI
JUTHA กำไรตก อ้างไม่มีเรือเข้าอู่แห้ง
บมจ.จุฑานาวี (JUTHA) แจ้งผลงานงวดนี้พบบริษัทมีกำไสุทธิ 171.56 ล้านบาท ลดลง 19.88 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 191.44 ล้านบาท หรือกำไรลดลง 19.88% เนื่องจากบริษัทมีเรือเข้าอู่แห้งตามกำหนดเวลาตลอดทั้งปีถึง 5 ลำ หรือประมาณ 80% ของกองเรือของบริษัท ในขณะที่เมื่อปี 2549 บริษัทไม่มีเรือเข้าอู่แห้งเลย จึงทำให้บริษัทมีวันทำรายได้น้อยลง และมีค่าใช้จ่ายเข้าอู่แห้งเพิ่มขึ้น ทำให้กำไรลดลง
TTA นำโด่งกำไรโต 42% รายได้เดินเรือเพิ่ม
บมจ.พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (PSL) มีกำไรสุทธิในงวดนี้ 4,156.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 441.04 ล้านบาท หรือ 11.87% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 3,715.12 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการเดินเรือสุทธิ (รายได้จากการเดินเรือสุทธิจากรายจ่ายท่าเรือและน้ำมันเชื้อเพลิง) ของปี 2550 ลดลงจากปี 2549 ผลจากจำนวนเรือเฉลี่ยที่ดำเนินงานระหว่างปีลดลง ซึ่งเป็นผลจากการขายเรือเก่า 10 ลำของกองเรือออกไป แม้ค่าเงินจะแข็งค่าทำให้อัตราแลกเปลี่ยนต่ำลง แต่อัตราค่าระวางในตลาดสากลปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้รายได้จากการเดินเรือโดยเฉลี่ยต่อวันต่อลำเรือเพิ่มขึ้น 11-15%
นอกจากนี้ บริษัทยังมีกำไรจากการขายเรือ 1,558.22 ล้านบาท แต่บริษัทขาดทุนจากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน 241.97 ล้านบาท บริษัทได้เข้าทำสัญญา Treasury Lock Contracts กับสาขาของธนาคารต่างประเทศแห่งหนึ่งจำนวนเงินต้นรวม 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่จะเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ แต่สัญญาดังกล่าวได้ถูกยกเลิกและเกิดขาดทุน 241.97 ล้านบาท
บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) โชว์ผลงานไว้เจ๋งสุดของกลุ่ม โดยมีกำไรสุทธิ 4,968.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,466.08 ล้านบาท หรือ 41.86% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 3,502.44 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าระวางเรือสูงขึ้น อัตราการใช้ประโยชน์จากเรือในกลุ่มธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองสูงขึ้น และอัตราค่าเช่าเรือในกลุ่มธุรกิจงานบริการนอกชายฝั่งเพิ่มขึ้น แม้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับเรือและค่าใช้จ่ายในการบริหารสูงขึ้น และเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่อุปสงค์และอุปทานของเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองยังคงอยู่ในภาวะสมดุลย์อยู่ คาดว่าอุปสงค์ของเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองปีนี้จะยังคงดี
บมจ.อาร์ ซี แอล (RCL ) งวดสิ้นปี 2550 ก็ยังอวดผลงานเจ๋ง โดยมีกำไรสุทธิ 3,815.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 3,072.59 ล้านบาท หรือกำไรเพิ่ม 25.47% อันเป็นผลจากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของภูมิภาคยุโรปและตะวันออกกลาง ส่งผลให้จำนวนตู้ที่กลุ่ม ฯ ทำการขนส่งเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ กิจกรรมการขนถ่ายตู้เป็นที่ต้องการมากขึ้นในแถบภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้และบริเวณแถบอ่าวเปอร์เซีย ทำให้การขนส่งตู้ประเภทคู่ค้ากับสายเรือใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวรวมทั้งการขนส่งตู้ประเภทที่กลุ่ม ฯ เป็นเจ้าของและดำเนินการขนส่งเองเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีที่ผ่านมา
รวมทั้งการฟื้นตัวของอสังหาริมทรัพย์ปี 2550 ในประเทศสิงคโปร์และในฮ่องกง มีผลให้อาคารสำนักงานของบริษัทย่อยในสิงคโปร์และในฮ่องกงมีมูลค่าสูงขึ้น และกลับรายการด้อยค่าของอาคารเป็น 1,532 ล้านบาท บริษัทและบริษัทย่อยมีผลกำไรสุทธิ 1,938 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับงวดไตรมาสเดียวกันของปี 2549 จำนวน 1,151 ล้านบาท และมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 249.3 ล้านบาท
นักวิเคราะห์จาก บล.ซิกโก้ กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจเดินเรือครึ่งปีแรกมีแนวโน้มเติบโตดี เพราะความต้องการของจีนยังสูง จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เช่น เดียวกับความต้องการของอินเดีย เนื่องจากเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศยังมีอัตราการเติบโตต่อไปอีก ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังภาพรวมธุรกิจจะชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดยคาดการณ์ว่าดัชนีค่าระวางเรือ (BDI) ในปี 2551 จะลดลงเหลือประมาณ 8,000 จุด จากที่ขึ้นไปสูงสุดเมื่อปีที่แล้วที่ 11,000 จุด ตามปริมาณกองเรือที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดโลก ทำให้ดีมานด์กับซัปพลายสมดุลกันมากขึ้น โดยแนะนำหุ้น บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนส์ซีส์ (TTA) มีราคาเป้าหมาย 54 บาท แต่ให้ระมัดระวังความผันผวนของค่า BDI