OECD คาดศก.สหรัฐ-ยุโรปถดถอยปีหน้า พร้อมเรียกร้องรัฐบาลงัดมาตรการกระตุ้น แนะลดภาษีสำหรับภาคครัวเรือน โดยเชื่อว่าปัญหาเกิดขึ้นจากภาวะสินเชื่อตึงตัว หวังให้เกิดการเพิ่มกำลังซื้อในระบบ เพราะผู้คนเหล่านี้จะได้นำเงินออกไปจับจ่ายใช้สอย
วานนี้ ( 13 พ.ย.) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกในปี 2552 พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ใช้มาตรการกระตุ้นมากกว่านี้ เพื่อต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย
OECD คาดว่าเศรษฐกิจของสมาชิก 30 ประเทศจะขยายตัว 1.4% ในปีนี้ และจะหดตัว 0.3% ในปีหน้า ซึ่งเป็นการปรับลดจากที่ได้คาดการณ์เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยเชื่อว่า เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกจะขยายตัว 1.8% ในปีนี้ และ 1.7% ในปีหน้า
การปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของ OECD ซึ่งเป็นครั้งที่สองในปีนี้ มีขึ้นหลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เปิดเผยคาดการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า เนื่องจากวิกฤตสินเชื่อกระทบกระเทือนเศรษฐกิจโลกโดยรวม ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางหลายประเทศต้องตัดสินใจลดดอกเบี้ย
นายจอร์เกน เอลเมสคอฟ ผู้อำนวยการฝ่ายศึกษานโยบายของ OECD กล่าวว่า สิ่งสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบันคือ การทำอะไรก็ตามที่สามารถกระตุ้นความต้องการอย่างได้ผล ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพก็คือ การลดภาษีสำหรับภาคครัวเรือนที่กำลังประสบภาวะสินเชื่อตึงตัว เพื่อที่ผู้คนเหล่านี้จะได้นำเงินออกไปจับจ่ายใช้สอย
OECD ระบุในรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจที่เผยแพร่ในวันนี้ว่า สหรัฐอเมริกาจะเป็นแกนนำที่ทำให้เศรษฐกิจของกลุ่มชะลอตัวด้วยความที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยคาดว่าเศรษฐกิจของสหรัฐจะหดตัว 0.9% ในปีหน้า หลังจากที่ขยายตัว 1.4% ในปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะหดตัว 0.1% ปีหน้า หลังจากขยายตัว 0.5% ปีนี้
ญี่ปุ่นมีหนี้สูง ขณะที่สหรัฐก็ขาดดุลมหาศาล แต่โอกาสที่ทั้งสองประเทศจะลดดอกเบี้ยลงอีกนั้นมีไม่มาก เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของทั้งสองประเทศอยู่ในระดับต่ำมากอยู่แล้ว ซึ่งเอลเมสคอฟชี้ว่า ในกรณีเหล่านี้ สหรัฐและญี่ปุ่นจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นด้านการคลังอย่างเร่งด่วน
สำหรับเศรษฐกิจของ 15 ชาติที่ใช้เงินยูโรนั้น OECD คาดว่าจะหดตัวลง 0.5% ในปีหน้า หลังจากขยายตัว 1.1% ในปีนี้ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีพึ่งเปิดเผยในวันนี้ว่า เศรษฐกิจไตรมาส 3 ของปีนี้หดตัวลง 0.5% ต่อเนื่องจากที่ปรับตัวลดลง 0.4% ในไตรมาสที่สอง โดยตัวเลขดังกล่าวร่วงลงแรงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะขยับลงเพียง 0.2% ซึ่งตอกย้ำให้เห็นว่า เศรษฐกิจเยอรมนีได้เข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรงที่สุดในรอบ 12 ปี หลังจากที่วิกฤตการเงินทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการใช้จ่าย
วานนี้ ( 13 พ.ย.) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกในปี 2552 พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ใช้มาตรการกระตุ้นมากกว่านี้ เพื่อต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย
OECD คาดว่าเศรษฐกิจของสมาชิก 30 ประเทศจะขยายตัว 1.4% ในปีนี้ และจะหดตัว 0.3% ในปีหน้า ซึ่งเป็นการปรับลดจากที่ได้คาดการณ์เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยเชื่อว่า เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกจะขยายตัว 1.8% ในปีนี้ และ 1.7% ในปีหน้า
การปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของ OECD ซึ่งเป็นครั้งที่สองในปีนี้ มีขึ้นหลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เปิดเผยคาดการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า เนื่องจากวิกฤตสินเชื่อกระทบกระเทือนเศรษฐกิจโลกโดยรวม ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางหลายประเทศต้องตัดสินใจลดดอกเบี้ย
นายจอร์เกน เอลเมสคอฟ ผู้อำนวยการฝ่ายศึกษานโยบายของ OECD กล่าวว่า สิ่งสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบันคือ การทำอะไรก็ตามที่สามารถกระตุ้นความต้องการอย่างได้ผล ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพก็คือ การลดภาษีสำหรับภาคครัวเรือนที่กำลังประสบภาวะสินเชื่อตึงตัว เพื่อที่ผู้คนเหล่านี้จะได้นำเงินออกไปจับจ่ายใช้สอย
OECD ระบุในรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจที่เผยแพร่ในวันนี้ว่า สหรัฐอเมริกาจะเป็นแกนนำที่ทำให้เศรษฐกิจของกลุ่มชะลอตัวด้วยความที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยคาดว่าเศรษฐกิจของสหรัฐจะหดตัว 0.9% ในปีหน้า หลังจากที่ขยายตัว 1.4% ในปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะหดตัว 0.1% ปีหน้า หลังจากขยายตัว 0.5% ปีนี้
ญี่ปุ่นมีหนี้สูง ขณะที่สหรัฐก็ขาดดุลมหาศาล แต่โอกาสที่ทั้งสองประเทศจะลดดอกเบี้ยลงอีกนั้นมีไม่มาก เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของทั้งสองประเทศอยู่ในระดับต่ำมากอยู่แล้ว ซึ่งเอลเมสคอฟชี้ว่า ในกรณีเหล่านี้ สหรัฐและญี่ปุ่นจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นด้านการคลังอย่างเร่งด่วน
สำหรับเศรษฐกิจของ 15 ชาติที่ใช้เงินยูโรนั้น OECD คาดว่าจะหดตัวลง 0.5% ในปีหน้า หลังจากขยายตัว 1.1% ในปีนี้ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีพึ่งเปิดเผยในวันนี้ว่า เศรษฐกิจไตรมาส 3 ของปีนี้หดตัวลง 0.5% ต่อเนื่องจากที่ปรับตัวลดลง 0.4% ในไตรมาสที่สอง โดยตัวเลขดังกล่าวร่วงลงแรงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะขยับลงเพียง 0.2% ซึ่งตอกย้ำให้เห็นว่า เศรษฐกิจเยอรมนีได้เข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรงที่สุดในรอบ 12 ปี หลังจากที่วิกฤตการเงินทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการใช้จ่าย