บสท. เปิดประมูลหุ้น "MFC" จำนวน 12.627 ล้านหุ้น 17 พ.ย.นี้ กำหนดเสนอราคาซื้อไม่ต่ำกว่า 183.0915 ล้านบาท เผยที่มาหุ้น เป็นสินทรัพย์ที่ได้มาจากลูกหนี้ 2 กลุ่มปรับโครงสร้างหนี้ ด้าน "พิชิต" แจง ไม่ร่วมประมูล พร้อมระบุไม่มีผลต่อโครงสร้างผู้ถือหุ้นและการบริหารจัดการ ก่อนย้ำคลังยังไม่มีแผนถือหุ้นเกิน 50% ชี้นักลงทุนสนใจหุ้น "MFC" เพราะจ่ายปันผลดีต่อเนื่อง
รายงานข่าวจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ บสท.จะทำการประมูลขายหุ้นสามัญ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC จำนวน 12.627 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท โดยผู้ประมูลจะต้องเสนอราคาซื้อหุ้นที่ประมูลขายทั้งหมดในคราวเดียว และจะต้องเสนอราคาซื้อไม่ต่ำกว่า 183,091,500.00 บาท โดยการประมูลดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ชั้น 22 อาคารเอ็กซิม ถนนพหลโยธิน ซึ่งจะทำการเปิดซองประมูลเสนอราคาซื้อหุ้นที่ประมูลขาย ในเวลา 14.30 น.
ทั้งนี้ บสท. เปิดเผยถึงการได้มาของหุ้นของ MFC ว่า หุ้นสามัญของ MFC จำนวน 12.627 ล้านหุ้นดังกล่าว ได้มาจากการปรับโครงสร้างของลูกหนี้จำนวน 2 กลุ่ม ซึ่งลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยหลังจากมีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว หุ้นสามัญจึงตกเป็นทรัพย์สินของ บสท.
อย่างไรก็ตาม หุ้นสามัญของ MFC นั้น บสก. สามารถนำไปขายในตลาดได้เชียวเดียวกัน แต่เนื่องจากเป็นล๊อตใหญ่และอาจจะต้องมีกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการหลายเรื่อง เราจึงเลือกที่จะเปิดประมูลขายมากกว่า ซึ่งที่ผ่านมา หากมีจำนวนหุ้นสามัญในลักษณะที่เป็นล๊อตใหญ่เช่นนี้ เราก็จะเปิดประมูลเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการซื้อขายหุ้นของ MFC วานนี้ ไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใด โดยราคาหุ้นล่าสุด อยู่ที่ 10.00 บาท ซึ่งในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินจนนักลงทุนเทขายหุ้นทั่วโลกออกมา หุ้นของ MFC เองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะหุ้นของ MFC เอง เคยอยู่ที่ระดับ 15.00 บาทในเดือนกรกฎาคม ก่อนจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง มาอยู่ในระดับราคาปัจจุบัน
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังและธนาคารออมสิน เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ MFC ในสัดส่วนรวมกันประมาณ 42% ซึ่งในขณะนี้ ภาครัฐเองยังไม่มีแผนในการถือหุ้นเกิน 50% เนื่องจากจะทำให้ MFC กลายสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการที่ บสท. เปิดประมูลหุ้นดังกล่าว คงไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญในแง่ของโครงสร้างผู้ถือหุ้น รวมถึงการบริหารจัดการ
ส่วนเอ็มเอฟซีจะเข้าไปร่วมประมูลหรือไม่นั้น ไม่ชัดเจนว่าในหลักการแล้วสามารถทำได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม บลจ.เอ็มเอฟซีเองคงไม่ร่วมเข้าประมูลในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม จากแนวคิดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีแนวทางในการสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นคืนหลังจากราคาหุ้นปรับลดลงไปอย่างมาก ในส่วนของ บลจ.เอ็มเอฟซีเอง มีการพูดถึงเรื่องนี้อยู่บ้างในระดับผู้บริหาร แต่คงยังไม่ใช่ในตอนนี้
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับหุ้น MFC ที่ผ่านมา บริษัทมีการจ่ายปันผลที่ดีมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งครั้งล่าสุด บริษัทได้จ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นประมาณ 70-80 สตางค์ต่อหุ้น แต่การที่หุ้นไม่ค่อยมีสภาพคล่องมากนัก เนื่องจากการซื้อขายในตลาดไม่ค่อยเกิดขึ้นนั้น สาเหตุเพราะผู้ลงทุนที่ถือหุ้น MFC ส่วนใหญ่ เป็นนักลงทุนระยะยาว ที่เน้นลงทุนเพื่อรับปันผลมากกว่า ดังนั้น จึงไม่เห็นการซื้อขายดังกล่าว
ก่อหน้านี้ บลจ.เอ็มเอฟซี ได้เปิดเผยผลการดำเนินในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมาว่า ในส่วนของงบการเงินรวม บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 9.621 ล้านบาท ลดลงจากกำไรในงวดเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีกำไรสุทธิ 30.439 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ในขณะที่งวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 65.754 ล้านบาท ส่วนกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.55 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีที่แล้วเช่นกัน โดยงวด 9 เดือนของปี 2550 มีกำไรสุทธิ 76.102 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.63 บาท
ส่วนงบการเงินเฉพาะกิจในช่วงไตรมาสที่ 3 บริษัทมีกำไรสุทธิ 9.962 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2550 ที่มีกำไรสุทธิ 23.720 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.20 บาท ในขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 68.371 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.57 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 52.214 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาท
สำหรับสาเหตุที่ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 งบการเงินรวมของบริษัทฯ ซึ่งได้รวมผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม มีผลกำไรสุทธิ จำนวน 9.62 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 20.82 ล้านบาท หรือ 68.39% นั้น เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ (ค่าฟี) ลดลงจากปีก่อน จำนวน 14.98 ล้านบาท ซึ่งได้รับผลกระทบจากการที่ราคาหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศลดลง อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ปัญหาระบบสถาบันการเงินในต่างประเทศและความกังวลเกี่ยวกับสภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม งบการเงินรวมงวด 9 เดือน มีกำไรสุทธิ 65.75 ล้านบาท ต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 13.60% โดยงบการเงินรวมงวด 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิ 56.13 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 22.91%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายพิชิตเปิดเผยว่า บริษัทยังคงเป้าหมายเพิ่มรายได้ของปีนี้ไว้ที่ 15-20% ที่เคยตั้งเป้าไว้ก่อนหน้านี้ ถึงแม้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.(AUM) จะลดลงตามภาวะตลาดก็ตาม โดยในส่วนของรายได้นั้น คาดว่าจะมาจากธุรกิจเสริม ทั้งจากการเป็นบริษัทให้คำปรึกษาทางด้านการลงทุน ประกอบกับบลจ.ได้จัดตั้งบริษัทลูก พร้อมกับบริษัทร่วมทุน ขณะเดียวกันในปลายปีนี้จะมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนตราสารหนี้เพิ่มอีก 2-3 กองทุน ดังนั้น จึงเชื่อว่ารายได้จะเป็นไปตามที่ตั้งไว้
รายงานข่าวจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ บสท.จะทำการประมูลขายหุ้นสามัญ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC จำนวน 12.627 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท โดยผู้ประมูลจะต้องเสนอราคาซื้อหุ้นที่ประมูลขายทั้งหมดในคราวเดียว และจะต้องเสนอราคาซื้อไม่ต่ำกว่า 183,091,500.00 บาท โดยการประมูลดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ชั้น 22 อาคารเอ็กซิม ถนนพหลโยธิน ซึ่งจะทำการเปิดซองประมูลเสนอราคาซื้อหุ้นที่ประมูลขาย ในเวลา 14.30 น.
ทั้งนี้ บสท. เปิดเผยถึงการได้มาของหุ้นของ MFC ว่า หุ้นสามัญของ MFC จำนวน 12.627 ล้านหุ้นดังกล่าว ได้มาจากการปรับโครงสร้างของลูกหนี้จำนวน 2 กลุ่ม ซึ่งลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยหลังจากมีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว หุ้นสามัญจึงตกเป็นทรัพย์สินของ บสท.
อย่างไรก็ตาม หุ้นสามัญของ MFC นั้น บสก. สามารถนำไปขายในตลาดได้เชียวเดียวกัน แต่เนื่องจากเป็นล๊อตใหญ่และอาจจะต้องมีกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการหลายเรื่อง เราจึงเลือกที่จะเปิดประมูลขายมากกว่า ซึ่งที่ผ่านมา หากมีจำนวนหุ้นสามัญในลักษณะที่เป็นล๊อตใหญ่เช่นนี้ เราก็จะเปิดประมูลเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการซื้อขายหุ้นของ MFC วานนี้ ไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใด โดยราคาหุ้นล่าสุด อยู่ที่ 10.00 บาท ซึ่งในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินจนนักลงทุนเทขายหุ้นทั่วโลกออกมา หุ้นของ MFC เองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะหุ้นของ MFC เอง เคยอยู่ที่ระดับ 15.00 บาทในเดือนกรกฎาคม ก่อนจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง มาอยู่ในระดับราคาปัจจุบัน
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังและธนาคารออมสิน เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ MFC ในสัดส่วนรวมกันประมาณ 42% ซึ่งในขณะนี้ ภาครัฐเองยังไม่มีแผนในการถือหุ้นเกิน 50% เนื่องจากจะทำให้ MFC กลายสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการที่ บสท. เปิดประมูลหุ้นดังกล่าว คงไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญในแง่ของโครงสร้างผู้ถือหุ้น รวมถึงการบริหารจัดการ
ส่วนเอ็มเอฟซีจะเข้าไปร่วมประมูลหรือไม่นั้น ไม่ชัดเจนว่าในหลักการแล้วสามารถทำได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม บลจ.เอ็มเอฟซีเองคงไม่ร่วมเข้าประมูลในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม จากแนวคิดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีแนวทางในการสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นคืนหลังจากราคาหุ้นปรับลดลงไปอย่างมาก ในส่วนของ บลจ.เอ็มเอฟซีเอง มีการพูดถึงเรื่องนี้อยู่บ้างในระดับผู้บริหาร แต่คงยังไม่ใช่ในตอนนี้
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับหุ้น MFC ที่ผ่านมา บริษัทมีการจ่ายปันผลที่ดีมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งครั้งล่าสุด บริษัทได้จ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นประมาณ 70-80 สตางค์ต่อหุ้น แต่การที่หุ้นไม่ค่อยมีสภาพคล่องมากนัก เนื่องจากการซื้อขายในตลาดไม่ค่อยเกิดขึ้นนั้น สาเหตุเพราะผู้ลงทุนที่ถือหุ้น MFC ส่วนใหญ่ เป็นนักลงทุนระยะยาว ที่เน้นลงทุนเพื่อรับปันผลมากกว่า ดังนั้น จึงไม่เห็นการซื้อขายดังกล่าว
ก่อหน้านี้ บลจ.เอ็มเอฟซี ได้เปิดเผยผลการดำเนินในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมาว่า ในส่วนของงบการเงินรวม บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 9.621 ล้านบาท ลดลงจากกำไรในงวดเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีกำไรสุทธิ 30.439 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ในขณะที่งวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 65.754 ล้านบาท ส่วนกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.55 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีที่แล้วเช่นกัน โดยงวด 9 เดือนของปี 2550 มีกำไรสุทธิ 76.102 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.63 บาท
ส่วนงบการเงินเฉพาะกิจในช่วงไตรมาสที่ 3 บริษัทมีกำไรสุทธิ 9.962 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2550 ที่มีกำไรสุทธิ 23.720 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.20 บาท ในขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 68.371 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.57 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 52.214 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาท
สำหรับสาเหตุที่ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 งบการเงินรวมของบริษัทฯ ซึ่งได้รวมผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม มีผลกำไรสุทธิ จำนวน 9.62 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 20.82 ล้านบาท หรือ 68.39% นั้น เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ (ค่าฟี) ลดลงจากปีก่อน จำนวน 14.98 ล้านบาท ซึ่งได้รับผลกระทบจากการที่ราคาหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศลดลง อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ปัญหาระบบสถาบันการเงินในต่างประเทศและความกังวลเกี่ยวกับสภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม งบการเงินรวมงวด 9 เดือน มีกำไรสุทธิ 65.75 ล้านบาท ต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 13.60% โดยงบการเงินรวมงวด 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิ 56.13 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 22.91%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายพิชิตเปิดเผยว่า บริษัทยังคงเป้าหมายเพิ่มรายได้ของปีนี้ไว้ที่ 15-20% ที่เคยตั้งเป้าไว้ก่อนหน้านี้ ถึงแม้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.(AUM) จะลดลงตามภาวะตลาดก็ตาม โดยในส่วนของรายได้นั้น คาดว่าจะมาจากธุรกิจเสริม ทั้งจากการเป็นบริษัทให้คำปรึกษาทางด้านการลงทุน ประกอบกับบลจ.ได้จัดตั้งบริษัทลูก พร้อมกับบริษัทร่วมทุน ขณะเดียวกันในปลายปีนี้จะมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนตราสารหนี้เพิ่มอีก 2-3 กองทุน ดังนั้น จึงเชื่อว่ารายได้จะเป็นไปตามที่ตั้งไว้