คาดลอยกระทงปีนี้เงินสะพัด 8.8 พันล้านบาท หลังคนแห่เที่ยวเพิ่มขึ้น เหตุเครียดปัญหาการเมืองวุ่นวาย และเศรษฐกิจชะลอตัว เตือนพ่อค้าแม่ค้าตุนของขายระวังตัว เหตุคนใช้จ่ายประหยัด แม้การใช้เงินจะเพิ่มแต่ปริมาณไม่เพิ่มตาม
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงวันลอยกระทง 12 พ.ย.นี้ จากกลุ่มตัวอย่าง 1,194 ตัวอย่างทั่วประเทศ ว่า ประชาชนสนใจเดินทางไปร่วมงานลอยกระทงปีนี้ 73% และไม่ร่วมลอยกระทง 27% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มียอดผู้สนใจเพียง 70% เนื่องจากต้องการพักผ่อนคลายเครียดจากปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจที่รุมเร้าตลอดทั้งปี รวมถึงขอพรสิ่งศักดิ์ไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมไปมากสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ สุโขทัยและชลบุรี
สำหรับยอดการใช้จ่ายคาดว่าจะมีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 8,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.4% จากปีที่แล้วที่ใช้จ่ายรวม 8,200 ล้านบาท โดยการใช้ส่วนใหญ่มาจากค่าสังสรรค์ 1,365 บาท ซื้อสุรา 527 บาท ซื้อของรับประทาน 520 บาท ซื้อพลุ 104 บาท ซื้อกระทง 142 บาท ค่าเดินทาง 290 บาท ลอยกระทงที่บ้าน 234 บาท และอื่นๆ 766 บาท
“แม้คนส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น แต่สาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า ไม่ใช่การซื้อปริมาณเพิ่ม ดังนั้น พ่อค้าแม่ค้าที่เตรียมสั่งซื้อสินค้าเพิ่มช่วงลอยกระทงจะต้องระมัดระวัง”นายธนวรรธน์กล่าว
ส่วนการใช้จ่ายวันลอยกระทงแยกตามกลุ่มรายได้ พบว่า คนมีรายได้ต่ำมีสัดส่วนการใช้จ่ายสูงกว่าคนมีรายได้สูง โดยผู้มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยถึงคนละ 875 บาท หรือ 35% ของรายได้รวม รายได้ 5,001-10,000 บาท ใช้จ่าย 1,092 บาท หรือ 14.6% รายได้10,001-20,000 บาท ใช้จ่าย 1,165 บาท หรือ 7.8% ส่วนที่มีรายได้ 20,001 บาทขึ้นไปมีการใช้จ่ายต่ำกว่า 5.6%
นายธนวรรธน์กล่าวว่า คนส่วนใหญ่ยังคาดว่า เทศกาลลอยกระทงปีนี้จะสนุกเหมือนเดิม โดยเฉพาะชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่วางแผนเที่ยวงานลอยกระทง กินเลี้ยงสังสรรค์ ทานอาหารนอกบ้านมากสุด เพื่อระบายความเครียดจากการต้องเจอปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจมาตลอดทั้งปี โดยสิ่งที่ต้องการให้ลอยไปกับกระทงมากสุด คือ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจ อาชญากรรม คอร์รัปชั่น ส่วนพรที่ต้องการขอในวันลอยกระทง ได้แก่ ขอให้สุขภาพแข็งแรง เศรษฐกิจดี และขอให้คนไทยกลับมารักกัน
สำหรับแนวโน้มการใช้จ่ายช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงเทศกาลปีใหม่พบว่า ส่วนมากจะลดการใช้จ่ายลง 72.1% ใช้จ่ายเท่าเดิม 16.5% และใช้จ่ายเพิ่มเพียง 11.4% โดยในจำนวนนี้เป็นการซื้อลดลงมากในแง่ปริมาณถึง 53.9% ลดลงเล็กน้อย 20.8% และเพิ่มขึ้นกับไม่เปลี่ยนแปลง 25.3% ส่วนสาเหตุหลักมาจากราคาสินค้าแพง 38% มีรายได้ลดลง 29% ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว 28.6% ปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง 4.2% ส่งผลให้ความเชื่อมั่นการบริโภคไตรมาสสี่ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องอีก
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงวันลอยกระทง 12 พ.ย.นี้ จากกลุ่มตัวอย่าง 1,194 ตัวอย่างทั่วประเทศ ว่า ประชาชนสนใจเดินทางไปร่วมงานลอยกระทงปีนี้ 73% และไม่ร่วมลอยกระทง 27% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มียอดผู้สนใจเพียง 70% เนื่องจากต้องการพักผ่อนคลายเครียดจากปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจที่รุมเร้าตลอดทั้งปี รวมถึงขอพรสิ่งศักดิ์ไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมไปมากสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ สุโขทัยและชลบุรี
สำหรับยอดการใช้จ่ายคาดว่าจะมีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 8,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.4% จากปีที่แล้วที่ใช้จ่ายรวม 8,200 ล้านบาท โดยการใช้ส่วนใหญ่มาจากค่าสังสรรค์ 1,365 บาท ซื้อสุรา 527 บาท ซื้อของรับประทาน 520 บาท ซื้อพลุ 104 บาท ซื้อกระทง 142 บาท ค่าเดินทาง 290 บาท ลอยกระทงที่บ้าน 234 บาท และอื่นๆ 766 บาท
“แม้คนส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น แต่สาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า ไม่ใช่การซื้อปริมาณเพิ่ม ดังนั้น พ่อค้าแม่ค้าที่เตรียมสั่งซื้อสินค้าเพิ่มช่วงลอยกระทงจะต้องระมัดระวัง”นายธนวรรธน์กล่าว
ส่วนการใช้จ่ายวันลอยกระทงแยกตามกลุ่มรายได้ พบว่า คนมีรายได้ต่ำมีสัดส่วนการใช้จ่ายสูงกว่าคนมีรายได้สูง โดยผู้มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยถึงคนละ 875 บาท หรือ 35% ของรายได้รวม รายได้ 5,001-10,000 บาท ใช้จ่าย 1,092 บาท หรือ 14.6% รายได้10,001-20,000 บาท ใช้จ่าย 1,165 บาท หรือ 7.8% ส่วนที่มีรายได้ 20,001 บาทขึ้นไปมีการใช้จ่ายต่ำกว่า 5.6%
นายธนวรรธน์กล่าวว่า คนส่วนใหญ่ยังคาดว่า เทศกาลลอยกระทงปีนี้จะสนุกเหมือนเดิม โดยเฉพาะชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่วางแผนเที่ยวงานลอยกระทง กินเลี้ยงสังสรรค์ ทานอาหารนอกบ้านมากสุด เพื่อระบายความเครียดจากการต้องเจอปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจมาตลอดทั้งปี โดยสิ่งที่ต้องการให้ลอยไปกับกระทงมากสุด คือ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจ อาชญากรรม คอร์รัปชั่น ส่วนพรที่ต้องการขอในวันลอยกระทง ได้แก่ ขอให้สุขภาพแข็งแรง เศรษฐกิจดี และขอให้คนไทยกลับมารักกัน
สำหรับแนวโน้มการใช้จ่ายช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงเทศกาลปีใหม่พบว่า ส่วนมากจะลดการใช้จ่ายลง 72.1% ใช้จ่ายเท่าเดิม 16.5% และใช้จ่ายเพิ่มเพียง 11.4% โดยในจำนวนนี้เป็นการซื้อลดลงมากในแง่ปริมาณถึง 53.9% ลดลงเล็กน้อย 20.8% และเพิ่มขึ้นกับไม่เปลี่ยนแปลง 25.3% ส่วนสาเหตุหลักมาจากราคาสินค้าแพง 38% มีรายได้ลดลง 29% ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว 28.6% ปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง 4.2% ส่งผลให้ความเชื่อมั่นการบริโภคไตรมาสสี่ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องอีก