ศูนย์วิจัยกสิกรฯเผยสินเชื่อแบงก์ 9 เดือน เพิ่ม 5.4 แสนล้าน คิดเป็น 10.55% ส่วนเฉพาะเดือนกันยาฯเพิ่มแค่ 4 หมื่นล้าน คิดเป็น 0.76% โดย"กรุงเทพ-กรุงไทย"มียอดสินเชื่อลดลง ตามยอดเงินฝากที่ลดลง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานตัวเลขสินเชื่อ เงินฝาก และสินทรัพย์ ในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 โดยยอดคงค้างสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีจำนวน 5,699,978 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 42,972 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 0.76 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.85 ทั้งนี้ กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง มีสินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 19,169 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.51 นำโดยธนาคารกสิกรไทย และไทยพาณิชย์ มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นจำนวน 14,162 และ 9,488 ล้านบาทตามลำดับ ตามมาด้วยธนาคารกรุงเทพ จำนวน 745 ล้านบาท ส่วนธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อลดลง 5,225 ล้านบาท
ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง สินเชื่อรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 20,061 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มร้อยละ 1.46 นำโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 16,639 ล้านบาท ตามมาด้วยธนาคารธนชาต และนครหลวงไทย จำนวน 4,846 และ 1,477 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารทหารไทย มีสินเชื่อลดลง 2,901 ล้านบาท และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 3,742 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 ตามการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย สินเอเซีย และทิสโก้ จำนวนระหว่าง 1,100-2,200 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารยูโอบี ไทยธนาคาร และเกียรตินาคิน มีสินเชื่อลดลง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2550 จะพบว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมียอดสินเชื่อ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 เพิ่มขึ้นจำนวน 543,884 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.55 นำโดยการเพิ่มขึ้นของเงินให้สินเชื่อที่กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ จำนวน 384,807 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็กมีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 105,884 และ 53,194 ล้านบาทตามลำดับ
ด้านเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,187,035 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 2,441 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 0.04 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.53 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง มีเงินฝากปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 19,648 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.48 ตามการลดลงของสินเชื่อธนาคารกรุงเทพ และไทยพาณิชย์ จำนวน 23,496 และ 10,246 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารกสิกรไทย และกรุงไทย มีเงินฝากเพิ่มขึ้นจำนวน 9,054 และ 5,040 ล้านบาทตามลำดับ
ขณะที่กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง เงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 24,687 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.62 นำโดยธนาคารธนชาต และทหารไทยมีเงินฝากเพิ่มขึ้น 19,806 และ 12,290 ล้านบาทตามลำดับ ตามมาด้วยธนาคารนครหลวงไทย จำนวน 2,760 ล้านบาท ส่วนธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีเงินฝากลดลง 10,169 ล้านบาท และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนที่แล้ว จำนวน 2,598 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 0.49 ตามการลดลงของเงินฝากธนาคารยูโอบี ไทยธนาคาร และทิสโก้ จำนวน 7,656 3,511 และ 1,764 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารเกียรตินาคิน สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย และสินเอเซีย มีเงินฝากเพิ่มขึ้น 4,592 4,575 และ 1,166 ล้านบาทตามลำดับ
และเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2550 จะพบว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมียอดเงินฝาก ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 เพิ่มขึ้นจำนวน 283,575 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.80 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่ต่ำกว่าการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อสุทธิประมาณ 260,000 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนสภาพคล่องในระบบการเงินที่ปรับตัวลดลง ทั้งนี้เงินฝากที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ จะมาจากกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ จำนวน 210,570 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก มีเงินฝากเพิ่มขึ้นจำนวน 54,306 และ 18,700 ล้านบาทตามลำดับ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานตัวเลขสินเชื่อ เงินฝาก และสินทรัพย์ ในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 โดยยอดคงค้างสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีจำนวน 5,699,978 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 42,972 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 0.76 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.85 ทั้งนี้ กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง มีสินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 19,169 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.51 นำโดยธนาคารกสิกรไทย และไทยพาณิชย์ มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นจำนวน 14,162 และ 9,488 ล้านบาทตามลำดับ ตามมาด้วยธนาคารกรุงเทพ จำนวน 745 ล้านบาท ส่วนธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อลดลง 5,225 ล้านบาท
ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง สินเชื่อรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 20,061 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มร้อยละ 1.46 นำโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 16,639 ล้านบาท ตามมาด้วยธนาคารธนชาต และนครหลวงไทย จำนวน 4,846 และ 1,477 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารทหารไทย มีสินเชื่อลดลง 2,901 ล้านบาท และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 3,742 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 ตามการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย สินเอเซีย และทิสโก้ จำนวนระหว่าง 1,100-2,200 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารยูโอบี ไทยธนาคาร และเกียรตินาคิน มีสินเชื่อลดลง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2550 จะพบว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมียอดสินเชื่อ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 เพิ่มขึ้นจำนวน 543,884 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.55 นำโดยการเพิ่มขึ้นของเงินให้สินเชื่อที่กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ จำนวน 384,807 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็กมีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 105,884 และ 53,194 ล้านบาทตามลำดับ
ด้านเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,187,035 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 2,441 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 0.04 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.53 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง มีเงินฝากปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 19,648 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.48 ตามการลดลงของสินเชื่อธนาคารกรุงเทพ และไทยพาณิชย์ จำนวน 23,496 และ 10,246 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารกสิกรไทย และกรุงไทย มีเงินฝากเพิ่มขึ้นจำนวน 9,054 และ 5,040 ล้านบาทตามลำดับ
ขณะที่กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง เงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 24,687 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.62 นำโดยธนาคารธนชาต และทหารไทยมีเงินฝากเพิ่มขึ้น 19,806 และ 12,290 ล้านบาทตามลำดับ ตามมาด้วยธนาคารนครหลวงไทย จำนวน 2,760 ล้านบาท ส่วนธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีเงินฝากลดลง 10,169 ล้านบาท และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนที่แล้ว จำนวน 2,598 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 0.49 ตามการลดลงของเงินฝากธนาคารยูโอบี ไทยธนาคาร และทิสโก้ จำนวน 7,656 3,511 และ 1,764 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารเกียรตินาคิน สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย และสินเอเซีย มีเงินฝากเพิ่มขึ้น 4,592 4,575 และ 1,166 ล้านบาทตามลำดับ
และเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2550 จะพบว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมียอดเงินฝาก ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 เพิ่มขึ้นจำนวน 283,575 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.80 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่ต่ำกว่าการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อสุทธิประมาณ 260,000 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนสภาพคล่องในระบบการเงินที่ปรับตัวลดลง ทั้งนี้เงินฝากที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ จะมาจากกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ จำนวน 210,570 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก มีเงินฝากเพิ่มขึ้นจำนวน 54,306 และ 18,700 ล้านบาทตามลำดับ