ASTVผู้จัดการรายวัน - ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยยอดสินเชื่อแบงก์เดือนแรกของปี 52 ทั้งระบบลดลงกว่า 9 หมื่นล้าน แบงก์ขนาดใหญ่-กลางขยับลงถ้วนหน้า โดยกลุ่มแบงก์ใหญ่ลดเกือบ 6 หมื่นล้าน แบงก์กลาง 2.5 หมื่นล้าน ขณะที่แบงก์เล็ก ลด 8พันล้าน มีทิสโก้-สแตนชาร์ดรอดขยับเพิ่มกว่า 2 พันล้าน ด้านเงินฝากมีลดลง 1.4 หมื่นล. หรือลดลง 0.22%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแจ้งตัวเลขสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ วันที่ 31 มกราคม 2552 มียอดคงค้างสินเชื่อจำนวน 5,722,647 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 92,628 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.59 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.97 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 59,217 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.54 ซึ่งเป็นการลดลงทั้งกลุ่ม นำโดยธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 20,464 และ 19,563 ล้านบาทตามลำดับ ตามมาด้วยธนาคารไทยพาณิชย์ และกรุงไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 11,634 และ 7,556 ล้านบาทตามลำดับ
ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง สินเชื่อรวมปรับตัวลดลงทั้งกลุ่มเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 25,181 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.77 นำโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา และทหารไทย มีสินเชื่อลดลง 10,654 และ 8,930 ล้านบาทตามลำดับ ตามมาด้วยธนาคารธนชาต และนครหลวงไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 4,498 และ 1,098 ล้านบาทตามลำดับ
กลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง สินเชื่อลดลงจากเดือนที่แล้ว 8,231 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.52 ตามการลดลงของสินเชื่อธนาคารยูโอบี ไทยธนาคาร สินเอเซีย และเกียรตินาคิน จำนวน 5,336 4,471 820 และ 62 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารทิสโก้ และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1,671 และ 788 ล้านบาทตามลำดับ
ด้านเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเดือนมกราคม 2552 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,471,601 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 14,016 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 0.22 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.07 ทั้งนี้ จำนวนธนาคารที่มีเงินฝากเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ามีทั้งสิ้น 6 แห่ง ใกล้เคียงกับจำนวนธนาคารที่มีเงินฝากลดลงรวม 8 แห่ง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงเป็นการปรับตัวตามฐานะที่แตกต่างกันไปของแต่ละธนาคาร พอสรุปได้ดังนี้
กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง เงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 2,520 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 ตามการเพิ่มของเงินฝากธนาคารกรุงไทย และไทยพาณิชย์ จำนวน 33,492 และ 15,881 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย มีเงินฝากลดลง 38,142 และ 8,711 ล้านบาทตามลำดับ
กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนก่อนหน้า 6,668 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.42 ตามการลดลงของเงินฝากธนาคารนครหลวงไทย กรุงศรีอยุธยา และทหารไทย จำนวน 13,855 5,260 และ 2,599 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารธนชาต มีเงินฝากเพิ่มขึ้น 15,045 ล้านบาท
และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนที่แล้ว จำนวน 9,867 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.59 จากการลดลงของเงินฝากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทยเป็นหลัก จำนวน 12,973 ล้านบาท ตามมาด้วยธนาคารไทยธนาคาร และสินเอเซีย มีเงินฝากลดลง 3,735 และ 988 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่ธนาคารยูโอบี เกียรตินาคินและทิสโก้ มีเงินฝากเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันประมาณ 2,200-3,300 ล้านบาท
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแจ้งตัวเลขสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ วันที่ 31 มกราคม 2552 มียอดคงค้างสินเชื่อจำนวน 5,722,647 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 92,628 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.59 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.97 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 59,217 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.54 ซึ่งเป็นการลดลงทั้งกลุ่ม นำโดยธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 20,464 และ 19,563 ล้านบาทตามลำดับ ตามมาด้วยธนาคารไทยพาณิชย์ และกรุงไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 11,634 และ 7,556 ล้านบาทตามลำดับ
ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง สินเชื่อรวมปรับตัวลดลงทั้งกลุ่มเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 25,181 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.77 นำโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา และทหารไทย มีสินเชื่อลดลง 10,654 และ 8,930 ล้านบาทตามลำดับ ตามมาด้วยธนาคารธนชาต และนครหลวงไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 4,498 และ 1,098 ล้านบาทตามลำดับ
กลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง สินเชื่อลดลงจากเดือนที่แล้ว 8,231 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.52 ตามการลดลงของสินเชื่อธนาคารยูโอบี ไทยธนาคาร สินเอเซีย และเกียรตินาคิน จำนวน 5,336 4,471 820 และ 62 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารทิสโก้ และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1,671 และ 788 ล้านบาทตามลำดับ
ด้านเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเดือนมกราคม 2552 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,471,601 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 14,016 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 0.22 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.07 ทั้งนี้ จำนวนธนาคารที่มีเงินฝากเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ามีทั้งสิ้น 6 แห่ง ใกล้เคียงกับจำนวนธนาคารที่มีเงินฝากลดลงรวม 8 แห่ง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงเป็นการปรับตัวตามฐานะที่แตกต่างกันไปของแต่ละธนาคาร พอสรุปได้ดังนี้
กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง เงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 2,520 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 ตามการเพิ่มของเงินฝากธนาคารกรุงไทย และไทยพาณิชย์ จำนวน 33,492 และ 15,881 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย มีเงินฝากลดลง 38,142 และ 8,711 ล้านบาทตามลำดับ
กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนก่อนหน้า 6,668 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.42 ตามการลดลงของเงินฝากธนาคารนครหลวงไทย กรุงศรีอยุธยา และทหารไทย จำนวน 13,855 5,260 และ 2,599 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารธนชาต มีเงินฝากเพิ่มขึ้น 15,045 ล้านบาท
และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนที่แล้ว จำนวน 9,867 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.59 จากการลดลงของเงินฝากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทยเป็นหลัก จำนวน 12,973 ล้านบาท ตามมาด้วยธนาคารไทยธนาคาร และสินเอเซีย มีเงินฝากลดลง 3,735 และ 988 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่ธนาคารยูโอบี เกียรตินาคินและทิสโก้ มีเงินฝากเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันประมาณ 2,200-3,300 ล้านบาท