แบงก์ชาติเผยยอดหนี้บัตรเครดิตคงค้างพุ่ง 1.1 หมื่นล้าน นอนแบงก์นำโด่งกว่า 6 พันล้าน จับตาใกล้ชิด ชี้ความสามารถชำระหนี้คืนไม่มีปัญหา แต่มีสัญญาณผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลปริมาณการใช้จ่ายรวมลดลงจาก 14.3% เหลือเพียง 6.2% โดยเฉพาะยอดเบิกเงินสดล่วงหน้าติดลบ 377 ล้านบาท พบสินเชื่อส่วนบุคคลยอดเพิ่มขึ้น แต่สาขาธนาคารต่างชาติติดลบ
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.5% ล่าสุดในเดือนส.ค. เทียบกับเดือนก่อนอยู่ที่ 5.7% ซึ่งเป็นการก่อหนี้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นสะท้อนผ่านยอดสินเชื่อคงค้างนี้ ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายบัตรมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากเดือนก่อน 14.3% เหลือ 6.2% ในเดือนนี้ เป็นการชะลอตัวลงทั้งการใช้จ่ายในประเทศและต่างประเทศ ส่วนยอดเบิกเงินสดล่วงหน้ามีแนวโน้มลดลงด้วย ส่วนหนึ่งเกิดจากบริโภคในประเทศอ่อนตัวลงและผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
“สินเชื่อบัตรเครดิต ปริมาณการใช้จ่ายยังขยายตัวประมาณ 6% ซึ่งใกล้เคียงกับการขยายตัวของยอดสินเชื่อคงค้าง แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการชำระคืนของผู้บริโภคยังไม่แตกต่างกับอดีตที่ผ่านมา ขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อบัตรเครดิตเกิดจากคนรูดบัตรไปแล้วไม่ได้ชำระคืนตามเวลาที่กำหนดไว้ ทำให้ยอดคงค้างสูงขึ้น แต่ระวังการใช้จ่ายมากขึ้น”
ด้านหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของบัตรเครดิตอยู่ที่ระดับ 3.1% ณ สิ้นเดือนมิ.ย.ของปีนี้ โดยแรงกดดันระยะต่อไปเชื่อว่าคงไม่แตกต่างในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจากการติดตามในส่วนของธนาคารพาณิชย์ไม่ได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ปัจจุบันความระมัดระวังในการใช้จ่ายของผู้ถือบัตรเครดิตมีมากขึ้นจากการที่อัตราการขยายตัวสินเชื่อต่ำลง
ทั้งนี้ สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศตัวเลขบัตรเครดิตล่าสุดสิ้นเดือนส.ค.ของปีนี้ พบว่า ยอดสินเชื่อคงค้างในระบบเพิ่มขึ้น 1.10 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็น 6.52% โดยบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์)เพิ่มขึ้นมากที่สุด 6.34 พันล้านบาท รองมาเป็นธนาคารพาณิชย์ไทย 4.44 พันล้านบาท และสาขาต่างชาติ 231 ล้านบาท จากปัจจุบันที่ผู้ประกอบการแต่ละประเภทมียอดสินเชื่อคงค้าง 8.31 หมื่นล้านบาท 6.22 หมื่นล้านบาท และ 3.45 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมมีทั้งสิ้น 7.42 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.34 พันล้านบาท หรือ 6.20% แบ่งเป็นการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น 4.52 พันล้านบาท คิดเป็น 8.96% จากยอดใช้จ่ายในประเทศมีอยู่ 5.50 หมื่นล้านบาท การใช้จ่ายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 197 ล้านบาท คิดเป็น 8.10% จากยอด 2.64 พันล้านบาท แต่ยอดเบิกเงินสดล่วงหน้ากลับลดลง 377 ล้านบาท คิดเป็น 2.21% ยอดที่มีอยู่ในปัจจุบัน 1.67 หมื่นล้าน
ส่วนปริมาณบัตรเครดิตในระบบเพิ่มขึ้น 1.17 ล้านใบ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 12.57 ล้านใบ โดยนอนแบงก์เพิ่มขึ้นมากสุดถึง 8.36 แสนใบ ธนาคารพาณิชย์ 2.53 แสนใบ และสาขาต่างชาติ 8.51 หมื่นใบ
รองผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า ส่วนสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับของธปท.มียอดสินเชื่อคงค้างขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 9.1% ในเดือนส.ค. จากเดือนก.ค.ในระดับ 9% และมิ.ย.อยู่ที่ 9.2% ซึ่งยังคงเป็นการขยายตัวจากระบบธนาคารเป็นสำคัญ โดยธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาต่างชาติในเดือนนี้ขยายตัวอยู่ที่ 16.4% เทียบกับเดือนก.ค. 16.3% และเดือนมิ.ย. 16.8% ขณะที่นอนแบงก์มีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อนี้ 1.4% จากเดือนก.ค.และมิ.ย.อยู่ระดับเดียวกัน คือ 1.3% เนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น
โดยพบว่าในเดือนส.ค.ในระบบมียอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งสิ้น 2.29 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 1.89 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 9.11% แบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ไทย 1.02 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.89 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 1.02 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.42 พันล้านบาท ซึ่งในเดือนนี้มีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติที่มียอดสินเชื่อคงค้างลดลง 1.47 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอด 2.18 หมื่นล้านบาท
ส่วนยอดบัญชีมีทั้งสิ้น 11.29 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 6.24 แสนบัญชี โดยนอนแบงก์มีปริมาณบัญชีเพิ่มขึ้นมากที่สุด 4.77 แสนจากปัจจุบันที่มียอดบัญชีมีจำนวน 8.62 ล้านบัญชี ส่วนธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้น 1.47 แสนบัญชี และสาขาธนาคารต่างชาติเพิ่มขึ้น 325 บัญชี
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.5% ล่าสุดในเดือนส.ค. เทียบกับเดือนก่อนอยู่ที่ 5.7% ซึ่งเป็นการก่อหนี้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นสะท้อนผ่านยอดสินเชื่อคงค้างนี้ ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายบัตรมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากเดือนก่อน 14.3% เหลือ 6.2% ในเดือนนี้ เป็นการชะลอตัวลงทั้งการใช้จ่ายในประเทศและต่างประเทศ ส่วนยอดเบิกเงินสดล่วงหน้ามีแนวโน้มลดลงด้วย ส่วนหนึ่งเกิดจากบริโภคในประเทศอ่อนตัวลงและผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
“สินเชื่อบัตรเครดิต ปริมาณการใช้จ่ายยังขยายตัวประมาณ 6% ซึ่งใกล้เคียงกับการขยายตัวของยอดสินเชื่อคงค้าง แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการชำระคืนของผู้บริโภคยังไม่แตกต่างกับอดีตที่ผ่านมา ขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อบัตรเครดิตเกิดจากคนรูดบัตรไปแล้วไม่ได้ชำระคืนตามเวลาที่กำหนดไว้ ทำให้ยอดคงค้างสูงขึ้น แต่ระวังการใช้จ่ายมากขึ้น”
ด้านหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของบัตรเครดิตอยู่ที่ระดับ 3.1% ณ สิ้นเดือนมิ.ย.ของปีนี้ โดยแรงกดดันระยะต่อไปเชื่อว่าคงไม่แตกต่างในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจากการติดตามในส่วนของธนาคารพาณิชย์ไม่ได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ปัจจุบันความระมัดระวังในการใช้จ่ายของผู้ถือบัตรเครดิตมีมากขึ้นจากการที่อัตราการขยายตัวสินเชื่อต่ำลง
ทั้งนี้ สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศตัวเลขบัตรเครดิตล่าสุดสิ้นเดือนส.ค.ของปีนี้ พบว่า ยอดสินเชื่อคงค้างในระบบเพิ่มขึ้น 1.10 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็น 6.52% โดยบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์)เพิ่มขึ้นมากที่สุด 6.34 พันล้านบาท รองมาเป็นธนาคารพาณิชย์ไทย 4.44 พันล้านบาท และสาขาต่างชาติ 231 ล้านบาท จากปัจจุบันที่ผู้ประกอบการแต่ละประเภทมียอดสินเชื่อคงค้าง 8.31 หมื่นล้านบาท 6.22 หมื่นล้านบาท และ 3.45 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมมีทั้งสิ้น 7.42 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.34 พันล้านบาท หรือ 6.20% แบ่งเป็นการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น 4.52 พันล้านบาท คิดเป็น 8.96% จากยอดใช้จ่ายในประเทศมีอยู่ 5.50 หมื่นล้านบาท การใช้จ่ายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 197 ล้านบาท คิดเป็น 8.10% จากยอด 2.64 พันล้านบาท แต่ยอดเบิกเงินสดล่วงหน้ากลับลดลง 377 ล้านบาท คิดเป็น 2.21% ยอดที่มีอยู่ในปัจจุบัน 1.67 หมื่นล้าน
ส่วนปริมาณบัตรเครดิตในระบบเพิ่มขึ้น 1.17 ล้านใบ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 12.57 ล้านใบ โดยนอนแบงก์เพิ่มขึ้นมากสุดถึง 8.36 แสนใบ ธนาคารพาณิชย์ 2.53 แสนใบ และสาขาต่างชาติ 8.51 หมื่นใบ
รองผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า ส่วนสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับของธปท.มียอดสินเชื่อคงค้างขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 9.1% ในเดือนส.ค. จากเดือนก.ค.ในระดับ 9% และมิ.ย.อยู่ที่ 9.2% ซึ่งยังคงเป็นการขยายตัวจากระบบธนาคารเป็นสำคัญ โดยธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาต่างชาติในเดือนนี้ขยายตัวอยู่ที่ 16.4% เทียบกับเดือนก.ค. 16.3% และเดือนมิ.ย. 16.8% ขณะที่นอนแบงก์มีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อนี้ 1.4% จากเดือนก.ค.และมิ.ย.อยู่ระดับเดียวกัน คือ 1.3% เนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น
โดยพบว่าในเดือนส.ค.ในระบบมียอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งสิ้น 2.29 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 1.89 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 9.11% แบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ไทย 1.02 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.89 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 1.02 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.42 พันล้านบาท ซึ่งในเดือนนี้มีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติที่มียอดสินเชื่อคงค้างลดลง 1.47 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอด 2.18 หมื่นล้านบาท
ส่วนยอดบัญชีมีทั้งสิ้น 11.29 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 6.24 แสนบัญชี โดยนอนแบงก์มีปริมาณบัญชีเพิ่มขึ้นมากที่สุด 4.77 แสนจากปัจจุบันที่มียอดบัญชีมีจำนวน 8.62 ล้านบัญชี ส่วนธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้น 1.47 แสนบัญชี และสาขาธนาคารต่างชาติเพิ่มขึ้น 325 บัญชี