"กฟผ." ยื่นกระทรวงพลังงานขอออกพันธบัตร 1 หมื่นล้านบาท สิ้นปีนี้ถึงปี 52 เพื่อใช้ลงทุนโรงไฟฟ้าวังน้อยและระบบสายส่ง ลุ้นล็อตแรกคลอดไตรมาส 4 วงเงิน 2,000 ล้านบาท คาดดอกเบี้ยดี พร้อมจ้างและซื้ออุปกรณ์จาก กันกุลฯ ติดตั้งกังหันลมใหญ่สุดผลิตไฟกลางปี 52 ด้าน บ.กัลกุลฯ เตรียมระดมทุนกลางปี 52 ตั้งโรงงานผลิตกังหันลม
นายสมบัติ ศาสติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.ได้ยื่นขอกระทรวงพลังงานเตรียมออกพันธบัตร (บอนด์) ระดมทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาทช่วงสิ้นปี 51-52 เพื่อนำไปลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าวังน้อย กำลังผลิต 750 เมกะวัตต์ และระบบสายส่งต่างๆ ของ กฟผ. คาดอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในระดับที่ดี
" ขณะนี้อยู่ระหว่างขออนุมัติจากกระทรวงพลังงาน พยายามจะให้ผ่านก่อนQ 4 เพื่ออออกล็อตแรก 2 พันล้านบาท และต้องดูภาวะตลาดด้วย คาดอายุเกิน 5 ปี และขณะนี้มีผู้ยื่นขอเป็น อันเดอร์ไรเตอร์แล้ว " นายสมบัติกล่าว
ทั้งนี้ ความคืบหน้าโรงไฟฟ้าวังน้อยนั้นได้เลื่อนเปิดซองประมูลไปอีก 2-3 เดือนโดยจะเปิดช่วงต้นปีหน้าแทน เนื่องจากผู้รับเหมาประสบกับปัญหาราคาวัสดุแพง ล่าสุดมีผู้มายื่นซองแล้ว 10 ราย ส่วนใหญ่เป็นบริษัทชั้นนำอย่าง ซีเมนส์ มิตซุย จีอี มารูเบนิ ฯลฯ
นายสมบัติกล่าวถึงการลงนามสัญญากับ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เพื่อซื้อและจ้างควบคุมการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับโรงไฟฟ้ากังหันลมขนาดกำลังผลิตรวม 2.5 เมกะวัตต์ นับเป็นกังหันลมที่ผลิตไฟฟ้าสูงสุดประกอบด้วยกังหันลมผลิตไฟขนาด 1.25 เมกะวัตต์ 2 ชุด มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 145 ล้านบาทโดยกฟผ.เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งเอง ณ บริเวณอ่างพักน้ำตอนบนโรงไฟฟ้าลำตะคอง จ.นครราชสีมา ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตไฟด้วยค่าความเร็วลมเฉลี่ย 6 เมตรต่อวินาที คาดสามารถจ่ายไฟเข้าระบบได้กลางปี 52
นายกัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทเป็นผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์วิศวกรรมพลังงานและโทรคมนาคม มียอดขาย 2,000 ล้านบาทต่อปี โดยบริษัทมีแผนที่จะระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยช่วงกลางปี 52 ซึ่งขณะนี้ได้ว่าจ้าง บล.บีฟิท เป็นบริษัทที่ปรึกษาในการระดมทุนฯ
" เรามองไว้กลางปีหน้าแต่ก็คงจะต้องดูสภาพตลาดฯขณะนั้นก่อนว่าเอื้อหรือไม่ ซึ่งเราจะระดมทุนประมาณ 1 พันล้านบาท เพื่อนำมาจัดตั้งโรงงานผลิตอุปกรณ์และกังหันลม ขณะนี้อยู่ระหว่างหาที่ตั้งที่เหมาะสม โดยจะผลิตเพื่อขายในประเทศและส่งออกขายต่างประเทศด้วย เพราะโอกาสขยายตัวดี เนื่องจากปัจจุบันเกิดภาวะโลกร้อน หลายประเทศสนใจพลังงานที่ไม่ทำลายบรรยากาศมากขึ้น " นายกัลกุลกล่าว
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งส่วนของพลังงานลมได้สนับสนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า(ADDER) จากรัฐ 3.50 บาทต่อหน่วย ทำให้มีความคุ้มทุนในการลงทุนมากขึ้นจากเดิมที่ได้เพียง 2.50 บาทต่อหน่วย และขณะนี้มีแนวโน้มว่ารัฐจะพิจารณาเพิ่มอีก 50 สตางค์-1 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะยิ่งทำให้โอกาสการเกิดพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น
นายสมบัติ ศาสติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.ได้ยื่นขอกระทรวงพลังงานเตรียมออกพันธบัตร (บอนด์) ระดมทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาทช่วงสิ้นปี 51-52 เพื่อนำไปลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าวังน้อย กำลังผลิต 750 เมกะวัตต์ และระบบสายส่งต่างๆ ของ กฟผ. คาดอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในระดับที่ดี
" ขณะนี้อยู่ระหว่างขออนุมัติจากกระทรวงพลังงาน พยายามจะให้ผ่านก่อนQ 4 เพื่ออออกล็อตแรก 2 พันล้านบาท และต้องดูภาวะตลาดด้วย คาดอายุเกิน 5 ปี และขณะนี้มีผู้ยื่นขอเป็น อันเดอร์ไรเตอร์แล้ว " นายสมบัติกล่าว
ทั้งนี้ ความคืบหน้าโรงไฟฟ้าวังน้อยนั้นได้เลื่อนเปิดซองประมูลไปอีก 2-3 เดือนโดยจะเปิดช่วงต้นปีหน้าแทน เนื่องจากผู้รับเหมาประสบกับปัญหาราคาวัสดุแพง ล่าสุดมีผู้มายื่นซองแล้ว 10 ราย ส่วนใหญ่เป็นบริษัทชั้นนำอย่าง ซีเมนส์ มิตซุย จีอี มารูเบนิ ฯลฯ
นายสมบัติกล่าวถึงการลงนามสัญญากับ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เพื่อซื้อและจ้างควบคุมการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับโรงไฟฟ้ากังหันลมขนาดกำลังผลิตรวม 2.5 เมกะวัตต์ นับเป็นกังหันลมที่ผลิตไฟฟ้าสูงสุดประกอบด้วยกังหันลมผลิตไฟขนาด 1.25 เมกะวัตต์ 2 ชุด มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 145 ล้านบาทโดยกฟผ.เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งเอง ณ บริเวณอ่างพักน้ำตอนบนโรงไฟฟ้าลำตะคอง จ.นครราชสีมา ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตไฟด้วยค่าความเร็วลมเฉลี่ย 6 เมตรต่อวินาที คาดสามารถจ่ายไฟเข้าระบบได้กลางปี 52
นายกัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทเป็นผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์วิศวกรรมพลังงานและโทรคมนาคม มียอดขาย 2,000 ล้านบาทต่อปี โดยบริษัทมีแผนที่จะระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยช่วงกลางปี 52 ซึ่งขณะนี้ได้ว่าจ้าง บล.บีฟิท เป็นบริษัทที่ปรึกษาในการระดมทุนฯ
" เรามองไว้กลางปีหน้าแต่ก็คงจะต้องดูสภาพตลาดฯขณะนั้นก่อนว่าเอื้อหรือไม่ ซึ่งเราจะระดมทุนประมาณ 1 พันล้านบาท เพื่อนำมาจัดตั้งโรงงานผลิตอุปกรณ์และกังหันลม ขณะนี้อยู่ระหว่างหาที่ตั้งที่เหมาะสม โดยจะผลิตเพื่อขายในประเทศและส่งออกขายต่างประเทศด้วย เพราะโอกาสขยายตัวดี เนื่องจากปัจจุบันเกิดภาวะโลกร้อน หลายประเทศสนใจพลังงานที่ไม่ทำลายบรรยากาศมากขึ้น " นายกัลกุลกล่าว
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งส่วนของพลังงานลมได้สนับสนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า(ADDER) จากรัฐ 3.50 บาทต่อหน่วย ทำให้มีความคุ้มทุนในการลงทุนมากขึ้นจากเดิมที่ได้เพียง 2.50 บาทต่อหน่วย และขณะนี้มีแนวโน้มว่ารัฐจะพิจารณาเพิ่มอีก 50 สตางค์-1 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะยิ่งทำให้โอกาสการเกิดพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น