ผู้จัดการรายวัน - เอกชนมึนหลังกฟผ.เลื่อนเปิดซองประมูลไปอีก 2 เดือน อ้างเหตุผู้รับเหมาจัดเตรียมเอกสารไม่ทัน ทั้งที่รู้กำหนดระยะเวลาอยู่แล้ว วงในชี้ส่อเอื้อกลุ่มมิตซูบิซิหรือไม่
แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมไฟฟ้า เปิดเผยถึงการประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าวังน้อย ขนาด 750 เมกะวัตต์ มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ว่า จากที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้เลื่อนการเปิดซองด้านเทคนิคที่จะดำเนินการช่วงปลายปีเดือนนี้ออกไปอีก 2-3 เดือน ซึ่งเป็นผลมาจากบริษัทที่ซื้อซองประมูลไปยังไม่มีความพร้อมที่จะจัดส่งเอกสารได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด จึงได้ขอเลื่อนทางกฟผ.ออกไปก่อนนั้น
ทั้งนี้จากการติดตามสถานการณ์ดังกล่าว ผู้อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมไฟฟ้า มีความเป็นห่วงว่า การเปิดประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเกิดความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น เนื่องจากตามระเบียบแล้วการกำหนดระยะเวลาการเปิดซองทางด้านเทคนิคและการเปิดซองด้านราคา ทางกฟผ.จะต้องเป็นผู้กำหนดอย่างรอบครอบ เพราะจะมีผลต่อระยะเวลาในการก่อสร้าง และการนำไฟฟ้าเข้าระบบตามความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละปี เพราะหากมีการเลื่อนตามคำขอร้องของเอกชนที่ซื้อซองประมูลไปแล้ว เท่ากับว่าเอกชนผู้รับเหมามีอำนาจอยู่เหนือกฟผ.ได้
โดยเฉพาะเรื่องความโปร่งใสที่จะเอื้อผู้รับเหมารายใดรายหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มมิตซูบิซิหรือไม่ ซึ่งเอกชนกลุ่มนี้มีกระแสข่าวว่า ไม่สามารถจัดเตรียมเอกสารการประมูลได้ทันและเป็นกลุ่มที่เคยได้งานประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าวังน้อยในระยะแรกๆ ไปแล้ว ในส่วนนี้จึงอยากให้ทางกฟผ.พิจารณาถึงความโปร่งใสในการประมูลงานครั้งนี้ด้วย
ด้านนายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า ในส่วนนี้ทางกฟผ.ขอยืนยันการประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าวังน้อยครั้งนี้ โปร่งใสทุกขั้นตอน เพราะการเลื่อนการประมูลออกไป เนื่องจากมีเอกชนประมาณ 10 ราย ที่ซื้อซองประมูลไปแล้ว เกือบจะทุกราย ได้แจ้งมายังกฟผ.ว่าไม่สามารถจัดเตรียมเอกสารการประมูลได้ทัน เนื่องจากที่ผ่านมามีวันหยุดหลายวัน โดยเฉพาะบริษัทในสหภาพยุโรปที่ตลอดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามีวันหยุดเกือบตลอดทั้งเดือน
ทางกฟผ.จึงมาพิจารณาว่า หากเอกชนเกือบทั้งหมดมีความเห็นตรงกัน ประกอบกับความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับลดลง ประกอบการปริมาณสำรองไฟฟ้าก็สูงอยู่แล้ว การเลื่อนเปิดซองออกไปจากเดิมวันที่ 24 ตุลาคม 2551 เป็นวันที่ 19 ธันวาคม 2551 ซึ่งทำให้การจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบล่าช้าไปเพียง 5-6 เดือน จึงไม่น่าจะมีปัญหา
อีกทั้ง หากทางกฟผ.ยึดกำหนดระยะเวลาเดิมในการเปิดซอง จะส่งผลให้มีเอกชนเพียงไม่กี่ราย ที่เข้าประมูลในครั้งนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์ จะสร้างความเสียหายให้กับกฟผ.ได้ เพราะจะไม่มีทางเลือกของคู่แข่งขันที่จะนำมาเปรียบเทียบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับกฟผ.ได้ ดังนั้น ขอยืนยันว่าขั้นตอนการเปิดประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าวังน้อยครั้งนี้โปร่งใสทุกขั้นตอน เพราะมีคณะกรรมการคอยกำกับดูแลอยู่แล้ว ซึ่งการประมูลครั้งนี้คาดว่าจะมีผู้ยื่นเข้าประมูลจริงประมาณ 4 ราย ส่วนที่เหลือนั้นซื้อซองประมูลไปเพื่อทำการศึกษามากกว่า
แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมไฟฟ้า เปิดเผยถึงการประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าวังน้อย ขนาด 750 เมกะวัตต์ มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ว่า จากที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้เลื่อนการเปิดซองด้านเทคนิคที่จะดำเนินการช่วงปลายปีเดือนนี้ออกไปอีก 2-3 เดือน ซึ่งเป็นผลมาจากบริษัทที่ซื้อซองประมูลไปยังไม่มีความพร้อมที่จะจัดส่งเอกสารได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด จึงได้ขอเลื่อนทางกฟผ.ออกไปก่อนนั้น
ทั้งนี้จากการติดตามสถานการณ์ดังกล่าว ผู้อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมไฟฟ้า มีความเป็นห่วงว่า การเปิดประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเกิดความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น เนื่องจากตามระเบียบแล้วการกำหนดระยะเวลาการเปิดซองทางด้านเทคนิคและการเปิดซองด้านราคา ทางกฟผ.จะต้องเป็นผู้กำหนดอย่างรอบครอบ เพราะจะมีผลต่อระยะเวลาในการก่อสร้าง และการนำไฟฟ้าเข้าระบบตามความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละปี เพราะหากมีการเลื่อนตามคำขอร้องของเอกชนที่ซื้อซองประมูลไปแล้ว เท่ากับว่าเอกชนผู้รับเหมามีอำนาจอยู่เหนือกฟผ.ได้
โดยเฉพาะเรื่องความโปร่งใสที่จะเอื้อผู้รับเหมารายใดรายหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มมิตซูบิซิหรือไม่ ซึ่งเอกชนกลุ่มนี้มีกระแสข่าวว่า ไม่สามารถจัดเตรียมเอกสารการประมูลได้ทันและเป็นกลุ่มที่เคยได้งานประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าวังน้อยในระยะแรกๆ ไปแล้ว ในส่วนนี้จึงอยากให้ทางกฟผ.พิจารณาถึงความโปร่งใสในการประมูลงานครั้งนี้ด้วย
ด้านนายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า ในส่วนนี้ทางกฟผ.ขอยืนยันการประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าวังน้อยครั้งนี้ โปร่งใสทุกขั้นตอน เพราะการเลื่อนการประมูลออกไป เนื่องจากมีเอกชนประมาณ 10 ราย ที่ซื้อซองประมูลไปแล้ว เกือบจะทุกราย ได้แจ้งมายังกฟผ.ว่าไม่สามารถจัดเตรียมเอกสารการประมูลได้ทัน เนื่องจากที่ผ่านมามีวันหยุดหลายวัน โดยเฉพาะบริษัทในสหภาพยุโรปที่ตลอดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามีวันหยุดเกือบตลอดทั้งเดือน
ทางกฟผ.จึงมาพิจารณาว่า หากเอกชนเกือบทั้งหมดมีความเห็นตรงกัน ประกอบกับความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับลดลง ประกอบการปริมาณสำรองไฟฟ้าก็สูงอยู่แล้ว การเลื่อนเปิดซองออกไปจากเดิมวันที่ 24 ตุลาคม 2551 เป็นวันที่ 19 ธันวาคม 2551 ซึ่งทำให้การจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบล่าช้าไปเพียง 5-6 เดือน จึงไม่น่าจะมีปัญหา
อีกทั้ง หากทางกฟผ.ยึดกำหนดระยะเวลาเดิมในการเปิดซอง จะส่งผลให้มีเอกชนเพียงไม่กี่ราย ที่เข้าประมูลในครั้งนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์ จะสร้างความเสียหายให้กับกฟผ.ได้ เพราะจะไม่มีทางเลือกของคู่แข่งขันที่จะนำมาเปรียบเทียบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับกฟผ.ได้ ดังนั้น ขอยืนยันว่าขั้นตอนการเปิดประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าวังน้อยครั้งนี้โปร่งใสทุกขั้นตอน เพราะมีคณะกรรมการคอยกำกับดูแลอยู่แล้ว ซึ่งการประมูลครั้งนี้คาดว่าจะมีผู้ยื่นเข้าประมูลจริงประมาณ 4 ราย ส่วนที่เหลือนั้นซื้อซองประมูลไปเพื่อทำการศึกษามากกว่า