แบงก์ไทยพาณิชย์ห่วงการเมืองไม่สงบ-ภาษีกระตุ้นอสังหาฯ หมดอายุ กระทบการปล่อยสินเชื่อบ้าน ชี้แต่ละแบงก์ยังรอจังหวะเหมาะปรับขึ้นดอกกู้ ด้านแบงก์กสิกรไทยตลาดสินเชื่อบ้านปีหน้าโต 10-12% เพราะความต้องการยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายผลิตภัณฑ์สินเชื่อลูกค้าบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาสามารถปล่อยไปได้แล้วประมาณ 35,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% จากช่วงเดียวของปีก่อนปล่อยได้ 28,000 ล้านบาท ส่วนเป้าหมายในปีนี้ตั้งไว้ที่ 55,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันมียอดหนี้คงค้างอยู่ที่ 212,000 ล้านบาท และคาดว่าในสิ้นปีจะขยายตัวขึ้นไปอยู่ที่ 220,000 ล้านบาท
สำหรับส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ปัจจุบันอยู่ที่ 30% ขณะที่ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปัจจุบันอยู่ที่ต่ำกว่า 2% จากปีก่อนอยู่ที่ 2.5% โดยในปีนี้ธนาคารจะรักษาให้เอ็นพีแอลอยู่ในระดับไม่เกิน 2%
นายรุ่งเรืองระบุว่า ปัจจัยที่เป็นห่วงซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ก็คือปัญหาทางการเมือง เพราะถ้ายังไม่สงบก็อาจจะส่งผลต่อทุกสิ่งทำให้มีการชะลอตัวลง และหากสถานการณ์ไม่คลี่คลายก็อาจทำให้ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงได้รวมถึงมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกำลังจะหมดอายุในปีหน้าก็เป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าในทิศทางในอนาคตจะเป็นอย่างไร
"ปีหน้ายังเป็นอะไรที่ต้องดู แต่จากมาตรการภาษีที่จะหมดลงก็เชื่อว่าในช่วงต้นปีคงจะมีการพยายามโอนกันสูง และยังก็ต้องจับตาดูว่าหากการเมืองนิ่งตลาดบ้านก็อาจจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง แต่ตอนนี้ผู้ประกอบการโครงการรายกลาง รายย่อยเริ่มทำไม่ไหวแล้วเพราะว่าวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น และยังต้องสู้กับรายใหญ่อีก"
ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของตลาดโดยหลักการแล้วก็ขึ้นจะมีการปรับขึ้น แต่ตอนนี้ก็คงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารซึ่งเชื่อว่าตอนนี้ก็ดูกันอยู่ ส่วนคำแนะนำให้กับลูกค้าคือ ถ้าพบอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกใจควรตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพราะน่าจะได้เปรียบหลายอย่าง
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า ตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปีหน้าจะยังไม่มีชะลอตัว โดยน่าจะมีการขยายตัวอยู่ที่ 10-12% เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และปริมาณบ้านในไทยและคนกู้ซื้อบ้านยังมีน้อย โดยตอนนี้เม็ดเงินตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีอยู่ประมาณ 1.55 ล้านล้านบาท ซึ่งเทียบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) แล้วเป็นเพียง 16% จีดีพี ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สวิสเซอร์แลนด์จะมีอัตราส่วนของสินเชื่อที่อยู่อาศัยถึง 100% ของจีดีพี และมาเลเซียอยู่ที่ 35% ของจีดีพี ซึ่งหากของไทยจะขยับสัดส่วนขึ้นมาอยู่ที่ 32% ของจีดีพีก็แสดงว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะสามารถเติบโตได้อีกเท่าตัว
"ถ้ามาตรการภาษีหมดก็อาจทำให้ตลาดสินเชื่อบ้านชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่คนคงจะเร่งโอนมากขึ้น ทางผู้ประกอบการสร้างบ้านก็อาจจะต้องมีการปรับตัวโดยเลือกสร้างอสังหาฯในทำเลและระดับราคาที่ลูกค้าในตลาดต้องการ เช่น บ้านเดี่ยวน่าจะอยู่ที่ 3-5 ล้านบาท คอนโดมิเนียม 1-2.5 ล้านบาท และทาวเฮ้าส์ 8 แสน ถึง 2 ล้านบาท จะเป็นระดับที่ลูกค้ารับได้"
สำหรับเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปีนี้ตั้งไว้ที่ 30,000 ล้านบาท โดยขณะนี้สามารถปล่อยไปได้แล้ว 23,000 ล้านบาท ส่วนเป้าหมายปีหน้าคาดว่าจะตั้งไว้ที่ 30,000-40,000 ล้านบาท
ส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ 2.8% จากต้นปีอยู่ที่กว่า 3% และช่วงที่เหลือของปีจะควบคุมให้อยู่ที่ไม่เกิน 2.8% โดยสาเหตุที่เอ็นพีแอลปรับตัวลดลงเนื่องจากธนาคารทำการกลั่นกรองลูกค้ามากขึ้น รวมถึงมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าและธนาคารมีพอร์ตสินเชื่อที่ใหญ่ขึ้น
นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายผลิตภัณฑ์สินเชื่อลูกค้าบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาสามารถปล่อยไปได้แล้วประมาณ 35,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% จากช่วงเดียวของปีก่อนปล่อยได้ 28,000 ล้านบาท ส่วนเป้าหมายในปีนี้ตั้งไว้ที่ 55,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันมียอดหนี้คงค้างอยู่ที่ 212,000 ล้านบาท และคาดว่าในสิ้นปีจะขยายตัวขึ้นไปอยู่ที่ 220,000 ล้านบาท
สำหรับส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ปัจจุบันอยู่ที่ 30% ขณะที่ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปัจจุบันอยู่ที่ต่ำกว่า 2% จากปีก่อนอยู่ที่ 2.5% โดยในปีนี้ธนาคารจะรักษาให้เอ็นพีแอลอยู่ในระดับไม่เกิน 2%
นายรุ่งเรืองระบุว่า ปัจจัยที่เป็นห่วงซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ก็คือปัญหาทางการเมือง เพราะถ้ายังไม่สงบก็อาจจะส่งผลต่อทุกสิ่งทำให้มีการชะลอตัวลง และหากสถานการณ์ไม่คลี่คลายก็อาจทำให้ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงได้รวมถึงมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกำลังจะหมดอายุในปีหน้าก็เป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าในทิศทางในอนาคตจะเป็นอย่างไร
"ปีหน้ายังเป็นอะไรที่ต้องดู แต่จากมาตรการภาษีที่จะหมดลงก็เชื่อว่าในช่วงต้นปีคงจะมีการพยายามโอนกันสูง และยังก็ต้องจับตาดูว่าหากการเมืองนิ่งตลาดบ้านก็อาจจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง แต่ตอนนี้ผู้ประกอบการโครงการรายกลาง รายย่อยเริ่มทำไม่ไหวแล้วเพราะว่าวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น และยังต้องสู้กับรายใหญ่อีก"
ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของตลาดโดยหลักการแล้วก็ขึ้นจะมีการปรับขึ้น แต่ตอนนี้ก็คงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารซึ่งเชื่อว่าตอนนี้ก็ดูกันอยู่ ส่วนคำแนะนำให้กับลูกค้าคือ ถ้าพบอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกใจควรตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพราะน่าจะได้เปรียบหลายอย่าง
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า ตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปีหน้าจะยังไม่มีชะลอตัว โดยน่าจะมีการขยายตัวอยู่ที่ 10-12% เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และปริมาณบ้านในไทยและคนกู้ซื้อบ้านยังมีน้อย โดยตอนนี้เม็ดเงินตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีอยู่ประมาณ 1.55 ล้านล้านบาท ซึ่งเทียบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) แล้วเป็นเพียง 16% จีดีพี ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สวิสเซอร์แลนด์จะมีอัตราส่วนของสินเชื่อที่อยู่อาศัยถึง 100% ของจีดีพี และมาเลเซียอยู่ที่ 35% ของจีดีพี ซึ่งหากของไทยจะขยับสัดส่วนขึ้นมาอยู่ที่ 32% ของจีดีพีก็แสดงว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะสามารถเติบโตได้อีกเท่าตัว
"ถ้ามาตรการภาษีหมดก็อาจทำให้ตลาดสินเชื่อบ้านชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่คนคงจะเร่งโอนมากขึ้น ทางผู้ประกอบการสร้างบ้านก็อาจจะต้องมีการปรับตัวโดยเลือกสร้างอสังหาฯในทำเลและระดับราคาที่ลูกค้าในตลาดต้องการ เช่น บ้านเดี่ยวน่าจะอยู่ที่ 3-5 ล้านบาท คอนโดมิเนียม 1-2.5 ล้านบาท และทาวเฮ้าส์ 8 แสน ถึง 2 ล้านบาท จะเป็นระดับที่ลูกค้ารับได้"
สำหรับเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปีนี้ตั้งไว้ที่ 30,000 ล้านบาท โดยขณะนี้สามารถปล่อยไปได้แล้ว 23,000 ล้านบาท ส่วนเป้าหมายปีหน้าคาดว่าจะตั้งไว้ที่ 30,000-40,000 ล้านบาท
ส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ 2.8% จากต้นปีอยู่ที่กว่า 3% และช่วงที่เหลือของปีจะควบคุมให้อยู่ที่ไม่เกิน 2.8% โดยสาเหตุที่เอ็นพีแอลปรับตัวลดลงเนื่องจากธนาคารทำการกลั่นกรองลูกค้ามากขึ้น รวมถึงมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าและธนาคารมีพอร์ตสินเชื่อที่ใหญ่ขึ้น