เศรษฐกิจอเมริกาทรุดหนัก จับตาทุนนอกถอนเงินกลับประเทศ หวั่นกระทบอสังหาไทยที่จับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะโรงแรม รีสอร์ท วิลล่าหรู ด้าน AREA ชี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯช่วงขาลงตามวัฏจักรอสังหาริมทรัพย์ ไม่ส่งผลเศรษฐกิจโลกพังทลาย เชื่อ Subprime คล้ายวิกฤติ Saving and Loans เชื่อเมื่อแก้ปัญหาในวงการสินเชื่อให้มีระเบียบวิกฤติจะคลี่คลาย
นาย สัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า กรณีที่ ผลกระทบจากปัญหาซัปไพรม์ในประเทศสหรัฐอเมริการุกลามจนกลายเป็นปัญหาวิกฤตการเงินโลกในปัจจุบัน และยิ่งทวีความกังวลมากขึ้น เมื่อผลการดำเนินงานของสถาบันการเงิน บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งในสหรัฐฯได้รับผลกระทบจนผลการดำเนินงานขาดทุนติดต่อกันหลายไตรมาส จนเป็นสาเหตุให้กลุ่มธุรกิจและนักลงทุนหลายบริษัทถอนการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อนำเงินไปซัพพอร์ตบริษัทแม่
ทั้งนี้ เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่สร้างผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย แต่จะกระทบทางอ้อมด้านการลงทุน ซึ่งสถาบันการเงินเหล่านั้นอาจลดพอร์ตการลงทุนในต่างประเทศลงรวมถึงประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องอาศัยแรงซื้อจากกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ อาทิ โรงแรม รีสอร์ท วิลล่า ตามเมืองท่องเที่ยวต่างๆ จะได้รับผลกระทบไปด้วย
ด้านนายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า ปัญหาการเงินโลกในปัจจุบันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากปัญหาซัปไพรม์ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาการเงินโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย เพราะพอร์ตการลงทุนของต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย ถือว่ามีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบการลงทุนในประเทศอื่นๆ แต่จะกระทบในทางอ้อม คือจะมีผลในด้านการเงินและ ในรูปแบบอื่นๆ มากกว่า
ทั้งนี้ ปัญหาการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาฯ ของไทยเกิดจากปัญหาภายในประเทศ ไม่ใช้มาจากปัญหาการเงินโลกที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งปัญหาซัปไพรม์นอกจากเกิดจากการปล่อยสินเชื่อให้แก้ผู้กู้ด้อยคุณภาพแล้ว ขณะนี้ NPL ของซัปไพรม์ ก็มีปัญหาเรื่องด้อยคุณภาพ ตราสารหนี้ที่ใช้ซัปไพรม์เป็นหลักประกันมีมูลค่าลดลงเลื่อยๆ สถาบันการเริ่มไม่มั่นใจว่าหลักประกันที่อยู่ในมือมีมูลค่าลดลงมากน้อยเพียงใด
อย่าไรก็ดี แม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่พึ่งส่งผลกระทบเด่นชัดในผลประกอบการของสถาบันการเงินหลายแห่งติดลบติดต่อกันหลายไตรมาส จนบางรายอาจถึงขั้นขายพอร์ตการลงทุนบางส่วนหรือขายกิจการและอาจถึงขั้นปิดกิจการก็เป็นได้
ด้านนายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ ศูนย์ข้อมูล วิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ (AREA) กล่าวว่า ได้เข้าร่วมประชุมสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินนานาชาติ (International Association of Assessing Officers: IAAO) ในหัวข้อสถานการณ์ Subprime กับวิกฤติอสังหาริมทรัพย์อเมริกา ซึ่งประเด็นที่มีการหยิบยกมาพูคุยกัน คือปัญหาการวิตกต่อวิกฤติ Subprime ซึ่งขณะนี้อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคลดลง อัตราผลกำไรของธุรกิจต่าง ๆ ลดลง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลง
อย่างไรก็ตามสัญญาเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังมีอยู่ จากยอด การส่งออกดีขึ้น ธุรกิจบริการด้านการรักษาพยาบาลเติบโตขึ้น ธุรกิจมีความระมัดระวังด้านการขยายตัวมากขึ้น รวมถึงการที่รัฐบาลสหรัฐฯจะออกมาตรการกระตุ้นต่าง ๆ ตามมาเพื่อแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์แง่บวกข้างต้นนั้น เป็นผลพวกของการหดตัวของเศรษฐกิจมากกว่า เนื่องจากเมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ค่าเงินบาทตก ก็ย่อมทำให้การส่งออกดีขึ้น หรือต้องมีมาตรการกระตุ้นจากรัฐบาลมากขึ้น
ทั้งนี้ สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจสหรัฐฯคือ การตกต่ำอย่างรุนแรงของตลาดที่อยู่อาศัย ธุรกิจหลัก 3 รายการคือ รถยนต์ การบินและการเงิน และการที่ต้นทุนสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หากประเมินจากความแข็งแกร่งของพื้นฐานเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ยังอาจกล่าวได้ว่า วิกฤติ Subprime นี้ก็คงคล้ายกับวิกฤติ Saving and Loans ซึ่งก็มีลักษณะคล้ายกันและเกิดในช่วงปี 2530-2532 และต่อเมื่อได้ทำการชำระล้างในวงการสินเชื่อให้มีระเบียบมากขึ้น วิกฤตินี้ก็จะคลี่คลาย จึงอาจถึงได้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐคงอยู่ในช่วงขาลงตามวัฏจักรอสังหาริมทรัพย์ มากกว่าจะเป็นการพังทลายของเศรษฐกิจโดยรวม
นาย สัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า กรณีที่ ผลกระทบจากปัญหาซัปไพรม์ในประเทศสหรัฐอเมริการุกลามจนกลายเป็นปัญหาวิกฤตการเงินโลกในปัจจุบัน และยิ่งทวีความกังวลมากขึ้น เมื่อผลการดำเนินงานของสถาบันการเงิน บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งในสหรัฐฯได้รับผลกระทบจนผลการดำเนินงานขาดทุนติดต่อกันหลายไตรมาส จนเป็นสาเหตุให้กลุ่มธุรกิจและนักลงทุนหลายบริษัทถอนการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อนำเงินไปซัพพอร์ตบริษัทแม่
ทั้งนี้ เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่สร้างผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย แต่จะกระทบทางอ้อมด้านการลงทุน ซึ่งสถาบันการเงินเหล่านั้นอาจลดพอร์ตการลงทุนในต่างประเทศลงรวมถึงประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องอาศัยแรงซื้อจากกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ อาทิ โรงแรม รีสอร์ท วิลล่า ตามเมืองท่องเที่ยวต่างๆ จะได้รับผลกระทบไปด้วย
ด้านนายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า ปัญหาการเงินโลกในปัจจุบันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากปัญหาซัปไพรม์ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาการเงินโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย เพราะพอร์ตการลงทุนของต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย ถือว่ามีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบการลงทุนในประเทศอื่นๆ แต่จะกระทบในทางอ้อม คือจะมีผลในด้านการเงินและ ในรูปแบบอื่นๆ มากกว่า
ทั้งนี้ ปัญหาการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาฯ ของไทยเกิดจากปัญหาภายในประเทศ ไม่ใช้มาจากปัญหาการเงินโลกที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งปัญหาซัปไพรม์นอกจากเกิดจากการปล่อยสินเชื่อให้แก้ผู้กู้ด้อยคุณภาพแล้ว ขณะนี้ NPL ของซัปไพรม์ ก็มีปัญหาเรื่องด้อยคุณภาพ ตราสารหนี้ที่ใช้ซัปไพรม์เป็นหลักประกันมีมูลค่าลดลงเลื่อยๆ สถาบันการเริ่มไม่มั่นใจว่าหลักประกันที่อยู่ในมือมีมูลค่าลดลงมากน้อยเพียงใด
อย่าไรก็ดี แม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่พึ่งส่งผลกระทบเด่นชัดในผลประกอบการของสถาบันการเงินหลายแห่งติดลบติดต่อกันหลายไตรมาส จนบางรายอาจถึงขั้นขายพอร์ตการลงทุนบางส่วนหรือขายกิจการและอาจถึงขั้นปิดกิจการก็เป็นได้
ด้านนายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ ศูนย์ข้อมูล วิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ (AREA) กล่าวว่า ได้เข้าร่วมประชุมสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินนานาชาติ (International Association of Assessing Officers: IAAO) ในหัวข้อสถานการณ์ Subprime กับวิกฤติอสังหาริมทรัพย์อเมริกา ซึ่งประเด็นที่มีการหยิบยกมาพูคุยกัน คือปัญหาการวิตกต่อวิกฤติ Subprime ซึ่งขณะนี้อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคลดลง อัตราผลกำไรของธุรกิจต่าง ๆ ลดลง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลง
อย่างไรก็ตามสัญญาเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังมีอยู่ จากยอด การส่งออกดีขึ้น ธุรกิจบริการด้านการรักษาพยาบาลเติบโตขึ้น ธุรกิจมีความระมัดระวังด้านการขยายตัวมากขึ้น รวมถึงการที่รัฐบาลสหรัฐฯจะออกมาตรการกระตุ้นต่าง ๆ ตามมาเพื่อแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์แง่บวกข้างต้นนั้น เป็นผลพวกของการหดตัวของเศรษฐกิจมากกว่า เนื่องจากเมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ค่าเงินบาทตก ก็ย่อมทำให้การส่งออกดีขึ้น หรือต้องมีมาตรการกระตุ้นจากรัฐบาลมากขึ้น
ทั้งนี้ สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจสหรัฐฯคือ การตกต่ำอย่างรุนแรงของตลาดที่อยู่อาศัย ธุรกิจหลัก 3 รายการคือ รถยนต์ การบินและการเงิน และการที่ต้นทุนสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หากประเมินจากความแข็งแกร่งของพื้นฐานเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ยังอาจกล่าวได้ว่า วิกฤติ Subprime นี้ก็คงคล้ายกับวิกฤติ Saving and Loans ซึ่งก็มีลักษณะคล้ายกันและเกิดในช่วงปี 2530-2532 และต่อเมื่อได้ทำการชำระล้างในวงการสินเชื่อให้มีระเบียบมากขึ้น วิกฤตินี้ก็จะคลี่คลาย จึงอาจถึงได้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐคงอยู่ในช่วงขาลงตามวัฏจักรอสังหาริมทรัพย์ มากกว่าจะเป็นการพังทลายของเศรษฐกิจโดยรวม