ก.ล.ต.เตรียมขยายวงเงินส่วนบุคคล ในการลงทุนต่างประเทศ ขยับจากทยอยลงทุนครั้งละ 5 แสนเหรียญ จนเต็มเพดาน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นแบบไม่จำกัดเม็ดเงิน แต่ต้องไม่เกินโควตาเดิม พร้อมกำหนดกรอบระยะเวลาต้องลงทุนเหลือเพียงภายใน 7 วัน จากเดิม 30 วัน โดยเตรียมหารือกับ บลจ.-แบงก์ชาติ-ธนาคารต่างชาติ เพื่อคัดสรรสินทรัพย์ใหม่และเพิ่มทางเลือกให้แก่นักลงทุน หลังพบตัวเลขขนเงินออกนอกเพียง 10 รายจากจำนวนผู้ยืนขอและอนุมัติแล้วท ั้งหมด 183 ราย เหตุเพื่อรอดูจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม คาดเริ่มใช้กันยายนนี้
นายประกิด บุณยัษฐิติ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุนและธุรกิจกองทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึงความคืบหน้าการลงทุนในต่างประเทศของรายย่อยและสถาบัน ว่า ตัวเลข ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2551 มีผู้แสดงความจำนงไปลงทุนต่างประเทศแล้วทั้งสิ้น 183 ราย โดยมีผู้ลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคล (Private fund) 98 ราย แบ่งเป็นบุคคลรายย่อย 93 ราย และนิติส่วนบุคคล 5 ราย สำหรับผู้ลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์นั้นมีแต่บุคคลรายย่อยที่สนใจเข้ามาลงทุนจำนวนทั้งสิ้น 85 ราย
“ตอนนี้มีผู้แสดงความจำนงไปลงทุนต่างประเทศ 183 ราย แต่จำนวนผู้ที่เข้าไปลงทุนจริงแค่ประมาณ 10 กว่าราย เนื่องจากผู้ลงทุนคงรอดูจังหวะเข้าไปลงทุนในประเทศที่สนใจ ทั้งจังหวะเวลาที่เหมาะสมแล้วจึงจะทยอยเข้าไปลงทุน” นายประกิด กล่าว
สำหรับวงเงินลงทุนในต่างประเทศนั้นทางสำนักงาน ก.ล.ต.ได้ผ่อนคลายการของวงเงินจากเดิมนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จัดสรรเงินไปลงทุนได้ไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อครั้งจากวงเงินที่ได้รับอนุมัติไม่เกิน 50 ล้านเหรียญ ส่วนบุคคลธรรมดาและผู้ลงทุนอื่นๆจัดสรรเงินลงทุนไม่เกิน 5 แสนเหรียญสหรัฐต่อครั้งจากวงเงินไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอายุวงเงิน 30 วัน
ขณะที่เกณฑ์ใหม่ที่จะทำการปรับใช้ ก.ล.ต.จะอนุมัติให้ทั้งนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา สามารถลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องทยอยออกไปลงทุนเหมือนที่ผ่านมา แต่ต้องอยู่ในวงเงินที่ ก.ล.ต.กำหนดไว้แต่แรก นั่นคือ นิติบุคคล 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ บุคคลธรรมดา 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน ก.ล.ต.จะปรับลดระยะเวลาการเข้าลงทุนหลังจากที่ได้รับการอนุมัติลงจากเดิมให้เวลา 30 วัน จะเหลือเพียง 7 วันเท่านั้น
นายประกิด กล่าวต่ออีกว่า สินทรัพย์ที่กองทุนส่วนบุคคลจะเข้าไปลงทุนได้ คือ 1.หุ้น 2.ตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน 3.หน่วยลงทุนของกองทุนรวม 4.Structured Note และ5. Derivatives แต่บางกรณีต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) เสียก่อนเช่นกรณี Underlying เป็นทองคำหรือ FX ส่วนผู้ลงทุนที่ลงทุนผ่านโบรกเกอร์นั้นยังคงมีข้อจำกัดในการลงทุน ได้แก่ หุ้นและตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนเท่านั้น
“ทางเรากำลังร่วมหารือกับ ธปท.บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ และธนาคารต่างชาติ เพื่อพิจารณาขยายประเภทสินทรัพย์ที่กองทุนส่วนบุคคลสามารถลงทุนได้ เพื่อเพิ่มช่องทางการลงทุนในสินค้าใหม่ให้แก่นักลงทุน และเพื่อให้นักลงทุนได้ลงทุนสินค้าที่หลากหลายมากขึ้นอีกด้วย โดยสำนักงานจะทยอยออกประกาศเพิ่มเติมหลังจากนี้”
ด้าน นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในต่างประเทศ ถือเป็นการแสวงหาสินทรัพย์ในการลงทุนใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนภายในประเทศ พร้อมกับเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนอีกด้วย ซึ่งถ้าเทียบกับการลงทุนภายในประเทศแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ตราสารหนี้ภายในประเทศจะให้ผลตอบแทนไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ต่างประเทศ เป็นต้น ขณะที่การลงทุนในต่างประเทศนั้นให้ทางเลือกการลงทุนและสินทรัพย์มากกว่าภายในประเทศ อีกทั้งเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดี รวมถึงความผันผวนของราคา หรือ Sharpe Ratio นั้นมีน้อยกว่าในประเทศ
ขณะที่หน้าที่สำคัญของ บลจ.ในการดูแลผู้ลงทุน คือ ให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ลงทุนเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศ พร้อมทั้งกำหนดวงเงินให้กับผู้ลงทุน ที่สำคัญคือต้องเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเช่น ความเสี่ยงในหลักทรัพย์ต่างประเทศ หรือความเสี่ยงจากการทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมแลกเปลี่ยนเงินเป็นต้น และ บลจ.ต้องดูแลด้วยว่าผู้ลงทุนต้องไม่นำเงินที่มาจากการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นเข้ามาลงทุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขั้นตอนการขอเข้าไปลงทุนในต่างประเทศนั้น ผู้ลงทุนต้องลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคลหรือลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หลังจากนั้นทางบลจ.และบลจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอไปยังสำนักงาน ก.ล.ต.โดยจะ ก.ล.ต.จะใช้เวลาในการพิจาณา 3 วันต่อจากนั้นจะนำเรื่องดังกล่าวส่งไปยัง ธปท.ซึ่งทาง ธปท.อาจใช้เวลาในการตรวจสอบ 1 อาทิตย์ และจะส่งเรื่องกลับไปยัง บลจ.และ บล.อีกครั้ง
โดย บลจ.และ บล.จะขอวงเงินผ่านระบบ FIA เพื่อรับ Approved code จากนั้นทาง บลจ.และบล.จะยื่นเอกสารที่ได้จากธปท.พร้อมด้วย Approved code ไปแลกเงินกับธนาคารพาณิชย์หลังจากนั้น จึงจะสามารถนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศให้กับผู้ลงทุนได้ โดย บลจ.และ บล.ต้องส่งรายงานเช่นยอดคงค้างการลงทุนในแต่ละเดือน และรายงานการนำเงินเข้าออกไปลงทุนในแต่ละเดือนให้ ธปท.และสำนักงาน ก.ล.ต.รับทราบ
นายประกิด บุณยัษฐิติ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุนและธุรกิจกองทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึงความคืบหน้าการลงทุนในต่างประเทศของรายย่อยและสถาบัน ว่า ตัวเลข ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2551 มีผู้แสดงความจำนงไปลงทุนต่างประเทศแล้วทั้งสิ้น 183 ราย โดยมีผู้ลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคล (Private fund) 98 ราย แบ่งเป็นบุคคลรายย่อย 93 ราย และนิติส่วนบุคคล 5 ราย สำหรับผู้ลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์นั้นมีแต่บุคคลรายย่อยที่สนใจเข้ามาลงทุนจำนวนทั้งสิ้น 85 ราย
“ตอนนี้มีผู้แสดงความจำนงไปลงทุนต่างประเทศ 183 ราย แต่จำนวนผู้ที่เข้าไปลงทุนจริงแค่ประมาณ 10 กว่าราย เนื่องจากผู้ลงทุนคงรอดูจังหวะเข้าไปลงทุนในประเทศที่สนใจ ทั้งจังหวะเวลาที่เหมาะสมแล้วจึงจะทยอยเข้าไปลงทุน” นายประกิด กล่าว
สำหรับวงเงินลงทุนในต่างประเทศนั้นทางสำนักงาน ก.ล.ต.ได้ผ่อนคลายการของวงเงินจากเดิมนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จัดสรรเงินไปลงทุนได้ไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อครั้งจากวงเงินที่ได้รับอนุมัติไม่เกิน 50 ล้านเหรียญ ส่วนบุคคลธรรมดาและผู้ลงทุนอื่นๆจัดสรรเงินลงทุนไม่เกิน 5 แสนเหรียญสหรัฐต่อครั้งจากวงเงินไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอายุวงเงิน 30 วัน
ขณะที่เกณฑ์ใหม่ที่จะทำการปรับใช้ ก.ล.ต.จะอนุมัติให้ทั้งนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา สามารถลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องทยอยออกไปลงทุนเหมือนที่ผ่านมา แต่ต้องอยู่ในวงเงินที่ ก.ล.ต.กำหนดไว้แต่แรก นั่นคือ นิติบุคคล 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ บุคคลธรรมดา 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน ก.ล.ต.จะปรับลดระยะเวลาการเข้าลงทุนหลังจากที่ได้รับการอนุมัติลงจากเดิมให้เวลา 30 วัน จะเหลือเพียง 7 วันเท่านั้น
นายประกิด กล่าวต่ออีกว่า สินทรัพย์ที่กองทุนส่วนบุคคลจะเข้าไปลงทุนได้ คือ 1.หุ้น 2.ตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน 3.หน่วยลงทุนของกองทุนรวม 4.Structured Note และ5. Derivatives แต่บางกรณีต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) เสียก่อนเช่นกรณี Underlying เป็นทองคำหรือ FX ส่วนผู้ลงทุนที่ลงทุนผ่านโบรกเกอร์นั้นยังคงมีข้อจำกัดในการลงทุน ได้แก่ หุ้นและตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนเท่านั้น
“ทางเรากำลังร่วมหารือกับ ธปท.บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ และธนาคารต่างชาติ เพื่อพิจารณาขยายประเภทสินทรัพย์ที่กองทุนส่วนบุคคลสามารถลงทุนได้ เพื่อเพิ่มช่องทางการลงทุนในสินค้าใหม่ให้แก่นักลงทุน และเพื่อให้นักลงทุนได้ลงทุนสินค้าที่หลากหลายมากขึ้นอีกด้วย โดยสำนักงานจะทยอยออกประกาศเพิ่มเติมหลังจากนี้”
ด้าน นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในต่างประเทศ ถือเป็นการแสวงหาสินทรัพย์ในการลงทุนใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนภายในประเทศ พร้อมกับเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนอีกด้วย ซึ่งถ้าเทียบกับการลงทุนภายในประเทศแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ตราสารหนี้ภายในประเทศจะให้ผลตอบแทนไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ต่างประเทศ เป็นต้น ขณะที่การลงทุนในต่างประเทศนั้นให้ทางเลือกการลงทุนและสินทรัพย์มากกว่าภายในประเทศ อีกทั้งเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดี รวมถึงความผันผวนของราคา หรือ Sharpe Ratio นั้นมีน้อยกว่าในประเทศ
ขณะที่หน้าที่สำคัญของ บลจ.ในการดูแลผู้ลงทุน คือ ให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ลงทุนเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศ พร้อมทั้งกำหนดวงเงินให้กับผู้ลงทุน ที่สำคัญคือต้องเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเช่น ความเสี่ยงในหลักทรัพย์ต่างประเทศ หรือความเสี่ยงจากการทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมแลกเปลี่ยนเงินเป็นต้น และ บลจ.ต้องดูแลด้วยว่าผู้ลงทุนต้องไม่นำเงินที่มาจากการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นเข้ามาลงทุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขั้นตอนการขอเข้าไปลงทุนในต่างประเทศนั้น ผู้ลงทุนต้องลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคลหรือลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หลังจากนั้นทางบลจ.และบลจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอไปยังสำนักงาน ก.ล.ต.โดยจะ ก.ล.ต.จะใช้เวลาในการพิจาณา 3 วันต่อจากนั้นจะนำเรื่องดังกล่าวส่งไปยัง ธปท.ซึ่งทาง ธปท.อาจใช้เวลาในการตรวจสอบ 1 อาทิตย์ และจะส่งเรื่องกลับไปยัง บลจ.และ บล.อีกครั้ง
โดย บลจ.และ บล.จะขอวงเงินผ่านระบบ FIA เพื่อรับ Approved code จากนั้นทาง บลจ.และบล.จะยื่นเอกสารที่ได้จากธปท.พร้อมด้วย Approved code ไปแลกเงินกับธนาคารพาณิชย์หลังจากนั้น จึงจะสามารถนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศให้กับผู้ลงทุนได้ โดย บลจ.และ บล.ต้องส่งรายงานเช่นยอดคงค้างการลงทุนในแต่ละเดือน และรายงานการนำเงินเข้าออกไปลงทุนในแต่ละเดือนให้ ธปท.และสำนักงาน ก.ล.ต.รับทราบ