บาฟส์หั่นเป้ารายได้ปีนี้เหลือใกล้เคียงปีก่อนที่ 2,258 ล้านบาท จากเดิมตั้งเป้าโตไว้ 5% หลังราคาน้ำมันพ่นพิษส่งผลผู้โดยสารลด-สายการบินลดเที่ยวบิน ทำให้ปริมาณให้บริการเติมน้ำมันลดลง 5-6% ผู้บริหารยอมรับไตรมาส 3 นี้ รายได้ทรุดกว่าไตรมาส 2/2551 ลุ้นไตรมาส 4 สายการบินกลับมาเพิ่มเที่ยวบินหากราคาน้ำมันลด-ช่วงไฮซีซัน ดิ้นปรับขึ้นอัตราค่าบริการที่ดอนเมือง-สมุย-สุโขทัยเพิ่ม เสริมรายได้
ม.ร.ว.ศุภดิศ ดิศกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BAFS กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทและบริษัทย่อยคาดว่าจะมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 0-1% จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 2,258 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ระดับ 5% เป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทำให้ผู้โดยสารลดลง สายการบินลดเที่ยวบิน ส่งผลให้ปริมาณการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานปีนี้แทบไม่ขยายตัว
ทั้งนี้ สายการบินวันทูโกหยุดบินตั้งแต่ก.ค. นกแอร์ลดเที่ยวบิน คิดเป็นปริมาณน้ำมันลดไป 2-3% ขณะที่การบินไทยหยุดบินตรงไกลเส้นทางกรุงเทพฯ-นิวยอร์ค และกรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส คิดเป็นปริมาณน้ำมันลดไป 10%
หากงบการเงินเฉพาะบาฟส์ ปีนี้จะมีรายได้รวมลดลง 2-3% เหลือเพียง 1,568 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะมีรายได้เติบโตขึ้น 4.5% หรืออยู่ที่ 1,600 ล้านบาท โดยเฉพาะการบินไทย นกแอร์ ที่ลดเที่ยวบิน ส่วนวันทูโกหยุดให้บริการ คาดว่าปริมาณการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานปีนี้จะลดลงไป 5-6% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว
จากปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณการเติมน้ำมันอากาศยานในช่วงไตรมาส 3 นี้ลดต่ำลงมากเมื่อเทียบจากไตรมาส 2 ที่มีรายได้รวมประมาณ 535.95 ล้านบาท เนื่องจากสายการบินวันทูโกหยุดให้บริการสายการบินนกแอร์ลดเที่ยวบินลง รวมทั้งการบินไทยหยุดบินเส้นทางการบินระยะไกล เช่น เส้นการบินตรงกรุงเทพฯ-นิวยอร์ค และกรุงเทพ-ลอสแองเจอลิส ทำให้ไตรมาส 3 นี้ปริมาณการเติมน้ำมันของการบินไทยลดลงไป 10%
อย่างไรก็ตาม บริษัทประเมินว่าสถานการณ์ในไตรมาส 4 จะดีขึ้น เนื่องจากทิศทางราคาน้ำมันน่าจะยังอ่อนตัวลง ทำให้สายการบินกลับมาเพิ่มเที่ยวบินได้ การเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น และเป็นช่วงไฮซีซันที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามากนับตั้งแต่พ.ย.เป็นต้นไป นอกจากนี้ หากการบินไทยยังไม่สามารถขายเครื่องบินแอร์บัสA340-500 ได้ก็คงต้องนำกลับมาบินใหม่ เพื่อให้ค่าใช้จ่ายมหาศาลจากการบำรุงรักษาจากการจอดเครื่องบินไว้ แม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม ขณะที่สายการบินต่างประเทศยังไม่มีการปรับลดเที่ยวบินมายังสนามบินกรุงเทพฯแต่อย่างใด
"วิกฤตที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการบินครั้งนี้ถือว่าหนักหนาสาหัส และยืดเยื้อมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้สายการบินเจอ 2เด้ง ทั้งราคาน้ำมันและผู้โดยสารลดลงมาก ทำให้ต้องปรับลดเที่ยวบินลงหรือคอมบายเที่ยวบิน ซึ่งสายการบินนกแอร์ และการบินไทยกระทบค่อนข้างมาก หนักยิ่งกว่าวิกฤตโรคซาร์ ที่ช่วงนั้นผู้โดยสารลดลงไปมาก แต่สายการบินกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวเพียงไตรมาสเดียวเท่านั้น"
จากวิกฤติที่เกิดขึ้นกับสายการบินครั้งนี้ ทำให้ปีหน้าบริษัทฯยังคงอัตราค่าบริการเติมน้ำมันอากาศยานให้กับสายการบินในสุวรรณภูมิเท่าเดิม ไม่ปรับเพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องการไปซ้ำเติมการบินไทย ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ม.ร.ว.ศุภดิส กล่าวว่า จากปริมาณการให้บริการน้ำมันอากาศยานที่ลดลงนี้ ผู้บริหารบริษัทฯจึงได้มีการหารือร่วมกับพนักงานในการหามาตรการเพิ่มรายได้ โดยการขอปรับขึ้นอัตราค่าบริการเติมน้ำมันอากาศยานที่สนามบินดอนเมืองเฉพาะเครื่องเช่าเหมาลำ ไพร์เวท เจ็ต หรือเครื่องบินส่วนตัวจากเดิม 55 สตางค์/ลิตรเป็น 100 สตางค์/ลิตร ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ 2 ล้านบาทมีผลตั้งแต่มิ.ย.ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ยังได้เจรจากับบางกอกแอร์เวย์เพื่อขอปรับการให้บริการน้ำมันขึ้นอีก 20%เป็น 70 สตางค์ต่อลิตรที่สนามบินสมุยและสนามบินสุโขทัยเริ่มส.ค.นี้ ทำให้ครึ่งปีหลังมีรายได้เพิ่มขึ้น 15.65 ล้านบาท รวมทั้งให้บริษัทในเครือเช่าพื้นที่สำนักงาน การให้บริการด้านกฎหมายกับบริษัทในเครือฯ เป็นต้น
ขณะเดียวกันก็มีมาตรการลดค่าใช้จ่ายต่างๆทั้งการลดค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม บริการรถส่วนกลาง รถประจำรับส่งพนักงานให้มีประสิทธิภาพ คาดว่าลดค่าใช้จ่ายลงได้ 2.35 ล้านบาท และการบริหารทรัพย์สิน โดยการขายที่ดินไป 16 ไร่เป็นเงิน 100 ล้านบาท และให้เช่าที่ดินที่เชียงใหม่ รวมเป็นรายได้ 103 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯคาดว่าจะมีเงินจากมาตรการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นรวมทั้งสิ้น 123.7 ล้านบาท
ม.ร.ว.ศุภดิส กล่าวถึงกรณีที่บอร์ดท่าอากาศยานไทย (ทอท.) อนุมัติโครงการส่วนขยายสุวรรณภูมิเฟส 2 ว่า บาฟส์จะมีการลงทุนขนาดใหญ่เพิ่มเติมรองรับสุวรรณภูมิเฟส 2 ในอีก 5ปีข้างหน้านี้ เนื่องจากการลงทุนจะมาจากบริษัทลูก เช่น บริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด (ทาร์โก) อยู่ระหว่างการศึกษาการลงทุนทำท่อส่งน้ำมันอากาศยาน ซึ่งขณะนี้ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา และจะลงทุนดำเนินการก่อสร้างในปี 2553-2554 โดยแหล่งเงินทุนทาร์โกจะกู้ยืมเพิ่มเติมจากสถาบันการเงิน
ส่วนบริษัท เจพี-วัน แอสเซ็ท จำกัด ได้รับการติดต่อจากบริษัทน้ำมันขอให้สร้างถังเก็บน้ำมันขนาด 16-17 ล้านลิตรเพื่อที่จะขอเช่าถังน้ำมันดังกล่าวเป็นเวลา 10ปี หลังจากนั้นจะให้บาฟส์เช่าต่ออีก 10ปีถัดไป คาดว่าเจพี-วันจะใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 180 ล้านบาท ซึ่งจีพี-วันมีศักยภาพในการจัดหาเงินกู้ เนื่องจากมีอัตราหนี้สินต่อทุนต่ำมากเพียง .21 เท่าโดยบาฟส์ไม่ต้องค้ำประกันเงินกู้
"แม้ว่าอุตสาหกรรมการบินจะไม่ค่อยดี แต่นโยบายการขยายสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 จำเป็นต้องเดินหน้า เนื่องจากต้องใช้เวลาดำเนินการนานถึง 6ปีเริ่มตั้งแต่การออกแบบ ประมูลก่อสร้าง ฯลฯ การผลักดันในสนามบินสุวรรณภูมิแข่งขันกับสนามบินฮ่องกงได้ จำเป็นต้องมีการขยายสนามบินอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา ได้หยุดชะงักไป 2ปี ก็ถึงเวลาที่ควรต้องเร่งทำได้แล้ว"
ม.ร.ว.ศุภดิศ ดิศกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BAFS กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทและบริษัทย่อยคาดว่าจะมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 0-1% จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 2,258 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ระดับ 5% เป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทำให้ผู้โดยสารลดลง สายการบินลดเที่ยวบิน ส่งผลให้ปริมาณการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานปีนี้แทบไม่ขยายตัว
ทั้งนี้ สายการบินวันทูโกหยุดบินตั้งแต่ก.ค. นกแอร์ลดเที่ยวบิน คิดเป็นปริมาณน้ำมันลดไป 2-3% ขณะที่การบินไทยหยุดบินตรงไกลเส้นทางกรุงเทพฯ-นิวยอร์ค และกรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส คิดเป็นปริมาณน้ำมันลดไป 10%
หากงบการเงินเฉพาะบาฟส์ ปีนี้จะมีรายได้รวมลดลง 2-3% เหลือเพียง 1,568 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะมีรายได้เติบโตขึ้น 4.5% หรืออยู่ที่ 1,600 ล้านบาท โดยเฉพาะการบินไทย นกแอร์ ที่ลดเที่ยวบิน ส่วนวันทูโกหยุดให้บริการ คาดว่าปริมาณการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานปีนี้จะลดลงไป 5-6% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว
จากปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณการเติมน้ำมันอากาศยานในช่วงไตรมาส 3 นี้ลดต่ำลงมากเมื่อเทียบจากไตรมาส 2 ที่มีรายได้รวมประมาณ 535.95 ล้านบาท เนื่องจากสายการบินวันทูโกหยุดให้บริการสายการบินนกแอร์ลดเที่ยวบินลง รวมทั้งการบินไทยหยุดบินเส้นทางการบินระยะไกล เช่น เส้นการบินตรงกรุงเทพฯ-นิวยอร์ค และกรุงเทพ-ลอสแองเจอลิส ทำให้ไตรมาส 3 นี้ปริมาณการเติมน้ำมันของการบินไทยลดลงไป 10%
อย่างไรก็ตาม บริษัทประเมินว่าสถานการณ์ในไตรมาส 4 จะดีขึ้น เนื่องจากทิศทางราคาน้ำมันน่าจะยังอ่อนตัวลง ทำให้สายการบินกลับมาเพิ่มเที่ยวบินได้ การเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น และเป็นช่วงไฮซีซันที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามากนับตั้งแต่พ.ย.เป็นต้นไป นอกจากนี้ หากการบินไทยยังไม่สามารถขายเครื่องบินแอร์บัสA340-500 ได้ก็คงต้องนำกลับมาบินใหม่ เพื่อให้ค่าใช้จ่ายมหาศาลจากการบำรุงรักษาจากการจอดเครื่องบินไว้ แม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม ขณะที่สายการบินต่างประเทศยังไม่มีการปรับลดเที่ยวบินมายังสนามบินกรุงเทพฯแต่อย่างใด
"วิกฤตที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการบินครั้งนี้ถือว่าหนักหนาสาหัส และยืดเยื้อมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้สายการบินเจอ 2เด้ง ทั้งราคาน้ำมันและผู้โดยสารลดลงมาก ทำให้ต้องปรับลดเที่ยวบินลงหรือคอมบายเที่ยวบิน ซึ่งสายการบินนกแอร์ และการบินไทยกระทบค่อนข้างมาก หนักยิ่งกว่าวิกฤตโรคซาร์ ที่ช่วงนั้นผู้โดยสารลดลงไปมาก แต่สายการบินกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวเพียงไตรมาสเดียวเท่านั้น"
จากวิกฤติที่เกิดขึ้นกับสายการบินครั้งนี้ ทำให้ปีหน้าบริษัทฯยังคงอัตราค่าบริการเติมน้ำมันอากาศยานให้กับสายการบินในสุวรรณภูมิเท่าเดิม ไม่ปรับเพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องการไปซ้ำเติมการบินไทย ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ม.ร.ว.ศุภดิส กล่าวว่า จากปริมาณการให้บริการน้ำมันอากาศยานที่ลดลงนี้ ผู้บริหารบริษัทฯจึงได้มีการหารือร่วมกับพนักงานในการหามาตรการเพิ่มรายได้ โดยการขอปรับขึ้นอัตราค่าบริการเติมน้ำมันอากาศยานที่สนามบินดอนเมืองเฉพาะเครื่องเช่าเหมาลำ ไพร์เวท เจ็ต หรือเครื่องบินส่วนตัวจากเดิม 55 สตางค์/ลิตรเป็น 100 สตางค์/ลิตร ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ 2 ล้านบาทมีผลตั้งแต่มิ.ย.ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ยังได้เจรจากับบางกอกแอร์เวย์เพื่อขอปรับการให้บริการน้ำมันขึ้นอีก 20%เป็น 70 สตางค์ต่อลิตรที่สนามบินสมุยและสนามบินสุโขทัยเริ่มส.ค.นี้ ทำให้ครึ่งปีหลังมีรายได้เพิ่มขึ้น 15.65 ล้านบาท รวมทั้งให้บริษัทในเครือเช่าพื้นที่สำนักงาน การให้บริการด้านกฎหมายกับบริษัทในเครือฯ เป็นต้น
ขณะเดียวกันก็มีมาตรการลดค่าใช้จ่ายต่างๆทั้งการลดค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม บริการรถส่วนกลาง รถประจำรับส่งพนักงานให้มีประสิทธิภาพ คาดว่าลดค่าใช้จ่ายลงได้ 2.35 ล้านบาท และการบริหารทรัพย์สิน โดยการขายที่ดินไป 16 ไร่เป็นเงิน 100 ล้านบาท และให้เช่าที่ดินที่เชียงใหม่ รวมเป็นรายได้ 103 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯคาดว่าจะมีเงินจากมาตรการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นรวมทั้งสิ้น 123.7 ล้านบาท
ม.ร.ว.ศุภดิส กล่าวถึงกรณีที่บอร์ดท่าอากาศยานไทย (ทอท.) อนุมัติโครงการส่วนขยายสุวรรณภูมิเฟส 2 ว่า บาฟส์จะมีการลงทุนขนาดใหญ่เพิ่มเติมรองรับสุวรรณภูมิเฟส 2 ในอีก 5ปีข้างหน้านี้ เนื่องจากการลงทุนจะมาจากบริษัทลูก เช่น บริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด (ทาร์โก) อยู่ระหว่างการศึกษาการลงทุนทำท่อส่งน้ำมันอากาศยาน ซึ่งขณะนี้ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา และจะลงทุนดำเนินการก่อสร้างในปี 2553-2554 โดยแหล่งเงินทุนทาร์โกจะกู้ยืมเพิ่มเติมจากสถาบันการเงิน
ส่วนบริษัท เจพี-วัน แอสเซ็ท จำกัด ได้รับการติดต่อจากบริษัทน้ำมันขอให้สร้างถังเก็บน้ำมันขนาด 16-17 ล้านลิตรเพื่อที่จะขอเช่าถังน้ำมันดังกล่าวเป็นเวลา 10ปี หลังจากนั้นจะให้บาฟส์เช่าต่ออีก 10ปีถัดไป คาดว่าเจพี-วันจะใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 180 ล้านบาท ซึ่งจีพี-วันมีศักยภาพในการจัดหาเงินกู้ เนื่องจากมีอัตราหนี้สินต่อทุนต่ำมากเพียง .21 เท่าโดยบาฟส์ไม่ต้องค้ำประกันเงินกู้
"แม้ว่าอุตสาหกรรมการบินจะไม่ค่อยดี แต่นโยบายการขยายสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 จำเป็นต้องเดินหน้า เนื่องจากต้องใช้เวลาดำเนินการนานถึง 6ปีเริ่มตั้งแต่การออกแบบ ประมูลก่อสร้าง ฯลฯ การผลักดันในสนามบินสุวรรณภูมิแข่งขันกับสนามบินฮ่องกงได้ จำเป็นต้องมีการขยายสนามบินอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา ได้หยุดชะงักไป 2ปี ก็ถึงเวลาที่ควรต้องเร่งทำได้แล้ว"