เศรษฐกิจแย่ "พาณิชย์"เผย ซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ตถูกโกงอื้อ โอนเงินแล้วเชิดหนี เบี้ยวส่งของ เครื่องดนตรี นาฬิกา เครื่องไฟฟ้า ของสะสม ถูกโกงมากสุดแนะหลีกเลี่ยงซื้อขายสินค้ากระทู้ที่มีความเสี่ยง และอย่าเห็นราคาถูกอย่างเดียว ก่อนซื้อหรือโอนเงิน ต้องเห็นสินค้าตัวจริงก่อน
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนค่อนข้างมากจากประชาชนว่า มีการหลอกลวงจากการซื้อขายสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (อี คอมเมิร์ส) อย่างหนักในช่วงนี้ โดยเฉพาะตามเว็บไซต์ประกาศซื้อขายสินค้ามือสอง ที่มีกลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวอยู่มาก โดยใช้วิธีลงประกาศขายสินค้า และให้เหยื่อโอนเงินค่าสินค้าหรือค่ามัดจำไปให้ก่อน แต่ไม่ยอมส่งสินค้าให้ตามที่ตกลง หรือส่งสินค้าไม่ตรงตามที่ประกาศโฆษณาไว้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจเว็บไซต์ท์ซื้อขายสินค้ามือสองที่ได้รับความนิยมในประเทศ เช่นwww.pantipmarket.com หรือ www.thaisecondhand.com พบว่าระยะหลังมีผู้เสียหายลงประกาศแจ้งเตือนทางกระทู้ให้ระมัดระวังการซื้อขายถี่ขึ้น โดยผู้เสียรายหนึ่งเล่าว่า เดิมการซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตจะไม่ค่อยมีการโกง แต่ระยะหลังพอเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพได้เข้ามาใช้ช่องทางซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตหากินกันเพิ่ม โดยสินค้าที่มีการโกงมากจะเป็นสินค้ามือสอง ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ของสะสม เครื่องดนตรี นาฬิกา ซึ่งมีการตั้งราคาสินค้าส่วนใหญ่ 1,000-9,000 บาท
สำหรับพฤติกรรม และกระทู้ซื้อขายที่เสี่ยงต่อการถูกหลอกลวง มักจะลงประกาศขายสินค้าโดยไม่แสดงรูปภาพ หรือนำภาพที่ไม่ใช่สินค้าตัวจริงมาลงแทน และแจ้งรายละเอียดสินค้าเพียงเล็กน้อย แต่จะตั้งราคาขายต่ำกว่าราคาท้องตลาดเพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อแทน และเมื่อเหยื่อติดต่อเพื่อขอนัดดูสินค้า กลุ่มมิจฉาชีจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าไม่มาก โดยอ้างว่าเป็นของญาติ หรือของเพื่อน ซึ่งไม่สะดวกให้ดูสินค้า เพราะสินค้าไม่อยู่กับตัวเอง หรือเก็บไว้อยู่ต่างจังหวัด
นอกจากนี้ ยังบอกเหยื่อผู้ซื้อว่า หากสนใจซื้อจริงจะต้องโอนเงินเต็มจำนวน หรือเงินมัดจำผ่านธนาคารก่อน และจากนั้นจะรีบส่งสินค้าให้ ทางรถทัวร์ บริษัทรับส่งพัสดุ หรือไปรษณีย์ ซึ่งระหว่างการพูดคุยกลุ่มมิจฉาชีพจะใช้คำพูดหว่านล้อมให้ผู้ซื้อตายใจว่าไม่ถูกโกงและกระตุ้นให้รีบโอนเงินมาโดยเร็ว เช่น บอกว่าตอนนี้มีคนสนใจอยู่มาก จะไม่รับจองหากใครโอนเงินเข้ามาก่อนก็จะขายให้ผู้นั้นก่อน ซึ่งเมื่อเหยื่อตายใจโอนเงินให้แล้วก็จะปิดโทรศัพท์มือถือหนีทันที หรือบางรายอาจส่งสินค้าให้แต่เป็นสินค้าไม่ตรงตามประกาศและมีราคาต่ำกว่า หรือส่งสินค้าชำรุดมาให้และอ้างว่าเกิดความเสียหายระหว่างการขนส่ง
ทั้งนี้การติดตามตัวแก๊งค์มิจฉาชีพทำได้ยาก เพราะการลงประกาศซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตทำได้ง่าย ไม่ต้องผ่านระบบลงทะเบียน ไม่ต้องใช้หลักฐาน หรือเสียค่าใช้จ่าย ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพนิยมเข้ามาหากินโดยใช้นามแฝง ใช้เลขที่บัญชีโอนเงินที่เปิดตามต่างจังหวัด หรือใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือแบบไม่ลงทะเบียนที่ง่ายต่อการยกเลิก ซึ่งเมื่อหลอกลวงเหยื่อสำเร็จก็จะเข้าไปลบกระทู้ซื้อขายนั้นทันที เพื่อทำลายหลักฐาน
สำหรับวิธีการป้องกันถูกหลอกลวงควรหลีกเลี่ยงซื้อขายสินค้ากระทู้ที่มีความเสี่ยง และอย่าคำนึงเห็นว่าราคาถูกเพียงอย่างเดียว ที่สำคัญก่อนตัดสินใจซื้อหรือโอนเงิน ควรได้เห็นสินค้าตัวจริงหรือทดสอบก่อน แต่หากจำเป็นต้องสั่งซื้อสินค้าจากต่างจังหวัด ควรสอบถามข้อมูลของสินค้า และประวัติของผู้ขายให้มากที่สุด เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่จริง เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน และเลขสมุดบัญชีว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเก็บสลิปการโอนเงิน และการจดรายละเอียดหน้าซื้อขายสินค้า รหัสไอพี ที่ใช้ทางอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้เป็นหลักฐานกรณีถูกโกง หรือควรเลือกสั่งซื้อของด้วยการใช้พนักงานเก็บเงินปลายทาง
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนค่อนข้างมากจากประชาชนว่า มีการหลอกลวงจากการซื้อขายสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (อี คอมเมิร์ส) อย่างหนักในช่วงนี้ โดยเฉพาะตามเว็บไซต์ประกาศซื้อขายสินค้ามือสอง ที่มีกลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวอยู่มาก โดยใช้วิธีลงประกาศขายสินค้า และให้เหยื่อโอนเงินค่าสินค้าหรือค่ามัดจำไปให้ก่อน แต่ไม่ยอมส่งสินค้าให้ตามที่ตกลง หรือส่งสินค้าไม่ตรงตามที่ประกาศโฆษณาไว้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจเว็บไซต์ท์ซื้อขายสินค้ามือสองที่ได้รับความนิยมในประเทศ เช่นwww.pantipmarket.com หรือ www.thaisecondhand.com พบว่าระยะหลังมีผู้เสียหายลงประกาศแจ้งเตือนทางกระทู้ให้ระมัดระวังการซื้อขายถี่ขึ้น โดยผู้เสียรายหนึ่งเล่าว่า เดิมการซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตจะไม่ค่อยมีการโกง แต่ระยะหลังพอเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพได้เข้ามาใช้ช่องทางซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตหากินกันเพิ่ม โดยสินค้าที่มีการโกงมากจะเป็นสินค้ามือสอง ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ของสะสม เครื่องดนตรี นาฬิกา ซึ่งมีการตั้งราคาสินค้าส่วนใหญ่ 1,000-9,000 บาท
สำหรับพฤติกรรม และกระทู้ซื้อขายที่เสี่ยงต่อการถูกหลอกลวง มักจะลงประกาศขายสินค้าโดยไม่แสดงรูปภาพ หรือนำภาพที่ไม่ใช่สินค้าตัวจริงมาลงแทน และแจ้งรายละเอียดสินค้าเพียงเล็กน้อย แต่จะตั้งราคาขายต่ำกว่าราคาท้องตลาดเพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อแทน และเมื่อเหยื่อติดต่อเพื่อขอนัดดูสินค้า กลุ่มมิจฉาชีจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าไม่มาก โดยอ้างว่าเป็นของญาติ หรือของเพื่อน ซึ่งไม่สะดวกให้ดูสินค้า เพราะสินค้าไม่อยู่กับตัวเอง หรือเก็บไว้อยู่ต่างจังหวัด
นอกจากนี้ ยังบอกเหยื่อผู้ซื้อว่า หากสนใจซื้อจริงจะต้องโอนเงินเต็มจำนวน หรือเงินมัดจำผ่านธนาคารก่อน และจากนั้นจะรีบส่งสินค้าให้ ทางรถทัวร์ บริษัทรับส่งพัสดุ หรือไปรษณีย์ ซึ่งระหว่างการพูดคุยกลุ่มมิจฉาชีพจะใช้คำพูดหว่านล้อมให้ผู้ซื้อตายใจว่าไม่ถูกโกงและกระตุ้นให้รีบโอนเงินมาโดยเร็ว เช่น บอกว่าตอนนี้มีคนสนใจอยู่มาก จะไม่รับจองหากใครโอนเงินเข้ามาก่อนก็จะขายให้ผู้นั้นก่อน ซึ่งเมื่อเหยื่อตายใจโอนเงินให้แล้วก็จะปิดโทรศัพท์มือถือหนีทันที หรือบางรายอาจส่งสินค้าให้แต่เป็นสินค้าไม่ตรงตามประกาศและมีราคาต่ำกว่า หรือส่งสินค้าชำรุดมาให้และอ้างว่าเกิดความเสียหายระหว่างการขนส่ง
ทั้งนี้การติดตามตัวแก๊งค์มิจฉาชีพทำได้ยาก เพราะการลงประกาศซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตทำได้ง่าย ไม่ต้องผ่านระบบลงทะเบียน ไม่ต้องใช้หลักฐาน หรือเสียค่าใช้จ่าย ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพนิยมเข้ามาหากินโดยใช้นามแฝง ใช้เลขที่บัญชีโอนเงินที่เปิดตามต่างจังหวัด หรือใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือแบบไม่ลงทะเบียนที่ง่ายต่อการยกเลิก ซึ่งเมื่อหลอกลวงเหยื่อสำเร็จก็จะเข้าไปลบกระทู้ซื้อขายนั้นทันที เพื่อทำลายหลักฐาน
สำหรับวิธีการป้องกันถูกหลอกลวงควรหลีกเลี่ยงซื้อขายสินค้ากระทู้ที่มีความเสี่ยง และอย่าคำนึงเห็นว่าราคาถูกเพียงอย่างเดียว ที่สำคัญก่อนตัดสินใจซื้อหรือโอนเงิน ควรได้เห็นสินค้าตัวจริงหรือทดสอบก่อน แต่หากจำเป็นต้องสั่งซื้อสินค้าจากต่างจังหวัด ควรสอบถามข้อมูลของสินค้า และประวัติของผู้ขายให้มากที่สุด เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่จริง เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน และเลขสมุดบัญชีว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเก็บสลิปการโอนเงิน และการจดรายละเอียดหน้าซื้อขายสินค้า รหัสไอพี ที่ใช้ทางอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้เป็นหลักฐานกรณีถูกโกง หรือควรเลือกสั่งซื้อของด้วยการใช้พนักงานเก็บเงินปลายทาง