แบงก์ชาติห่วงเศรษฐกิจไทยหลังจากครึ่งหลังของปีนี้ชะลอตัวต่อเนื่อง ย้ำดำเนินนโยบายดอกเบี้ยอย่างถูกต้อง ยันเป็นเรื่องปกติที่นโยบายการเงินและการคลังเห็นต่างกัน เพราะรัฐต้องสร้างผลงาน เพื่อให้คนรู้สึกว่าเศรษกิจโต หวังได้คะแนนเสียงในการเลือกตั้ง ระบุแม้ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายไทยอยู่ช่วงขาขึ้น แต่หากเศรษฐกิจชะลอมากและไม่มีเงินเฟ้อรอบสองก็มีโอกาสที่ดอกเบี้ยจะคงที่หรือเป็นขาลงก็ได้
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยภายในงานสัมมนาเรื่อง “มุมคิด…แก้วิกฤตเศรษฐกิจไทย(ปัญหาที่รุมเร้า)” จัดโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทาราแกรนด์ กรุงเทพ(เซ็นทรัล ลาดพร้าว) ว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ยังคงชะลอตัวกว่าช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา และหากราคาน้ำมันแพงและสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ(ซับไพร์ม) ยังยืดเยื้อยาวนานก็มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะชะลอลงมากกว่าปีนี้ แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะวิกฤต ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะมีอัตราการขยายตัวหดตัวมากอย่างวิกฤตในปี 2541
“ในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะชะลอกว่าไตรมาสแรกที่เติบโต 6% ท่ามกลางภาวะน้ำมันแพง ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และเศรษฐกิจโลกไม่เอื้ออำนวย แต่ก็พิสูจน์ได้ว่าเศรษฐกิจเรายังแข่งแกร่งนับตั้งแต่ปี 48 หรือในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเป็นต้นมา ซึ่งอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจสูงกว่า 4% ส่วนที่ห่วงว่าท้ายสุดก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้เป็นเพียงความรู้สึกมากกว่า แต่เมื่อดูข้อเท็จจริงแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นต่างกับวิกฤตที่เกิดปัญหาตกงานกันมาก แต่ในปัจจุบันตลาดแรงงานตึงตัวและอัตราการว่างงานต่ำ ส่วนการที่ความเชื่อมั่นการบริโภคตกก็เกิดจากการเมืองที่วุ่นวาย”
ทั้งนี้ ในปัจจุบันมองว่าเป็นเรื่องปกติที่การดำเนินนโยบายของคลังและธปท.มีการขัดแย้งกัน ซึ่งเกิดจากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดการณ์เศรษฐกิจในภาวะปัจจุบันและอนาคตเห็นแตกต่างกันเท่านั้น แต่ในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางยังคงให้ความสำคัญทั้งอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและดูแลเรื่องเสถียรภาพ แต่หากเกิดภาวะที่ต้องเลือกจริงๆ ธนาคารกลางทุกแห่งก็เลือกดูแลไม่ให้เสถียรภาพเศรษฐกิจเสียไป เพราะไม่เช่นนั้นโอกาสการขยายตัวเศรษฐกิจในระยะยาวมียากขึ้น
“เป็นเรื่องปกติที่ธนาคารกลางมากมายจะขัดแย้งกับทางการ แต่ในยามที่ถึงจุดหนึ่งเราต้องเลือกดูแลเสถียรภาพมากว่า ซึ่งรัฐบาลจะเข้ามาบริหารในช่วง 4 ปี หรือไม่ถึงด้วยซ้ำ จึงต้องมีการสร้างผลงาน ทำให้คนรู้สึกว่าเศรษฐกิจขยายตัวดี เพราะระบบประชาธิปไตยมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น เศรษฐกิจ คือเรื่องที่สำคัญที่สุดที่คนจะลงคะแนนให้ อย่างไรก็ตาม แม้ในระยะสั้นจะมองต่างกัน แต่สุดท้ายจะมองเหมือนกันคือจะนำไปสู่การขยายตัวเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป”
รองผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยขณะนี้อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยมีเพียง 4 ประเทศในโลกเท่านั้นที่มีดอกเบี้ยขาลง ได้แก่ ประเทศสหรัฐฯที่ต้องแก้ไขปัญหาวิกฤตการเงิน ซึ่งรวมทั้งฮ่องกงที่ผูกติดกับสหรัฐ และอังกฤษที่ยังมีแนวโน้มหลังจากขึ้นดอกเบี้ยมาแล้วตั้งแต่ต้นปี รวมทั้งนิวซีแลนด์ที่เกิดจากเศรษฐกิจถดถอย แต่ถ้าเศรษฐกิจชะลอมาก และไม่มีผลกระทบเงินเฟ้อรอบสอง(Second round Effect) ก็มีโอกาสที่ดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงคงที่ได้ ทำให้ดอกเบี้ยไทยมีโอกาสเป็นได้ทั้งคู่ ส่วนการปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมาในอัตรา 0.25% นั้นเราไม่ได้บรรเทาการที่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงทุกประเภทติดลบ เพราะในภาวะเศรษฐกิจที่ต้องการแรงกระตุ้น อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสามารถติดลบได้ แต่ไม่มากจนเกิดปัญหาเงินเฟ้อจากความต้องการซื้อเพิ่มมากอีก
อย่างไรก็ตาม แม้ธปท.ยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากและกู้ไปล่วงหน้าแล้ว ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวของพันธบัตรอายุ 5 และ 7 ปี มีการขยับขึ้น จึงจำเป็นที่ธปท.ต้องดำเนินการทำอย่างหนึ่งอย่างหนึ่ง เพื่อชดเชยเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นจะส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องออกหุ้นกู้ในราคาแพงและมีต้นทุนที่แพงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากต้องอาศัยดอกเบี้ยระยะยาวเหล่านี้ในการลงทุน
“คนทำนโยบายด้านเศรษฐกิจก็เหมือนกับหมอที่รักษาคนไข้ที่เป็นโรค(อัตราเงินเฟ้อ) หากใช้ยาไม่ดีก็ยิ่งทำให้อาการทรุดไปอีกหรือเศรษฐกิจยิ่งย่ำแย่ ดังนั้น การให้ยาเราต้องดูอาการว่ารอบแรกจะมีผลอย่างไร ซึ่งเศรษฐกิจจะชะลอมากไหม และคงไม่มีหมอคนไหนให้ยาแรงกว่าโรค จึงต้องรอดูอาการก่อนที่จะให้ยาเป็นสิ่งที่ดีที่สุด”
สำหรับภาคส่งออกของไทยในระยะต่อไปจะได้รับผลกระทบหรือไม่ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกด้วย โดยขณะนี้แม้เศรษฐกิจสหรัฐยังประคองตัวได้ดีจากมาตรการคลังและการช่วยเหลือต่าง ๆ ส่วนในอนาคตจะมีความเสี่ยงหรือไม่ก็ต้องติดตามดูอยู่ เพราะมาตรการภาษีที่ช่วยเหลือบางส่วนจะหมดไปในช่วงไตรมาส 3 นี้ รวมทั้งปัญหาแฟนนี เม และเฟรดดี แมค จะส่งผลลากยาวหรือไม่ และทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์มีปัญหาเชิงลึกไปอีก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่ออำนาจซื้อของประชาชน เพราะสัดส่วนการบริโภคมากถึง 70%ของจีดีพี จึงต้องติดตามดูต่อไป
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยภายในงานสัมมนาเรื่อง “มุมคิด…แก้วิกฤตเศรษฐกิจไทย(ปัญหาที่รุมเร้า)” จัดโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทาราแกรนด์ กรุงเทพ(เซ็นทรัล ลาดพร้าว) ว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ยังคงชะลอตัวกว่าช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา และหากราคาน้ำมันแพงและสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ(ซับไพร์ม) ยังยืดเยื้อยาวนานก็มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะชะลอลงมากกว่าปีนี้ แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะวิกฤต ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะมีอัตราการขยายตัวหดตัวมากอย่างวิกฤตในปี 2541
“ในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะชะลอกว่าไตรมาสแรกที่เติบโต 6% ท่ามกลางภาวะน้ำมันแพง ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และเศรษฐกิจโลกไม่เอื้ออำนวย แต่ก็พิสูจน์ได้ว่าเศรษฐกิจเรายังแข่งแกร่งนับตั้งแต่ปี 48 หรือในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเป็นต้นมา ซึ่งอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจสูงกว่า 4% ส่วนที่ห่วงว่าท้ายสุดก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้เป็นเพียงความรู้สึกมากกว่า แต่เมื่อดูข้อเท็จจริงแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นต่างกับวิกฤตที่เกิดปัญหาตกงานกันมาก แต่ในปัจจุบันตลาดแรงงานตึงตัวและอัตราการว่างงานต่ำ ส่วนการที่ความเชื่อมั่นการบริโภคตกก็เกิดจากการเมืองที่วุ่นวาย”
ทั้งนี้ ในปัจจุบันมองว่าเป็นเรื่องปกติที่การดำเนินนโยบายของคลังและธปท.มีการขัดแย้งกัน ซึ่งเกิดจากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดการณ์เศรษฐกิจในภาวะปัจจุบันและอนาคตเห็นแตกต่างกันเท่านั้น แต่ในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางยังคงให้ความสำคัญทั้งอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและดูแลเรื่องเสถียรภาพ แต่หากเกิดภาวะที่ต้องเลือกจริงๆ ธนาคารกลางทุกแห่งก็เลือกดูแลไม่ให้เสถียรภาพเศรษฐกิจเสียไป เพราะไม่เช่นนั้นโอกาสการขยายตัวเศรษฐกิจในระยะยาวมียากขึ้น
“เป็นเรื่องปกติที่ธนาคารกลางมากมายจะขัดแย้งกับทางการ แต่ในยามที่ถึงจุดหนึ่งเราต้องเลือกดูแลเสถียรภาพมากว่า ซึ่งรัฐบาลจะเข้ามาบริหารในช่วง 4 ปี หรือไม่ถึงด้วยซ้ำ จึงต้องมีการสร้างผลงาน ทำให้คนรู้สึกว่าเศรษฐกิจขยายตัวดี เพราะระบบประชาธิปไตยมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น เศรษฐกิจ คือเรื่องที่สำคัญที่สุดที่คนจะลงคะแนนให้ อย่างไรก็ตาม แม้ในระยะสั้นจะมองต่างกัน แต่สุดท้ายจะมองเหมือนกันคือจะนำไปสู่การขยายตัวเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป”
รองผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยขณะนี้อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยมีเพียง 4 ประเทศในโลกเท่านั้นที่มีดอกเบี้ยขาลง ได้แก่ ประเทศสหรัฐฯที่ต้องแก้ไขปัญหาวิกฤตการเงิน ซึ่งรวมทั้งฮ่องกงที่ผูกติดกับสหรัฐ และอังกฤษที่ยังมีแนวโน้มหลังจากขึ้นดอกเบี้ยมาแล้วตั้งแต่ต้นปี รวมทั้งนิวซีแลนด์ที่เกิดจากเศรษฐกิจถดถอย แต่ถ้าเศรษฐกิจชะลอมาก และไม่มีผลกระทบเงินเฟ้อรอบสอง(Second round Effect) ก็มีโอกาสที่ดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงคงที่ได้ ทำให้ดอกเบี้ยไทยมีโอกาสเป็นได้ทั้งคู่ ส่วนการปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมาในอัตรา 0.25% นั้นเราไม่ได้บรรเทาการที่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงทุกประเภทติดลบ เพราะในภาวะเศรษฐกิจที่ต้องการแรงกระตุ้น อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสามารถติดลบได้ แต่ไม่มากจนเกิดปัญหาเงินเฟ้อจากความต้องการซื้อเพิ่มมากอีก
อย่างไรก็ตาม แม้ธปท.ยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากและกู้ไปล่วงหน้าแล้ว ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวของพันธบัตรอายุ 5 และ 7 ปี มีการขยับขึ้น จึงจำเป็นที่ธปท.ต้องดำเนินการทำอย่างหนึ่งอย่างหนึ่ง เพื่อชดเชยเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นจะส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องออกหุ้นกู้ในราคาแพงและมีต้นทุนที่แพงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากต้องอาศัยดอกเบี้ยระยะยาวเหล่านี้ในการลงทุน
“คนทำนโยบายด้านเศรษฐกิจก็เหมือนกับหมอที่รักษาคนไข้ที่เป็นโรค(อัตราเงินเฟ้อ) หากใช้ยาไม่ดีก็ยิ่งทำให้อาการทรุดไปอีกหรือเศรษฐกิจยิ่งย่ำแย่ ดังนั้น การให้ยาเราต้องดูอาการว่ารอบแรกจะมีผลอย่างไร ซึ่งเศรษฐกิจจะชะลอมากไหม และคงไม่มีหมอคนไหนให้ยาแรงกว่าโรค จึงต้องรอดูอาการก่อนที่จะให้ยาเป็นสิ่งที่ดีที่สุด”
สำหรับภาคส่งออกของไทยในระยะต่อไปจะได้รับผลกระทบหรือไม่ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกด้วย โดยขณะนี้แม้เศรษฐกิจสหรัฐยังประคองตัวได้ดีจากมาตรการคลังและการช่วยเหลือต่าง ๆ ส่วนในอนาคตจะมีความเสี่ยงหรือไม่ก็ต้องติดตามดูอยู่ เพราะมาตรการภาษีที่ช่วยเหลือบางส่วนจะหมดไปในช่วงไตรมาส 3 นี้ รวมทั้งปัญหาแฟนนี เม และเฟรดดี แมค จะส่งผลลากยาวหรือไม่ และทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์มีปัญหาเชิงลึกไปอีก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่ออำนาจซื้อของประชาชน เพราะสัดส่วนการบริโภคมากถึง 70%ของจีดีพี จึงต้องติดตามดูต่อไป