ก.ล.ต.เตรียมออกเกณฑ์ใหม่คุ้มกันบริษัทจดทะเบียน จากการถูกเทกโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร ตามข้อเสนอแนะเวิล์ดแบงก์ เพื่อคุ้มครองผู้ถือหุ้น ระบุไม่รีบประกาศใช้ขอผ่านความเห็นชอบาจากที่ประชุมบอร์ดก่อน หลังจากจะมีการประกาศข้อกำหนดปกป้องผู้ทำคำเสนอซื้อ พร้อมขยายเวลารายงานแจ้งการได้มาหลักทรัพย์เพิ่มเป็นภายใน 3 วัน จากเดิมแค่ 1 วัน
นายธวัชชัย พิทยโสภณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า จากการออกหลักเกณฑ์ใหม่และการปรับปรุงหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติ(พรบ.)หลักทรัพย์ฯฉบับใหม่นี้ ก.ล.ต.มีแนวคิดที่จะออกเกณฑ์ใหม่ในการป้องกันการซื้อกิจการ(เทกโอเวอร์)ของบริษัท ในกรณีที่การเข้ามาเทกโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร (Hostile) เนื่องจาก ธนาคารโลกได้เข้ามาประเมินภาพรวมบรรษัทภิบาล (CG)ตลาดทุนไทยแล้วพบว่า ควรที่จะมีการออกเกณฑ์ดังกล่าว ถึงแม้กรณีการเทกโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตรในประเทศไทยจะมีน้อยมากก็ตาม
ทั้งนี้ การป้องกันการเทกโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตรนั้น บริษัทสามารถกระทำได้โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียน ทำการซื้อหุ้นคืน การเสนอขายหุ้นบุริมสิทธิ เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนหุ้นและสัดส่วนการถือหุ้นให้ลดลง ทำให้ผู้ที่จะต้องการเข้ามาเทกโอเวอร์จะต้องเข้ามาซื้อหุ้นในสัดส่วนที่มากขึ้น ทำให้ลดความน่าสนใจของผู้ที่จะเข้ามาเทกโอเวอร์ และทำให้เปลี่ยนใจไม่เข้ามาซื้อกิจการแล้ว หรือมีการจ่ายเงินปันผลทำให้กระแสเงินสดของบริษัทลดลง หรือการขายสินทรัพย์สำคัญของบริษัท
สำหรับในระหว่างที่บริษัทมีการเพิ่มทุน ผู้ที่จะเข้ามาซื้อกิจารจะต้องมีการชะลอการทำคำเสนอซื้อหุ้น (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) เพื่อรอดูว่าการเพิ่มทุนของบริษัทนั้นสำเร็จหรือไม่ ซึ่งหากบริษัทเพิ่มทุนสำเร็จแล้วผู้ที่จะเข้ามาเทกโอเวอร์มีความสนใจที่จะทำเทรนเดอร์ต่อไปก็สามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นรายอื่นจะมีการขายหุ้นออกมาหรือไม่ และในกรณีที่บริษัทจะมีการซื้อหุ้นคืน ซึ่งหากซื้อถึง10% ก็จะต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเห็นชอบก่อน
นายธวัชชัย กล่าวว่า การดำเนินการป้องกันการเทกโอเวอร์บริษัทสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติเห็นชอบให้ดำเนินการได้เท่านั้น เพราะผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่บริษัทถูกเทกโอเวอร์ จึงมีสิทธิที่จะออกความคิดเห็น โดยการออกเกณฑ์นี้ทางก.ล.ต.ยังไม่มีควมเร่งด่วนที่จะต้องมีการประกาศออกมา แม้ที่ผ่านมาจะมีการสำรวจความคิดเห็นกับผู้เกี่ยวข้องแล้วก็ตาม เพราะ ทางคณะกรรมการ (บอร์ด)อยากให้มีการศึกษารายละเอียดประเมินผลกระทบให้รอบคอบก่อน
นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้มีการปรับปรุงเกณฑ์การเทกโอเวอร์ มาตรา246 การรายงานได้มาหลักทรัพย์ทุก5% โดยปรับฐานคำนวณจาก จำนวนหุ้น เป็น จำนวนสิทธิออกเสียง และขยายเวลาการรายงานจาก 1 วันทำการ เป็น ภายใน 3 วันทำการเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา259ในการรายงานการถือหุ้นของผู้บริหารบริษัท
นางสาววนิดา ฐานีพานิชสกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. กล่าวว่า พ.ร.บ.หลักทรัพย์ ฉบับแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การเทกโอเวอร์ ได้กำหนด การกระทำหรืองดเว้นการกระทำที่จะมีผลต่อคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (Frustration action) เพื่อเป็นการคุ้มครองทำคำเสนอซื้อ และผู้ถือหุ้นแต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจปกติของบริษัท นั้น หากบริษัทใดที่ถูกเทกโอเวอร์ และผู้ซื้อได้ประกาศที่จะ ทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์
อย่างไรก็ตาม เกณฑ์การแก้ไขใหม่จะห้ามผู้บริหารดำเนินการใดๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพหรือฐานะของบริษัท เช่น การเพิ่มทุนจดทะเบียน, การได้มาหรือจำหน่ายสินทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ , การทำการซื้อหุ้นคืน หรือการจ่ายปันผลระหว่างกาล เป็นต้น แต่หากบริษัทจะดำเนินการดังกล่าวนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก ยกเว้นได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ทำเทรนเดอร์ ซึ่งในการกำหนดเกณฑ์ดังกล่าวก็เพื่อเป็นคุ้มครองผู้ถือหุ้นของบริษัท
นอกจากนี้ กฎหมายได้ปรับปรุงมาตรา 258 ซึ่งเป็นรายการเกี่ยวโยงของบุคคล โดยกำหนดให้นับรวมถือครองหลักทรัพย์ขึ้นลงได้ไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่ถือหุ้นเกิน 30% จากเดิมให้นับการถือครองหลักทรัพย์ลงแค่ 2ชั้นคือ บริษัทแม่ และบริษัทลูกเท่านั้น ซึ่งหากว่าก.ล.ต. พิสูจน์ได้ว่าเป็นรายการเกี่ยวโยงของกลุ่มเดียวกัน จะต้องดำเนินการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ หรือได้รับการผ่อนผันเนื่องจากติดข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถเรียกประชุมผู้ถือหุ้นได้ เช่น บริษัทอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ หรือ เรียกประชุมผู้ถือหุ้นไม่ทันซึ่งสามารถขอผ่อนผันต่อก.ล.ต.ได้ โดยรายการเกี่ยวโยงที่ปรับใหม่จะมีความเข้มงวดมากว่าเดิม เพราะต้องการให้เกณฑ์มีความครอบคลุม และกว้างมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถตรวจสอบอำนาจการครอบคลุมกิจการให้มีความชัดเจน
นายธวัชชัย พิทยโสภณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า จากการออกหลักเกณฑ์ใหม่และการปรับปรุงหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติ(พรบ.)หลักทรัพย์ฯฉบับใหม่นี้ ก.ล.ต.มีแนวคิดที่จะออกเกณฑ์ใหม่ในการป้องกันการซื้อกิจการ(เทกโอเวอร์)ของบริษัท ในกรณีที่การเข้ามาเทกโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร (Hostile) เนื่องจาก ธนาคารโลกได้เข้ามาประเมินภาพรวมบรรษัทภิบาล (CG)ตลาดทุนไทยแล้วพบว่า ควรที่จะมีการออกเกณฑ์ดังกล่าว ถึงแม้กรณีการเทกโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตรในประเทศไทยจะมีน้อยมากก็ตาม
ทั้งนี้ การป้องกันการเทกโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตรนั้น บริษัทสามารถกระทำได้โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียน ทำการซื้อหุ้นคืน การเสนอขายหุ้นบุริมสิทธิ เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนหุ้นและสัดส่วนการถือหุ้นให้ลดลง ทำให้ผู้ที่จะต้องการเข้ามาเทกโอเวอร์จะต้องเข้ามาซื้อหุ้นในสัดส่วนที่มากขึ้น ทำให้ลดความน่าสนใจของผู้ที่จะเข้ามาเทกโอเวอร์ และทำให้เปลี่ยนใจไม่เข้ามาซื้อกิจการแล้ว หรือมีการจ่ายเงินปันผลทำให้กระแสเงินสดของบริษัทลดลง หรือการขายสินทรัพย์สำคัญของบริษัท
สำหรับในระหว่างที่บริษัทมีการเพิ่มทุน ผู้ที่จะเข้ามาซื้อกิจารจะต้องมีการชะลอการทำคำเสนอซื้อหุ้น (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) เพื่อรอดูว่าการเพิ่มทุนของบริษัทนั้นสำเร็จหรือไม่ ซึ่งหากบริษัทเพิ่มทุนสำเร็จแล้วผู้ที่จะเข้ามาเทกโอเวอร์มีความสนใจที่จะทำเทรนเดอร์ต่อไปก็สามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นรายอื่นจะมีการขายหุ้นออกมาหรือไม่ และในกรณีที่บริษัทจะมีการซื้อหุ้นคืน ซึ่งหากซื้อถึง10% ก็จะต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเห็นชอบก่อน
นายธวัชชัย กล่าวว่า การดำเนินการป้องกันการเทกโอเวอร์บริษัทสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติเห็นชอบให้ดำเนินการได้เท่านั้น เพราะผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่บริษัทถูกเทกโอเวอร์ จึงมีสิทธิที่จะออกความคิดเห็น โดยการออกเกณฑ์นี้ทางก.ล.ต.ยังไม่มีควมเร่งด่วนที่จะต้องมีการประกาศออกมา แม้ที่ผ่านมาจะมีการสำรวจความคิดเห็นกับผู้เกี่ยวข้องแล้วก็ตาม เพราะ ทางคณะกรรมการ (บอร์ด)อยากให้มีการศึกษารายละเอียดประเมินผลกระทบให้รอบคอบก่อน
นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้มีการปรับปรุงเกณฑ์การเทกโอเวอร์ มาตรา246 การรายงานได้มาหลักทรัพย์ทุก5% โดยปรับฐานคำนวณจาก จำนวนหุ้น เป็น จำนวนสิทธิออกเสียง และขยายเวลาการรายงานจาก 1 วันทำการ เป็น ภายใน 3 วันทำการเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา259ในการรายงานการถือหุ้นของผู้บริหารบริษัท
นางสาววนิดา ฐานีพานิชสกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. กล่าวว่า พ.ร.บ.หลักทรัพย์ ฉบับแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การเทกโอเวอร์ ได้กำหนด การกระทำหรืองดเว้นการกระทำที่จะมีผลต่อคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (Frustration action) เพื่อเป็นการคุ้มครองทำคำเสนอซื้อ และผู้ถือหุ้นแต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจปกติของบริษัท นั้น หากบริษัทใดที่ถูกเทกโอเวอร์ และผู้ซื้อได้ประกาศที่จะ ทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์
อย่างไรก็ตาม เกณฑ์การแก้ไขใหม่จะห้ามผู้บริหารดำเนินการใดๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพหรือฐานะของบริษัท เช่น การเพิ่มทุนจดทะเบียน, การได้มาหรือจำหน่ายสินทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ , การทำการซื้อหุ้นคืน หรือการจ่ายปันผลระหว่างกาล เป็นต้น แต่หากบริษัทจะดำเนินการดังกล่าวนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก ยกเว้นได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ทำเทรนเดอร์ ซึ่งในการกำหนดเกณฑ์ดังกล่าวก็เพื่อเป็นคุ้มครองผู้ถือหุ้นของบริษัท
นอกจากนี้ กฎหมายได้ปรับปรุงมาตรา 258 ซึ่งเป็นรายการเกี่ยวโยงของบุคคล โดยกำหนดให้นับรวมถือครองหลักทรัพย์ขึ้นลงได้ไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่ถือหุ้นเกิน 30% จากเดิมให้นับการถือครองหลักทรัพย์ลงแค่ 2ชั้นคือ บริษัทแม่ และบริษัทลูกเท่านั้น ซึ่งหากว่าก.ล.ต. พิสูจน์ได้ว่าเป็นรายการเกี่ยวโยงของกลุ่มเดียวกัน จะต้องดำเนินการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ หรือได้รับการผ่อนผันเนื่องจากติดข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถเรียกประชุมผู้ถือหุ้นได้ เช่น บริษัทอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ หรือ เรียกประชุมผู้ถือหุ้นไม่ทันซึ่งสามารถขอผ่อนผันต่อก.ล.ต.ได้ โดยรายการเกี่ยวโยงที่ปรับใหม่จะมีความเข้มงวดมากว่าเดิม เพราะต้องการให้เกณฑ์มีความครอบคลุม และกว้างมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถตรวจสอบอำนาจการครอบคลุมกิจการให้มีความชัดเจน