นักลงทุนต่างชาติทิ้งหุ้นไทยไม่หยุด กดดันดัชนีรูดอีกกว่า 23 จุด "ภัทรียา" ปลอบอย่าเพิ่งตื่นตระหนก ดัชนีหุ้นไทยลดลงสอดคล้องกับตลาดหุ้นเอเชียที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตซับไพรม์บานปลาย ทำให้กองทุนขายหุ้นเพื่อถือเงินสด แย้มบลจ.หลายแห่งทยอยกลับเข้ามาลงทุนในหุ้นแล้ว แนะนักลงทุนรายย่อยถือหุ้นยาวรอรับเงินปันผล ด้านเลขาฯ สมาคมนักวิเคราะห์ มั่นใจนักวิเคราะห์หั่นเป้าดัชนีอีกรอบ จากการสำรวจครั้งใหม่เร็วๆ นี้ ขณะที่โบรกเกอร์ คาดต่างชาติทิ้งหุ้นยาวถึงต้นปี 52
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (18 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากวันก่อน แม้ว่าจะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นไปยืนอยู่ในแดนบวกบ้างเล็กน้อยช่วงเปิดตลาดภาคเช้า หลังจากนั้นได้มีแรงเทขายออกมากดดันให้ดัชนีปรับตัวลดลง และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในช่วงบ่าย เพราะได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 695.92 จุด และปิดการซื้อขายที่ราคาต่ำสุด 669.97 จุด ลดลงจากวันก่อน 23.44 จุด หรือคิดเป็น 3.38% มูลค่าการซื้อขาย 15,643.35 ล้านบาท ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง คือ มียอดขายสุทธิรวม 3,700.01 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 776.08 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,923.94 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บมจ. ปตท. (PTT) ราคาปิด 250 บาท ลดลงจากวันก่อน 20 บาท คิดเป็น 7.41% มูลค่าการซื้อขาย 2,392.62 ล้านบาท บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ปิด 150 บาท ลดลง 10 บาท หรือ 6.25% มูลค่า 2,268.69 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ 68 บาท ลดลง 3 บาท หรือ 4.23% มูลค่า 989.42 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ (BBL) 99.50 บาท ลดลง 2.50 บาท หรือ 2.45% มูลค่า 866.56 ล้านบาท และบมจ.ไทยออยล์ (TOP) 50 บาท ลดลง 1 บาท หรือ 1.96% มูลค่า 692.69 ล้านบาท
***ไทยทรุดใกล้เคียงตลาดหุ้นภูมิภาค
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (16 ก.ค.) ปรับตัวลดลงมา 22.57% โดยได้รับปัจจัยลบจากต่างประเทศ และเป็นการปรับตัวลดลงในระดับเดียวกับตลาดหุ้นภูมิภาคที่มีการปรับตัวลดลงเฉลี่ย 20-30% อาทิ ตลาดหุ้นฮ่องกง ปรับตัวลดลง 23.9% ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 18% อินโดนีเซีย 19.3% ฟิลิปปินส์ ลดลง 33.4%
สำหรับสาเหตุที่ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงนั้น สืบเนื่องจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินสหรัฐฯ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นกดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นตามไปด้วย
"ตลาดหุ้นไทยนอกจากจะได้รับผลกระทบจากต่างประเทศแล้ว ยังมีปัจจัยด้านการเมืองที่ก่อให้เกิดกระแสความขัดแย้ง และส่งผลด้านจิตวิทยาต่อนักลงทุน ซึ่งเป็นแรงกดดันตลาดหุ้นอีกประการหนึ่ง แต่ตลาดหุ้นไทยเองก็ปรับตัวลดลงในอัตราใกล้เคียงกับตลาดหุ้นภูมิภาค ดังนั้นหากปัญหาการเมืองคลี่คลายแล้วจะทำให้นักลงทุนคลายความกังวลและกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง"
ทั้งนี้ หากประเมินภาพรวมการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง ถือว่าไม่น่าตกใจจากการที่นักลงทุนต่างประเทศมีการขายหุ้นออกมาเหมือนกันทุกประเทศในแถบภูมิภาคเพื่อนำเงินไปคืนกับผู้ถือหน่วยลงทุน และถือเงินสดไว้เพื่อรอหวังหวะในการนำเงินกลับเข้ามาลงทุน ซึ่งจากการสอบถามโบรกเกอร์ต่างประเทศ พบว่านักลงทุนต่างชาติที่ขายหุ้นไทยออกมา เพราะต้องการถือเงินสดยังไม่ได้มีการนำไปลงทุนที่ไหนจากรอดูสถานการณ์
สำหรับจากการหารือกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) พบว่า บลจ.หลายแห่งได้มีการขยายพอร์ตการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อที่จะเข้ามาลงทุนในหุ้น แต่จะเป็นลักษณะทยอยการลงทุน จากการที่หุ้นปรับตัวลดลงมาทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ดี ส่วนนักลงทุนรายย่อยนั้นที่จะเข้ามาลงทุนนั้นต้องการให้นำเงินออมนำมาลงทุน ไม่ใช้เงินกู้เข้ามาลงทุน
นางภัทรียา กล่าวว่า การที่ดัชนีปรับตัวลดลงมาในช่วงนี้จะทำให้มีการบังคับขายหุ้น (ฟอร์ซเซลล์) ไม่มากเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งเชื่อว่าการฟอร์ซเซลล์จะไม่กระทบกับภาวะตลาดมากนัก เพราะ นักลงทุนก็จะใช้เงินในบัญชีเงินสด และการซื้อขายแบบหักลบราคาซื้อขายภายในวันเดียวกัน และทางบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (TSFC) มีการเข้มงวดในการปล่อยกู้ จึงเชื่อว่าลูกค้าใช้การกู้เงินมาซื้อหลักทรัพย์ไม่มาก
ทั้งนี้ นักลงทุนที่ลงทุนไปแล้วและราคาหุ้นปรับตัวลดลงมามากนั้น อยากให้นักลงทุนมีการถือลงทุนยาวเพื่อรอผลตอบแทนจากเงินปันผล ซึ่งจะดีกว่าการขายตัดขาดทุน โดยจากการสำรวจพบว่ามีบริษัทหลายแห่งที่ให้ผลตอบแทนเงินปันผลถึง 4-7%
***เลี้ยบปัดหุ้นตกไม่เกี่ยว 6 มาตรการ
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึง กรณีที่ราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะบมจ.ปตท. (PTT) ปรับตัวลดลงอย่างแรง จนกดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยลดลงกว่า 20 จุด ว่า หุ้น PTT ปรับตัวลดลงคงไม่ได้เกิดจากการประกาศนโยบายเร่งด่วน 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลแต่อย่างใด เนื่องจากการอุดหนุนราคาพลังงานรัฐบาลจะใช้งบกลางมาทดแทนรายได้ของผู้ประกอบการที่สูญหายไป เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจพอเดินไปได้
"มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนระยะสั้นของรัฐบาล คงไม่มีส่วนที่จะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงมากขนาดนี้ เพราะมาตรการของรัฐบาลที่ออกมานั้น เพื่อชะลอการเร่งตัวของเงินเฟ้อและไม่ได้กระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่การที่หุ้นตกลงมากในช่วง 3 วันนี้ น่าจะมาจากความกังวลในปัญหาวิกฤตของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มลุกลามอีกครั้ง" รมว.คลัง กล่าว
***สมาคมนักวิเคราะห์เล็งหั่นเป้าดัชนี
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาเพราะนักลงทุนกังวลเกี่ยวปัญหาสถาบันการเงินสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนมีการขายหุ้นเพื่อย้ายเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำ เช่น ทองคำ และพันธบัตรรัฐบาล (บอนด์) ซึ่งเห็นได้จากราคาทองคำ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิว) ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
"ในช่วงสั้นๆ ตลาดหุ้นจะยังคงผันผวนจากแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศ แต่ดัชนีหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงมากหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการลงทุนของนักลงทุนในประเทศ เช่น กองทุนจะมีแรงซื้อมากน้อยแค่ไหน โดยขณะนี้หุ้นหลายบริษัทราคาหุ้นปรับตัวลดลงต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานแล้ว 25% ซึ่งเหมาะสมทยอยซื้อลงทุนหุ้นพื้นฐานดี"
นายสมบัติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จะมีการสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ในการประเมินดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้ในปลายเดือนกรกฎาคมหรือต้นเดือนสิงหาคม 51 นี้ และมั่นใจว่านักวิเคราะห์หลายแห่งจะมีการปรับลดเป้าดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้ แต่คาดว่าคงไม่ปรับลดลงต่ำกว่า 900 จุด จากเป้าหมายเดิมที่ 927 จุด
"นักวิเคราะห์คงจะปรับลดเป้าดัชนีในปีนี้ลงจากเป้าหมายเดิม แต่คงไม่มากนัก เพราะเชื่อว่าในช่วงไตรมาส 4/51 ภาวะตลาดหุ้นจะกลับมาดีอีกครั้ง และเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุน"
ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีก 0.25% นั้น เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้จึงไม่มีผลกระตุ้นให้ตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับกรณีที่รัฐบาลประกาศ 6 มาตรการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นการช่วยลดภาระต้นทุนต่อผู้บริโภคไม่ให้สูงขึ้นเป็นการลดค่าครองชีพของประชาชนแต่คงไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก
***ต่างชาติทิ้งหุ้นยาวถึงต้นปีหน้า
นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส กล่าวว่า วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการขายในลักษณะที่ไม่ได้พิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานแต่อย่างใด และเชื่อว่าแรงขายจะยังคงมีต่อเนื่องไปอีกจนถึงปลายปี และอาจเลยไปถึงไตรมาสแรกปี 52
ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นต่างประเทศต่างปรับตัวลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงินแฟนนี เม และเฟรดดี แมค (fannie mae และ freedie mac) ที่ส่งสัญญาณว่าปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ยังไม่มีท่าทีจะยุติลง ทำให้ทางการสหรัฐฯ ต้องหาเงินมาอัดฉีดในระบบเพื่อมาเสริมสภาพคล่องให้กับ 2 บริษัทดังกล่าว
"หุ้นบิ๊กแคปปรับลดลงถ้วนหน้า รวมถึงสถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ แม้ว่าธนาคารบางแห่งที่ประกาศผลการดำเนินงานออกมาดี แต่ยังคงมีแรงเทขายหุ้นออกมา โดยกลยุทธ์การลงทุนแนวรับอยู่ที่ 665 จุด และแนวต้าน 680 จุด"
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (18 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากวันก่อน แม้ว่าจะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นไปยืนอยู่ในแดนบวกบ้างเล็กน้อยช่วงเปิดตลาดภาคเช้า หลังจากนั้นได้มีแรงเทขายออกมากดดันให้ดัชนีปรับตัวลดลง และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในช่วงบ่าย เพราะได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 695.92 จุด และปิดการซื้อขายที่ราคาต่ำสุด 669.97 จุด ลดลงจากวันก่อน 23.44 จุด หรือคิดเป็น 3.38% มูลค่าการซื้อขาย 15,643.35 ล้านบาท ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง คือ มียอดขายสุทธิรวม 3,700.01 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 776.08 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,923.94 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บมจ. ปตท. (PTT) ราคาปิด 250 บาท ลดลงจากวันก่อน 20 บาท คิดเป็น 7.41% มูลค่าการซื้อขาย 2,392.62 ล้านบาท บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ปิด 150 บาท ลดลง 10 บาท หรือ 6.25% มูลค่า 2,268.69 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ 68 บาท ลดลง 3 บาท หรือ 4.23% มูลค่า 989.42 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ (BBL) 99.50 บาท ลดลง 2.50 บาท หรือ 2.45% มูลค่า 866.56 ล้านบาท และบมจ.ไทยออยล์ (TOP) 50 บาท ลดลง 1 บาท หรือ 1.96% มูลค่า 692.69 ล้านบาท
***ไทยทรุดใกล้เคียงตลาดหุ้นภูมิภาค
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (16 ก.ค.) ปรับตัวลดลงมา 22.57% โดยได้รับปัจจัยลบจากต่างประเทศ และเป็นการปรับตัวลดลงในระดับเดียวกับตลาดหุ้นภูมิภาคที่มีการปรับตัวลดลงเฉลี่ย 20-30% อาทิ ตลาดหุ้นฮ่องกง ปรับตัวลดลง 23.9% ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 18% อินโดนีเซีย 19.3% ฟิลิปปินส์ ลดลง 33.4%
สำหรับสาเหตุที่ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงนั้น สืบเนื่องจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินสหรัฐฯ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นกดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นตามไปด้วย
"ตลาดหุ้นไทยนอกจากจะได้รับผลกระทบจากต่างประเทศแล้ว ยังมีปัจจัยด้านการเมืองที่ก่อให้เกิดกระแสความขัดแย้ง และส่งผลด้านจิตวิทยาต่อนักลงทุน ซึ่งเป็นแรงกดดันตลาดหุ้นอีกประการหนึ่ง แต่ตลาดหุ้นไทยเองก็ปรับตัวลดลงในอัตราใกล้เคียงกับตลาดหุ้นภูมิภาค ดังนั้นหากปัญหาการเมืองคลี่คลายแล้วจะทำให้นักลงทุนคลายความกังวลและกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง"
ทั้งนี้ หากประเมินภาพรวมการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง ถือว่าไม่น่าตกใจจากการที่นักลงทุนต่างประเทศมีการขายหุ้นออกมาเหมือนกันทุกประเทศในแถบภูมิภาคเพื่อนำเงินไปคืนกับผู้ถือหน่วยลงทุน และถือเงินสดไว้เพื่อรอหวังหวะในการนำเงินกลับเข้ามาลงทุน ซึ่งจากการสอบถามโบรกเกอร์ต่างประเทศ พบว่านักลงทุนต่างชาติที่ขายหุ้นไทยออกมา เพราะต้องการถือเงินสดยังไม่ได้มีการนำไปลงทุนที่ไหนจากรอดูสถานการณ์
สำหรับจากการหารือกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) พบว่า บลจ.หลายแห่งได้มีการขยายพอร์ตการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อที่จะเข้ามาลงทุนในหุ้น แต่จะเป็นลักษณะทยอยการลงทุน จากการที่หุ้นปรับตัวลดลงมาทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ดี ส่วนนักลงทุนรายย่อยนั้นที่จะเข้ามาลงทุนนั้นต้องการให้นำเงินออมนำมาลงทุน ไม่ใช้เงินกู้เข้ามาลงทุน
นางภัทรียา กล่าวว่า การที่ดัชนีปรับตัวลดลงมาในช่วงนี้จะทำให้มีการบังคับขายหุ้น (ฟอร์ซเซลล์) ไม่มากเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งเชื่อว่าการฟอร์ซเซลล์จะไม่กระทบกับภาวะตลาดมากนัก เพราะ นักลงทุนก็จะใช้เงินในบัญชีเงินสด และการซื้อขายแบบหักลบราคาซื้อขายภายในวันเดียวกัน และทางบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (TSFC) มีการเข้มงวดในการปล่อยกู้ จึงเชื่อว่าลูกค้าใช้การกู้เงินมาซื้อหลักทรัพย์ไม่มาก
ทั้งนี้ นักลงทุนที่ลงทุนไปแล้วและราคาหุ้นปรับตัวลดลงมามากนั้น อยากให้นักลงทุนมีการถือลงทุนยาวเพื่อรอผลตอบแทนจากเงินปันผล ซึ่งจะดีกว่าการขายตัดขาดทุน โดยจากการสำรวจพบว่ามีบริษัทหลายแห่งที่ให้ผลตอบแทนเงินปันผลถึง 4-7%
***เลี้ยบปัดหุ้นตกไม่เกี่ยว 6 มาตรการ
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึง กรณีที่ราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะบมจ.ปตท. (PTT) ปรับตัวลดลงอย่างแรง จนกดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยลดลงกว่า 20 จุด ว่า หุ้น PTT ปรับตัวลดลงคงไม่ได้เกิดจากการประกาศนโยบายเร่งด่วน 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลแต่อย่างใด เนื่องจากการอุดหนุนราคาพลังงานรัฐบาลจะใช้งบกลางมาทดแทนรายได้ของผู้ประกอบการที่สูญหายไป เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจพอเดินไปได้
"มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนระยะสั้นของรัฐบาล คงไม่มีส่วนที่จะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงมากขนาดนี้ เพราะมาตรการของรัฐบาลที่ออกมานั้น เพื่อชะลอการเร่งตัวของเงินเฟ้อและไม่ได้กระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่การที่หุ้นตกลงมากในช่วง 3 วันนี้ น่าจะมาจากความกังวลในปัญหาวิกฤตของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มลุกลามอีกครั้ง" รมว.คลัง กล่าว
***สมาคมนักวิเคราะห์เล็งหั่นเป้าดัชนี
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาเพราะนักลงทุนกังวลเกี่ยวปัญหาสถาบันการเงินสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนมีการขายหุ้นเพื่อย้ายเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำ เช่น ทองคำ และพันธบัตรรัฐบาล (บอนด์) ซึ่งเห็นได้จากราคาทองคำ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิว) ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
"ในช่วงสั้นๆ ตลาดหุ้นจะยังคงผันผวนจากแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศ แต่ดัชนีหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงมากหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการลงทุนของนักลงทุนในประเทศ เช่น กองทุนจะมีแรงซื้อมากน้อยแค่ไหน โดยขณะนี้หุ้นหลายบริษัทราคาหุ้นปรับตัวลดลงต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานแล้ว 25% ซึ่งเหมาะสมทยอยซื้อลงทุนหุ้นพื้นฐานดี"
นายสมบัติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จะมีการสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ในการประเมินดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้ในปลายเดือนกรกฎาคมหรือต้นเดือนสิงหาคม 51 นี้ และมั่นใจว่านักวิเคราะห์หลายแห่งจะมีการปรับลดเป้าดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้ แต่คาดว่าคงไม่ปรับลดลงต่ำกว่า 900 จุด จากเป้าหมายเดิมที่ 927 จุด
"นักวิเคราะห์คงจะปรับลดเป้าดัชนีในปีนี้ลงจากเป้าหมายเดิม แต่คงไม่มากนัก เพราะเชื่อว่าในช่วงไตรมาส 4/51 ภาวะตลาดหุ้นจะกลับมาดีอีกครั้ง และเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุน"
ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีก 0.25% นั้น เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้จึงไม่มีผลกระตุ้นให้ตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับกรณีที่รัฐบาลประกาศ 6 มาตรการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นการช่วยลดภาระต้นทุนต่อผู้บริโภคไม่ให้สูงขึ้นเป็นการลดค่าครองชีพของประชาชนแต่คงไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก
***ต่างชาติทิ้งหุ้นยาวถึงต้นปีหน้า
นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส กล่าวว่า วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการขายในลักษณะที่ไม่ได้พิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานแต่อย่างใด และเชื่อว่าแรงขายจะยังคงมีต่อเนื่องไปอีกจนถึงปลายปี และอาจเลยไปถึงไตรมาสแรกปี 52
ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นต่างประเทศต่างปรับตัวลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงินแฟนนี เม และเฟรดดี แมค (fannie mae และ freedie mac) ที่ส่งสัญญาณว่าปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ยังไม่มีท่าทีจะยุติลง ทำให้ทางการสหรัฐฯ ต้องหาเงินมาอัดฉีดในระบบเพื่อมาเสริมสภาพคล่องให้กับ 2 บริษัทดังกล่าว
"หุ้นบิ๊กแคปปรับลดลงถ้วนหน้า รวมถึงสถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ แม้ว่าธนาคารบางแห่งที่ประกาศผลการดำเนินงานออกมาดี แต่ยังคงมีแรงเทขายหุ้นออกมา โดยกลยุทธ์การลงทุนแนวรับอยู่ที่ 665 จุด และแนวต้าน 680 จุด"