ตลาดหุ้นไทยเย้ยมาตรการบรรเทาทุกข์รัฐบาล "สมัคร" ดัชนีรูดยาวหลุดแนวรับสำคัญที่ 700 จุด ปิดที่ 693.41 จุด ลดลงเกือบ 24 จุด หรือ 3.30% ระบุต่ำสุดในรอบ 15 เดือน มาร์เกตแคปลดเหลือ 5.47 ล้านล้านบาท โบรกเกอร์ เผยนักลงทุนต่างชาติชิงทิ้งหุ้นก่อนวิกฤต "แฟนนี-เฟรดดี" ลุกลาม พร้อมคาดการณ์ตลาดหุ้นยังอยู่ในช่วงขาลง
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (15 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจากวันก่อนอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง เพราะนักลงทุนยังกังวลต่อปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หลังจากวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นกับ แฟนดี เม และเฟรดดี แมค สองสถาบันการเงินขนาดใหญ่ด้านสินเชื่อเคหะของสหรัฐฯ ส่งผลกดดันต่อตลาดหุ้นทั่วโลก
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดการซื้อขาย โดยมีราคาสูงสุดที่ 711.86 จุด และปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงในช่วงบ่าย และลงมาเคลื่อนไหวในระดับต่ำกว่าแนวรับที่สำคัญที่ 700 จุด เพราะนักลงทุนกังวลเรื่องที่รัฐบาลจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดกระแสความขัดแย้ง แม้รัฐบาลจะได้ประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนที่ดัชนีจะลดลงไปปิดที่จุดต่ำสุด 693.41 จุด ลดลงจากวันก่อนถึง 23.65 จุด หรือ 3.30% มูลค่าการซื้อขายรวม 13,733.20 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มียอดขายสุทธิรวม 2,468.19 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 170.73 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,638.92 ล้านบาท ขณะที่ดัชนีปิดที่ 693.41 จุด นับเป็นจุดต่ำสุดในรอบระยะเวลาเกือบ 15 เดือน ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 50 ดัชนีตลาดหุ้นปิดที่ 690.79 จุด และมูลค่าตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ลดเหลือแค่ 5.47 ล้านล้านบาท
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย วานนี้ (15 ก.ค.) ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 700 จุด เป็นการปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ จากปัญหาสถาบันการเงินของอเมริกา 2 แห่ง คือ Fannie Mae และ Freddie Mac ซึ่งเป็นบริษัทปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ประสบปัญหาการปล่อยสินเชื่อ จนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องเข้ามาช่วยในเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน
จากประเด็นดังกล่าว ได้ส่งผลให้นักลงทุนสหรัฐฯ มีความกังวล และขายหุ้นออกมาทั่วโลก เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน เพราะไม่สามารถประเมินปัญหาซับไพรม์จะรุนแรงและกินระยะเวลานานเท่าใด บวกกับปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากปัญหาระหว่างประเทศอิหร่าน อิสราเอล และสหรัฐฯ รวมถึงประเทศในตะวันออกลางหลายประเทศขู่ไม่จำหน่ายน้ำมันให้สหรัฐฯ ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นทั่วโลก
"ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาแรงหลุด 700 จุด เกิดจากความกังวลในเรื่องสถาบันการเงินสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ที่ประสบปัญหาทางการเงินจนรัฐบาลต้องเข้ามาช่วยในเรื่องสภาพคล่อง ส่งผลให้นักลงทุนขายหุ้นทั่วโลกออกมาเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน" นายกวี กล่าว
ส่วนมาตรการบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนที่รัฐบาลประกาศออกมา 6 เรื่องนั้น นักลงทุนไม่ขานรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เพราะเห็นว่ามาตรการต่างๆ เป็นเพียงการพยุง แต่ไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และเม็ดเงินที่นำเข้ามาช่วยเป็นจำนวนที่ไม่สูงนัก
สำหรับแนวโน้มภาวะตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวลดลงต่อจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าในช่วงต้นสัปดาห์หน้าตลาดอาจจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ หลังจากตอบรับปัจจัยลบไปพอสมควรแล้ว ดังนั้นในระยะสั้นนี้ดัชนีตลาดหุ้นมีโอกาสปรับตัวลดลงไปแตะระดับ 680 จุด แต่ถ้าหากปรับตัวลดลงมากกว่าระดับดังกล่าวอาจจะปรับตัวลงไปถึงระดับ 667 จุดได้
**ดัชนีรูดเมินมาตรการบรรเทาทุกข์
นางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.เคทีบี กล่าวว่า หุ้นไทยปรับตัวลดลงแรงถึง 3% ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศที่ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 3-4% แม้ว่าปกติแล้วตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค ซึ่งเกิดจากสถาบันการเงินสหรัฐฯ ประสบปัญหาการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับสถาบันการเงินมากขึ้น รวมทั้งอาจจะลุกลามถึงธนาคารพาณิชย์ ลูกหนี้ที่ดี จากเดิมที่ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์)
จากประเด็นดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นออกมาต่อเนื่อง เพื่อเร่งระดมทุนเงินสดให้มากขึ้น และไม่เข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง
นางสาวสุภากร กล่าวเพิ่มเติมว่า นักลงทุนต้องจับตาในเรื่องการปรับครม. หรืออาจจะมีการประกาศยุบพรรคในเร็วๆ นี้ ขณะที่มาตรการบรรเทาความเดือนร้อนให้ประชาชนของรัฐบาลหลังจากที่มีการประชุมครม.นั้น เป็นเพียงการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนระยะสั้น แต่ไม่กระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างไร และไม่ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นแต่อย่างใด
"ตลาดหุ้นไทยลดลงทำสถิติต่ำสุด (นิวโลว์) รอบใหม่ โดยดัชนีปรับตัวลดลงใกล้เคียงกับตลาดหุ้นต่างประเทศที่ระดับ 3-4% ซึ่งตามปกติตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงน้อยกว่าภูมิภาค จากนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นจากความกังวลในเรื่องสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ลุกลามไปสู่แบงก์พาณิชย์ และลูกหนี้ชั้นดี จากเดิมที่จำกัดจากปัญหาซับไพรม์" นางสาวสุภากร กล่าว
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทย คาดว่าจะยังคงปรับตัวลดลงต่อ จากยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบ และยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามากระตุ้น ซึ่งต้องรอผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้ หากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะไม่ช่วยสนับสนุนตลาดหุ้น เพราะได้มีการตอบรับไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่ต้องจับตาปัญหาสถาบันการเงินสหรัฐฯ ราคาน้ำมัน โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 693-694 จุด แต่ หากปรับตัวลดลงแรงต่ำกว่าแนวรับดังกล่าวดัชนีตลาดหุ้นอาจรีบาวน์ได้ และประเมินแนวต้านที่ระดับ 715-720 จุด
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (15 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจากวันก่อนอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง เพราะนักลงทุนยังกังวลต่อปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หลังจากวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นกับ แฟนดี เม และเฟรดดี แมค สองสถาบันการเงินขนาดใหญ่ด้านสินเชื่อเคหะของสหรัฐฯ ส่งผลกดดันต่อตลาดหุ้นทั่วโลก
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดการซื้อขาย โดยมีราคาสูงสุดที่ 711.86 จุด และปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงในช่วงบ่าย และลงมาเคลื่อนไหวในระดับต่ำกว่าแนวรับที่สำคัญที่ 700 จุด เพราะนักลงทุนกังวลเรื่องที่รัฐบาลจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดกระแสความขัดแย้ง แม้รัฐบาลจะได้ประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนที่ดัชนีจะลดลงไปปิดที่จุดต่ำสุด 693.41 จุด ลดลงจากวันก่อนถึง 23.65 จุด หรือ 3.30% มูลค่าการซื้อขายรวม 13,733.20 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มียอดขายสุทธิรวม 2,468.19 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 170.73 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,638.92 ล้านบาท ขณะที่ดัชนีปิดที่ 693.41 จุด นับเป็นจุดต่ำสุดในรอบระยะเวลาเกือบ 15 เดือน ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 50 ดัชนีตลาดหุ้นปิดที่ 690.79 จุด และมูลค่าตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ลดเหลือแค่ 5.47 ล้านล้านบาท
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย วานนี้ (15 ก.ค.) ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 700 จุด เป็นการปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ จากปัญหาสถาบันการเงินของอเมริกา 2 แห่ง คือ Fannie Mae และ Freddie Mac ซึ่งเป็นบริษัทปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ประสบปัญหาการปล่อยสินเชื่อ จนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องเข้ามาช่วยในเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน
จากประเด็นดังกล่าว ได้ส่งผลให้นักลงทุนสหรัฐฯ มีความกังวล และขายหุ้นออกมาทั่วโลก เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน เพราะไม่สามารถประเมินปัญหาซับไพรม์จะรุนแรงและกินระยะเวลานานเท่าใด บวกกับปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากปัญหาระหว่างประเทศอิหร่าน อิสราเอล และสหรัฐฯ รวมถึงประเทศในตะวันออกลางหลายประเทศขู่ไม่จำหน่ายน้ำมันให้สหรัฐฯ ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นทั่วโลก
"ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาแรงหลุด 700 จุด เกิดจากความกังวลในเรื่องสถาบันการเงินสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ที่ประสบปัญหาทางการเงินจนรัฐบาลต้องเข้ามาช่วยในเรื่องสภาพคล่อง ส่งผลให้นักลงทุนขายหุ้นทั่วโลกออกมาเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน" นายกวี กล่าว
ส่วนมาตรการบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนที่รัฐบาลประกาศออกมา 6 เรื่องนั้น นักลงทุนไม่ขานรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เพราะเห็นว่ามาตรการต่างๆ เป็นเพียงการพยุง แต่ไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และเม็ดเงินที่นำเข้ามาช่วยเป็นจำนวนที่ไม่สูงนัก
สำหรับแนวโน้มภาวะตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวลดลงต่อจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าในช่วงต้นสัปดาห์หน้าตลาดอาจจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ หลังจากตอบรับปัจจัยลบไปพอสมควรแล้ว ดังนั้นในระยะสั้นนี้ดัชนีตลาดหุ้นมีโอกาสปรับตัวลดลงไปแตะระดับ 680 จุด แต่ถ้าหากปรับตัวลดลงมากกว่าระดับดังกล่าวอาจจะปรับตัวลงไปถึงระดับ 667 จุดได้
**ดัชนีรูดเมินมาตรการบรรเทาทุกข์
นางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.เคทีบี กล่าวว่า หุ้นไทยปรับตัวลดลงแรงถึง 3% ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศที่ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 3-4% แม้ว่าปกติแล้วตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค ซึ่งเกิดจากสถาบันการเงินสหรัฐฯ ประสบปัญหาการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับสถาบันการเงินมากขึ้น รวมทั้งอาจจะลุกลามถึงธนาคารพาณิชย์ ลูกหนี้ที่ดี จากเดิมที่ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์)
จากประเด็นดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นออกมาต่อเนื่อง เพื่อเร่งระดมทุนเงินสดให้มากขึ้น และไม่เข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง
นางสาวสุภากร กล่าวเพิ่มเติมว่า นักลงทุนต้องจับตาในเรื่องการปรับครม. หรืออาจจะมีการประกาศยุบพรรคในเร็วๆ นี้ ขณะที่มาตรการบรรเทาความเดือนร้อนให้ประชาชนของรัฐบาลหลังจากที่มีการประชุมครม.นั้น เป็นเพียงการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนระยะสั้น แต่ไม่กระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างไร และไม่ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นแต่อย่างใด
"ตลาดหุ้นไทยลดลงทำสถิติต่ำสุด (นิวโลว์) รอบใหม่ โดยดัชนีปรับตัวลดลงใกล้เคียงกับตลาดหุ้นต่างประเทศที่ระดับ 3-4% ซึ่งตามปกติตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงน้อยกว่าภูมิภาค จากนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นจากความกังวลในเรื่องสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ลุกลามไปสู่แบงก์พาณิชย์ และลูกหนี้ชั้นดี จากเดิมที่จำกัดจากปัญหาซับไพรม์" นางสาวสุภากร กล่าว
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทย คาดว่าจะยังคงปรับตัวลดลงต่อ จากยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบ และยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามากระตุ้น ซึ่งต้องรอผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้ หากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะไม่ช่วยสนับสนุนตลาดหุ้น เพราะได้มีการตอบรับไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่ต้องจับตาปัญหาสถาบันการเงินสหรัฐฯ ราคาน้ำมัน โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 693-694 จุด แต่ หากปรับตัวลดลงแรงต่ำกว่าแนวรับดังกล่าวดัชนีตลาดหุ้นอาจรีบาวน์ได้ และประเมินแนวต้านที่ระดับ 715-720 จุด