นายแบงก์ฟันธง กนง. ขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ 0.25% มั่นใจไม่กระทบเศรษฐกิจไทยจนถึงขึ้นพัง เพราะการขึ้นดอกเบี้ยคงไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อได้ แต่เป็นเพียงการสร้างแรงหนืดเท่านั้น แนะรัฐเร่งการลงทุนให้เกิดการจ้างงานและกระตุ้นการท่องเที่ยวฟื้นเศรษฐกิจ
นายเดชา ตุลานันท์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าในครึ่งปีหลังของปีนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะมีการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมอยู่ที่ 0.50% โดยในการประชุมของ กนง.ในวันที่ 16 ก.ค.นี้ ที่ประชุมน่าจะพิจารณาให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยประมาณ 0.25% เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้มีการขยับขึ้นได้รวดเร็ว
“ส่วนตัวมองว่าการประชุมรอบนี้น่าจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% แต่เชื่อว่ายังไง กนง.ก็คงจะขึ้นแค่ 0.25 % ก่อน ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยนี้ก็คงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเงินเฟ้อได้ ถ้าราคาน้ำมันยังขึ้นไม่หยุด แต่การขึ้นดอกเบี้ยเป็นเพียงการสร้างแรงหนืดไม่ให้เงินเฟ้อมีการขยับขึ้นรวดเร็วเกินไป และเชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยนี้จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล”
ทั้งนี้ สิ่งที่ภาครัฐควรทำในภาวะที่อัตราเงินเฟ้อสูงก็คือ การเร่งลงทุนในโครงการระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนมีงานทำ รวมถึงต้องเร่งให้มีการส่งออกมาขึ้น เนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องของราคาน้ำมันแพง แต่สินค้าส่งออกของไทยก็มีราคาที่ดีขึ้นมาก โดยการส่งออกนอกจากจะเน้นข้าวเป็นหลักแล้ว รัฐบาลควรจะสนับสนุนให้มีการส่งออกสินค้าสำเร็จรูปประเภทอื่นให้มากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ไก่สำเร็จรูป เป็นต้น
นอกจากนี้ยังรวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเริ่มมีการซบเซาลงหลังจากมีปัญหาด้านเสถียรภาพทาวการเมือง โดยปัจจุบันยอดการเข้าพักของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในโรงแรมต่าง ๆ นั้นมีอัตราลดลงมาอยู่ที่ 30% เท่านั้น จากในอดีตมีสูงถึง 40-45% อีกทั้งปัจจัยด้านการเมืองยังได้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนต่าง ๆ ด้วย
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในขณะนี้ยังไม่ทราบว่า กนง.จะตัดสินใจเรื่องของดอกเบี้ยนโยบายอย่างไร แต่เชื่อว่าคงจะมีการปรับขึ้นเล็กน้อย หรือประมาณ 0.25% ซึ่งหากมีการปรับขึ้นในอัตราดังกล่าวจริงก็เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการปล่อยสินเชื่อมากนัก
ด้านนางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กล่าวว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะไปในทิศทางใดนั้นตะต้องดูเจตนาของ กนง. ซึ่งหากจะมีการปรับขึ้นก็อยู่ที่พื้นฐานในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร หากพิจารณาว่าควรขยับขึ้นก็ต้องขึ้น ซึ่งทุกอย่างก็อยู่ที่ความเหมาะสมบนพื้นฐานและสภาพคล่อง ส่วนเงินเฟ้อก็ถือเป็นหลักใหญ่ที่กระทบเศรษฐกิจ โดยปัญหามาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นปัญหาที่แก้ได้ยากเนื่องจากเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกประเทศ และที่ผ่านมาก็ยังไม่มีประเทศไหนที่แก้ไขปัญหาได้
“หากพิจารณาแล้วว่าต้องขึ้นดอกเบี้ยมันก็ต้องขึ้น เรากลัวกันมากไปหรือเปล่า อย่าห่วงว่าเศรษฐกิจมันจะพัง เพราะการพิจารณาก็ดูความเหมาะสมอยู่แล้ว และถ้าขึ้นดอกเบี้ยบ้างก็คงไม่ได้กลายเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจไม่ให้เติบโต ทุกคนก็คิดถึงประเทศกันทุกคนอยู่แล้ว"
**กสิกรฯคาดกนง.ขึ้นดบ.0.25%**
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) คงมีทางเลือกที่จำกัด โดยเฉพาะในภาวะที่เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอย่างในปัจจุบัน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทย (Headline CPI Inflation) อาจจะยืนเหนือระดับร้อยละ 9.0 ในเดือนกรกฎาคม และขึ้นไปแตะระดับร้อยละ 10.0 ในเดือนสิงหาคม ก่อนที่จะยืนระดับเหนือร้อยละ 9.00 ไปจนถึงเดือนตุลาคม 2551 ตามราคาน้ำมันตลาดโลกที่ยังมีระดับสูงต่อเนื่อง และสินค้าในประเทศอีกหลายรายการที่มีแนวโน้มจะขยับราคาขึ้น นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือนมิถุนายนยังมีระดับสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันแล้ว ซึ่งบ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้ออาจยังมีแนวโน้มจะถูกส่งผ่านจากผู้ผลิตมายังผู้บริโภคได้อีกในระยะถัดไป
ทั้งนี้ คาดว่ากนง.คงจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 3.25 มาที่ร้อยละ 3.50 ในการประชุมรอบที่ห้าของปีในวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 นี้ ซึ่งเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว น่าจะเป็นเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตลาดเงินตลาดทุนว่า ทางการยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่ดูแลเสถียรภาพของระดับราคาอยู่อย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ตาม กนง.คงจะต้องสื่อความให้แก่ตลาดการเงินและสาธารณชนเข้าใจว่า การดำเนินนโยบายการเงินดังกล่าว อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าที่จะเห็นผล ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า ในท้ายที่สุดแล้ว การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมและระมัดระวัง น่าที่จะค่อยๆ นำพาให้เศรษฐกิจไทยกลับสู่ภาวะที่มีเสถียรภาพได้ในระยะถัดๆ ไป
**เครดิตบูโรหวั่นขึ้นดบ.กระทบประชาชน**
นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร เปิดเผยว่า ในขณะนี้สิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสภาวะเศรษฐกิจและน่ากังวลมากที่สุดคือปัญหาเรื่องเงินเฟ้อซึ่งเมื่ออัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น สิ่งที่จะกระทบมากที่สุดคือ ประชาชนจะปรับตัวลำบากมากและเป็นสิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จะพิจารณาว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 16 กรกฎาคม นี้ ควรจะต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยมาสกัดกั้นเงินเฟ้อหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วมองว่าการที่เงินเฟ้อมีการเพิ่มขึ้นในปัจจุบันนั้นมาจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันประกอบกับประชาชนมีการใช้จ่ายเกินตัว ดังนั้นถ้า ธปท.จะมีการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อ ก็จะเป็นเพียงมาตรการที่ช่วยชะลอเงินเฟ้อไม่ให้ปรับสูงขึ้นไปกว่าในปัจจุบันเท่านั้น อย่างไรก็ตามตนจึงเห็นว่า ธปท.ไม่น่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยแต่ถ้ามีความจำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้จริงก็คงจะไม่มากนัก
“การที่เงินเฟ้อในปัจจุบันมีการปรับเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุจริงๆแล้วมาจากต้นทุนราคาน้ำมันที่ส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชนทำให้ค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนเพิ่มขึ้น 3,000-4,000 บาท ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วความสามารถในการชำระหนี้ต่างๆ ลดลงสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ดังนั้น ธปท.จึงต้องพิจารณาให้ดีหากมีการขึ้นดอกเบี้ย เพราะถึงอย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวไม่ได้เป็นการลดการใช้จ่ายของผู้บริโภคลงแต่จะไปเพิ่มภาระมากกว่า”นายนิวัฒน์ กล่าว
ด้านนางสาววจี ประมวลรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มงานบริหารสินทรัพย์พิเศษ ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธปท.จะต้องคิดดูให้ดีว่าจะดำเนินนโยบายดอกเบี้ยไปในทิศทางใด เพราะการตัดสินใจครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างมาก ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วมองว่าโอกาสที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้นเป็นไปได้สูง เพราะจะเป็นการช่วยลดอัตราเงินเฟ้อที่มีการปรับสูงขึ้นในปัจจุบันได้ สำหรับในส่วนของธนาคารเองการจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยไปในทิศทางใดนั้นก็คงจะต้องดูองค์ประกอบตลาดโดยรวมเป็นหลัก
นายเดชา ตุลานันท์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าในครึ่งปีหลังของปีนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะมีการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมอยู่ที่ 0.50% โดยในการประชุมของ กนง.ในวันที่ 16 ก.ค.นี้ ที่ประชุมน่าจะพิจารณาให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยประมาณ 0.25% เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้มีการขยับขึ้นได้รวดเร็ว
“ส่วนตัวมองว่าการประชุมรอบนี้น่าจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% แต่เชื่อว่ายังไง กนง.ก็คงจะขึ้นแค่ 0.25 % ก่อน ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยนี้ก็คงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเงินเฟ้อได้ ถ้าราคาน้ำมันยังขึ้นไม่หยุด แต่การขึ้นดอกเบี้ยเป็นเพียงการสร้างแรงหนืดไม่ให้เงินเฟ้อมีการขยับขึ้นรวดเร็วเกินไป และเชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยนี้จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล”
ทั้งนี้ สิ่งที่ภาครัฐควรทำในภาวะที่อัตราเงินเฟ้อสูงก็คือ การเร่งลงทุนในโครงการระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนมีงานทำ รวมถึงต้องเร่งให้มีการส่งออกมาขึ้น เนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องของราคาน้ำมันแพง แต่สินค้าส่งออกของไทยก็มีราคาที่ดีขึ้นมาก โดยการส่งออกนอกจากจะเน้นข้าวเป็นหลักแล้ว รัฐบาลควรจะสนับสนุนให้มีการส่งออกสินค้าสำเร็จรูปประเภทอื่นให้มากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ไก่สำเร็จรูป เป็นต้น
นอกจากนี้ยังรวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเริ่มมีการซบเซาลงหลังจากมีปัญหาด้านเสถียรภาพทาวการเมือง โดยปัจจุบันยอดการเข้าพักของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในโรงแรมต่าง ๆ นั้นมีอัตราลดลงมาอยู่ที่ 30% เท่านั้น จากในอดีตมีสูงถึง 40-45% อีกทั้งปัจจัยด้านการเมืองยังได้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนต่าง ๆ ด้วย
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในขณะนี้ยังไม่ทราบว่า กนง.จะตัดสินใจเรื่องของดอกเบี้ยนโยบายอย่างไร แต่เชื่อว่าคงจะมีการปรับขึ้นเล็กน้อย หรือประมาณ 0.25% ซึ่งหากมีการปรับขึ้นในอัตราดังกล่าวจริงก็เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการปล่อยสินเชื่อมากนัก
ด้านนางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กล่าวว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะไปในทิศทางใดนั้นตะต้องดูเจตนาของ กนง. ซึ่งหากจะมีการปรับขึ้นก็อยู่ที่พื้นฐานในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร หากพิจารณาว่าควรขยับขึ้นก็ต้องขึ้น ซึ่งทุกอย่างก็อยู่ที่ความเหมาะสมบนพื้นฐานและสภาพคล่อง ส่วนเงินเฟ้อก็ถือเป็นหลักใหญ่ที่กระทบเศรษฐกิจ โดยปัญหามาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นปัญหาที่แก้ได้ยากเนื่องจากเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกประเทศ และที่ผ่านมาก็ยังไม่มีประเทศไหนที่แก้ไขปัญหาได้
“หากพิจารณาแล้วว่าต้องขึ้นดอกเบี้ยมันก็ต้องขึ้น เรากลัวกันมากไปหรือเปล่า อย่าห่วงว่าเศรษฐกิจมันจะพัง เพราะการพิจารณาก็ดูความเหมาะสมอยู่แล้ว และถ้าขึ้นดอกเบี้ยบ้างก็คงไม่ได้กลายเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจไม่ให้เติบโต ทุกคนก็คิดถึงประเทศกันทุกคนอยู่แล้ว"
**กสิกรฯคาดกนง.ขึ้นดบ.0.25%**
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) คงมีทางเลือกที่จำกัด โดยเฉพาะในภาวะที่เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอย่างในปัจจุบัน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทย (Headline CPI Inflation) อาจจะยืนเหนือระดับร้อยละ 9.0 ในเดือนกรกฎาคม และขึ้นไปแตะระดับร้อยละ 10.0 ในเดือนสิงหาคม ก่อนที่จะยืนระดับเหนือร้อยละ 9.00 ไปจนถึงเดือนตุลาคม 2551 ตามราคาน้ำมันตลาดโลกที่ยังมีระดับสูงต่อเนื่อง และสินค้าในประเทศอีกหลายรายการที่มีแนวโน้มจะขยับราคาขึ้น นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือนมิถุนายนยังมีระดับสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันแล้ว ซึ่งบ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้ออาจยังมีแนวโน้มจะถูกส่งผ่านจากผู้ผลิตมายังผู้บริโภคได้อีกในระยะถัดไป
ทั้งนี้ คาดว่ากนง.คงจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 3.25 มาที่ร้อยละ 3.50 ในการประชุมรอบที่ห้าของปีในวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 นี้ ซึ่งเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว น่าจะเป็นเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตลาดเงินตลาดทุนว่า ทางการยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่ดูแลเสถียรภาพของระดับราคาอยู่อย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ตาม กนง.คงจะต้องสื่อความให้แก่ตลาดการเงินและสาธารณชนเข้าใจว่า การดำเนินนโยบายการเงินดังกล่าว อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าที่จะเห็นผล ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า ในท้ายที่สุดแล้ว การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมและระมัดระวัง น่าที่จะค่อยๆ นำพาให้เศรษฐกิจไทยกลับสู่ภาวะที่มีเสถียรภาพได้ในระยะถัดๆ ไป
**เครดิตบูโรหวั่นขึ้นดบ.กระทบประชาชน**
นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร เปิดเผยว่า ในขณะนี้สิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสภาวะเศรษฐกิจและน่ากังวลมากที่สุดคือปัญหาเรื่องเงินเฟ้อซึ่งเมื่ออัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น สิ่งที่จะกระทบมากที่สุดคือ ประชาชนจะปรับตัวลำบากมากและเป็นสิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จะพิจารณาว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 16 กรกฎาคม นี้ ควรจะต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยมาสกัดกั้นเงินเฟ้อหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วมองว่าการที่เงินเฟ้อมีการเพิ่มขึ้นในปัจจุบันนั้นมาจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันประกอบกับประชาชนมีการใช้จ่ายเกินตัว ดังนั้นถ้า ธปท.จะมีการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อ ก็จะเป็นเพียงมาตรการที่ช่วยชะลอเงินเฟ้อไม่ให้ปรับสูงขึ้นไปกว่าในปัจจุบันเท่านั้น อย่างไรก็ตามตนจึงเห็นว่า ธปท.ไม่น่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยแต่ถ้ามีความจำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้จริงก็คงจะไม่มากนัก
“การที่เงินเฟ้อในปัจจุบันมีการปรับเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุจริงๆแล้วมาจากต้นทุนราคาน้ำมันที่ส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชนทำให้ค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนเพิ่มขึ้น 3,000-4,000 บาท ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วความสามารถในการชำระหนี้ต่างๆ ลดลงสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ดังนั้น ธปท.จึงต้องพิจารณาให้ดีหากมีการขึ้นดอกเบี้ย เพราะถึงอย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวไม่ได้เป็นการลดการใช้จ่ายของผู้บริโภคลงแต่จะไปเพิ่มภาระมากกว่า”นายนิวัฒน์ กล่าว
ด้านนางสาววจี ประมวลรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มงานบริหารสินทรัพย์พิเศษ ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธปท.จะต้องคิดดูให้ดีว่าจะดำเนินนโยบายดอกเบี้ยไปในทิศทางใด เพราะการตัดสินใจครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างมาก ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วมองว่าโอกาสที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้นเป็นไปได้สูง เพราะจะเป็นการช่วยลดอัตราเงินเฟ้อที่มีการปรับสูงขึ้นในปัจจุบันได้ สำหรับในส่วนของธนาคารเองการจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยไปในทิศทางใดนั้นก็คงจะต้องดูองค์ประกอบตลาดโดยรวมเป็นหลัก