สัปดาห์หน้าผู้บริหารไทยธนาคารจะเข้าหารือแบงก์ชาติเพื่อสรุปข้อมูลการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นก่อนนำเสนอกระทรวงการคลังภายใน 14 วัน เพื่ออนุมัติเพิ่มสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติในไทยธนาคารที่เกิน 25% พร้อมยันไม่รู้เรื่องเงื่อนเวลาที่หมอเลี้ยบบอกดีล "ไทยธนาคาร-แบงก์มาเลย์" กลางสภาฯ ยังเหลือเวลาตัดสินใจถึง 5 เดือน
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงต้นสัปดาห์หน้าทางผู้บริหารธนาคาร ไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาหารือร่วมกับฝ่ายกำกับสถาบันการเงินของ ธปท. เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นที่จะนำเสนอต่อกระทรวงคลัง หลังกองทุนฟื้นฟูขายหุ้นให้แก่กลุ่มซีไอเอ็มบีจากประเทศมาเลเซีย คาดว่าหลังจากที่ ธปท.และไทยธนาคารพิจารณาอย่างละเอียดและรอบคอบแล้วจะใช้เวลาไม่เกิน 7-14 วัน ส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณาได้
“เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นกัน ทางผู้บริหารไทยธนาคารจะต้องยื่นขอ 3 เรื่องหลัก คือ 1.สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อยเกิน 5% หรือ 10% ใน พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ที่คาดว่าจะประกาศใช้ในวันที่ 3 ส.ค.นี้ 2.สัดส่วนที่ต่างชาติถือหุ้นเกิน 25% และ3.สัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติทุกรายรวมกันเกิน 49% ซึ่งการขอสัดส่วนดังกล่าวผู้บริหารไทยธนาคารจะต้องขอมายัง ธปท.ภายในครั้งเดียวและหลังจากนั้น ธปท.จะเป็นตัวกลางส่งเรื่องให้แก่รัฐมนตรีคลังพิจารณาอนุมัติต่อไป ส่วนคลังจะใช้เวลานานแค่ไหนไม่ทราบได้ ” ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
สำหรับกรณีที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ชี้แจงในสภาฯ ว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินบอกว่า รมว.คลังยังมีเวลาอนุมัติให้ต่างชาติถือหุ้นได้เกิน 49% ได้ถึงภายใน 5 เดือนข้างหน้า นั้น นายสรสิทธิ์กล่าวว่า ฝ่ายกำกับสถาบันการเงินไม่ทราบถึงเงื่อนไขเวลาที่ทางกองทุนฟื้นฟูฯ และทางกลุ่มซีไอเอ็มบีจากประเทศมาเลเซียตกลงกันไว้ แต่เชื่อว่ากองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปรายงานให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบถึงการขายหุ้นและข้อตกลงต่างๆ ถือเป็นเรื่องปกติคงไม่มีนัยสำคัญอะไร
เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมากองทุนฟื้นฟูฯ ได้เซ็นสัญญาขายหุ้นของไทยธนาคารที่ถืออยู่ 42.13% ให้แก่กลุ่มซีไอเอ็มบีจากประเทศมาเลเซีย จำนวน 2,812 ล้านหุ้น ในราคา 2.10 บาท คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 5,905 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.91 เท่าของมูลค่าทางบัญชี (Book Value) ของไทยธนาคาร ณ วันที่ 31 มี.ค.51 โดยได้ตกลงว่าการโอนหุ้นและการชำระเงินจะเกิดขึ้นเมื่อทั้งสองฝ่ายบรรลุเงื่อนไขบังคับก่อน (Condition Precedent) ของสัญญา ซึ่งส่วนหนึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย และหลังจากนั้นทางกลุ่มซีไอเอ็มบีจะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นที่เหลือของไทยธนาคารต่อไป
ทั้งนี้ ไทยธนาคารได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 31 มี.ค.51 ถึงโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในไทยธนาคาร ประกอบด้วย กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นในสัดส่วน 42.13% กองทุนทีพีจี นิวบริดจ์ 36.74% BLUM STRATEGIC III BT HONG KONG LIMITED 3.95% MISSLEE OOI KIM 3.35% บริษัท ปันทรัพย์ จำกัด 1.78%บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 1.74% CITIGROUP GLOBAL MARKETS INC.-FOR MSOF HONG KONG BT,LIMITED 1.31% บริษัทหลักทรัพย์ บีที จำกัด เพื่อการลงทุน 1.10% สำนักงานประกันสังคม 0.95% บริษัทเงินทุน กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) 0.76% MRS.MING CHOU SLOMIAK 0.62% นายสำเริง มนูญผล 0.50%
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงต้นสัปดาห์หน้าทางผู้บริหารธนาคาร ไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาหารือร่วมกับฝ่ายกำกับสถาบันการเงินของ ธปท. เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นที่จะนำเสนอต่อกระทรวงคลัง หลังกองทุนฟื้นฟูขายหุ้นให้แก่กลุ่มซีไอเอ็มบีจากประเทศมาเลเซีย คาดว่าหลังจากที่ ธปท.และไทยธนาคารพิจารณาอย่างละเอียดและรอบคอบแล้วจะใช้เวลาไม่เกิน 7-14 วัน ส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณาได้
“เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นกัน ทางผู้บริหารไทยธนาคารจะต้องยื่นขอ 3 เรื่องหลัก คือ 1.สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อยเกิน 5% หรือ 10% ใน พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ที่คาดว่าจะประกาศใช้ในวันที่ 3 ส.ค.นี้ 2.สัดส่วนที่ต่างชาติถือหุ้นเกิน 25% และ3.สัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติทุกรายรวมกันเกิน 49% ซึ่งการขอสัดส่วนดังกล่าวผู้บริหารไทยธนาคารจะต้องขอมายัง ธปท.ภายในครั้งเดียวและหลังจากนั้น ธปท.จะเป็นตัวกลางส่งเรื่องให้แก่รัฐมนตรีคลังพิจารณาอนุมัติต่อไป ส่วนคลังจะใช้เวลานานแค่ไหนไม่ทราบได้ ” ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
สำหรับกรณีที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ชี้แจงในสภาฯ ว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินบอกว่า รมว.คลังยังมีเวลาอนุมัติให้ต่างชาติถือหุ้นได้เกิน 49% ได้ถึงภายใน 5 เดือนข้างหน้า นั้น นายสรสิทธิ์กล่าวว่า ฝ่ายกำกับสถาบันการเงินไม่ทราบถึงเงื่อนไขเวลาที่ทางกองทุนฟื้นฟูฯ และทางกลุ่มซีไอเอ็มบีจากประเทศมาเลเซียตกลงกันไว้ แต่เชื่อว่ากองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปรายงานให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบถึงการขายหุ้นและข้อตกลงต่างๆ ถือเป็นเรื่องปกติคงไม่มีนัยสำคัญอะไร
เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมากองทุนฟื้นฟูฯ ได้เซ็นสัญญาขายหุ้นของไทยธนาคารที่ถืออยู่ 42.13% ให้แก่กลุ่มซีไอเอ็มบีจากประเทศมาเลเซีย จำนวน 2,812 ล้านหุ้น ในราคา 2.10 บาท คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 5,905 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.91 เท่าของมูลค่าทางบัญชี (Book Value) ของไทยธนาคาร ณ วันที่ 31 มี.ค.51 โดยได้ตกลงว่าการโอนหุ้นและการชำระเงินจะเกิดขึ้นเมื่อทั้งสองฝ่ายบรรลุเงื่อนไขบังคับก่อน (Condition Precedent) ของสัญญา ซึ่งส่วนหนึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย และหลังจากนั้นทางกลุ่มซีไอเอ็มบีจะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นที่เหลือของไทยธนาคารต่อไป
ทั้งนี้ ไทยธนาคารได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 31 มี.ค.51 ถึงโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในไทยธนาคาร ประกอบด้วย กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นในสัดส่วน 42.13% กองทุนทีพีจี นิวบริดจ์ 36.74% BLUM STRATEGIC III BT HONG KONG LIMITED 3.95% MISSLEE OOI KIM 3.35% บริษัท ปันทรัพย์ จำกัด 1.78%บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 1.74% CITIGROUP GLOBAL MARKETS INC.-FOR MSOF HONG KONG BT,LIMITED 1.31% บริษัทหลักทรัพย์ บีที จำกัด เพื่อการลงทุน 1.10% สำนักงานประกันสังคม 0.95% บริษัทเงินทุน กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) 0.76% MRS.MING CHOU SLOMIAK 0.62% นายสำเริง มนูญผล 0.50%