หวั่นความเชื่อมั่นผู้บริโภคฉุด ความต้องการใช้เหล็กในครึ่งปีหลังนี้หด คาดทั้งปีดีมานด์เหล็กในไทยขยายตัวได้ 5% มาอยู่ที่ 12.87 ล้านตัน บิ๊กสถาบันเหล็กฯ จี้รัฐกำหนดนโยบายชัดเจนส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ คาดปีนี้ไทยเสียดุลการค้านำเข้าเหล็กแตะกว่า 4 แสนล้านบาท ด้าน "สหวิริยาสตีลฯ" กำหนดยุทธศาสตร์ลงทุนแนวดิ่งทั้งโรงถลุงเหล็ก-โรงงานเหล็กแผ่นเคลือบ รองรับความต้องการใช้เหล็กเพิ่มขึ้นเท่าตัวในอีก 10 ปีข้างหน้า ขณะที่จีสตีลฯ ไม่น้อยหน้าเล็งขยายกำลังการผลิตเพิ่มอีก 20-30% จากเดิม 1.8 ล้านตัน
นายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "อุตสาหกรรมเหล็กไทยในอีก 2 ปี : วิกฤติหรือโอกาส" ว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในปีนี้ยังมีทิศทางทีดี ความต้องการใช้เหล็กในประเทศปีนี้จะขยายตัวขึ้น 5% มาอยู่ที่ 12.87 ล้านตัน คาดว่าในครึ่งปีหลังความต้องการใช้เหล็กในประเทศจะชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวถึง 7-8% เนื่องความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง
"ในระยะสั้นปัญหาการเมืองจะส่งผลกระทบต่อความต้องการบริโภคเหล็กในประเทศหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ตอบยาก ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค หากสถานการณ์การเมืองไม่มีความรุนแรงก็ไม่กระทบมากนัก ขึ้นอยู่กับรัฐจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ส่วนปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นนั้นเกิดขึ้นกับทุกประเทศ ไทยจึงไม่เสียเปรียบ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจเวียดนามชะลอตัวลง และมีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ โอกาสที่จะแย่งการลงทุนจากไทยก็ยากขึ้น"
จากความต้องการใช้เหล็กที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ไทยต้องนำเข้าเศษเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กคุณภาพสูงเพิ่มขึ้น โดยปีนี้คาดว่าไทยเสียดุลการค้าในการนำเหล็กกว่า 4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ไทยนำเข้าเป็นมูลค่า 3.3 แสนล้านบาทจากปริมาณนำเข้าเหล็กรวม 13.8 ล้านตัน เป็นผลจากราคาเหล็กสูงขึ้น โดย 4 เดือนแรกของปี2551 ไทยนำเข้าเศษเหล็กและเหล็กชนิดต่างๆคิดเป็นจำนวน 5.6 ล้านตัน เป็นมูลค่ารวม 1.35 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น17.6% และ 21.9%ตามลำดับ
"ในระยะสั้นโรงงานเหล็กที่มีเตาหลอมที่ใช้เศษเหล็กเป็นวัตถุดิบจะได้เปรียบโรงงานเหล็กที่ใช้สแลปหรือบิลเล็ตเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากมีต้นทุนราคาที่ต่ำกว่า แต่ระยะยาวราคาเศษเหล็กจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากราคาสินแร่เหล็กที่ปรับเพิ่มขึ้นไปมาก ทำให้ประเทศที่เคยส่งออกเศษเหล็กเช่นญี่ปุ่น หันมาใช้เศษเหล็กในการผลิตมากขึ้น ทำให้เกิดการแย่งชิงเศษเหล็กขึ้นในภูมิภาคนี้ ดังนั้นไทยมีความจำเป็นต้องมีโรงถลุงเหล็ก แต่จะเกิดขึ้นเร็วหรือข้าขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล"
ส่วนโอกาสที่ราคาเหล็กจะกลับไปราคาถูกเหมือนในอดีตคงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากประเทศที่เคยส่งออกเหล็กเข้ามาทุ่มตลาดในไทยก็ลดปริมาณส่งออก เช่น รัสเซีย ยูเครน จีน เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีความต้องการใช้เหล็กที่สูงขึ้น และจีนต้องใช้เหล็กในการฟื้นฟูประเทศหลังเกิดแผ่นดินไหว การควบรวมกิจการของโรงงานผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ แหล่งแร่เหล็กถูกผูกขาดโดยไม่กี่ราย ทำให้เจ้าของเหมืองแร่เหล็กมีบทบาทในการกำหนดราคาวัตถุดิบ ส่งผลให้ราคาเศษเหล็กในต้นปีนี้ปรับขึ้นไปแล้ว 135% ดังนั้นผู้บริโภคคงต้องใช้เหล็กในราคาสูงไปอีกระยะหนึ่ง
ดังนั้น หากไทยจะเกิดโรงถลุงเหล็กขนาด 10 ล้านตันก็ไม่มีปัญหาด้านการตลาด เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่บริโภคเหล็กสูงสุดในอาเซียน จึงเป็นเหตุผลให้ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกหลายรายสนใจมาลงทุนอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในไทย
***SSI ขยายธุรกิจสู่แนวดิ่งทั้งขั้นต้น-ปลาย
นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) (SSI) กล่าวต่อไปว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้าความต้องการใช้เหล็กในประเทศจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 12 ล้านตันเป็น 24 ล้านตัน ทำให้ผู้ประกอบการเหล็กต้องหันมาพิจารณาแผนการขยายการลงทุน แต่ทั้งนี้นโยบายรัฐต้องมีความชัดเจนในการสนับสนุนการลงทุน
สำหรับSSIได้กำหนดยุทธศาสตร์ลงทุนสู่แนวดิ่ง ทั้งอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ (โรงถลุงเหล็ก) และเหล็กขั้นปลาย โดยล่าสุดบริษัทฯได้เข้าซื้อหุ้นจากกลุ่มผู้ถือหุ้นญี่ปุ่นในบริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย ทำให้SSI ถือหุ้นใหญ่ คาดว่าจะปิดดีลนี้ในเร็วๆนี้ ทำให้บริษัทฯมีกำลังการผลิตทั้งเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นรีดเย็นในมือเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทฯยังมองดูลู่ทางการขยายธุรกิจผลิตเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและสังกะสีเพื่อป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบันไทยยังต้องนำเข้าเหล็กแผ่นเคลือบถึงปีละ 1.5 ล้านตัน โดยการลงทุนดังกล่าว SSI จะหาพันธมิตรร่วมทุนที่มีเทคโนโลยีหรือตลาด
นายวิน กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการโรงถลุงเหล็กเฟสแรกขนาด 5 ล้านตัน/ปี เงินลงทุน 9 หมื่นล้านบาทว่า บริษัทฯ เตรียมจะยื่นขออนุมัติรับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอรอบใหม่ในเร็วๆ นี้ หลังจากการส่งเสริมบีโอไอเดิมได้หมดอายุลง จึงอยากเรียกร้องให้รัฐสนับสนุนโครงการดังกล่าว หากได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอได้เร็วเชื่อว่าจะดำเนินการก่อสร้างได้ทันในปี 2551 หลังจากล่าช้ามานาน โดยไม่มีแนวคิดจะหาพันธมิตรร่วมทุนในโครงการดังกล่าว
สำหรับแหล่งเงินทุนในโครงการดังกล่าว ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับธนาคารเพื่อการส่งออกของจีนเพื่อสนับสนุนเงินกู้ที่บริษัทฯจะซื้อเครื่องจักรจากจีน คาดว่าจะได้รับเงินกู้ในวงเงินเท่ากับเครื่องจักรหรือประมาณ 70%ของมูลค่าเงินลงทุนรวม ส่วนการจัดหาสินแร่เหล็กนั้น บริษัทฯได้มีการเจรจาโดยเหมืองแร่เหล็กในออสเตรเลีย บราซิล พร้อมที่จะให้การสนับสนุน รวมทั้งกำลังการเจรจาจัดหาแหล่งสินแร่เหล็กจากอาฟริกาใต้ด้วย
ราคาเหล็กที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นนี้ ทางผู้ประกอบการเสมอตัว เพราะต้นทุนวัตถุดิบราคาสูงขึ้น โดยภาครัฐก็มีความเข้าใจในเรื่องนี้ ซึ่งแนวทางการลดความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ จำเป็นต้องมีการลงทุนโรงถลุงเหล็กในประเทศ
สำหรับผลการดำเนินงานของSSI ในปีนี้จะดีกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนปรับตัวสูงขึ้น และความต้องการใช้ก็สูงโดยเฉพาะเหล็กแผ่นคุณภาพสูงที่บริษัทเน้นผลิต เพราะมีมาร์จินสูงและราคาไม่ผันผวน โดยต้นปีนี้ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนได้ปรับขึ้นไปแล้ว 50%
***หวั่นเหล็กไร้คุณภาพทะลักเข้าไทย
นายวิน กล่าวถึงกรณีที่รมว.อุตสาหกรรมมีแผนจะยกเลิกมาตรฐานอุตสาหกรรมเหล็ก (สมอ.) 19 รายการว่า การอนุญาตให้นำเข้าเหล็กเสรีเป็นอำนาจที่รมว.อุตสาหกรรมทำได้ แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าเหล็กที่มีการนำเข้ามามีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าเหล็กในประเทศได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ไม่ต้องห่วงเรื่องเหล็กไม่มีคุณภาพ หากต้องการให้เกิดความคล่องตัว น่าจะสร้างความสะดวกและรวดเร็วในการอนุมัติเหล็กนำเข้าจะดีกว่า การยกเลิกมาตรฐานสมอ.เหล็ก
*** จีสตีลเล็งเพิ่มกำลังการผลิต 20-30%
นายริวโซ โอกิโนประธานและกรรมการ บริษัท จีสตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEEL กล่าวว่าขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาการขยายการลงทุนสู่อุตสากรรมเหล็กขั้นกลางและขั้นปลาย จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก รวมทั้งหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพโรงงานที่มีอยู่เดิม และคุณภาพเหล็กเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้จะมีมาร์จินสูงกว่าปี 2550
"จีสตีลฯ อยู่ระหว่างศึกษาการขยายกำลังการผลิตเหล็กทำไฮเกรดเพิ่มอีก 20-30%ของกำลังการผลิตรวม 1.8 ล้านตัน/ปี จากปัจจุบันที่ผลิตอยู่ 1.5 ล้านตัน คาดว่ากว่าจะเสร็จใช้เวลา 2-3ปี รวมทั้งการจัดหาแหล่งเงินทุนในโครงการด้วย"
นายริวโซ กล่าวเพิ่มเติมว่า ราคาเหล็กจะยังคงในระดับสูงต่อไป แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะสูงสุดที่เท่าไร เป็นผลจากการส่งออกจากจีนลดลงมาก ความต้องการในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วอย่าง รัสเซีย บราซิล ตะวันออกกลาง ฉุดให้ราคาเหล็กสูงขึ้น อุปทาน (supply) และราคาวัตถุดิบไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด ถึงแม้มีความผันผวนในช่วงเวลาสั้นๆ บ้าง
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในอีก 2 ปีข้างหน้าทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปีนี้มากนัก แต่ระยะยาวอุปสงค์น่าจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าอุปทาน โดยอุปทานจะยังคงตึงตัวต่อไปในระยะยาว เนื่องจากโรงงานเหล็กแห่งใหม่ทั้งหลายต้องใช้เวลาในการก่อสร้าง ติดตั้งเครื่องจักร และสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดจะกินเวลา 3 ถึง 4 ปีจึงจะเสร็จ กว่าจะมีอุปทานส่วนเพิ่มเติมออกสู่ตลาด"
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ กล่าวว่า จากความต้องการใช้เหล็กในตลาดโลกที่ขยายตัวสูงถึงปีละ 6-7% ทำให้นักลงทุนมองว่าหุ้นกลุ่มเหล็กมีความน่าสนใจในการลงทุน และราคาหุ้นไม่แพงเมื่อเทียบกับหุ้นพลังงานหรือหุ้นปิโตรเคมีที่ถือว่าราคาถึงจุดสูงสุดแล้ว ทำให้เงินลงทุนที่อยู่ในกลุ่มพลังงานพร้อมที่จะไหลออกมาไปเล่นหุ้นกลุ่มอื่นที่มีอนาคต จึงอยากแนะนำให้นักลงทุนหันมาพิจารณาหุ้นเหล็กที่มีอนาคตสดใส
ที่ผ่านมา มาร์เก็ตแคปหุ้นกลุ่มเหล็กคิดเป็น 2% ของมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ นับว่ายังต่ำมากเมื่อเทียบกับมาร์เก็ตแคปหุ้นพลังงานที่สูงถึง 35%ของมาร์เก็คแคปตลาด
นายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "อุตสาหกรรมเหล็กไทยในอีก 2 ปี : วิกฤติหรือโอกาส" ว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในปีนี้ยังมีทิศทางทีดี ความต้องการใช้เหล็กในประเทศปีนี้จะขยายตัวขึ้น 5% มาอยู่ที่ 12.87 ล้านตัน คาดว่าในครึ่งปีหลังความต้องการใช้เหล็กในประเทศจะชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวถึง 7-8% เนื่องความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง
"ในระยะสั้นปัญหาการเมืองจะส่งผลกระทบต่อความต้องการบริโภคเหล็กในประเทศหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ตอบยาก ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค หากสถานการณ์การเมืองไม่มีความรุนแรงก็ไม่กระทบมากนัก ขึ้นอยู่กับรัฐจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ส่วนปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นนั้นเกิดขึ้นกับทุกประเทศ ไทยจึงไม่เสียเปรียบ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจเวียดนามชะลอตัวลง และมีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ โอกาสที่จะแย่งการลงทุนจากไทยก็ยากขึ้น"
จากความต้องการใช้เหล็กที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ไทยต้องนำเข้าเศษเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กคุณภาพสูงเพิ่มขึ้น โดยปีนี้คาดว่าไทยเสียดุลการค้าในการนำเหล็กกว่า 4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ไทยนำเข้าเป็นมูลค่า 3.3 แสนล้านบาทจากปริมาณนำเข้าเหล็กรวม 13.8 ล้านตัน เป็นผลจากราคาเหล็กสูงขึ้น โดย 4 เดือนแรกของปี2551 ไทยนำเข้าเศษเหล็กและเหล็กชนิดต่างๆคิดเป็นจำนวน 5.6 ล้านตัน เป็นมูลค่ารวม 1.35 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น17.6% และ 21.9%ตามลำดับ
"ในระยะสั้นโรงงานเหล็กที่มีเตาหลอมที่ใช้เศษเหล็กเป็นวัตถุดิบจะได้เปรียบโรงงานเหล็กที่ใช้สแลปหรือบิลเล็ตเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากมีต้นทุนราคาที่ต่ำกว่า แต่ระยะยาวราคาเศษเหล็กจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากราคาสินแร่เหล็กที่ปรับเพิ่มขึ้นไปมาก ทำให้ประเทศที่เคยส่งออกเศษเหล็กเช่นญี่ปุ่น หันมาใช้เศษเหล็กในการผลิตมากขึ้น ทำให้เกิดการแย่งชิงเศษเหล็กขึ้นในภูมิภาคนี้ ดังนั้นไทยมีความจำเป็นต้องมีโรงถลุงเหล็ก แต่จะเกิดขึ้นเร็วหรือข้าขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล"
ส่วนโอกาสที่ราคาเหล็กจะกลับไปราคาถูกเหมือนในอดีตคงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากประเทศที่เคยส่งออกเหล็กเข้ามาทุ่มตลาดในไทยก็ลดปริมาณส่งออก เช่น รัสเซีย ยูเครน จีน เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีความต้องการใช้เหล็กที่สูงขึ้น และจีนต้องใช้เหล็กในการฟื้นฟูประเทศหลังเกิดแผ่นดินไหว การควบรวมกิจการของโรงงานผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ แหล่งแร่เหล็กถูกผูกขาดโดยไม่กี่ราย ทำให้เจ้าของเหมืองแร่เหล็กมีบทบาทในการกำหนดราคาวัตถุดิบ ส่งผลให้ราคาเศษเหล็กในต้นปีนี้ปรับขึ้นไปแล้ว 135% ดังนั้นผู้บริโภคคงต้องใช้เหล็กในราคาสูงไปอีกระยะหนึ่ง
ดังนั้น หากไทยจะเกิดโรงถลุงเหล็กขนาด 10 ล้านตันก็ไม่มีปัญหาด้านการตลาด เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่บริโภคเหล็กสูงสุดในอาเซียน จึงเป็นเหตุผลให้ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกหลายรายสนใจมาลงทุนอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในไทย
***SSI ขยายธุรกิจสู่แนวดิ่งทั้งขั้นต้น-ปลาย
นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) (SSI) กล่าวต่อไปว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้าความต้องการใช้เหล็กในประเทศจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 12 ล้านตันเป็น 24 ล้านตัน ทำให้ผู้ประกอบการเหล็กต้องหันมาพิจารณาแผนการขยายการลงทุน แต่ทั้งนี้นโยบายรัฐต้องมีความชัดเจนในการสนับสนุนการลงทุน
สำหรับSSIได้กำหนดยุทธศาสตร์ลงทุนสู่แนวดิ่ง ทั้งอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ (โรงถลุงเหล็ก) และเหล็กขั้นปลาย โดยล่าสุดบริษัทฯได้เข้าซื้อหุ้นจากกลุ่มผู้ถือหุ้นญี่ปุ่นในบริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย ทำให้SSI ถือหุ้นใหญ่ คาดว่าจะปิดดีลนี้ในเร็วๆนี้ ทำให้บริษัทฯมีกำลังการผลิตทั้งเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นรีดเย็นในมือเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทฯยังมองดูลู่ทางการขยายธุรกิจผลิตเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและสังกะสีเพื่อป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบันไทยยังต้องนำเข้าเหล็กแผ่นเคลือบถึงปีละ 1.5 ล้านตัน โดยการลงทุนดังกล่าว SSI จะหาพันธมิตรร่วมทุนที่มีเทคโนโลยีหรือตลาด
นายวิน กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการโรงถลุงเหล็กเฟสแรกขนาด 5 ล้านตัน/ปี เงินลงทุน 9 หมื่นล้านบาทว่า บริษัทฯ เตรียมจะยื่นขออนุมัติรับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอรอบใหม่ในเร็วๆ นี้ หลังจากการส่งเสริมบีโอไอเดิมได้หมดอายุลง จึงอยากเรียกร้องให้รัฐสนับสนุนโครงการดังกล่าว หากได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอได้เร็วเชื่อว่าจะดำเนินการก่อสร้างได้ทันในปี 2551 หลังจากล่าช้ามานาน โดยไม่มีแนวคิดจะหาพันธมิตรร่วมทุนในโครงการดังกล่าว
สำหรับแหล่งเงินทุนในโครงการดังกล่าว ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับธนาคารเพื่อการส่งออกของจีนเพื่อสนับสนุนเงินกู้ที่บริษัทฯจะซื้อเครื่องจักรจากจีน คาดว่าจะได้รับเงินกู้ในวงเงินเท่ากับเครื่องจักรหรือประมาณ 70%ของมูลค่าเงินลงทุนรวม ส่วนการจัดหาสินแร่เหล็กนั้น บริษัทฯได้มีการเจรจาโดยเหมืองแร่เหล็กในออสเตรเลีย บราซิล พร้อมที่จะให้การสนับสนุน รวมทั้งกำลังการเจรจาจัดหาแหล่งสินแร่เหล็กจากอาฟริกาใต้ด้วย
ราคาเหล็กที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นนี้ ทางผู้ประกอบการเสมอตัว เพราะต้นทุนวัตถุดิบราคาสูงขึ้น โดยภาครัฐก็มีความเข้าใจในเรื่องนี้ ซึ่งแนวทางการลดความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ จำเป็นต้องมีการลงทุนโรงถลุงเหล็กในประเทศ
สำหรับผลการดำเนินงานของSSI ในปีนี้จะดีกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนปรับตัวสูงขึ้น และความต้องการใช้ก็สูงโดยเฉพาะเหล็กแผ่นคุณภาพสูงที่บริษัทเน้นผลิต เพราะมีมาร์จินสูงและราคาไม่ผันผวน โดยต้นปีนี้ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนได้ปรับขึ้นไปแล้ว 50%
***หวั่นเหล็กไร้คุณภาพทะลักเข้าไทย
นายวิน กล่าวถึงกรณีที่รมว.อุตสาหกรรมมีแผนจะยกเลิกมาตรฐานอุตสาหกรรมเหล็ก (สมอ.) 19 รายการว่า การอนุญาตให้นำเข้าเหล็กเสรีเป็นอำนาจที่รมว.อุตสาหกรรมทำได้ แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าเหล็กที่มีการนำเข้ามามีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าเหล็กในประเทศได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ไม่ต้องห่วงเรื่องเหล็กไม่มีคุณภาพ หากต้องการให้เกิดความคล่องตัว น่าจะสร้างความสะดวกและรวดเร็วในการอนุมัติเหล็กนำเข้าจะดีกว่า การยกเลิกมาตรฐานสมอ.เหล็ก
*** จีสตีลเล็งเพิ่มกำลังการผลิต 20-30%
นายริวโซ โอกิโนประธานและกรรมการ บริษัท จีสตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEEL กล่าวว่าขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาการขยายการลงทุนสู่อุตสากรรมเหล็กขั้นกลางและขั้นปลาย จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก รวมทั้งหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพโรงงานที่มีอยู่เดิม และคุณภาพเหล็กเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้จะมีมาร์จินสูงกว่าปี 2550
"จีสตีลฯ อยู่ระหว่างศึกษาการขยายกำลังการผลิตเหล็กทำไฮเกรดเพิ่มอีก 20-30%ของกำลังการผลิตรวม 1.8 ล้านตัน/ปี จากปัจจุบันที่ผลิตอยู่ 1.5 ล้านตัน คาดว่ากว่าจะเสร็จใช้เวลา 2-3ปี รวมทั้งการจัดหาแหล่งเงินทุนในโครงการด้วย"
นายริวโซ กล่าวเพิ่มเติมว่า ราคาเหล็กจะยังคงในระดับสูงต่อไป แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะสูงสุดที่เท่าไร เป็นผลจากการส่งออกจากจีนลดลงมาก ความต้องการในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วอย่าง รัสเซีย บราซิล ตะวันออกกลาง ฉุดให้ราคาเหล็กสูงขึ้น อุปทาน (supply) และราคาวัตถุดิบไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด ถึงแม้มีความผันผวนในช่วงเวลาสั้นๆ บ้าง
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในอีก 2 ปีข้างหน้าทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปีนี้มากนัก แต่ระยะยาวอุปสงค์น่าจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าอุปทาน โดยอุปทานจะยังคงตึงตัวต่อไปในระยะยาว เนื่องจากโรงงานเหล็กแห่งใหม่ทั้งหลายต้องใช้เวลาในการก่อสร้าง ติดตั้งเครื่องจักร และสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดจะกินเวลา 3 ถึง 4 ปีจึงจะเสร็จ กว่าจะมีอุปทานส่วนเพิ่มเติมออกสู่ตลาด"
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ กล่าวว่า จากความต้องการใช้เหล็กในตลาดโลกที่ขยายตัวสูงถึงปีละ 6-7% ทำให้นักลงทุนมองว่าหุ้นกลุ่มเหล็กมีความน่าสนใจในการลงทุน และราคาหุ้นไม่แพงเมื่อเทียบกับหุ้นพลังงานหรือหุ้นปิโตรเคมีที่ถือว่าราคาถึงจุดสูงสุดแล้ว ทำให้เงินลงทุนที่อยู่ในกลุ่มพลังงานพร้อมที่จะไหลออกมาไปเล่นหุ้นกลุ่มอื่นที่มีอนาคต จึงอยากแนะนำให้นักลงทุนหันมาพิจารณาหุ้นเหล็กที่มีอนาคตสดใส
ที่ผ่านมา มาร์เก็ตแคปหุ้นกลุ่มเหล็กคิดเป็น 2% ของมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ นับว่ายังต่ำมากเมื่อเทียบกับมาร์เก็ตแคปหุ้นพลังงานที่สูงถึง 35%ของมาร์เก็คแคปตลาด