แผนซื้อหุ้น MFC ของออมสินยังไม่คืบ หลังแบงก์ทหารไทยโก่งราคาหุ้นสุดตัว ทั้งๆ ที่ต้นทุนสุดถูก เพราะได้มาจากสินทรัพย์ที่ติดมาสมัยควบ IFCT "พิชิต" เผย หุ้น MFC เนื้อหอม นักลงทุนไทย-เทศรุมจีบ หวังขยายฐานธุรกิจเสริมธุรกิจหลัก หลังเห็นศักยภาพทำกำไรสูง ด้านต่างชาติ ในวางรากฐานต่อยอดไปยังธุรกิจประเภทอื่น ระบุผลงาน Q1 กำไรค่าฟีอื้อ ต่อเนื่องถึงปีนี้
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า การเจรจาซื้อหุ้น MFC ของธนาคารออมสินจากธนาคารทหารไทย (TMB) ในสัดส่วนที่ถืออยู่ประมาณ 11% นั้น ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด เนื่องจากยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องของราคา เพราะธนาคารทหารไทยกำหนดราคาขายที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ ในส่วนของต้นทุนการได้หุ้น MFC ของทหารไทยเองไม่มีข้อมูล เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ติดมาจากการควบรวมกิจการระหว่างบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบลจ.เอ็มเอฟซี
ส่วนการซื้อหุ้นของธนาคารออมสินนั้น จะต้องทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หรือไม่นั้น คงไม่มีปัญหา แต่ออมสินต้องหารือกับทางกระทรวงการคลังก่อน แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ออมสินสามารถขอผ่อนผันการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อยู่แล้ว
สำหรับสัดส่วนผู้ถือหุ้นของบลจ.เอ็มเอฟซี ในปัจจุบัน ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน 24.50% กระทรวงการคลัง 16.67% ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 11.68% บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) 10.52% บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แอ็ดคินซัน จำกัด (มหาชน) 4.72% และภาคเอกชน 31.91%
ก่อนหน้านี้ นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับจำนวนหุ้นประมาณ 11.68% ดังกล่าว คาดว่าธนาคารออมสินจะต้องใช้เงินทุนในการซื้อหุ้นประมาณ 120-130 ล้านบาท โดยในส่วนของราคาขายนั้นอาจจะใช้ตามราคาตลาดหรืออาจจะเป็นราคาที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน แต่เชื่อว่าคงใช้เงินไม่เกิน 150 ล้านบาท ขณะเดียวกันอาจจะต้องของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ผ่อนผันไม่ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์(เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ด้วย เนื่องจากการถือหุ้นเพิ่มของธนาคารออมสินจะเกินสัดส่วน 25% ซึ่งเป็นจุดที่ต้องทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์
นายพิชิตกล่าวว่า สาเหตุที่ธนาคารทหารไทยยังไม่ตัดสินใจขายหุ้น MFC ออกมา เนื่องจากเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนอะไร และปัจจุบันก็ไม่ได้มีอุปสรรคต่อการทำธุรกิจของเขา แม้จะมีการถือหุ้นของ MFC อยู่ก้อตาม ส่วนความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างบลจ.เอ็มเอฟซีและธนาคารทหารไทยในช่วงนี้ เรียกได้ว่าไม่ค่อยมีความเกี่ยวข้องกันแล้ว โดยปัจจุบันธนาคารทหารไทยก็มีบริษัทจัดการกองทุนอยู่แล้ว 2 บริษัท นั่นคือ บลจ.ทหารไทย และบลจ.ไอเอ็นจี ที่เข้ามาจากการที่กลุ่มไอเอ็นจีเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น
ไทย-เทศสนใจถือหุ้นMFCเกิน50%
นายพิชิตกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา มีทั้งภาครัฐบาลและบริษัทเอกชน รวมถึงสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ให้ความสนใจซื้อหุ้นของบริษัทค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่เสนอซื้อในสัดส่วนที่สูงกว่า 50% ขึ้นไป ซึ่งสาเหตุที่นักลงทุนเหล่านี้ สนใจซื้อหุ้นถึง 50% เพราะส่วนหนึ่งมาจากเห็นศักยภาพในการทำกำไรของเรา และให้ความสำคัญกับธุรกิจอื่นนอกจากธุรกิจที่มีอยู่ ขณะเดียวกันในส่วนของนักลงทุนต่างชาติเอง ก็อาจจะมีจุดประสงค์ในการเริ่มต้นทำธุรกิจในประเทศไทย เพื่อต่อยอดไปยังธุรกิจประเภทอื่นๆ
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของบลจ.เอ็มเอฟซีในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ซึ่งเติบโตค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งมาจากรายได้จากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับภาครัฐหลานโครงการ เช่น ที่ปรึกษาทางการเงินโครงการก่อสร้างศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ที่ปรึกษาในการเพิ่มทุนธนาคารทหารไทย รวมถึงธุรกิจจัดการกองทุนซึ่งเป็นธุรกิจหลัก โดยในช่วงปีผ่านมา บลจ.เอ็มเอฟซีมีการออกองทุนถึง 15 กองทุนด้วยกัน ซึ่งรายได้จากค่าธรรมเนียมการจัดการ (ค่าฟี) ไหลเข้ามาอยู่ในไตรมาสแรกของปีนี้ค่อนข้างเยอะ โดยในปีนี้เองเชื่อว่า รายได้ค่าฟีของบริษัทจะเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากเรายังมีการออกกองทุนอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 1 ของบลจ.เอ็มเอฟซี ในส่วนของงบการเงินรวมบริษัทมีกำไรสุทธิ 18.48 ล้านบาท และมีผลกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.15 บาท เพิ่มขึ้น 0.11 ล้านบาท หรือ 0.59% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 18.37 ล้านบาท ขณะที่งบการเงินเฉพาะกิจ บริษัทมีผลกำไรสุทธิ 15.04 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.13 บาท เพิ่มขึ้น 6.88 ล้านบาท หรือ 84.31% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิเพียง 8.16 ล้านบาท โดยมี สาเหตุมาจากรายได้หลัก คือ ค่าธรรมเนียมการจัดตั้งกองทุนปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะปีที่ผ่านมา MFC ได้ตั้งกองทุนรวมทั้งสิ้น 15 กองทุน
นอกจากนี้ ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานประจำปี 2550 ให้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 120,000,000 หุ้น ตามรายชื่อผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 25 เมษายน 2551 ในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท โดยบริษัทจะจ่ายเงินปันผลในวันที่ 14 พฤษภาคม 2551
"ในปีนี้ บลจ.คาดการณ์จะตั้งกองทุนอีก 16 กองทุน โดยไตรมาสที่ 1 ได้ตั้งกองทุนไปจำนวน 6 กองทุนด้วยกัน ขณะเดียวกันบลจ.ยังมีการจัดกิจกรรมการตลาดเพื่อหารายได้ เเละการจัดกิจกรรมอื่นๆเพิ่มเติม ทำให้เราประเมินว่าผลการดำเนินไตรมาส 2/51 น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก เพราะเมื่อต้นเดือนเมษายน บริษัทได้ร่วมมือกับธนาคารออมสิน ตั้งกองทุนที่คล้ายกับวายุภักษ์ 1 ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมาก" นายพิชิตกล่าว
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า การเจรจาซื้อหุ้น MFC ของธนาคารออมสินจากธนาคารทหารไทย (TMB) ในสัดส่วนที่ถืออยู่ประมาณ 11% นั้น ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด เนื่องจากยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องของราคา เพราะธนาคารทหารไทยกำหนดราคาขายที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ ในส่วนของต้นทุนการได้หุ้น MFC ของทหารไทยเองไม่มีข้อมูล เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ติดมาจากการควบรวมกิจการระหว่างบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบลจ.เอ็มเอฟซี
ส่วนการซื้อหุ้นของธนาคารออมสินนั้น จะต้องทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หรือไม่นั้น คงไม่มีปัญหา แต่ออมสินต้องหารือกับทางกระทรวงการคลังก่อน แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ออมสินสามารถขอผ่อนผันการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อยู่แล้ว
สำหรับสัดส่วนผู้ถือหุ้นของบลจ.เอ็มเอฟซี ในปัจจุบัน ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน 24.50% กระทรวงการคลัง 16.67% ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 11.68% บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) 10.52% บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แอ็ดคินซัน จำกัด (มหาชน) 4.72% และภาคเอกชน 31.91%
ก่อนหน้านี้ นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับจำนวนหุ้นประมาณ 11.68% ดังกล่าว คาดว่าธนาคารออมสินจะต้องใช้เงินทุนในการซื้อหุ้นประมาณ 120-130 ล้านบาท โดยในส่วนของราคาขายนั้นอาจจะใช้ตามราคาตลาดหรืออาจจะเป็นราคาที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน แต่เชื่อว่าคงใช้เงินไม่เกิน 150 ล้านบาท ขณะเดียวกันอาจจะต้องของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ผ่อนผันไม่ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์(เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ด้วย เนื่องจากการถือหุ้นเพิ่มของธนาคารออมสินจะเกินสัดส่วน 25% ซึ่งเป็นจุดที่ต้องทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์
นายพิชิตกล่าวว่า สาเหตุที่ธนาคารทหารไทยยังไม่ตัดสินใจขายหุ้น MFC ออกมา เนื่องจากเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนอะไร และปัจจุบันก็ไม่ได้มีอุปสรรคต่อการทำธุรกิจของเขา แม้จะมีการถือหุ้นของ MFC อยู่ก้อตาม ส่วนความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างบลจ.เอ็มเอฟซีและธนาคารทหารไทยในช่วงนี้ เรียกได้ว่าไม่ค่อยมีความเกี่ยวข้องกันแล้ว โดยปัจจุบันธนาคารทหารไทยก็มีบริษัทจัดการกองทุนอยู่แล้ว 2 บริษัท นั่นคือ บลจ.ทหารไทย และบลจ.ไอเอ็นจี ที่เข้ามาจากการที่กลุ่มไอเอ็นจีเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น
ไทย-เทศสนใจถือหุ้นMFCเกิน50%
นายพิชิตกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา มีทั้งภาครัฐบาลและบริษัทเอกชน รวมถึงสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ให้ความสนใจซื้อหุ้นของบริษัทค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่เสนอซื้อในสัดส่วนที่สูงกว่า 50% ขึ้นไป ซึ่งสาเหตุที่นักลงทุนเหล่านี้ สนใจซื้อหุ้นถึง 50% เพราะส่วนหนึ่งมาจากเห็นศักยภาพในการทำกำไรของเรา และให้ความสำคัญกับธุรกิจอื่นนอกจากธุรกิจที่มีอยู่ ขณะเดียวกันในส่วนของนักลงทุนต่างชาติเอง ก็อาจจะมีจุดประสงค์ในการเริ่มต้นทำธุรกิจในประเทศไทย เพื่อต่อยอดไปยังธุรกิจประเภทอื่นๆ
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของบลจ.เอ็มเอฟซีในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ซึ่งเติบโตค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งมาจากรายได้จากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับภาครัฐหลานโครงการ เช่น ที่ปรึกษาทางการเงินโครงการก่อสร้างศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ที่ปรึกษาในการเพิ่มทุนธนาคารทหารไทย รวมถึงธุรกิจจัดการกองทุนซึ่งเป็นธุรกิจหลัก โดยในช่วงปีผ่านมา บลจ.เอ็มเอฟซีมีการออกองทุนถึง 15 กองทุนด้วยกัน ซึ่งรายได้จากค่าธรรมเนียมการจัดการ (ค่าฟี) ไหลเข้ามาอยู่ในไตรมาสแรกของปีนี้ค่อนข้างเยอะ โดยในปีนี้เองเชื่อว่า รายได้ค่าฟีของบริษัทจะเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากเรายังมีการออกกองทุนอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 1 ของบลจ.เอ็มเอฟซี ในส่วนของงบการเงินรวมบริษัทมีกำไรสุทธิ 18.48 ล้านบาท และมีผลกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.15 บาท เพิ่มขึ้น 0.11 ล้านบาท หรือ 0.59% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 18.37 ล้านบาท ขณะที่งบการเงินเฉพาะกิจ บริษัทมีผลกำไรสุทธิ 15.04 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.13 บาท เพิ่มขึ้น 6.88 ล้านบาท หรือ 84.31% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิเพียง 8.16 ล้านบาท โดยมี สาเหตุมาจากรายได้หลัก คือ ค่าธรรมเนียมการจัดตั้งกองทุนปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะปีที่ผ่านมา MFC ได้ตั้งกองทุนรวมทั้งสิ้น 15 กองทุน
นอกจากนี้ ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานประจำปี 2550 ให้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 120,000,000 หุ้น ตามรายชื่อผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 25 เมษายน 2551 ในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท โดยบริษัทจะจ่ายเงินปันผลในวันที่ 14 พฤษภาคม 2551
"ในปีนี้ บลจ.คาดการณ์จะตั้งกองทุนอีก 16 กองทุน โดยไตรมาสที่ 1 ได้ตั้งกองทุนไปจำนวน 6 กองทุนด้วยกัน ขณะเดียวกันบลจ.ยังมีการจัดกิจกรรมการตลาดเพื่อหารายได้ เเละการจัดกิจกรรมอื่นๆเพิ่มเติม ทำให้เราประเมินว่าผลการดำเนินไตรมาส 2/51 น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก เพราะเมื่อต้นเดือนเมษายน บริษัทได้ร่วมมือกับธนาคารออมสิน ตั้งกองทุนที่คล้ายกับวายุภักษ์ 1 ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมาก" นายพิชิตกล่าว