TKT เผยแผนขยายกำลังการผลิต 3 แนวทาง คาดใช้ทุนเบื้องต้นกว่า 500 ล้านบาท รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ แย้มหากเลือกแนวทางสุดท้ายอาจต้องเพิ่มทุน ด้านรายได้ปีนี้ตั้งเป้า 1 พันล้านบาท พร้อมออกสินค้าใหม่ 3 ชนิด ช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนแผนความร่วมมือกับพันธมิตรจากญี่ปุ่นคาดชัดเจนไตรมาส 3/51
นายจุมพล เตชะไกรศรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ TKT เปิดเผยว่า บริษัทกำลังพิจารณาขยายกำลังการผลิตเพิ่มจากปัจจุบันที่รองรับยอดขายได้ 1,200 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยที่พิจารณาอยู่มี 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางแรก ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งจะช่วยรองรับยอดขายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 100-200 ล้านบาท คาดจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 100 ล้านบาท
แนวทางที่สอง การลงทุนเพิ่มในพื้นที่เดิมของบริษัท ซึ่งแนวทางนี้จะรองรับยอดขายเพิ่มขึ้นได้ 300 ล้านบาท โดยจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท และแนวทางสุดท้าย การก่อสร้างโรงงานใหม่ในพื้นที่ใหม่ โดยแนวทางนี้ต้องรองรับยอดขายที่จะขยายตัวอีก 8 ปีข้างหน้าประมาณ 1 พันล้านบาท คาดจะใช้เงินลงทุน 400-500 ล้านบาท ซึ่งหากเกินจำนวนดังกล่าวบริษัทอาจพิจารณาแนวทางเพิ่มทุนมากกว่าการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากบริษัทต้องการควบคุมให้ D/E ไม่เกิน 1.5 เท่า จากปัจจุบัน 0.7 เท่า ทั้งนี้บริษัทจะนำทั้ง 3 แนวทางเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ซึ่งคาดว่าภายในไตรมาส 3/51 จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
สำหรับ ปีนี้บริษัทตั้งเป้ารายได้ที่ 1,000 ล้านบาท จากปีก่อนที่ 889 ล้านบาท เนื่องจากการเติบโตของยอดขายสินค้าปัจจุบัน และบริษัทมีการผลิตสินค้าใหม่ออกขายในช่วงครึ่งปีหลัง 3 โปรดักส์ ซึ่งได้ออร์เดอร์มาแล้วทั้งหมด ได้แก่ 1.Model Change #1 มีจำนวนการใช้ 40 ชิ้นต่อคัน รายได้คันละ 1,200-1,600 บาท คาดจะมีผลิตเดือนละ 2 หมื่นคัน เริ่มผลิตไตรมาส 3/51 2.Model Change #2 มีจำนวนการใช้ 9 ชิ้นต่อคัน รายได้คันละ 700-750 บาท คาดจะมีการผลิตเดือนละ 2,500 คัน เริ่มผลิตไตรมาส 3/51 และ3.New Model #3 มีจำนวนการใช้ 18 ชิ้นต่อคัน รายได้คันละ 650-680 บาท คาดจะมีการผลิตเดือนละ 2,800 คัน เริ่มผลิตไตรมาส 4/51
ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นปีนี้ที่ 18% ใกล้เคียงกับไตรมาส 1/51 ที่ 18.4% โดยปัจจัยที่จะกระทบกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ ค่าเงินบาทที่แข็งค่า และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น สำหรับแผนการร่วมมือกับพันธมิตรจากประเทศญี่ปุ่น บริษัทได้ยกเลิกแนวทางเดิมที่จะให้พันธมิตรเข้ามาถือหุ้นของบริษัท เนื่องจากผลตอบแทนไม่เหมาะสม ขณะที่รูปแบบความร่วมมือที่ชัดเจนคาดว่าจะได้ข้อสรุปในไตรมาส 3/51 ซึ่งอาจเป็นการร่วมกันตั้งบริษัทขึ้นมา โดยจะนำสินค้าของพันธมิตรเข้ามาขายในประเทศ เนื่องจากยังไม่มีสินค้าประเภทนี้ขายในประเทศไทย
นายจุมพล เตชะไกรศรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ TKT เปิดเผยว่า บริษัทกำลังพิจารณาขยายกำลังการผลิตเพิ่มจากปัจจุบันที่รองรับยอดขายได้ 1,200 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยที่พิจารณาอยู่มี 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางแรก ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งจะช่วยรองรับยอดขายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 100-200 ล้านบาท คาดจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 100 ล้านบาท
แนวทางที่สอง การลงทุนเพิ่มในพื้นที่เดิมของบริษัท ซึ่งแนวทางนี้จะรองรับยอดขายเพิ่มขึ้นได้ 300 ล้านบาท โดยจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท และแนวทางสุดท้าย การก่อสร้างโรงงานใหม่ในพื้นที่ใหม่ โดยแนวทางนี้ต้องรองรับยอดขายที่จะขยายตัวอีก 8 ปีข้างหน้าประมาณ 1 พันล้านบาท คาดจะใช้เงินลงทุน 400-500 ล้านบาท ซึ่งหากเกินจำนวนดังกล่าวบริษัทอาจพิจารณาแนวทางเพิ่มทุนมากกว่าการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากบริษัทต้องการควบคุมให้ D/E ไม่เกิน 1.5 เท่า จากปัจจุบัน 0.7 เท่า ทั้งนี้บริษัทจะนำทั้ง 3 แนวทางเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ซึ่งคาดว่าภายในไตรมาส 3/51 จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
สำหรับ ปีนี้บริษัทตั้งเป้ารายได้ที่ 1,000 ล้านบาท จากปีก่อนที่ 889 ล้านบาท เนื่องจากการเติบโตของยอดขายสินค้าปัจจุบัน และบริษัทมีการผลิตสินค้าใหม่ออกขายในช่วงครึ่งปีหลัง 3 โปรดักส์ ซึ่งได้ออร์เดอร์มาแล้วทั้งหมด ได้แก่ 1.Model Change #1 มีจำนวนการใช้ 40 ชิ้นต่อคัน รายได้คันละ 1,200-1,600 บาท คาดจะมีผลิตเดือนละ 2 หมื่นคัน เริ่มผลิตไตรมาส 3/51 2.Model Change #2 มีจำนวนการใช้ 9 ชิ้นต่อคัน รายได้คันละ 700-750 บาท คาดจะมีการผลิตเดือนละ 2,500 คัน เริ่มผลิตไตรมาส 3/51 และ3.New Model #3 มีจำนวนการใช้ 18 ชิ้นต่อคัน รายได้คันละ 650-680 บาท คาดจะมีการผลิตเดือนละ 2,800 คัน เริ่มผลิตไตรมาส 4/51
ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นปีนี้ที่ 18% ใกล้เคียงกับไตรมาส 1/51 ที่ 18.4% โดยปัจจัยที่จะกระทบกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ ค่าเงินบาทที่แข็งค่า และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น สำหรับแผนการร่วมมือกับพันธมิตรจากประเทศญี่ปุ่น บริษัทได้ยกเลิกแนวทางเดิมที่จะให้พันธมิตรเข้ามาถือหุ้นของบริษัท เนื่องจากผลตอบแทนไม่เหมาะสม ขณะที่รูปแบบความร่วมมือที่ชัดเจนคาดว่าจะได้ข้อสรุปในไตรมาส 3/51 ซึ่งอาจเป็นการร่วมกันตั้งบริษัทขึ้นมา โดยจะนำสินค้าของพันธมิตรเข้ามาขายในประเทศ เนื่องจากยังไม่มีสินค้าประเภทนี้ขายในประเทศไทย