ค่าบาทอ่อนต่อเนื่องแตะ 32.91 อ่อนสุดในรอบ 3 เดือน คาดวันนี้หลุด 33 นักค้าเงินชี้ปัจจัยหลักเป็นการรีบาวน์ของดอลลาร์และการเมืองที่ยังไม่นิ่ง รมว.คลังระบุเป็นไปตามภูมิภาค ไม่เข้าแทรกแซงทั้งเงินบาท-ทิศทางดอกเบี้ย ด้าน"ธาริษา" ยัน ธปท.มีวิธีการดูแลอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็ยึดแนวทางกลไกตลาด ขณะที่ "กรุงไทย" รั้งท้ายแบงก์ใหญ่ประกาศขึ้นดอกกู้-ฝากมีผล 6 มิ.ย.นี้
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในขณะนี้ว่า เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งทางการไม่ควรจะเข้าไปแทรกแซง แต่ควรปล่อยให้เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ เพราะการปล่อยให้กลไกตลาดมีประสิทธิภาพจะเหมาะสมมากที่สุด
“ค่าเงินบาทขณะนี้เป็นไปตามกลไกตลาด ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงอะไร ซึ่งการที่ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ก็จะมีความเหมาะสม การที่จะเข้าไปแทรกแซงให้อ่อน มันก็จะไม่เหมาะสม และอย่าให้ค่าเงินบาทผันผวนด้วยฝีมือของเราเอง มันทำให้กลไกตลาดไม่มีประสิทธิภาพ" นพ.สุรพงษ์กล่าว
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศ คงต้องให้อิสระกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)จะเป็นผู้พิจารณา โดยขณะนี้มีผู้ที่ให้ความเห็นต่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในสองทางทั้งควรจะปรับลดลงและปรับขึ้น แต่ในความเห็นส่วนตัวมองว่าจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมากในขณะนี้ การใช้นโยบายการเงินเข้าไปแก้ปัญหาอาจได้ผลไม่มาก ควรใช้นโยบายการคลังเข้าไปดูแลระบบเศรษฐกิจ
ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ อยากเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก เพราะถ้าธนาคารปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ ก็จะทำให้ผู้กู้หันไประดมเงินทุนจากแหล่งเงินอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่สามารถออกหุ้นกู้แทนได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบแบงก์อย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในขณะนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนภายในประเทศ เพราะเชื่อว่าภาคเอกชนจะสามารถเปลี่ยนวิธีระดมทุนไปสู่วิธีการอื่น เช่น การออกหุ้นกู้ แทนการกู้เงินจากระบบสถาบันการเงินได้ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องการให้ธนาคารปรับดอกเบี้ยเงินฝากด้วย
**ธปท.ชี้บาทอ่อนตามทิศทางภูมิภาค**
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่เงินบาทอ่อนค่าลง เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติที่เคยลงทุนซื้อหุ้นก่อนหน้านี้ได้มีการขายหุ้นออกไป ทำให้มีการนำเงินบาทไปแลกเป็นเงินดอลลาร์กลับออกไปนอกประเทศ ซึ่งแนวโน้มนี้ก็เป็นไปตามทิศทางเดียวกับภูมิภาค
สำหรับกรณีที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกมาระบุให้ธปท.ทำหน้าที่ดูแลค่าเงินบาท โดยไม่ควรเข้าไปแทรกแซงปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนของธปท.ก็ยึดแนวทางให้เป็นไปตามกลไกตลาดอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ธปท.มีวิธีการดูของเราอยู่แล้ว แต่จะให้บอกลงลึกถึงรายละเอียดคงไม่ได้ ส่วนการเคลื่อนไหวของเงินบาทเมื่อวานนี้ ธปท.ไม่ได้เข้าไปดูแลแต่อย่างใด
**ค่าบาทอ่อนสุดรอบ 3 เดือน**
นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของเงินบาทวานนี้ ยังคงอ่อนค่าลงต่อจากช่วงเช้าเปิดตลาดที่ 32.80-32.87 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดในช่วงเย็นที่ระดับ 32.89-32.91 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่าสุดของวันและถือเป็นการอ่อนค่าที่สุดในรอบ 3 เดือน ส่วนระดับแข็งค่าสุดของวันนี้อยู่ที่ 32.58 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทเป็นการอ่อนค่าตามภูมิภาคที่สวนทางกับดอลลาร์สหรัฐที่รีบาวน์ รวมถึงการที่นักลงทุนต่างชาติที่เทขายหุ้นและนำเงินทุนออกไปต่างประเทศแล้วส่วนหนึ่ง ส่วนแนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันนี้คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 32.85-33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาท นอกจากความไม่มั่นคงทางการเมืองแล้ว ยังมีปัจจัยที่ดอลลาร์สหรัฐเริ่มรีบาวน์ หลังจากที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาพูดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเริ่มดีขึ้น
**KTBรั้งท้ายแบงก์ใหญ่ขึ้นดบ.**
ฝ่ายสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป ธนาคารจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภท โดยเงินฝากประจำประเภท 3 เดือน วงเงินฝากต่ำกว่า 3 ล้านบาท ปรับเป็น 2.375% ต่อปี วงเงินฝากตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ปรับเป็น 2.625% ต่อปี ประเภท 6 เดือน วงเงินฝากน้อยกว่า 3 ล้านบาท ปรับเป็น 2.50% ต่อปี วงเงินฝากตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ปรับเป็น 2.75%ต่อปี และประเภท 12 เดือน วงเงินต่ำกว่า 3 ล้านบาท ปรับขึ้น 0.50% จาก 2.25 %ต่อปี เป็น 2.75%ต่อปี วงเงินตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ปรับขึ้น 0.75% จาก 2.25%ต่อปี เป็น 3.00 %ต่อปี
เงินฝากประจำ 24 เดือน ปรับขึ้น 1% วงเงินต่ำกว่า 10 ล้านบาท จาก 2.50%ต่อปี เป็น 3.50%ต่อปี วงเงินตั้งแต่ 10 ล้าน ปรับขึ้น 1.25% จาก 2.50%ต่อปี เป็น 3.75%ต่อปี เงินฝากประจำ 36 เดือน ปรับขึ้น1.25% จากเดิม 2.50%ต่อปี เป็น 3.75% ต่อปี และเงินฝาก KTB 15 Bonus ปรับเป็น 3.163%ต่อปี
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารปรับเพิ่มขึ้น 0.375% โดยอัตราดอกเบี้ยรายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) จาก 6.875% ต่อปี เป็น 7.25% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยประเภทเบิกเกินบัญชี (MOR) จาก 7.125%ต่อปี เป็น 7.50%ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) จาก 7.375% ต่อปี เป็น 7.75% ต่อปี
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในขณะนี้ว่า เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งทางการไม่ควรจะเข้าไปแทรกแซง แต่ควรปล่อยให้เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ เพราะการปล่อยให้กลไกตลาดมีประสิทธิภาพจะเหมาะสมมากที่สุด
“ค่าเงินบาทขณะนี้เป็นไปตามกลไกตลาด ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงอะไร ซึ่งการที่ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ก็จะมีความเหมาะสม การที่จะเข้าไปแทรกแซงให้อ่อน มันก็จะไม่เหมาะสม และอย่าให้ค่าเงินบาทผันผวนด้วยฝีมือของเราเอง มันทำให้กลไกตลาดไม่มีประสิทธิภาพ" นพ.สุรพงษ์กล่าว
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศ คงต้องให้อิสระกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)จะเป็นผู้พิจารณา โดยขณะนี้มีผู้ที่ให้ความเห็นต่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในสองทางทั้งควรจะปรับลดลงและปรับขึ้น แต่ในความเห็นส่วนตัวมองว่าจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมากในขณะนี้ การใช้นโยบายการเงินเข้าไปแก้ปัญหาอาจได้ผลไม่มาก ควรใช้นโยบายการคลังเข้าไปดูแลระบบเศรษฐกิจ
ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ อยากเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก เพราะถ้าธนาคารปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ ก็จะทำให้ผู้กู้หันไประดมเงินทุนจากแหล่งเงินอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่สามารถออกหุ้นกู้แทนได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบแบงก์อย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในขณะนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนภายในประเทศ เพราะเชื่อว่าภาคเอกชนจะสามารถเปลี่ยนวิธีระดมทุนไปสู่วิธีการอื่น เช่น การออกหุ้นกู้ แทนการกู้เงินจากระบบสถาบันการเงินได้ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องการให้ธนาคารปรับดอกเบี้ยเงินฝากด้วย
**ธปท.ชี้บาทอ่อนตามทิศทางภูมิภาค**
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่เงินบาทอ่อนค่าลง เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติที่เคยลงทุนซื้อหุ้นก่อนหน้านี้ได้มีการขายหุ้นออกไป ทำให้มีการนำเงินบาทไปแลกเป็นเงินดอลลาร์กลับออกไปนอกประเทศ ซึ่งแนวโน้มนี้ก็เป็นไปตามทิศทางเดียวกับภูมิภาค
สำหรับกรณีที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกมาระบุให้ธปท.ทำหน้าที่ดูแลค่าเงินบาท โดยไม่ควรเข้าไปแทรกแซงปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนของธปท.ก็ยึดแนวทางให้เป็นไปตามกลไกตลาดอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ธปท.มีวิธีการดูของเราอยู่แล้ว แต่จะให้บอกลงลึกถึงรายละเอียดคงไม่ได้ ส่วนการเคลื่อนไหวของเงินบาทเมื่อวานนี้ ธปท.ไม่ได้เข้าไปดูแลแต่อย่างใด
**ค่าบาทอ่อนสุดรอบ 3 เดือน**
นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของเงินบาทวานนี้ ยังคงอ่อนค่าลงต่อจากช่วงเช้าเปิดตลาดที่ 32.80-32.87 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดในช่วงเย็นที่ระดับ 32.89-32.91 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่าสุดของวันและถือเป็นการอ่อนค่าที่สุดในรอบ 3 เดือน ส่วนระดับแข็งค่าสุดของวันนี้อยู่ที่ 32.58 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทเป็นการอ่อนค่าตามภูมิภาคที่สวนทางกับดอลลาร์สหรัฐที่รีบาวน์ รวมถึงการที่นักลงทุนต่างชาติที่เทขายหุ้นและนำเงินทุนออกไปต่างประเทศแล้วส่วนหนึ่ง ส่วนแนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันนี้คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 32.85-33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาท นอกจากความไม่มั่นคงทางการเมืองแล้ว ยังมีปัจจัยที่ดอลลาร์สหรัฐเริ่มรีบาวน์ หลังจากที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาพูดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเริ่มดีขึ้น
**KTBรั้งท้ายแบงก์ใหญ่ขึ้นดบ.**
ฝ่ายสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป ธนาคารจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภท โดยเงินฝากประจำประเภท 3 เดือน วงเงินฝากต่ำกว่า 3 ล้านบาท ปรับเป็น 2.375% ต่อปี วงเงินฝากตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ปรับเป็น 2.625% ต่อปี ประเภท 6 เดือน วงเงินฝากน้อยกว่า 3 ล้านบาท ปรับเป็น 2.50% ต่อปี วงเงินฝากตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ปรับเป็น 2.75%ต่อปี และประเภท 12 เดือน วงเงินต่ำกว่า 3 ล้านบาท ปรับขึ้น 0.50% จาก 2.25 %ต่อปี เป็น 2.75%ต่อปี วงเงินตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ปรับขึ้น 0.75% จาก 2.25%ต่อปี เป็น 3.00 %ต่อปี
เงินฝากประจำ 24 เดือน ปรับขึ้น 1% วงเงินต่ำกว่า 10 ล้านบาท จาก 2.50%ต่อปี เป็น 3.50%ต่อปี วงเงินตั้งแต่ 10 ล้าน ปรับขึ้น 1.25% จาก 2.50%ต่อปี เป็น 3.75%ต่อปี เงินฝากประจำ 36 เดือน ปรับขึ้น1.25% จากเดิม 2.50%ต่อปี เป็น 3.75% ต่อปี และเงินฝาก KTB 15 Bonus ปรับเป็น 3.163%ต่อปี
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารปรับเพิ่มขึ้น 0.375% โดยอัตราดอกเบี้ยรายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) จาก 6.875% ต่อปี เป็น 7.25% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยประเภทเบิกเกินบัญชี (MOR) จาก 7.125%ต่อปี เป็น 7.50%ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) จาก 7.375% ต่อปี เป็น 7.75% ต่อปี