ไฟเขียวแบงก์ขึ้นดอกเบี้ย ธปท.อ้างแบงก์ขึ้นดอกเบี้ยเป็นการปรับตัวตามสภาพคล่องและต้องการรักษาฐานลูกค้า ล่าสุดไทยพาณิชย์ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก 0.375-1.250% ส่วนเงินกู้ 0.375% มีผล 4 มิ.ย.นี้ แบงก์ขนาดกลาง-เล็กเตรียมปรับตาม "อัจนา" ยอมรับเงินเฟ้อสูงกว่าที่ประเมินไว้ คาดเกิดจากราคาอาหารนอกบ้านเร่งตัวสูง เชื่อเงินเฟ้อทั่วไปไม่น่าจะเกินตัวเลข 2 หลัก รอดูการประชุม กนง.ในวันที่ 28 ก.ค.นี้ ขณะที่เงินทุนต่างชาติเริ่มไหลออก หลังเทขายหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ยันยังไม่น่าห่วง
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา สูงกว่าที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ คือ 7.3% แต่ที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศที่ระดับ 7.6% เนื่องจากอาหารนอกบ้าน อาทิ ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวสูง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 2.8% เป็นไปตามที่ ธปท.ประเมินไว้ อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นไม่ได้กดดันในการดำเนินนโยบายการเงิน เพราะการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมได้ในช่วยที่อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูง ส่วนนโยบายการเงินจะไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้พิจารณา
“หลังจากที่เราประเมินครั้งล่าสุดยังไม่พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเร่งตัวสูงถึงตัวเลข 2 หลังอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ แต่ก็ไม่รู้เช่นกันว่าราคาน้ำมันจะจบลงที่ใด จึงต้องรอดูการประเมินอัตราเงินเฟ้อใหม่อีกครั้งในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อในวันที่ 28 ก.ค.นี้”
สำหรับข้อซักถามที่ว่าธนาคารกรุงเทพมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ สะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินนโยบายการเงินของธปท.ไม่ได้มีผลต่อการส่งผ่านตลาดการเงินนัก รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การปรับพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามนโยบายของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารพาณิชย์บางแห่งอาจมองว่าสภาพคล่องของตัวเองอาจเปลี่ยนแปลงไป หรือต้องการรักษาฐานลูกค้าเป็นเหตุผลหลักก็เป็นไปได้ แต่การส่งผ่านนโยบายการเงินของธปท.ไม่ได้ดูเฉพาะสภาพคล่องเป็นรายสถาบันการเงินแต่อย่างใด ซึ่งต้องดูสภาพคล่องโดยรวม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีอะไรที่แสดงให้เห็นว่าสัญญาณนโยบายการเงินจะสร้างความลำบากในช่วงที่สภาพคล่องเยอะ
ด้านนางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.กล่าวว่า กล่าวเพิ่มเติมว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยเป็นอีกด้านที่ ธปท.มีความเป็นห่วงเท่ากัน เพราะเริ่มเห็นว่าไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติผ่านการขายหุ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นการขายหุ้นของต่างชาติชนิดสวนกับตลาดภูมิภาค รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ เริ่มเป็นแรงกดดันต่อภาวะการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น และหากเหตุการณ์สามารถนิ่ง และสงบได้จะเป็นเรื่องที่ดีต่อเศรษฐกิจมากกว่า เพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยรุมเร้าทั้งในและต่างประเทศจำนวนมากอยู่แล้ว
“หากราคาน้ำมันปรับขึ้นต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ก็น่าเป็นห่วงมาก เพราะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตสินค้า โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น” นางอมรากล่าว
SCBขึ้นดอกเบี้ยสองขา 4 มิ.ย.นี้
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ธนาคารได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 ด้าน โดยในส่วนของเงินฝากได้ปรับเพิ่มขึ้นในอัตรา 0.375-1.250% และทางด้านเงินกู้ปรับเพิ่มขึ้น 0.375% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในประเทศ
โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาทจาก 2.00 % เป็น 2.375% เพิ่มขึ้น 0.375% วงเงินฝากตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจาก 2.25% เป็น 2.625% เพิ่มขึ้น 0.375% เงินฝากประจำประเภท 6 เดือน วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาทจาก 2.00% เป็น 2.50% เพิ่มขึ้น 0.50% วงเงินฝากตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจาก 2.25% เป็น 2.75% เพิ่มขึ้น 0.50% เงินฝากประจำ 12 เดือน วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาทจาก 2.375% เป็น 2.75% เพิ่มขึ้น 0.375% วงเงินฝากตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจาก 2.375% เป็น 3.00 % เพิ่มขึ้น 0.625% เงินฝากประจำ 24 เดือนทุกวงเงินเพิ่มจาก 2.50% เป็น 3.50% เพิ่มขึ้น 1.00 % และเงินฝากประจำ 36 เดือนทุกวงเงินเพิ่มจาก 2.50% เป็น 3.75% เพิ่มขึ้น 1.25%
ในขณะเดียวกัน เพื่อเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกับลูกค้า ธนาคารได้เพิ่มประเภทและปรับลดเงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อตั๋วแลกเงิน (B/E) เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ลูกค้า ซึ่งจากเดิมมีเพียงตั๋วแลกเงินอายุ 3 เดือน เงินลงทุนขั้นต่ำตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เป็น ตั๋วแลกเงิน 3 ประเภทคือ อายุ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.00% อายุ 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.25% และ อายุ 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.50% โดยเงินลงทุนขั้นต่ำตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
สำหรับด้านสินเชื่อได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพียง 0.375% โดยอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) จาก 6.875% เป็น 7.25% อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) จาก 7.125% เป็น 7.50% และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) จาก 7.375% เป็น 7.75%
แบงก์กลาง-เล็กจ้องปรับตาม
นายตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY กล่าวว่า ธนาคารจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้ หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้ทยอยกันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตั้งแต่ปลายสัปดาห์ก่อน ซึ่งจะปรับขึ้นในอัตราเท่าไหร่นั้น คงต้องคงรอดูท่าทีของธนาคารอื่นๆที่ยังไม่ได้ปรับขึ้นก่อน
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยน่าจะเป็นการปรับขึ้นทั้งด้านเงินฝากและเงินกู้ เพื่อให้สมดุลกับต้นทุน เพราะเมื่อมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็จะทำให้ธนาคารมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย
ด้านนายชวลิต จินดาวณิค ประธานสายการเงินและงบประมาณ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)หรือ KK กล่าวว่า ธนาคารคงจะมีการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามทิศทางที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้ปรับขึ้นไปแล้ว แต่ก็ยังคงเป้าหมายส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิสิ้นปีนี้ไว้ที่ระดับ 4.5% จากต้นปีที่อยู่ในระดับ 4%
"ธนาคารจะใช้กลยุทธ์ในด้านการแข่งขันให้มีการเพิ่มสินเชื่อเข้ามาทดแทน ต้นทุนดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งสินเชื่อของธนาคารก็ยังเติบโตดี โดยในไตรมาสแรกสินเชื่อเช่าซื้อเติบโตแล้ว 15% และยังคงเป้าหมายทั้งปีที่โตระดับ 30% ส่วนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากเพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เช่าซื้อเป็นแบบลอยตัวอยู่แล้ว"นายชวลิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องติดตามดูเป็นด้านของผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยต่อผู้ประกอบการ ซึ่งอาจทำให้หนี้ที่ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นได้
นักลงทุนเริ่มขนเงินกลับบ้าน
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วง 1-2 วันนี้ ว่า การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงนี้ เกิดขึ้นจากการนำเงินบาทมีแลกเป็นดอลลลาร์สหรัฐเพื่อนำเงินออกนอกประเทศจำนวนหนึ่ง หลังจากที่ได้เห็นการขายหุ้นในตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ โดยในขณะนี้เงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดหุ้นเป็นการไหลออกสุทธิ ขณะที่การลงทุนในพันฝธบัตรยังเป็นยอดไหลเข้า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของไทยยังอยู่ในอัตราที่สูง
“ธปท.ไม่ได้เข้าไปดูแลค่าเงิน เพราะการอ่อนค่าในขณะนี้ยังไม่ได้อ่อนค่าเร็วจนน่าเป็นห่วง เพราะตามปกติการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทของ ธปท.จะเกิดขึ้นในช่วงที่ค่าบาทแข็งไปหรือ่อนไปเท่านั้น แต่ในขณะนี้ถือเป็นเรื่องที่ดีที่แนวโน้มของค่าเงินบาท สามารถอ่อนค่า และแข็งค่าขึ้นได้ 2 ทาง ทำให้ไม่เกิดการเก็งกำไร เหมือนในช่วงที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียว”
นางสุชาดา กล่าวต่อว่า การไหลออกของเงินในขณะนี้ ยังไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะที่ผ่านมามีเงินไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมาก เป็นธรรมดาที่จะมีการไหลออกไปบ้าง เพราะในขณะนี้บ้านเมืองเราก็มีปัญหาอยู่บ้าง ซึ่งนักลงทุนก็จับตาอยู่ว่าสถานการณ์ในประเทศของไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป โดยค่าเงินบาทวานนี้ (3 มิ.ย.) อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 32.67 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากวันก่อนหน้าที่ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ.
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา สูงกว่าที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ คือ 7.3% แต่ที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศที่ระดับ 7.6% เนื่องจากอาหารนอกบ้าน อาทิ ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวสูง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 2.8% เป็นไปตามที่ ธปท.ประเมินไว้ อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นไม่ได้กดดันในการดำเนินนโยบายการเงิน เพราะการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมได้ในช่วยที่อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูง ส่วนนโยบายการเงินจะไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้พิจารณา
“หลังจากที่เราประเมินครั้งล่าสุดยังไม่พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเร่งตัวสูงถึงตัวเลข 2 หลังอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ แต่ก็ไม่รู้เช่นกันว่าราคาน้ำมันจะจบลงที่ใด จึงต้องรอดูการประเมินอัตราเงินเฟ้อใหม่อีกครั้งในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อในวันที่ 28 ก.ค.นี้”
สำหรับข้อซักถามที่ว่าธนาคารกรุงเทพมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ สะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินนโยบายการเงินของธปท.ไม่ได้มีผลต่อการส่งผ่านตลาดการเงินนัก รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การปรับพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามนโยบายของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารพาณิชย์บางแห่งอาจมองว่าสภาพคล่องของตัวเองอาจเปลี่ยนแปลงไป หรือต้องการรักษาฐานลูกค้าเป็นเหตุผลหลักก็เป็นไปได้ แต่การส่งผ่านนโยบายการเงินของธปท.ไม่ได้ดูเฉพาะสภาพคล่องเป็นรายสถาบันการเงินแต่อย่างใด ซึ่งต้องดูสภาพคล่องโดยรวม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีอะไรที่แสดงให้เห็นว่าสัญญาณนโยบายการเงินจะสร้างความลำบากในช่วงที่สภาพคล่องเยอะ
ด้านนางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.กล่าวว่า กล่าวเพิ่มเติมว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยเป็นอีกด้านที่ ธปท.มีความเป็นห่วงเท่ากัน เพราะเริ่มเห็นว่าไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติผ่านการขายหุ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นการขายหุ้นของต่างชาติชนิดสวนกับตลาดภูมิภาค รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ เริ่มเป็นแรงกดดันต่อภาวะการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น และหากเหตุการณ์สามารถนิ่ง และสงบได้จะเป็นเรื่องที่ดีต่อเศรษฐกิจมากกว่า เพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยรุมเร้าทั้งในและต่างประเทศจำนวนมากอยู่แล้ว
“หากราคาน้ำมันปรับขึ้นต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ก็น่าเป็นห่วงมาก เพราะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตสินค้า โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น” นางอมรากล่าว
SCBขึ้นดอกเบี้ยสองขา 4 มิ.ย.นี้
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ธนาคารได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 ด้าน โดยในส่วนของเงินฝากได้ปรับเพิ่มขึ้นในอัตรา 0.375-1.250% และทางด้านเงินกู้ปรับเพิ่มขึ้น 0.375% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในประเทศ
โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาทจาก 2.00 % เป็น 2.375% เพิ่มขึ้น 0.375% วงเงินฝากตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจาก 2.25% เป็น 2.625% เพิ่มขึ้น 0.375% เงินฝากประจำประเภท 6 เดือน วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาทจาก 2.00% เป็น 2.50% เพิ่มขึ้น 0.50% วงเงินฝากตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจาก 2.25% เป็น 2.75% เพิ่มขึ้น 0.50% เงินฝากประจำ 12 เดือน วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาทจาก 2.375% เป็น 2.75% เพิ่มขึ้น 0.375% วงเงินฝากตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจาก 2.375% เป็น 3.00 % เพิ่มขึ้น 0.625% เงินฝากประจำ 24 เดือนทุกวงเงินเพิ่มจาก 2.50% เป็น 3.50% เพิ่มขึ้น 1.00 % และเงินฝากประจำ 36 เดือนทุกวงเงินเพิ่มจาก 2.50% เป็น 3.75% เพิ่มขึ้น 1.25%
ในขณะเดียวกัน เพื่อเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกับลูกค้า ธนาคารได้เพิ่มประเภทและปรับลดเงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อตั๋วแลกเงิน (B/E) เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ลูกค้า ซึ่งจากเดิมมีเพียงตั๋วแลกเงินอายุ 3 เดือน เงินลงทุนขั้นต่ำตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เป็น ตั๋วแลกเงิน 3 ประเภทคือ อายุ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.00% อายุ 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.25% และ อายุ 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.50% โดยเงินลงทุนขั้นต่ำตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
สำหรับด้านสินเชื่อได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพียง 0.375% โดยอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) จาก 6.875% เป็น 7.25% อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) จาก 7.125% เป็น 7.50% และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) จาก 7.375% เป็น 7.75%
แบงก์กลาง-เล็กจ้องปรับตาม
นายตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY กล่าวว่า ธนาคารจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้ หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้ทยอยกันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตั้งแต่ปลายสัปดาห์ก่อน ซึ่งจะปรับขึ้นในอัตราเท่าไหร่นั้น คงต้องคงรอดูท่าทีของธนาคารอื่นๆที่ยังไม่ได้ปรับขึ้นก่อน
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยน่าจะเป็นการปรับขึ้นทั้งด้านเงินฝากและเงินกู้ เพื่อให้สมดุลกับต้นทุน เพราะเมื่อมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็จะทำให้ธนาคารมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย
ด้านนายชวลิต จินดาวณิค ประธานสายการเงินและงบประมาณ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)หรือ KK กล่าวว่า ธนาคารคงจะมีการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามทิศทางที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้ปรับขึ้นไปแล้ว แต่ก็ยังคงเป้าหมายส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิสิ้นปีนี้ไว้ที่ระดับ 4.5% จากต้นปีที่อยู่ในระดับ 4%
"ธนาคารจะใช้กลยุทธ์ในด้านการแข่งขันให้มีการเพิ่มสินเชื่อเข้ามาทดแทน ต้นทุนดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งสินเชื่อของธนาคารก็ยังเติบโตดี โดยในไตรมาสแรกสินเชื่อเช่าซื้อเติบโตแล้ว 15% และยังคงเป้าหมายทั้งปีที่โตระดับ 30% ส่วนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากเพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เช่าซื้อเป็นแบบลอยตัวอยู่แล้ว"นายชวลิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องติดตามดูเป็นด้านของผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยต่อผู้ประกอบการ ซึ่งอาจทำให้หนี้ที่ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นได้
นักลงทุนเริ่มขนเงินกลับบ้าน
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วง 1-2 วันนี้ ว่า การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงนี้ เกิดขึ้นจากการนำเงินบาทมีแลกเป็นดอลลลาร์สหรัฐเพื่อนำเงินออกนอกประเทศจำนวนหนึ่ง หลังจากที่ได้เห็นการขายหุ้นในตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ โดยในขณะนี้เงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดหุ้นเป็นการไหลออกสุทธิ ขณะที่การลงทุนในพันฝธบัตรยังเป็นยอดไหลเข้า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของไทยยังอยู่ในอัตราที่สูง
“ธปท.ไม่ได้เข้าไปดูแลค่าเงิน เพราะการอ่อนค่าในขณะนี้ยังไม่ได้อ่อนค่าเร็วจนน่าเป็นห่วง เพราะตามปกติการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทของ ธปท.จะเกิดขึ้นในช่วงที่ค่าบาทแข็งไปหรือ่อนไปเท่านั้น แต่ในขณะนี้ถือเป็นเรื่องที่ดีที่แนวโน้มของค่าเงินบาท สามารถอ่อนค่า และแข็งค่าขึ้นได้ 2 ทาง ทำให้ไม่เกิดการเก็งกำไร เหมือนในช่วงที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียว”
นางสุชาดา กล่าวต่อว่า การไหลออกของเงินในขณะนี้ ยังไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะที่ผ่านมามีเงินไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมาก เป็นธรรมดาที่จะมีการไหลออกไปบ้าง เพราะในขณะนี้บ้านเมืองเราก็มีปัญหาอยู่บ้าง ซึ่งนักลงทุนก็จับตาอยู่ว่าสถานการณ์ในประเทศของไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป โดยค่าเงินบาทวานนี้ (3 มิ.ย.) อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 32.67 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากวันก่อนหน้าที่ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ.