ตลท.เผยไตรมาส 1 ปี51 บริษัทจดทะเบียนมีประสิทธิภาพการดำเนินงานดีขึ้น โดยกลุ่มเทคโนโลยีมีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนกำไรสุทธิมากสุด 5.6 % และ 12 % ตามลำดับ ขณะที่งบกระแสเงินสดไตรมาสแรก บจ.มีเงินสดรับกว่า 3.7 หมื่นล้านบาท และเกิดจากเงินสดรับจากการดำเนินงาน 1.4 แสนล้านบาท
สายงานวิจัยและข้อมูลสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประจำไตรมาส 1/2551 ปรับดีขึ้นทุกตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งอัตราผลตอบแทนจากทุนที่ใช้ (ROCE) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net profit margin) รวมทั้ง อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (interest coverage ratio) ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มเทคโนโลยี มีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net profit margin) สูงสุด
สายงานวิจัยและข้อมูลสารสนเทศ รายงานข้อมูลด้านประสิทธิภาพการดำเนินงาน การลงทุน และการระดมทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผ่าน SET Note Corporate Update ไตรมาส 1/2551 พบว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่รวมกลุ่มการเงินและกลุ่มบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด หรือ NPG (Non-Performing Group) มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานดีขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนจากทุนที่ใช้ (Return On Capital Employed : ROCE) เพิ่มขึ้นจาก 4% มาอยู่ที่ระดับ 4.8%
ด้านอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return On Equity : ROE) เพิ่มขึ้นจาก 3.9 % มาอยู่ที่ 4.8 %และอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net profit margin) เพิ่มขึ้นจาก 7.4 % เป็น 7.6 %โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net profit margin) มากที่สุดคือ กลุ่มเทคโนโลยี โดยอยู่ในระดับ 5.6 % และ 12 % ตามลำดับ
สำหรับความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 1/2551 ลดลง โดยอัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ยของบริษัทจดทะเบียน (interest coverage ratio) อยู่ในระดับ 9.8 เท่า เพิ่มขึ้น 2.7 เท่า และอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity ratio) ลดลงมาอยู่ในระดับ 1 เท่า
ด้านการลงทุน บริษัทจดทะเบียนมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรคิดเป็นเม็ดเงินสุทธิกว่า 8.2 หมื่นล้านบาทลดลง 0.8 % จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มทรัพยากรมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากที่สุด อยู่ที่ระดับ 3.8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์งบกระแสเงินสดในไตรมาส 1/2551 พบว่าบริษัทจดทะเบียนมีเงินสดรับสุทธิกว่า 3.7 หมื่นล้านบาท เกิดจากเงินสดรับจากการดำเนินงาน 1.4 แสนล้านบาท
สำหรับการระดมทุนในไตรมาส 1/2551 นั้นมีมูลค่ารวม 2.43 หมื่นล้านบาท โดยกว่า 97.5 %เป็นการระดมทุนในตลาดรองที่มีมูลค่า 2.37 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เกิดจากผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิที่ได้รับจากบริษัทเพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุน (XR) กว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจการเงินมีการระดมทุนมากที่สุดกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท ส่วนการระดมทุนของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผ่านการเสนอขายหุ้นออกใหม่ต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) มีมูลค่ารวม 596 ล้านบาท
สายงานวิจัยและข้อมูลสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประจำไตรมาส 1/2551 ปรับดีขึ้นทุกตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งอัตราผลตอบแทนจากทุนที่ใช้ (ROCE) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net profit margin) รวมทั้ง อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (interest coverage ratio) ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มเทคโนโลยี มีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net profit margin) สูงสุด
สายงานวิจัยและข้อมูลสารสนเทศ รายงานข้อมูลด้านประสิทธิภาพการดำเนินงาน การลงทุน และการระดมทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผ่าน SET Note Corporate Update ไตรมาส 1/2551 พบว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่รวมกลุ่มการเงินและกลุ่มบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด หรือ NPG (Non-Performing Group) มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานดีขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนจากทุนที่ใช้ (Return On Capital Employed : ROCE) เพิ่มขึ้นจาก 4% มาอยู่ที่ระดับ 4.8%
ด้านอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return On Equity : ROE) เพิ่มขึ้นจาก 3.9 % มาอยู่ที่ 4.8 %และอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net profit margin) เพิ่มขึ้นจาก 7.4 % เป็น 7.6 %โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net profit margin) มากที่สุดคือ กลุ่มเทคโนโลยี โดยอยู่ในระดับ 5.6 % และ 12 % ตามลำดับ
สำหรับความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 1/2551 ลดลง โดยอัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ยของบริษัทจดทะเบียน (interest coverage ratio) อยู่ในระดับ 9.8 เท่า เพิ่มขึ้น 2.7 เท่า และอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity ratio) ลดลงมาอยู่ในระดับ 1 เท่า
ด้านการลงทุน บริษัทจดทะเบียนมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรคิดเป็นเม็ดเงินสุทธิกว่า 8.2 หมื่นล้านบาทลดลง 0.8 % จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มทรัพยากรมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากที่สุด อยู่ที่ระดับ 3.8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์งบกระแสเงินสดในไตรมาส 1/2551 พบว่าบริษัทจดทะเบียนมีเงินสดรับสุทธิกว่า 3.7 หมื่นล้านบาท เกิดจากเงินสดรับจากการดำเนินงาน 1.4 แสนล้านบาท
สำหรับการระดมทุนในไตรมาส 1/2551 นั้นมีมูลค่ารวม 2.43 หมื่นล้านบาท โดยกว่า 97.5 %เป็นการระดมทุนในตลาดรองที่มีมูลค่า 2.37 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เกิดจากผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิที่ได้รับจากบริษัทเพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุน (XR) กว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจการเงินมีการระดมทุนมากที่สุดกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท ส่วนการระดมทุนของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผ่านการเสนอขายหุ้นออกใหม่ต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) มีมูลค่ารวม 596 ล้านบาท