"ฝรั่ง" ทิ้งหุ้นไทยต่ออีก 2.4 พันล้านบาท ทำดัชนีหุ้นไทยร่วงหนักเกิน 23 จุด ฉุดมาร์เกตแคปหายกว่า 180 พันล้านบาท เหตุการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของแบงก์พาณิชย์ ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันแกว่งตัวในระดับสูง ขณะที่นักลงทุนรอความชัดเจนค่าการกลั่นของหุ้นกลุ่มพลังงาน ส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานปรับลดลง 3% รวมทั้งปัจจัยการเมืองคาดอาจรุนแรงขึ้น ด้านโบรกฯ ระบุช่วงนี้มีแต่ปัจจัยลบ วันนี้อาจลงต่อ แต่ยังเชื่อหากทุกอย่างคลี่คลายหุ้นไทยพร้อมดีดกลับ แนะนักลงทุนระยะยาวหากมีเงินทยอยเก็บหุ้นพื้นฐานดีได้ ส่วนผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แนะนักลงทุนเลือกจังหวะการลงทุนให้ดี
ภาวะการลงทุนตลาดหุ้นไทยวานนี้ (2 มิ.ย.) ดัชนีปิดที่ 810.22 จุด ปรับลดลง 23.43 จุด คิดเป็น 2.81% โดยระหว่างวันดัชนีทำจุดสูงสุดที่ 828.78 จุด และทำจุดต่ำสุดที่ 809.70 จุด มูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 21,554.79 ล้านบาท ขณะที่หุ้นบิ๊กแคปต่างปรับตัวลดลง โดย PTT ลดลง 14 บาท PTTEP ลดลง 7 บาท KBANK ลดลง 4 บาท และ BBL ลดลง 5 บาท ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,485.20 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 220.44 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,264.76 ล้านบาท ซึ่งเมื่อพิจารณามาร์เกตแคปพบว่าลดลงจากเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 51 ที่ 6,562.60 พันล้านบาท เหลือ 6,382.10 พันล้านบาท คิดเป็นลดลง 180.5 พันล้านบาท หรือ 2.75%
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า ดัชนีร่วงลงแรงกว่าที่คาดการณ์ จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่ยังมีออกมาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนรวมแล้วใกล้เคียงกับจำนวนที่ซื้อสุทธิในรอบที่แล้วประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจากสถานการณ์การเมืองที่มีความกดดันมากขึ้น ซึ่งคาดว่าสถานการณ์การเมืองจะใช้เวลาอีกระยะถึงจะคลี่คลายได้ ดังนั้นปัจจัยดังกล่าวจะยังส่งผลกดดันตลาดหุ้นไทยต่อไป
ทั้งนี้ เชื่อว่าจากพื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่ง ประกอบกับบริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการดี น่าจะทำให้ดัชนีสามารถดีดกลับได้ เมื่อสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลายลงหรือมีข่าวดีเข้ามากระตุ้นตลาด สำหรับทิศทางในวันนี้ คาดว่าดัชนีจะแกว่งตัวในกรอบแนวรับที่ 800 จุด และแนวต้าน 830 จุด ซึ่งหากหลุดแนวรับดังกล่าวมาจะมีแนวรับถัดไปที่ 780 จุด ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ หากเป็นนักลงทุนระยะยาวสามารถเข้าเก็บหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาปรับลดลงมามาก ส่วนนักลงทุนระยะสั้นแนะนำถือเงินสดรอดูสถานการณ์
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับลงค่อนข้างแรง โดยมีสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ ประการแรก ประเด็นการเมืองในประเทศ หลังการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตยยังไม่มีท่าทีจะสิ้นสุด ขณะวันเสาร์ที่ผ่านมาสถานการณ์ตึงเครียดขึ้น เมื่อรัฐบาลมีท่าทีว่าจะใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ทำให้การเผชิญหน้าระหว่างสองฝ่ายทวีความรุนแรงมากขึ้น
ประการที่สอง การที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงบริษัทจดทะเบียน ด้วยการขอร้องให้บริษัทกลุ่มปตท.ซึ่งประกอบด้วย 4 โรงกลั่น ลดราคาขายน้ำมันดีเซลต่ำกว่าตลาด 3 บาท ในจำนวน 122 ล้านลิตรต่อเดือน เพื่อช่วยเหลือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แม้ผลกระทบที่เกิดจะน้อยกว่าการลดค่าการกลั่นลง 1 บาทต่อลิตร แต่เชื่อว่าในมุมมองของนักลงทุนต่างชาติการแทรกแซงการดำเนินของบริษัทจดทะเบียนเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำให้นักลงทุนต่างชาติลดพอร์ตการลงทุนในช่วงนี้ ประการสุดท้าย การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกรุงเทพเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งโดยปกติต้องรอแบงก์ชาติส่งสัญญาณด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายก่อน ทำให้ตลาดคาดว่าแบงก์อื่นๆ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม และมองว่าจะเป็นการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลจากอัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ระดับ 7.6% ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 3.25% ซึ่งยังมีช่องที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกมาก ดังนั้นจึงเกิดความกังวลว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะกระทบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดว่าดัชนีมีโอกาสปรับตัวลงต่อ เนื่องจากยังมองไม่เห็นปัจจัยบวกที่จะเข้ามากระตุ้นตลาด ขณะที่ปัจจัยลบที่กล่าวมาจะยังส่งผลกดดันบรรยากาศการลงทุนอยู่ โดยประเมินแนวรับที่ 800 จุด แนวต้านที่ 830 จุด หากหลุดแนวรับดังกล่าวจะมีแนวรับถัดไปที่ 785 จุด ซึ่งมองว่าถ้าดัชนีปรับลดลงมาถึงจุดนี้ ถือว่าถูกมากแล้ว ดังนั้นนักลงทุนสามารถหาจังหวะเข้าลงทุนระยะสั้นในหุ้นที่ราคาปรับลดลงต่ำกว่าพื้นฐานได้
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า นักลงทุนต่างชาติยังขายต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนที่ 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีสาเหตุมาจากการที่รัฐบาลมีท่าทีต้องการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์บานปลาย จึงลดพอร์ตการลงทุนในหุ้นไทย ประกอบกับราคาน้ำมันแกว่งตัวในระดับสูงกดดันเงินเฟ้อทั่วโลก ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ขณะที่การลดราคาขายน้ำมันดีเซลลง 3 บาท ของโรงกลั่นในกลุ่มปตท. ทำให้นักลงทุนต่างชาติรู้สึกไม่พอใจที่รัฐเข้ามาบิดเบือนกลไกลราคา เห็นได้จากราคาหุ้นโรงกลั่นที่ยังปรับตัวลดลง ประกอบกับแนวโน้มครึ่งปีหลังที่จะออกมาไม่ดีของกลุ่มโรงกลั่น หลังโรงกลั่นในอินเดียขนาดกำลังการผลิต 580,000บาร์เรลต่อวัน จะเริ่มผลิตในเดือนตุลาคม นอกจากนี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกรุงเทพ ส่งผลกระทบกับต้นทุนของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และมีโอกาสที่แบงก์อื่นๆ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม ซึ่งคาดว่าภายในอาทิตย์น่าจะได้เห็น ทำให้ภาพเศรษฐกิจที่ถูกกระทบจากเงินเฟ้ออยู่แล้ว เหมือนถูกซ้ำด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้มุมมองที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวเป็นไปได้ยาก
ทั้งนี้ คาดว่าตลาดหุ้นไทย วันนี้มีโอกาสปรับลดลงได้อีก ยกเว้นกรณีที่ดัชนีดาวโจนส์บวกแรงๆ หรือบรรยากาศการเมืองในประเทศดีขึ้น โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนี โดยมีแนวรับที่ 8007 จุด แนวต้านที่ 820 จุด หากดัชนียังปรับลงแรงเหมือนเมื่อวานนี้จะมีแนวรับถุดไปที่ 796 จุด สำหรับกลยุทธ์การลงทุน แนะนำถือเงินสดรอดูสถานการณ์ก่อน แต่หากเป็นนักลงทุนระยะยาวที่มีเงินมากสามารถเข้าเก็บหุ้นพื้นฐานดีที่เห็นว่าราคาลดลงมามากแล้วได้
***นักลงทุนควรเลือกจังหวะลงทุน
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลดลงนั้นจาก 3 ปัจจัยคือ จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคมอยู่ระดับที่สูง 7.6% และจากนักลงทุนยังรอความชัดเจนในเรื่องค่าการกลั่นของกระทรวงพลังงานและผู้ประกอบธุรกิจโรงกลั่น ทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลงมา3% และจากความกังวลในเรื่องปัจจัยทางการเมือง
ทั้งนี้ ต้องการให้นักลงทุนมีการติดตามข้อมูลในช่วงที่ข้อมูลยังไม่ชัดเจนทั้งในเรื่องการเจรจากับผู้ประกอบธุรกิจโรงกลั่นและปัจจัยทางการเมืองเพื่อจะไม่ให้เสียโอกาสในการลงทุน ซึ่งจากการที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นนั้นสามารถจะลงทุนในหุ้นบางอุตสาหกรรมจะได้รับผลตอบแทนตามอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง
"จากปัจจัยทางการเมืองนั้นมีส่วนทำให้นักลงทุนมีความกังวล แต่หวังว่ารัฐบาลจะมีการดูแลสถานการณ์ได้ส่วนในเรื่องการลงทุนหวังว่ารัฐบาลจะมีการเร่งการลงทุนดูแลในเรื่องพลังงานทดแทน เพื่อสร้างความมั่นใจ ซึ่งในระหว่างนี้นักลงทุนควรที่จะติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆเพื่อที่จะไม่เสียจังหวะในการลงทุน "นางภัทรียา กล่าว
ภาวะการลงทุนตลาดหุ้นไทยวานนี้ (2 มิ.ย.) ดัชนีปิดที่ 810.22 จุด ปรับลดลง 23.43 จุด คิดเป็น 2.81% โดยระหว่างวันดัชนีทำจุดสูงสุดที่ 828.78 จุด และทำจุดต่ำสุดที่ 809.70 จุด มูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 21,554.79 ล้านบาท ขณะที่หุ้นบิ๊กแคปต่างปรับตัวลดลง โดย PTT ลดลง 14 บาท PTTEP ลดลง 7 บาท KBANK ลดลง 4 บาท และ BBL ลดลง 5 บาท ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,485.20 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 220.44 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,264.76 ล้านบาท ซึ่งเมื่อพิจารณามาร์เกตแคปพบว่าลดลงจากเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 51 ที่ 6,562.60 พันล้านบาท เหลือ 6,382.10 พันล้านบาท คิดเป็นลดลง 180.5 พันล้านบาท หรือ 2.75%
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า ดัชนีร่วงลงแรงกว่าที่คาดการณ์ จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่ยังมีออกมาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนรวมแล้วใกล้เคียงกับจำนวนที่ซื้อสุทธิในรอบที่แล้วประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจากสถานการณ์การเมืองที่มีความกดดันมากขึ้น ซึ่งคาดว่าสถานการณ์การเมืองจะใช้เวลาอีกระยะถึงจะคลี่คลายได้ ดังนั้นปัจจัยดังกล่าวจะยังส่งผลกดดันตลาดหุ้นไทยต่อไป
ทั้งนี้ เชื่อว่าจากพื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่ง ประกอบกับบริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการดี น่าจะทำให้ดัชนีสามารถดีดกลับได้ เมื่อสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลายลงหรือมีข่าวดีเข้ามากระตุ้นตลาด สำหรับทิศทางในวันนี้ คาดว่าดัชนีจะแกว่งตัวในกรอบแนวรับที่ 800 จุด และแนวต้าน 830 จุด ซึ่งหากหลุดแนวรับดังกล่าวมาจะมีแนวรับถัดไปที่ 780 จุด ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ หากเป็นนักลงทุนระยะยาวสามารถเข้าเก็บหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาปรับลดลงมามาก ส่วนนักลงทุนระยะสั้นแนะนำถือเงินสดรอดูสถานการณ์
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับลงค่อนข้างแรง โดยมีสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ ประการแรก ประเด็นการเมืองในประเทศ หลังการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตยยังไม่มีท่าทีจะสิ้นสุด ขณะวันเสาร์ที่ผ่านมาสถานการณ์ตึงเครียดขึ้น เมื่อรัฐบาลมีท่าทีว่าจะใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ทำให้การเผชิญหน้าระหว่างสองฝ่ายทวีความรุนแรงมากขึ้น
ประการที่สอง การที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงบริษัทจดทะเบียน ด้วยการขอร้องให้บริษัทกลุ่มปตท.ซึ่งประกอบด้วย 4 โรงกลั่น ลดราคาขายน้ำมันดีเซลต่ำกว่าตลาด 3 บาท ในจำนวน 122 ล้านลิตรต่อเดือน เพื่อช่วยเหลือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แม้ผลกระทบที่เกิดจะน้อยกว่าการลดค่าการกลั่นลง 1 บาทต่อลิตร แต่เชื่อว่าในมุมมองของนักลงทุนต่างชาติการแทรกแซงการดำเนินของบริษัทจดทะเบียนเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำให้นักลงทุนต่างชาติลดพอร์ตการลงทุนในช่วงนี้ ประการสุดท้าย การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกรุงเทพเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งโดยปกติต้องรอแบงก์ชาติส่งสัญญาณด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายก่อน ทำให้ตลาดคาดว่าแบงก์อื่นๆ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม และมองว่าจะเป็นการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลจากอัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ระดับ 7.6% ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 3.25% ซึ่งยังมีช่องที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกมาก ดังนั้นจึงเกิดความกังวลว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะกระทบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดว่าดัชนีมีโอกาสปรับตัวลงต่อ เนื่องจากยังมองไม่เห็นปัจจัยบวกที่จะเข้ามากระตุ้นตลาด ขณะที่ปัจจัยลบที่กล่าวมาจะยังส่งผลกดดันบรรยากาศการลงทุนอยู่ โดยประเมินแนวรับที่ 800 จุด แนวต้านที่ 830 จุด หากหลุดแนวรับดังกล่าวจะมีแนวรับถัดไปที่ 785 จุด ซึ่งมองว่าถ้าดัชนีปรับลดลงมาถึงจุดนี้ ถือว่าถูกมากแล้ว ดังนั้นนักลงทุนสามารถหาจังหวะเข้าลงทุนระยะสั้นในหุ้นที่ราคาปรับลดลงต่ำกว่าพื้นฐานได้
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า นักลงทุนต่างชาติยังขายต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนที่ 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีสาเหตุมาจากการที่รัฐบาลมีท่าทีต้องการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์บานปลาย จึงลดพอร์ตการลงทุนในหุ้นไทย ประกอบกับราคาน้ำมันแกว่งตัวในระดับสูงกดดันเงินเฟ้อทั่วโลก ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ขณะที่การลดราคาขายน้ำมันดีเซลลง 3 บาท ของโรงกลั่นในกลุ่มปตท. ทำให้นักลงทุนต่างชาติรู้สึกไม่พอใจที่รัฐเข้ามาบิดเบือนกลไกลราคา เห็นได้จากราคาหุ้นโรงกลั่นที่ยังปรับตัวลดลง ประกอบกับแนวโน้มครึ่งปีหลังที่จะออกมาไม่ดีของกลุ่มโรงกลั่น หลังโรงกลั่นในอินเดียขนาดกำลังการผลิต 580,000บาร์เรลต่อวัน จะเริ่มผลิตในเดือนตุลาคม นอกจากนี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกรุงเทพ ส่งผลกระทบกับต้นทุนของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และมีโอกาสที่แบงก์อื่นๆ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม ซึ่งคาดว่าภายในอาทิตย์น่าจะได้เห็น ทำให้ภาพเศรษฐกิจที่ถูกกระทบจากเงินเฟ้ออยู่แล้ว เหมือนถูกซ้ำด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้มุมมองที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวเป็นไปได้ยาก
ทั้งนี้ คาดว่าตลาดหุ้นไทย วันนี้มีโอกาสปรับลดลงได้อีก ยกเว้นกรณีที่ดัชนีดาวโจนส์บวกแรงๆ หรือบรรยากาศการเมืองในประเทศดีขึ้น โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนี โดยมีแนวรับที่ 8007 จุด แนวต้านที่ 820 จุด หากดัชนียังปรับลงแรงเหมือนเมื่อวานนี้จะมีแนวรับถุดไปที่ 796 จุด สำหรับกลยุทธ์การลงทุน แนะนำถือเงินสดรอดูสถานการณ์ก่อน แต่หากเป็นนักลงทุนระยะยาวที่มีเงินมากสามารถเข้าเก็บหุ้นพื้นฐานดีที่เห็นว่าราคาลดลงมามากแล้วได้
***นักลงทุนควรเลือกจังหวะลงทุน
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลดลงนั้นจาก 3 ปัจจัยคือ จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคมอยู่ระดับที่สูง 7.6% และจากนักลงทุนยังรอความชัดเจนในเรื่องค่าการกลั่นของกระทรวงพลังงานและผู้ประกอบธุรกิจโรงกลั่น ทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลงมา3% และจากความกังวลในเรื่องปัจจัยทางการเมือง
ทั้งนี้ ต้องการให้นักลงทุนมีการติดตามข้อมูลในช่วงที่ข้อมูลยังไม่ชัดเจนทั้งในเรื่องการเจรจากับผู้ประกอบธุรกิจโรงกลั่นและปัจจัยทางการเมืองเพื่อจะไม่ให้เสียโอกาสในการลงทุน ซึ่งจากการที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นนั้นสามารถจะลงทุนในหุ้นบางอุตสาหกรรมจะได้รับผลตอบแทนตามอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง
"จากปัจจัยทางการเมืองนั้นมีส่วนทำให้นักลงทุนมีความกังวล แต่หวังว่ารัฐบาลจะมีการดูแลสถานการณ์ได้ส่วนในเรื่องการลงทุนหวังว่ารัฐบาลจะมีการเร่งการลงทุนดูแลในเรื่องพลังงานทดแทน เพื่อสร้างความมั่นใจ ซึ่งในระหว่างนี้นักลงทุนควรที่จะติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆเพื่อที่จะไม่เสียจังหวะในการลงทุน "นางภัทรียา กล่าว