ผู้บริหารกองทุนไม่หวั่นการเมืองพ่นพิษใส่ตลาดหุ้น ระบุส่งผลกระทบเพียงระยะสั้นเท่านั้น เชื่อมั่นมีโอกาสเห็นดัชนีพุ่งแตะ 1,000 จุด ประเมินการลงทุนระยะยาวยังให้ผลตอบแทนสวย ชี้ดัชนีตั้งแต่ต้นสัปดาห์รุดเพราะหลายปัจจัยประกอบกัน ด้านบล.แนะเลือกลงทุนในหุ้นศักยภาพเติบโตสู้เงินเฟ้อ ฝ่าวิกฤตช่วงตลาดผันผวน
นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองของประเทศไทยในขณะนี้เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นระยะยาว แต่ในระยะสั้นคงจะมีความกังวลในเรื่องนี้อยู่บ้างเล็กน้อย โดยประเมินว่าในอนาคตตลาดหุ้นน่าจะมีสามารถขยายตัวในระดับหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ดัชนีอยู่ที่ประมาณ 850 จุด และนักวิเคราะห์มองว่าในปีนี้ดัชนีน่าจะปรับตัวได้ถึง 1,000 จุด หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณ 20%
สำหรับปัจจัยหนุนของการลงทุนในหุ้นไทยอยู่ที่ระดับราคาและระดับ P/E ที่ยังคงต่ำ ทำให้ปัจจัยเรื่องการเมืองกลายเป็นปัจจัยที่ไม่ส่งผลกระทบมากนัก ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีไม่ได้อิงกับปัจจัยทางการเมืองอยู่แล้ว และหากสังเกตจะพบว่าแม้บางช่วงสถานการณ์การเมืองจะค่อนข้างผันผวน แต่ดัชนีตลาดหุ้นยังมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและมีค่า P/E ต่ำกว่า 11 เท่า ถือว่าน่าลงทุน แต่จะต้องพิจารณาด้วยว่า อัตราการเติบโตกับผลกำไรของบริษัทที่เข้าไปลงทุนราคาสอดคล้องกันหรือไม่
"เรื่องการเมืองจริงแล้วผลกระทบมันไม่มาก เป็นเซนทิเมนท์ระยะสั้น แต่บางครั้งตลาดมันโอเวอร์นักลงทุนบางทีก็เทขายมากเกินไป อยากให้มองในแง่ราคาเป็นหลักถ้าราคามันสะท้อนไปล่วงหน้าเยอะมันก็ไม่น่าซื้อ แต่ถ้าราคามันลงมาเวอร์มาก โดยที่การเติบโตของผลกำไรบริษัทจดทะเบียน (เอินนิ่งโกรส) มันยังมีอัพไซด์มันก็ยังน่าลงทุนอยู่"นายธีรนาถกล่าว
นายอรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิลมล ผู้อำนวยการสายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาสาเหตุที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงเกิดมาจากหลายปัจจัยประกอบกัน ไม่ใช้เพียงผลกระทบจากปัจจัยทางการเมืองที่ไม่นิ่งเพียงอย่างเดียว โดยหลังจากที่กระทรวงพลังงานได้มีแนวนโยบายจะให้โรงกลั่นปรับลดส่วนต่างค่าการกลั่นของน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 1 บาท ส่งผลทำให้หุ้นในกลุ่มพลังงานซึ่งเป็นหุ้นกลุ่มที่มีมาร์เกตแคปสูงสุดในตลาดฯของไทยได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตามยังประเมินว่าในระยะยาวการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ยังมีความน่าสนใจ เนื่องมาจากผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับดี ซึ่งตรงข้ามกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังประเมินด้วยว่าในอนาคตผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนก็่น่าจะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
"ถ้าดัชนีจะผ่าน 900 จุดไปได้ ต้องมีหลายปัจจัยที่จะเข้ามาหนุน ในส่วนของเรื่องราคาน้ำมัน ถ้าย่อตัวลงอาจจะส่งผลระยะสั้นต่อหุ้นกลุ่มพลังงานบ้าง แต่ภาพรวมของตลาดจะดีขึ้นเพราะราคาน้ำมันเป็นต้นทุนของทุกบริษัทอยู่แล้ว ตอนนี้ปัจจัยทางการเมืองกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงถาวรของประเทศไทย แต่ถ้าจะพิจารณาให้ดีแล้ว จะพบว่าปัจจัยทางการเมืองขณะนี้ลดความรุนแรงจากในอดีต ซึ่งมองว่าสถานการณ์ความวุ่นวายตอนนี้จะส่งผลกระทบเพียงระยะสั้นเท่านั้น" นายอรุณศักดิ์ กล่าว
ด้านนางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บลจ.บัวหลวง เปิดเผยถึงสถานการณ์การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ขณะนี้ปัญหาการเมืองที่ไม่สงบทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงกว่า 20 จุด โดยนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงินต่างพากันขายหุ้นออกเป็นจำนวนมาก เพราะยังไม่มีความมั่นใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่ก่อนหน้านี้ปัจจัยทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทยเริ่มกลับเป็นบวกมากขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา แต่พอเกิดปัญหาทางการเมืองทำให้นักลงทุนต่างชาติจำเป็นต้องมีการขายหุ้นออกไปเพื่อกระจายความเสี่ยง
“หลังจากที่ประเทศได้รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศแล้วนั้น จึงได้สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองทีเกิดขึ้นในขณะนี้ จึงทำให้ความเชื่อมั่นนักลงทุนถดถอยลง ดังนั้นอยากจะให้ทุกฝ่ายหันหน้ากลับมาทำเพื่อประเทศชาติกันอย่างจริงจริง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกลับมาอีกครั้ง” นางวรวรรณ กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและเรื่องของปัจจัยทางการเมืองถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อตลาดหุ้นของประเทศไทย ซึ่งหากการเมืองภายในประเทศมีความนิ่งมากขึ้นจะส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุนและหากสภาพเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่องก็จะส่งผลต่อการลงทุนในประเทศเช่นกัน
ส่วนบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ตลาดจะเกิดการปรับฐานที่ดัชนีประมาณ 830-840 จุด โดยประเมินว่าหลังจากนี้แรงขายของนักลงทุนสถาบันน่าจะมีอยู่อย่างต่อเนื่องจากปัจจัยลบที่ผสมผสานกัน ทั้งเรื่องการประท้วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย , ปัญหาเงินบาทอ่อนค่าและการแทรกแซงของรัฐบาลด้วยการขอความร่วมมือกับโรงกลั่นให้ลดค่าการกลั่นเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคในภาวะน้ำมันแพง โดยนักลงทุนสถาบันมีสถานะขายสุทธิจำนวน 2.1 พันล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติมีสถานะขายสุทธิ 1.9 พันล้านบาทตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันจากภาวะตลาดหุ้นอ่อนตัวและผันผวนมาก จึงแนะนำนักลงทุนให้เลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มที่จะมีศักยภาพในการเติบโต ซึ่งได้แก่ กลุ่มบริษัทที่มีฐานธุรกิจจำเป็นหรือแข็งแกร่งกว่าธุรกิจทั่วไปในการต่อสู้เงินเฟ้อด้านต้นทุน อย่างเช่นหุ้นของบริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TTW และบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN เป็นต้น
นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองของประเทศไทยในขณะนี้เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นระยะยาว แต่ในระยะสั้นคงจะมีความกังวลในเรื่องนี้อยู่บ้างเล็กน้อย โดยประเมินว่าในอนาคตตลาดหุ้นน่าจะมีสามารถขยายตัวในระดับหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ดัชนีอยู่ที่ประมาณ 850 จุด และนักวิเคราะห์มองว่าในปีนี้ดัชนีน่าจะปรับตัวได้ถึง 1,000 จุด หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณ 20%
สำหรับปัจจัยหนุนของการลงทุนในหุ้นไทยอยู่ที่ระดับราคาและระดับ P/E ที่ยังคงต่ำ ทำให้ปัจจัยเรื่องการเมืองกลายเป็นปัจจัยที่ไม่ส่งผลกระทบมากนัก ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีไม่ได้อิงกับปัจจัยทางการเมืองอยู่แล้ว และหากสังเกตจะพบว่าแม้บางช่วงสถานการณ์การเมืองจะค่อนข้างผันผวน แต่ดัชนีตลาดหุ้นยังมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและมีค่า P/E ต่ำกว่า 11 เท่า ถือว่าน่าลงทุน แต่จะต้องพิจารณาด้วยว่า อัตราการเติบโตกับผลกำไรของบริษัทที่เข้าไปลงทุนราคาสอดคล้องกันหรือไม่
"เรื่องการเมืองจริงแล้วผลกระทบมันไม่มาก เป็นเซนทิเมนท์ระยะสั้น แต่บางครั้งตลาดมันโอเวอร์นักลงทุนบางทีก็เทขายมากเกินไป อยากให้มองในแง่ราคาเป็นหลักถ้าราคามันสะท้อนไปล่วงหน้าเยอะมันก็ไม่น่าซื้อ แต่ถ้าราคามันลงมาเวอร์มาก โดยที่การเติบโตของผลกำไรบริษัทจดทะเบียน (เอินนิ่งโกรส) มันยังมีอัพไซด์มันก็ยังน่าลงทุนอยู่"นายธีรนาถกล่าว
นายอรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิลมล ผู้อำนวยการสายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาสาเหตุที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงเกิดมาจากหลายปัจจัยประกอบกัน ไม่ใช้เพียงผลกระทบจากปัจจัยทางการเมืองที่ไม่นิ่งเพียงอย่างเดียว โดยหลังจากที่กระทรวงพลังงานได้มีแนวนโยบายจะให้โรงกลั่นปรับลดส่วนต่างค่าการกลั่นของน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 1 บาท ส่งผลทำให้หุ้นในกลุ่มพลังงานซึ่งเป็นหุ้นกลุ่มที่มีมาร์เกตแคปสูงสุดในตลาดฯของไทยได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตามยังประเมินว่าในระยะยาวการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ยังมีความน่าสนใจ เนื่องมาจากผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับดี ซึ่งตรงข้ามกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังประเมินด้วยว่าในอนาคตผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนก็่น่าจะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
"ถ้าดัชนีจะผ่าน 900 จุดไปได้ ต้องมีหลายปัจจัยที่จะเข้ามาหนุน ในส่วนของเรื่องราคาน้ำมัน ถ้าย่อตัวลงอาจจะส่งผลระยะสั้นต่อหุ้นกลุ่มพลังงานบ้าง แต่ภาพรวมของตลาดจะดีขึ้นเพราะราคาน้ำมันเป็นต้นทุนของทุกบริษัทอยู่แล้ว ตอนนี้ปัจจัยทางการเมืองกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงถาวรของประเทศไทย แต่ถ้าจะพิจารณาให้ดีแล้ว จะพบว่าปัจจัยทางการเมืองขณะนี้ลดความรุนแรงจากในอดีต ซึ่งมองว่าสถานการณ์ความวุ่นวายตอนนี้จะส่งผลกระทบเพียงระยะสั้นเท่านั้น" นายอรุณศักดิ์ กล่าว
ด้านนางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บลจ.บัวหลวง เปิดเผยถึงสถานการณ์การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ขณะนี้ปัญหาการเมืองที่ไม่สงบทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงกว่า 20 จุด โดยนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงินต่างพากันขายหุ้นออกเป็นจำนวนมาก เพราะยังไม่มีความมั่นใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่ก่อนหน้านี้ปัจจัยทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทยเริ่มกลับเป็นบวกมากขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา แต่พอเกิดปัญหาทางการเมืองทำให้นักลงทุนต่างชาติจำเป็นต้องมีการขายหุ้นออกไปเพื่อกระจายความเสี่ยง
“หลังจากที่ประเทศได้รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศแล้วนั้น จึงได้สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองทีเกิดขึ้นในขณะนี้ จึงทำให้ความเชื่อมั่นนักลงทุนถดถอยลง ดังนั้นอยากจะให้ทุกฝ่ายหันหน้ากลับมาทำเพื่อประเทศชาติกันอย่างจริงจริง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกลับมาอีกครั้ง” นางวรวรรณ กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและเรื่องของปัจจัยทางการเมืองถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อตลาดหุ้นของประเทศไทย ซึ่งหากการเมืองภายในประเทศมีความนิ่งมากขึ้นจะส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุนและหากสภาพเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่องก็จะส่งผลต่อการลงทุนในประเทศเช่นกัน
ส่วนบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ตลาดจะเกิดการปรับฐานที่ดัชนีประมาณ 830-840 จุด โดยประเมินว่าหลังจากนี้แรงขายของนักลงทุนสถาบันน่าจะมีอยู่อย่างต่อเนื่องจากปัจจัยลบที่ผสมผสานกัน ทั้งเรื่องการประท้วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย , ปัญหาเงินบาทอ่อนค่าและการแทรกแซงของรัฐบาลด้วยการขอความร่วมมือกับโรงกลั่นให้ลดค่าการกลั่นเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคในภาวะน้ำมันแพง โดยนักลงทุนสถาบันมีสถานะขายสุทธิจำนวน 2.1 พันล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติมีสถานะขายสุทธิ 1.9 พันล้านบาทตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันจากภาวะตลาดหุ้นอ่อนตัวและผันผวนมาก จึงแนะนำนักลงทุนให้เลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มที่จะมีศักยภาพในการเติบโต ซึ่งได้แก่ กลุ่มบริษัทที่มีฐานธุรกิจจำเป็นหรือแข็งแกร่งกว่าธุรกิจทั่วไปในการต่อสู้เงินเฟ้อด้านต้นทุน อย่างเช่นหุ้นของบริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TTW และบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN เป็นต้น