“ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์” ปลอบใจธอส.หลังแห้วเพิ่มทุนหมื่นล้านบาท เตรียมหารือสรรพากรเปิดช่องลูกค้าเงินฝากออมทรัพย์ทุกประเภทไม่ต้องเสียภาษี 15% ลั่นภายใน 2 เดือนรู้ผล วงในระบุกระทรวงการคลังหมดหน้าตักไม่มีเงินเพิ่มทุนต้องช่วยเอสเอ็มอีแบงก์ที่อาการร่อแร่ก่อน
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หลังจากตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้กับสถาบันการเงินของรัฐและปฏิเสธการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินแต่ละแห่งในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดได้มีนโยบายเพื่อปลอบใจให้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) โดยจะแก้ไขระเบีบยข้อบังคับเพื่อให้ลูกค้าเงินฝากออมทรัพย์และออมทรัพย์พิเศษของธนาคารไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย 15% เพื่อเป็นแรงจูงใจและเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกค้าเงินฝากของธนาคารมากขึ้น
ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ และสถานะของธนาคารพบว่ายังไม่มีปัญหาในการดำเนินการแต่อย่างใด ธนาคารยังมีสภาพคล่องสำหรับปล่อยสินเชื่อได้อีกมากรวมถึงสถาบันการเงินแห่งอื่นๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบก็ยังมีสถานะในการดำเนินการที่ดีเช่นกันจึงยังไม่ต้องเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วนแต่อย่างใด
“ในเร็วๆ นี้จะหารือเรื่องดังกล่าวกับนายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการยกเว้นการเก็บภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธอส.ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งหากสามารถทำได้ก็จะเป็นการช่วยปลอบใจธอส.ที่กระทรวงการคลังปฏิเสธการเพิ่มทุนในครั้งนี้ไป ทั้งนี้ในการดำเนินการสำหรับยกเว้นภาษีจากดอกเบี้ย 15% จะสามารถสรุปผลได้ภายใน 2 เดือนนับจากนี้” นายประดิษฐ์กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า จากการพิจารณาข้อมูลของธอส.แล้วพบว่าในช่วงไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมายอดการปล่อยสินเชื่อของธอส.ชะลอตัวลงมากทั้งจากการที่ประชาชนยังไม่ตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์เนื่องจากรอมาตรการภาษีด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่อยู่ในช่วงกำลังประกาศใช้ ความไม่เชื่อมั่นในเรื่องเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันและสินค้าที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงปัญหาทางการเมืองที่ยังวุ่นวายจากกรณียุบพรรค
โดยจากปัญหาทั้งหลายดังกล่าวจึงทำให้สภาพคล่องของธอส.ยังพอมีเหลือสำหรับปล่อยกู้ได้อีกระยะหนึ่ง หากเพิ่มทุนให้กับธอส.ในขณะนี้ก็จะเกิดเป็นต้นทุนทางการเงิน สิ่งที่ต้องรีบพิจารณาคือการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินที่มีปัญหาที่วิกฤตกว่าธอส.อย่างธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ก่อน
“ปัญหาการเพิ่มทุนสำหรับธนาคารรัฐส่วนใหญ่ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนนักและเงินที่จะเพิ่มทุนนั้นก็เป็นเงินภาษีของประชาชนจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ และกระทรวงการคลังเองก็มีเงินไม่เพียงพอที่จะเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินแต่ละแห่งที่ขอมาจึงจะพิจารณาให้กับสถาบันการเงินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างเอสเอ็มอีแบงก์ที่มีอาการร่อแร่อย่างที่เห็นกันอยู่” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้หากกระทรวงการคลังเพิ่มทุนให้กับธอส. 1 หมื่นล้านบาทจะทำให้ธอส.สามารถขยายสินเชื่อได้สูงสุด 12.5 เท่าของเงินกองทุนที่เพิ่มขึ้น หรือประมาณ 1.25 แสนล้านบาท
โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมานายประดิษฐ์กล่าว่วา การที่ยังไม่เพิ่มทุนตามที่ธอส.เสนอขอมา 1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเห็นว่า ยังมีสภาพคล่องรองรับการปล่อยสินเชื่อได้อยู่ แม้จะยอมรับว่ามีผลกระทบทำให้ผลกำไรลดน้อยลงก็ตาม แต่ได้ผ่อนผันให้ตั้งสำรองตามมาตรฐานบัญชีใหม่ออกไปจากเดิมในสิ้นปีนี้เป็นสิ้นปีหน้า ส่วนกรณีการออกพันธบัตร 1 หมื่นล้านบาทเพื่อนำเงินมาปล่อยสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำให้ประชาชนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น กระทรวงการคลังดำเนินการแล้ว คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์นี้จะดำเนินการด้านเอกสารเรียบร้อยและนำพันธบัตรออกขายต่อไป
“การอนุมัติเพิ่มทุนให้ธนาคารรัฐทุกแห่ง ต้องอยู่บนพื้นฐานการปรับปรุงโครงสร้างการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เป็นการเพิ่มทุนเพื่อทำให้ตัวเลขทางบัญชีดีขึ้นแต่การแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ยังเท่าเดิม ท้ายที่สุดปัญหาจะใหญ่ขึ้นและแก้ยากทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้รับข้อเสนอการขอลดภาษีบัญชีออมทรัพย์และออมทรัพย์พิเศษให้ ธอส. โดยจะหารือกับกรมสรรพากรว่าทำได้มากน้อยเพียงใด”
ขณะเดียวกัน ธอส.ได้ปรับเปลี่ยนระบบการบันทึกบัญชีลูกหนี้เอ็นพีแอล จากปัจจุบันที่บันทึกบัญชีเป็นรายงวด ที่ขาดชำระ 3 เดือน จึงจะเป็นเอ็นพีแอล มาใช้ระบบมาตรฐานการบัญชีใหม่ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้ โดยใช้การบันทึกเป็นรายวัน เพื่อควบคุมการแก้ปัญหาเอ็นพีแอลให้เข้มงวดขึ้น ทั้งนี้ยอมรับว่า การเปลี่ยนระบบดังกล่าวนี้ ทำให้ ธอส.จะมียอดหนี้เสียสูงขึ้น มีผลกำไรลดลง แต่ภาพรวมคงไม่กระทบต่อแผนดำเนินการมากนัก
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หลังจากตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้กับสถาบันการเงินของรัฐและปฏิเสธการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินแต่ละแห่งในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดได้มีนโยบายเพื่อปลอบใจให้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) โดยจะแก้ไขระเบีบยข้อบังคับเพื่อให้ลูกค้าเงินฝากออมทรัพย์และออมทรัพย์พิเศษของธนาคารไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย 15% เพื่อเป็นแรงจูงใจและเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกค้าเงินฝากของธนาคารมากขึ้น
ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ และสถานะของธนาคารพบว่ายังไม่มีปัญหาในการดำเนินการแต่อย่างใด ธนาคารยังมีสภาพคล่องสำหรับปล่อยสินเชื่อได้อีกมากรวมถึงสถาบันการเงินแห่งอื่นๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบก็ยังมีสถานะในการดำเนินการที่ดีเช่นกันจึงยังไม่ต้องเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วนแต่อย่างใด
“ในเร็วๆ นี้จะหารือเรื่องดังกล่าวกับนายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการยกเว้นการเก็บภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธอส.ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งหากสามารถทำได้ก็จะเป็นการช่วยปลอบใจธอส.ที่กระทรวงการคลังปฏิเสธการเพิ่มทุนในครั้งนี้ไป ทั้งนี้ในการดำเนินการสำหรับยกเว้นภาษีจากดอกเบี้ย 15% จะสามารถสรุปผลได้ภายใน 2 เดือนนับจากนี้” นายประดิษฐ์กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า จากการพิจารณาข้อมูลของธอส.แล้วพบว่าในช่วงไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมายอดการปล่อยสินเชื่อของธอส.ชะลอตัวลงมากทั้งจากการที่ประชาชนยังไม่ตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์เนื่องจากรอมาตรการภาษีด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่อยู่ในช่วงกำลังประกาศใช้ ความไม่เชื่อมั่นในเรื่องเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันและสินค้าที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงปัญหาทางการเมืองที่ยังวุ่นวายจากกรณียุบพรรค
โดยจากปัญหาทั้งหลายดังกล่าวจึงทำให้สภาพคล่องของธอส.ยังพอมีเหลือสำหรับปล่อยกู้ได้อีกระยะหนึ่ง หากเพิ่มทุนให้กับธอส.ในขณะนี้ก็จะเกิดเป็นต้นทุนทางการเงิน สิ่งที่ต้องรีบพิจารณาคือการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินที่มีปัญหาที่วิกฤตกว่าธอส.อย่างธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ก่อน
“ปัญหาการเพิ่มทุนสำหรับธนาคารรัฐส่วนใหญ่ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนนักและเงินที่จะเพิ่มทุนนั้นก็เป็นเงินภาษีของประชาชนจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ และกระทรวงการคลังเองก็มีเงินไม่เพียงพอที่จะเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินแต่ละแห่งที่ขอมาจึงจะพิจารณาให้กับสถาบันการเงินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างเอสเอ็มอีแบงก์ที่มีอาการร่อแร่อย่างที่เห็นกันอยู่” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้หากกระทรวงการคลังเพิ่มทุนให้กับธอส. 1 หมื่นล้านบาทจะทำให้ธอส.สามารถขยายสินเชื่อได้สูงสุด 12.5 เท่าของเงินกองทุนที่เพิ่มขึ้น หรือประมาณ 1.25 แสนล้านบาท
โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมานายประดิษฐ์กล่าว่วา การที่ยังไม่เพิ่มทุนตามที่ธอส.เสนอขอมา 1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเห็นว่า ยังมีสภาพคล่องรองรับการปล่อยสินเชื่อได้อยู่ แม้จะยอมรับว่ามีผลกระทบทำให้ผลกำไรลดน้อยลงก็ตาม แต่ได้ผ่อนผันให้ตั้งสำรองตามมาตรฐานบัญชีใหม่ออกไปจากเดิมในสิ้นปีนี้เป็นสิ้นปีหน้า ส่วนกรณีการออกพันธบัตร 1 หมื่นล้านบาทเพื่อนำเงินมาปล่อยสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำให้ประชาชนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น กระทรวงการคลังดำเนินการแล้ว คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์นี้จะดำเนินการด้านเอกสารเรียบร้อยและนำพันธบัตรออกขายต่อไป
“การอนุมัติเพิ่มทุนให้ธนาคารรัฐทุกแห่ง ต้องอยู่บนพื้นฐานการปรับปรุงโครงสร้างการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เป็นการเพิ่มทุนเพื่อทำให้ตัวเลขทางบัญชีดีขึ้นแต่การแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ยังเท่าเดิม ท้ายที่สุดปัญหาจะใหญ่ขึ้นและแก้ยากทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้รับข้อเสนอการขอลดภาษีบัญชีออมทรัพย์และออมทรัพย์พิเศษให้ ธอส. โดยจะหารือกับกรมสรรพากรว่าทำได้มากน้อยเพียงใด”
ขณะเดียวกัน ธอส.ได้ปรับเปลี่ยนระบบการบันทึกบัญชีลูกหนี้เอ็นพีแอล จากปัจจุบันที่บันทึกบัญชีเป็นรายงวด ที่ขาดชำระ 3 เดือน จึงจะเป็นเอ็นพีแอล มาใช้ระบบมาตรฐานการบัญชีใหม่ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้ โดยใช้การบันทึกเป็นรายวัน เพื่อควบคุมการแก้ปัญหาเอ็นพีแอลให้เข้มงวดขึ้น ทั้งนี้ยอมรับว่า การเปลี่ยนระบบดังกล่าวนี้ ทำให้ ธอส.จะมียอดหนี้เสียสูงขึ้น มีผลกำไรลดลง แต่ภาพรวมคงไม่กระทบต่อแผนดำเนินการมากนัก