บอร์ด ปตท.ไฟเขียวลงนามสัญญาเช่าที่ราชพัสดุฯกับกรมธนารักษ์ได้ภายใน มิ.ย.นี้ หลังร่างสัญญาดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองว่า ขณะนี้ร่างสัญญาให้ใช้ที่ราชพัสดุที่แบ่งแยกให้กระทรวงการคลังในการดำเนินกิจการของปตท.โดยจ่ายมีการจ่ายค่าตอบแทน ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว และที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 16 พ.ค.ได้มีมติอนุมัติให้เข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกันระหว่าง ปตท. กับ กระทรวงการคลัง ในการเข้าทำสัญญาดังกล่าว คาดว่าจะลงนามในสัญญาใช้ที่ราชพัสดุฯได้ภายในเดือนมิ.ย.นี้
การเข้าทำรายการดังกล่าวข้างต้นเข้าข่ายเป็นการตกลงเข้าทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน โดยประเมินมูลค่ารายการโดยใช้วิธีมูลค่ารวมตามมูลค่า ณ ปัจจุบันในอัตราส่วนลดที่ 8.5% คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 5,904 ล้านบาท สำหรับค่าใช้สินทรัพย์ตลอดระยะเวลา 30 ปี หรือคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 7,473 ล้านบาท หากรวมค่าใช้ทรัพย์สินย้อนหลังตั้งแต่ 1 ต.ค.44 - 31ธ.ค. 50 ประมาณ 1,569 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าของรายการน้อยกว่า 3% ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด
ก่อนหน้านี้ ปตท.และกรมธนารักษ์ ได้ร่วมลงนามในบันทึกการแบ่งแยกและการส่งมอบทรัพย์สินฯ มีสาระสำคัญดังนี้ คือ ทรัพย์สินที่ ปตท. ส่งมอบให้กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย ที่ดิน สิทธิการใช้ที่ดิน ท่อและอุปกรณ์เครื่องมือที่ประกอบกันเป็นระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมมูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ 30 ก.ย.44 ประมาณ 16,175 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดังกล่าวต้องใช้ระยะเวลา ศาลฯจึงอนุญาตให้เลื่อนการดำเนินการตามคำพิพากษาออกไปจนถึง 30 ก.ค.นี้
โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ปตท. มีสิทธิในการใช้ที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่การปิโตรเลียมฯ เคยมีอยู่ข้างต้นมีกำหนดระยะเวลา 30ปี จนถึง 31 ธ.ค. 80 โดยปตท. ต้องชำระค่าใช้ที่ราชพัสดุในอัตราค่าใช้ที่คำนวณจากส่วนแบ่งรายได้ ของค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติบนฝั่ง (รายได้ค่าผ่านท่อ ) ในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 180 ล้านบาท และสูงสุดไม่เกิน 550 ล้านบาท และมีค่าใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 44 -31 ธ.ค. 50 ประมาณ 1,569 ล้านบาท
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองว่า ขณะนี้ร่างสัญญาให้ใช้ที่ราชพัสดุที่แบ่งแยกให้กระทรวงการคลังในการดำเนินกิจการของปตท.โดยจ่ายมีการจ่ายค่าตอบแทน ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว และที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 16 พ.ค.ได้มีมติอนุมัติให้เข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกันระหว่าง ปตท. กับ กระทรวงการคลัง ในการเข้าทำสัญญาดังกล่าว คาดว่าจะลงนามในสัญญาใช้ที่ราชพัสดุฯได้ภายในเดือนมิ.ย.นี้
การเข้าทำรายการดังกล่าวข้างต้นเข้าข่ายเป็นการตกลงเข้าทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน โดยประเมินมูลค่ารายการโดยใช้วิธีมูลค่ารวมตามมูลค่า ณ ปัจจุบันในอัตราส่วนลดที่ 8.5% คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 5,904 ล้านบาท สำหรับค่าใช้สินทรัพย์ตลอดระยะเวลา 30 ปี หรือคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 7,473 ล้านบาท หากรวมค่าใช้ทรัพย์สินย้อนหลังตั้งแต่ 1 ต.ค.44 - 31ธ.ค. 50 ประมาณ 1,569 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าของรายการน้อยกว่า 3% ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด
ก่อนหน้านี้ ปตท.และกรมธนารักษ์ ได้ร่วมลงนามในบันทึกการแบ่งแยกและการส่งมอบทรัพย์สินฯ มีสาระสำคัญดังนี้ คือ ทรัพย์สินที่ ปตท. ส่งมอบให้กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย ที่ดิน สิทธิการใช้ที่ดิน ท่อและอุปกรณ์เครื่องมือที่ประกอบกันเป็นระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมมูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ 30 ก.ย.44 ประมาณ 16,175 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดังกล่าวต้องใช้ระยะเวลา ศาลฯจึงอนุญาตให้เลื่อนการดำเนินการตามคำพิพากษาออกไปจนถึง 30 ก.ค.นี้
โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ปตท. มีสิทธิในการใช้ที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่การปิโตรเลียมฯ เคยมีอยู่ข้างต้นมีกำหนดระยะเวลา 30ปี จนถึง 31 ธ.ค. 80 โดยปตท. ต้องชำระค่าใช้ที่ราชพัสดุในอัตราค่าใช้ที่คำนวณจากส่วนแบ่งรายได้ ของค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติบนฝั่ง (รายได้ค่าผ่านท่อ ) ในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 180 ล้านบาท และสูงสุดไม่เกิน 550 ล้านบาท และมีค่าใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 44 -31 ธ.ค. 50 ประมาณ 1,569 ล้านบาท