เอกชนในภาคอุตฯก่อสร้างสุดกลั้น หลังราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่ม 15-20% โดยเฉพาะเหล็กพุ่งพรวด 100% นับจากปลายปี 50 เตรียมยื่นข้อเรียกร้อง 8 ข้อเสนอรัฐเร่งแก้ไขด่วน เตือนสัญญาณภายใน 30 วัน ถ้าไม่มีความคืบหน้า นัดรวมพลทิ้งงาน
วานนี้ (14 พ.ค.51) สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ได้จัดงานเสวนาเรื่อง “ความเดือดร้อนและทางออกของผู้ประกอบการก่อสร้าง” ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมงานกว่า 250 ราย พร้อมเปิดรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของผู้รับเหมา ที่ได้รับความเดือดร้อนจากต้นทุนการก่อสร้างที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาไม่นาน
นายพลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ปัจจุบันเหล็กเส้นได้ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนส.ค.50 ตันละ 18,000 – 19,000 บาท เป็นตันละ 35,000-38,000 บาท และน้ำมันดีเซลได้ปรับขึ้นจากลิตรละ 25.50 บาทในเดือนส.ค.50 เป็นลิตรละ 34.44 บาท ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับขึ้นเกือบทุกชนิด โดยในภาพรวมต้นทุนค่าก่อสร้างปรับขึ้นเฉลี่ย 15-20% ปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งมีความต้องการใช้เหล็กทั้งระบบสูงถึง 4.5 ล้านตันต่อปี
ทั้งนี้ ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องแบกภาระต้นทุนจากราคาเหล็กแพงกว่า 10,000 ล้านบาทแล้ว และในช่วงที่ผ่านมา ผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งระบบยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากภาครัฐ ล่าสุดสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ได้รับการร้องเรียนจากผู้รับเหมาจำนวนมากและได้รับแจ้งจากผู้ประกอบการว่า หากไม่สามารถแบกรับภาระต่อไปได้อาจต้องหยุดงาน ทิ้งงานและปิดกิจการในที่สุด ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลให้มีจำนวนผู้รับเหมาทิ้งงานเพิ่มมากขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน รวมทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมของประเทศ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ จึงร้องขอให้ภาครัฐเร่งเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างโดยด่วน โดยสมาคมฯ จะข้อเสนอเพิ่มเติมที่ได้จากการจัดเสวนานำเสนอต่อนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรมภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการ
โดยปัญหาเร่งด่วนที่สมาคมฯ ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือมี ได้แก่ 1.ให้ภาครัฐหามาตรการชดเชยผลกระทบที่เกิดจากราคาเหล็กเส้นและวัสดุก่อสร้างแพงให้แก่ผู้ประกอบการเป็นการด่วน เพื่อให้ผู้รับเหมาสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้, 2.ขอให้ยกเลิกการหักค่า K 4% เมื่อต้องเพิ่มค่างาน โดยให้เพิ่มราคางานตามค่า K ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งให้ปรับตัวเลขดัชนีราคาสินค้าที่ใช้ในการคำนวณค่า K ให้ตรงตามราคาซื้อขายจริงในท้องตลาด และต้องรวมราคาขนส่งด้วย
3.สัญญาที่ไม่มีค่า K ให้เพิ่มค่า K เข้าไปทุกโครงการ และครอบคลุมทั้งสัญญา, 4. ขอขยายอายุสัญญาโครงการก่อสร้างออกไป 180 วันทุกโครงการ เพื่อเป็นการกระจาย และยืดปริมาณความต้องการเหล็กเส้นและวัสดุก่อสร้างให้ยาวขึ้น เป็นการตรึงราคาวัสดุก่อสร้างให้นานขึ้น, 5.ให้ผู้เสนอราคาที่ไม่ต้องการลงนามในสัญญา และหรือผู้ประกอบการที่ลงนามในสัญญาแล้วแต่ยังไม่ได้เบิกเงินล่วงหน้า หรือยังไม่ได้ส่งงานงวดแรก ให้สามารถยกเลิกสัญญาได้โดยไม่ถือเป็นผู้ทิ้งงาน และไม่ริบหลักประกันซองเสนอราคา หรือเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันตามระเบียบหรือข้อบังคับ
6.ขอให้มีการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มคู่สัญญาได้, 7.ขอให้จ่ายเงินล่วงหน้าอัตราร้อยละ 15 ให้ทุกสัญญาที่ไม่มีการจ่ายเงินล่วงหน้า, 8.ขอให้มีการยกเลิกการหักเงินค้ำประกันงาน, 9 ขอให้มีการแบ่งงวดงาน – งวดเงินใหม่ได้ และ 10.ขอให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางต้องตรวจสอบราคากลางไม่เกิน 10 วันก่อนการเสนอราคา
" เราหวังว่าภายใน 30 วัน รัฐบาลน่าจะพิจารณาข้อเสนอของสมาคมฯบ้าง แต่หากไม่มีความคืบหน้า จะรวมพลชะลอรับงานภาครัฐ และอาจจะถึงขั้นหยุด"
วานนี้ (14 พ.ค.51) สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ได้จัดงานเสวนาเรื่อง “ความเดือดร้อนและทางออกของผู้ประกอบการก่อสร้าง” ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมงานกว่า 250 ราย พร้อมเปิดรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของผู้รับเหมา ที่ได้รับความเดือดร้อนจากต้นทุนการก่อสร้างที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาไม่นาน
นายพลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ปัจจุบันเหล็กเส้นได้ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนส.ค.50 ตันละ 18,000 – 19,000 บาท เป็นตันละ 35,000-38,000 บาท และน้ำมันดีเซลได้ปรับขึ้นจากลิตรละ 25.50 บาทในเดือนส.ค.50 เป็นลิตรละ 34.44 บาท ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับขึ้นเกือบทุกชนิด โดยในภาพรวมต้นทุนค่าก่อสร้างปรับขึ้นเฉลี่ย 15-20% ปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งมีความต้องการใช้เหล็กทั้งระบบสูงถึง 4.5 ล้านตันต่อปี
ทั้งนี้ ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องแบกภาระต้นทุนจากราคาเหล็กแพงกว่า 10,000 ล้านบาทแล้ว และในช่วงที่ผ่านมา ผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งระบบยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากภาครัฐ ล่าสุดสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ได้รับการร้องเรียนจากผู้รับเหมาจำนวนมากและได้รับแจ้งจากผู้ประกอบการว่า หากไม่สามารถแบกรับภาระต่อไปได้อาจต้องหยุดงาน ทิ้งงานและปิดกิจการในที่สุด ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลให้มีจำนวนผู้รับเหมาทิ้งงานเพิ่มมากขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน รวมทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมของประเทศ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ จึงร้องขอให้ภาครัฐเร่งเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างโดยด่วน โดยสมาคมฯ จะข้อเสนอเพิ่มเติมที่ได้จากการจัดเสวนานำเสนอต่อนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรมภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการ
โดยปัญหาเร่งด่วนที่สมาคมฯ ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือมี ได้แก่ 1.ให้ภาครัฐหามาตรการชดเชยผลกระทบที่เกิดจากราคาเหล็กเส้นและวัสดุก่อสร้างแพงให้แก่ผู้ประกอบการเป็นการด่วน เพื่อให้ผู้รับเหมาสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้, 2.ขอให้ยกเลิกการหักค่า K 4% เมื่อต้องเพิ่มค่างาน โดยให้เพิ่มราคางานตามค่า K ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งให้ปรับตัวเลขดัชนีราคาสินค้าที่ใช้ในการคำนวณค่า K ให้ตรงตามราคาซื้อขายจริงในท้องตลาด และต้องรวมราคาขนส่งด้วย
3.สัญญาที่ไม่มีค่า K ให้เพิ่มค่า K เข้าไปทุกโครงการ และครอบคลุมทั้งสัญญา, 4. ขอขยายอายุสัญญาโครงการก่อสร้างออกไป 180 วันทุกโครงการ เพื่อเป็นการกระจาย และยืดปริมาณความต้องการเหล็กเส้นและวัสดุก่อสร้างให้ยาวขึ้น เป็นการตรึงราคาวัสดุก่อสร้างให้นานขึ้น, 5.ให้ผู้เสนอราคาที่ไม่ต้องการลงนามในสัญญา และหรือผู้ประกอบการที่ลงนามในสัญญาแล้วแต่ยังไม่ได้เบิกเงินล่วงหน้า หรือยังไม่ได้ส่งงานงวดแรก ให้สามารถยกเลิกสัญญาได้โดยไม่ถือเป็นผู้ทิ้งงาน และไม่ริบหลักประกันซองเสนอราคา หรือเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันตามระเบียบหรือข้อบังคับ
6.ขอให้มีการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มคู่สัญญาได้, 7.ขอให้จ่ายเงินล่วงหน้าอัตราร้อยละ 15 ให้ทุกสัญญาที่ไม่มีการจ่ายเงินล่วงหน้า, 8.ขอให้มีการยกเลิกการหักเงินค้ำประกันงาน, 9 ขอให้มีการแบ่งงวดงาน – งวดเงินใหม่ได้ และ 10.ขอให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางต้องตรวจสอบราคากลางไม่เกิน 10 วันก่อนการเสนอราคา
" เราหวังว่าภายใน 30 วัน รัฐบาลน่าจะพิจารณาข้อเสนอของสมาคมฯบ้าง แต่หากไม่มีความคืบหน้า จะรวมพลชะลอรับงานภาครัฐ และอาจจะถึงขั้นหยุด"