อาร์เอสปูพรมจัดการธุรกิจเพลงใหม่สู่โลกดิจิตอล ชูกลยุทธ์ “มิวสิค เซกเม้นท์ แชมเปี้ยน” แก้ปัญหาขาลงของช่องขายแบบซีดี มั่นใจเข้าถึงกลุ่มคนฟังได้หลากหลาย ทั้งปีคาดมาร์จิ้นขยับเป็น 30% จากปกติทำได้ 20-25%
นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ อาร์เอส เปิดเผยว่า หลังจากที่แนวโน้มธุรกิจเพลงเข้าสู่ยุคดิจิตอล และทางบริษัทฯได้ปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าวมาตลอดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดทางบริษัทฯได้มีการวางแผนการดำเนินธุรกิจเพลงใหม่ โดยได้ชูกลยุทธ์ “มิวสิค เซกเม้นท์ แชมเปี้ยน” กับ 8 กลุ่มแนวเพลง 10 ค่าย พร้อมแบ่งเซกเม้นต์กลุ่มเป้าหมายคนฟังอย่างชัดเจนมากขึ้น มั่นใจว่าจะทำให้แต่ละติดอยู่ในใจคนฟังในระดับ ท็อป 5 ในทุกแนวเพลง
“การทำธุรกิจเพลงในปัจจุบัน ต้องมองออกมาเป็นหลายมิติ เพราะกลุ่มผู้ฟังบางกลุ่มอาจจะพร้อมจ่ายเงินในบางประเภท และก็ไม่พร้อมที่จะจ่ายให้อีกประเภทก็เป็นได้ เพราะปัจจุบันไลฟ์สไตล์ผู้ฟังเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ก็เริ่มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์ มิวสิค เซกเม้นท์ แชมเปี้ยน จึงกลายมาเป็นเครื่องมือเพื่อจัดการเรื่องดังกล่าวได้”
สำหรับรายละเอียดของ กลยุทธ์ มิวสิค เซกเม้นท์ แชมเปี้ยน ประกอบด้วย 1. กลุ่ม Teen Community กับค่ายเพลง กามิกาเซ่ (Kamikaze) ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาย-หญิง ช่วงพรีทีน 2. กลุ่ม Digital Pop Idol นำโดย ค่ายเมโลดิก้า (Melodiga) และ ค่ายอะบอริจิ้น (Aborigine) ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นชาย-หญิง อายุระหว่าง 15 – 25 ปี ที่อยู่ในวัยเรียนชั้นมัธยมขึ้นไป มีไลฟ์สไตล์ติดอยู่กับการใช้เทคโนโลยี และการบริโภคสื่อออนไลน์
3. กลุ่ม Uni Club นำโดยค่าย เพลนตี้ มิวสิค (Plenty Music) มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาย-หญิง ที่มีช่วงอายุระหว่าง 18 – 29 ปี ในวัยเรียนมหาวิทยาลัยถึงวัยทำงานทั่วประเทศ 4. กลุ่ม Underground นำโดย ค่าย ดาร์ค ไซด์ (Darkside) มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชายอายุระหว่าง 16 – 21 ปีขึ้นไปในวัยเรียนมัธยมปลายจนถึงวัยทำงานตอนต้น 5. กลุ่ม Rock Society นำโดย ค่าย 9Richter และ ค่าย Pirate ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชายช่วงอายุระหว่าง 17 – 35 ปี อาศัยอยู่ในเมือง ในวัยระดับชั้นมหาวิทยาลัยถึงวัยทำงานตอนต้นที่มีไลฟ์สไตล์ชอบเพลงร็อค
6. กลุ่ม Easy Listening นำโดย ค่าย เมลโล โทน (Mellow Tone) ที่มีกลุ่มเป้าหมายคือชาย-หญิง อายุระหว่าง 22 – 35 ปีในวัยทำงาน ที่มีไลฟ์สไตล์แบบคนเมืองที่นิยมชื่นชอบงานปาร์ตี้และการดื่มสังสรรค์ ท่องเที่ยวและเล่นกีฬา 7. กลุ่ม Modern Local Country หรือ ลูกทุ่งสมัยใหม่ นำโดยค่ายเพลงลูกทุ่งอาร์สยาม (R-Siam) และ 8. กลุ่ม Hipster นำโดยค่ายเพลงออนไลน์เว็บไซต์ Pleng.com ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 15- 30 ปี โดยเป็นเว็บไซด์ที่มีความเป็น Community เพื่อเฟ้นหาศิลปินที่มีฝีมือประดับวงการเพลงเมืองไทย
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามทางบริษัท ไม่ได้มีการลงทุนอะไรใหม่เพิ่มเติมกับกลยุทธ์เกี่ยวกับธุรกิจเพลงใหม่ครั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะมีค่ายเพลงมากยิ่งขึ้น แต่เป็นเรื่องของการจัดการปรับเปลี่ยนโมเดลบิซิเนสมากกว่า ซึ่งจะช่วยให้เกิดการบริหารจัดการได้ดีขึ้น ทั้งนี้บริษัทฯคาดหวังว่า รายได้จากธุรกิจเพลงจะมาจากช่องทางขายที่เป็นดิจิตอลคอนเท้นท์มากขึ้น แทนช่องทางเดิมอย่างซีดีและดีวีดี ที่มียอดขายลดลง โดยคาดว่าทั้งปีในส่วนของธุรกิจเพลงน่าจะมีมาร์จิ้นสุงขึ้นเป็น 30% จากที่ผ่านมาทำได้ 20-25% ซึ่งรายได้จากธุรกิจเพลง ถือเป็นสัดส่วนกว่า 20% ของรายได้รวม 3,000 ล้านบาท โตขึ้น 20% ที่ตั้งเป้าไว้ในปีนี้
นอกจากนี้ทางบริษัทฯได้มีการจัดการเรื่องสต๊อกซีดี จากที่เคยมีถึง 17-18 ล้านก็อปปี้ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เหลือเพียง 3 ล้านก็อปปี้เท่านั้น เพราะมองว่าคนฟังมีช่องทางอื่นในการรับเพลงแทน ขณะเดียวกันความสะดวกที่จะมีการละเมิดลิขสิทธ์ก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะภาครัฐไม่มีมาตรการจริงจัง
นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ อาร์เอส เปิดเผยว่า หลังจากที่แนวโน้มธุรกิจเพลงเข้าสู่ยุคดิจิตอล และทางบริษัทฯได้ปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าวมาตลอดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดทางบริษัทฯได้มีการวางแผนการดำเนินธุรกิจเพลงใหม่ โดยได้ชูกลยุทธ์ “มิวสิค เซกเม้นท์ แชมเปี้ยน” กับ 8 กลุ่มแนวเพลง 10 ค่าย พร้อมแบ่งเซกเม้นต์กลุ่มเป้าหมายคนฟังอย่างชัดเจนมากขึ้น มั่นใจว่าจะทำให้แต่ละติดอยู่ในใจคนฟังในระดับ ท็อป 5 ในทุกแนวเพลง
“การทำธุรกิจเพลงในปัจจุบัน ต้องมองออกมาเป็นหลายมิติ เพราะกลุ่มผู้ฟังบางกลุ่มอาจจะพร้อมจ่ายเงินในบางประเภท และก็ไม่พร้อมที่จะจ่ายให้อีกประเภทก็เป็นได้ เพราะปัจจุบันไลฟ์สไตล์ผู้ฟังเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ก็เริ่มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์ มิวสิค เซกเม้นท์ แชมเปี้ยน จึงกลายมาเป็นเครื่องมือเพื่อจัดการเรื่องดังกล่าวได้”
สำหรับรายละเอียดของ กลยุทธ์ มิวสิค เซกเม้นท์ แชมเปี้ยน ประกอบด้วย 1. กลุ่ม Teen Community กับค่ายเพลง กามิกาเซ่ (Kamikaze) ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาย-หญิง ช่วงพรีทีน 2. กลุ่ม Digital Pop Idol นำโดย ค่ายเมโลดิก้า (Melodiga) และ ค่ายอะบอริจิ้น (Aborigine) ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นชาย-หญิง อายุระหว่าง 15 – 25 ปี ที่อยู่ในวัยเรียนชั้นมัธยมขึ้นไป มีไลฟ์สไตล์ติดอยู่กับการใช้เทคโนโลยี และการบริโภคสื่อออนไลน์
3. กลุ่ม Uni Club นำโดยค่าย เพลนตี้ มิวสิค (Plenty Music) มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาย-หญิง ที่มีช่วงอายุระหว่าง 18 – 29 ปี ในวัยเรียนมหาวิทยาลัยถึงวัยทำงานทั่วประเทศ 4. กลุ่ม Underground นำโดย ค่าย ดาร์ค ไซด์ (Darkside) มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชายอายุระหว่าง 16 – 21 ปีขึ้นไปในวัยเรียนมัธยมปลายจนถึงวัยทำงานตอนต้น 5. กลุ่ม Rock Society นำโดย ค่าย 9Richter และ ค่าย Pirate ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชายช่วงอายุระหว่าง 17 – 35 ปี อาศัยอยู่ในเมือง ในวัยระดับชั้นมหาวิทยาลัยถึงวัยทำงานตอนต้นที่มีไลฟ์สไตล์ชอบเพลงร็อค
6. กลุ่ม Easy Listening นำโดย ค่าย เมลโล โทน (Mellow Tone) ที่มีกลุ่มเป้าหมายคือชาย-หญิง อายุระหว่าง 22 – 35 ปีในวัยทำงาน ที่มีไลฟ์สไตล์แบบคนเมืองที่นิยมชื่นชอบงานปาร์ตี้และการดื่มสังสรรค์ ท่องเที่ยวและเล่นกีฬา 7. กลุ่ม Modern Local Country หรือ ลูกทุ่งสมัยใหม่ นำโดยค่ายเพลงลูกทุ่งอาร์สยาม (R-Siam) และ 8. กลุ่ม Hipster นำโดยค่ายเพลงออนไลน์เว็บไซต์ Pleng.com ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 15- 30 ปี โดยเป็นเว็บไซด์ที่มีความเป็น Community เพื่อเฟ้นหาศิลปินที่มีฝีมือประดับวงการเพลงเมืองไทย
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามทางบริษัท ไม่ได้มีการลงทุนอะไรใหม่เพิ่มเติมกับกลยุทธ์เกี่ยวกับธุรกิจเพลงใหม่ครั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะมีค่ายเพลงมากยิ่งขึ้น แต่เป็นเรื่องของการจัดการปรับเปลี่ยนโมเดลบิซิเนสมากกว่า ซึ่งจะช่วยให้เกิดการบริหารจัดการได้ดีขึ้น ทั้งนี้บริษัทฯคาดหวังว่า รายได้จากธุรกิจเพลงจะมาจากช่องทางขายที่เป็นดิจิตอลคอนเท้นท์มากขึ้น แทนช่องทางเดิมอย่างซีดีและดีวีดี ที่มียอดขายลดลง โดยคาดว่าทั้งปีในส่วนของธุรกิจเพลงน่าจะมีมาร์จิ้นสุงขึ้นเป็น 30% จากที่ผ่านมาทำได้ 20-25% ซึ่งรายได้จากธุรกิจเพลง ถือเป็นสัดส่วนกว่า 20% ของรายได้รวม 3,000 ล้านบาท โตขึ้น 20% ที่ตั้งเป้าไว้ในปีนี้
นอกจากนี้ทางบริษัทฯได้มีการจัดการเรื่องสต๊อกซีดี จากที่เคยมีถึง 17-18 ล้านก็อปปี้ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เหลือเพียง 3 ล้านก็อปปี้เท่านั้น เพราะมองว่าคนฟังมีช่องทางอื่นในการรับเพลงแทน ขณะเดียวกันความสะดวกที่จะมีการละเมิดลิขสิทธ์ก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะภาครัฐไม่มีมาตรการจริงจัง