“อาร์เอส” เดินหน้าปรับแผนธุรกิจเพลง ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก (Core Business) ของบริษัทครั้งใหญ่ ชูกลยุทธ์ “Lean Music Strategy” ตัดสิ่งที่ไม่ทำรายได้ และเลือกบริหารเฉพาะ เซกเมนต์ที่มีมูลค่าเชิงธุรกิจที่แข็งแรงอย่างกลุ่ม “ทีน” และ “พรีทีน” รวมถึง กลุ่ม “ร็อควัยโจ๋” เพื่อยืนหยัดสู้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ มั่นใจธุรกิจเพลงทำรายได้รวมกว่า 1 พันล้านบาทในปี 2552
นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS เปิดเผยว่า บริษัทยังคงให้ความสำคัญกับธุรกิจเพลง ซึ่งถือได้ว่าเป็นธุรกิจต้นน้ำที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัท อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจอื่นในเครืออาร์เอส เพื่อสร้างรายได้ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสูงสุด โดยยังคงมุ่งที่จะขับเคลื่อนด้วยโมเดลทางการตลาดแบบ “Music Segment Champion” กับ 7 กลุ่มแนวเพลง คือ กลุ่ม Teen Community นำเสนอผ่านแบรนด์กามิกาเซ่, กลุ่ม Digital Pop Idol นำเสนอผ่านแบรนด์อาร์เอส, กลุ่ม Uni Club นำเสนอผ่านแบรนด์ เพลนตี้ มิวสิค (Plenty Music), กลุ่ม Rock Society นำเสนอผ่านแบรนด์ 9Richter, กลุ่ม Easy Listening นำเสนอผ่านแบรนด์ เมลโล โทน (Mellow Tone) กลุ่ม Raggae and Sga นำเสนอผ่านแบรนด์ เรกเก้ วิลเลจ (Raggae Village) และกลุ่ม Modern Local Country นำเสนอผ่านแบรนด์ลูกทุ่งอาร์สยาม พร้อมแบ่งเซกเมนต์คนฟังกลุ่มเป้าหมายในเชิงลึกและแนวเพลงอย่างชัดเจน
แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงหดตัว บวกกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อาร์เอสจึงเดินหน้าปรับแผนธุรกิจเพลงครั้งใหญ่ เพื่อให้สอดรับกับภาวะปัจจุบัน พร้อมกับการวางแผนธุรกิจเพลงให้เดินหน้าอย่างชัดเจนและรัดกุมมากยิ่งขึ้น ด้วย กลยุทธ์ “Lean Music Strategy” ที่ตัดสิ่งที่ไม่ทำรายได้และมุ่งโฟกัสไปยังเซกเม้นท์ที่มีมูลค่าทางธุรกิจที่แข็งแรง คือ กลุ่มวัยรุ่น (Teen Community) โดยมีศิลปินค่ายกามิกาเซ่ (Kamikaze) อาทิ โฟร์-มด, เฟย์ ฟาง แก้ว, เค-โอติก (K-Otic), ขนมจีน, มิล่า, พายุ ฯลฯ รวมถึงกลุ่มดนตรีเพลงร็อควัยโจ๋ (Local Pop Rock) ที่กำลังเป็นที่นิยมและแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ วงไอน้ำ, Dr.Fu คู่ขนานไปกับการต่อยอดธุรกิจเพลงด้วยการพัฒนาคอนเทนต์ ให้ตรงใจกลุ่มผู้ฟังมากที่สุด และการกำหนดยุทธ์ศาสตร์ใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยช่องทางดิจิตอลเป็นหลัก ด้วยการปล่อยซิงเกิลเพลงใหม่ออกมาชิมลางให้ผู้ฟังติดหู พร้อมกับให้ได้ดาว์นโหลดเพลงใหม่ไปฟังก่อนวางแผงอีกด้วย
โดยยอดการดาวน์โหลดคอนเทนต์ ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ สามารถทำรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ โดยเพลงที่มียอดการดาวน์โหลดติดชาร์ท 5 อันดับแรกของเดือนที่ผ่านมา ประกอบด้วย อันดับ 1 เพลง “รักสามเศร้า” ของ วงพริกไทย อันดับ 2 “แฟนใหม่” ของ วง เค-โอติก (K-Otic) อันดับ 3 เพลง “ใหม่ๆ ก็รัก” ของ วงพริกไทย
อันดับ 4 เพลง “ใจเหลือเหลือ” ของ วง Dr.Fu และอันดับ 5 คือ เพลง “มีสิทธิ์แค่คิดถึง” ของ วง ไอน้ำ ซึ่งสามารถตอกย้ำความสำเร็จของศิลปินได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ บริษัทก็ยังมีการวางแผนการตลาดในระยะยาวของศิลปินแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน โดยต้องรู้ว่าศิลปินกลุ่มนี้เป็นตัวแทนของผู้บริโภคกลุ่มใด Value ของพวกเขาอยู่ที่ไหน อะไรคือจุดเด่นของการขาย (Unique Selling Point) และตำแหน่งทางการตลาด (Positioning) ของพวกเขาคืออะไร เมื่อทราบทุกอย่างแล้วก็ต้องชัดเจนในแนวทางการตลาด จึงเป็นการทำงานที่เป็นการวางแผนระยะยาว รวมถึงพัฒนารูปแบบการต่อยอดทางธุรกิจและสร้างให้ศิลปินมีรายได้ที่ยั่งยืนจากชื่อเสียงและผลงานความสามารถของตนเองในหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ศิลปินในค่ายได้แสดงความสามารถตามที่ถนัดและเหมาะสม อาทิ การแสดงละคร, เล่นหนัง, พิธีกร, การรับหน้าที่เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับสินค้าต่างๆ ซึ่งทางอาร์เอสเปิดกว้างอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังมีบริษัทในเครืออาร์เอส ที่ดำเนินธุรกิจบันเทิงครบวงจร ทั้งธุรกิจวิทยุ, ภาพยนตร์, รายการและละครทีวี หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์ ชีซ่าดอทคอม (www.zheza.com) ที่ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 2 ล้านคน โดยทั้งหมดนี้จะเป็นเครื่องมือหลักที่สำคัญ ในการโปรโมทศิลปินให้เข้าถึงกลุ่ม Mass ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งในนำเสนอและรองรับกิจกรรมต่างๆที่จะมีมากขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะกลุ่มทีน (Teen) และกลุ่มพรี-ทีน (Pre-Teen)
สำหรับภาพรวมและแนวโน้มของธุรกิจเพลงในปีนี้ยังคงอยู่ในภาวะที่ชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ คู่ขนานไปกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และปัญหากระแสแผ่นผี ซีดีเถื่อนที่ยังหาทางแก้ไขไม่ได้ แต่ยังคงเชื่อมั่นว่า ธุรกิจ ดิจิตอลคอนเทนต์ หรือ บริการผ่านช่องทางอันหลากหลายของโทรศัพท์มือถือ ยังมีแนวโน้มดี เพราะเติบโตไปตามฐานผู้ใช้โทรศัพท์มือถือรวมถึงความสามารถในการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาถึงของระบบ 3G ยิ่งจะส่งเสริมให้ผลงานเพลงในรูปแบบต่างๆเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้รายได้ในส่วนของธุรกิจดิจิตอลของอาร์เอส สามารถเข้ามาเติมเต็มรายได้ในส่วนของยอดขาย CD และ DVD (Physical Product) ที่มีแนวโน้มลดลงได้เป็นอย่างมาก
“การแข่งขันของธุรกิจเพลงในปีนี้ ต้องยอมรับว่า มีความยากลำบากกว่าปีก่อนๆ และยิ่งไปกว่านั้นธุรกิจเพลงเป็นธุรกิจที่มีความตื่นตัวและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเพราะฉะนั้นการนำเสนอโปรดักส์จึงต้องการความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำซากจำเจ เจาะกลุ่มผู้ฟังให้ได้ อีกทั้งการวางกลยุทธ์ให้สอดรับกับยุคสมัยก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน การวางกลยุทธ์ใหม่ในครั้งนี้บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ และกำหนดทิศทางของธุรกิจเพลงให้สอดคล้องกับการเติบโตของช่องทางดิจิตอลมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง” นายสุรชัย กล่าวทิ้งท้าย
นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS เปิดเผยว่า บริษัทยังคงให้ความสำคัญกับธุรกิจเพลง ซึ่งถือได้ว่าเป็นธุรกิจต้นน้ำที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัท อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจอื่นในเครืออาร์เอส เพื่อสร้างรายได้ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสูงสุด โดยยังคงมุ่งที่จะขับเคลื่อนด้วยโมเดลทางการตลาดแบบ “Music Segment Champion” กับ 7 กลุ่มแนวเพลง คือ กลุ่ม Teen Community นำเสนอผ่านแบรนด์กามิกาเซ่, กลุ่ม Digital Pop Idol นำเสนอผ่านแบรนด์อาร์เอส, กลุ่ม Uni Club นำเสนอผ่านแบรนด์ เพลนตี้ มิวสิค (Plenty Music), กลุ่ม Rock Society นำเสนอผ่านแบรนด์ 9Richter, กลุ่ม Easy Listening นำเสนอผ่านแบรนด์ เมลโล โทน (Mellow Tone) กลุ่ม Raggae and Sga นำเสนอผ่านแบรนด์ เรกเก้ วิลเลจ (Raggae Village) และกลุ่ม Modern Local Country นำเสนอผ่านแบรนด์ลูกทุ่งอาร์สยาม พร้อมแบ่งเซกเมนต์คนฟังกลุ่มเป้าหมายในเชิงลึกและแนวเพลงอย่างชัดเจน
แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงหดตัว บวกกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อาร์เอสจึงเดินหน้าปรับแผนธุรกิจเพลงครั้งใหญ่ เพื่อให้สอดรับกับภาวะปัจจุบัน พร้อมกับการวางแผนธุรกิจเพลงให้เดินหน้าอย่างชัดเจนและรัดกุมมากยิ่งขึ้น ด้วย กลยุทธ์ “Lean Music Strategy” ที่ตัดสิ่งที่ไม่ทำรายได้และมุ่งโฟกัสไปยังเซกเม้นท์ที่มีมูลค่าทางธุรกิจที่แข็งแรง คือ กลุ่มวัยรุ่น (Teen Community) โดยมีศิลปินค่ายกามิกาเซ่ (Kamikaze) อาทิ โฟร์-มด, เฟย์ ฟาง แก้ว, เค-โอติก (K-Otic), ขนมจีน, มิล่า, พายุ ฯลฯ รวมถึงกลุ่มดนตรีเพลงร็อควัยโจ๋ (Local Pop Rock) ที่กำลังเป็นที่นิยมและแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ วงไอน้ำ, Dr.Fu คู่ขนานไปกับการต่อยอดธุรกิจเพลงด้วยการพัฒนาคอนเทนต์ ให้ตรงใจกลุ่มผู้ฟังมากที่สุด และการกำหนดยุทธ์ศาสตร์ใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยช่องทางดิจิตอลเป็นหลัก ด้วยการปล่อยซิงเกิลเพลงใหม่ออกมาชิมลางให้ผู้ฟังติดหู พร้อมกับให้ได้ดาว์นโหลดเพลงใหม่ไปฟังก่อนวางแผงอีกด้วย
โดยยอดการดาวน์โหลดคอนเทนต์ ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ สามารถทำรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ โดยเพลงที่มียอดการดาวน์โหลดติดชาร์ท 5 อันดับแรกของเดือนที่ผ่านมา ประกอบด้วย อันดับ 1 เพลง “รักสามเศร้า” ของ วงพริกไทย อันดับ 2 “แฟนใหม่” ของ วง เค-โอติก (K-Otic) อันดับ 3 เพลง “ใหม่ๆ ก็รัก” ของ วงพริกไทย
อันดับ 4 เพลง “ใจเหลือเหลือ” ของ วง Dr.Fu และอันดับ 5 คือ เพลง “มีสิทธิ์แค่คิดถึง” ของ วง ไอน้ำ ซึ่งสามารถตอกย้ำความสำเร็จของศิลปินได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ บริษัทก็ยังมีการวางแผนการตลาดในระยะยาวของศิลปินแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน โดยต้องรู้ว่าศิลปินกลุ่มนี้เป็นตัวแทนของผู้บริโภคกลุ่มใด Value ของพวกเขาอยู่ที่ไหน อะไรคือจุดเด่นของการขาย (Unique Selling Point) และตำแหน่งทางการตลาด (Positioning) ของพวกเขาคืออะไร เมื่อทราบทุกอย่างแล้วก็ต้องชัดเจนในแนวทางการตลาด จึงเป็นการทำงานที่เป็นการวางแผนระยะยาว รวมถึงพัฒนารูปแบบการต่อยอดทางธุรกิจและสร้างให้ศิลปินมีรายได้ที่ยั่งยืนจากชื่อเสียงและผลงานความสามารถของตนเองในหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ศิลปินในค่ายได้แสดงความสามารถตามที่ถนัดและเหมาะสม อาทิ การแสดงละคร, เล่นหนัง, พิธีกร, การรับหน้าที่เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับสินค้าต่างๆ ซึ่งทางอาร์เอสเปิดกว้างอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังมีบริษัทในเครืออาร์เอส ที่ดำเนินธุรกิจบันเทิงครบวงจร ทั้งธุรกิจวิทยุ, ภาพยนตร์, รายการและละครทีวี หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์ ชีซ่าดอทคอม (www.zheza.com) ที่ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 2 ล้านคน โดยทั้งหมดนี้จะเป็นเครื่องมือหลักที่สำคัญ ในการโปรโมทศิลปินให้เข้าถึงกลุ่ม Mass ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งในนำเสนอและรองรับกิจกรรมต่างๆที่จะมีมากขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะกลุ่มทีน (Teen) และกลุ่มพรี-ทีน (Pre-Teen)
สำหรับภาพรวมและแนวโน้มของธุรกิจเพลงในปีนี้ยังคงอยู่ในภาวะที่ชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ คู่ขนานไปกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และปัญหากระแสแผ่นผี ซีดีเถื่อนที่ยังหาทางแก้ไขไม่ได้ แต่ยังคงเชื่อมั่นว่า ธุรกิจ ดิจิตอลคอนเทนต์ หรือ บริการผ่านช่องทางอันหลากหลายของโทรศัพท์มือถือ ยังมีแนวโน้มดี เพราะเติบโตไปตามฐานผู้ใช้โทรศัพท์มือถือรวมถึงความสามารถในการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาถึงของระบบ 3G ยิ่งจะส่งเสริมให้ผลงานเพลงในรูปแบบต่างๆเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้รายได้ในส่วนของธุรกิจดิจิตอลของอาร์เอส สามารถเข้ามาเติมเต็มรายได้ในส่วนของยอดขาย CD และ DVD (Physical Product) ที่มีแนวโน้มลดลงได้เป็นอย่างมาก
“การแข่งขันของธุรกิจเพลงในปีนี้ ต้องยอมรับว่า มีความยากลำบากกว่าปีก่อนๆ และยิ่งไปกว่านั้นธุรกิจเพลงเป็นธุรกิจที่มีความตื่นตัวและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเพราะฉะนั้นการนำเสนอโปรดักส์จึงต้องการความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำซากจำเจ เจาะกลุ่มผู้ฟังให้ได้ อีกทั้งการวางกลยุทธ์ให้สอดรับกับยุคสมัยก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน การวางกลยุทธ์ใหม่ในครั้งนี้บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ และกำหนดทิศทางของธุรกิจเพลงให้สอดคล้องกับการเติบโตของช่องทางดิจิตอลมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง” นายสุรชัย กล่าวทิ้งท้าย